วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

บุคลิกภาพและการปรับตัว (Personality and Adjustment)


บุคลิกภาพและการปรับตัว
(Personality and Adjustment)


โดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทิรา บุญยะโหตระ กศ.. , M.Ed.




ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์
สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร
..2540



บทที่ 8
การปรับตัว

การดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในโลกนี้ได้ มนุษย์จำเป็นจะต้องมีการปรับตัว การปรับตัวเป็นวิธีการอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตที่สามารถจะดำรงเผ่าพันธุ์และมีชีวิตรอดได้ มนุษย์ใช้เทคนิคหลายประการในการปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งมีชีวิตและการเรียนรู้จากสิ่งมีชีวิตเพื่อจะจัดสภาพแวดล้อมให้มนุษย์รู้จักพัฒนาตนเอง การปรับตัวจึงมีประโยชน์และมีความสำคัญอย่างยิ่งของมนุษย์ในการพัฒนาบุคลิกภาพและพัฒนาชีวิต
8.1 ความหมายของการปรับตัว
การปรับตัวมีความหมายดังต่อไปนี้ กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ ( 2524 : 180 ) กล่าวว่า “การปรับตัวหมายถึงกระบวนการที่บุคคลพยายามปรับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ตนเอง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านอารมณ์ บุคลิกภาพและความต้องการให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมจนเป็นสภาพการณ์ที่ตนสามารถอยู่ได้ในสังคมหรือสภาพแวดล้อมนั้นๆ” อรทัย ชื่นมนุษย์ ( 2524 : 11 ) กล่าวว่า “การปรับตัวคือปฏิกิริยาของเราที่มีต่อสิ่งแวดล้อม คนเราแต่ละคนจะพยายามฟันฝ่าให้ได้สิ่งที่อยากได้เพื่อให้สำเร็จถึงจุดมุ่งหมายแต่ละอย่างที่ตนวางไว้ พยายามให้ความหวังลุล่วงไปสมความปรารถนา” ชวนพิศ ทองทวี ( 2531 : 257 ) ให้ความหมายว่า “การปรับตัว หมายถึง การพยายามเอาชนะความคับข้องใจที่เกิดจากการมีอุปสรรคกีดขวางทางนำไปสู่จุดหมายที่ต้องการเพื่อรักษาสมดุลของชีวิต” สรุปแล้ว การปรับตัวหมายถึง การที่มนุษย์เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมเพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
8.2 ความสำคัญของการปรับตัว
การปรับตัวมีความสำคัญต่อมนุษย์ดังนี้ 8.2.1 ทำให้มนุษย์มีสร้างความสมดุลในจิตใจ เพราะสามารถที่จะหาวิธีขจัดการขัดแย้งอันเกิดสภาพการณ์ของโลกแห่งความเป็นจริงกับความต้องการในจิตใจของมนุษย์ได้ ฟรอยด์กล่าวว่า การใช้กลวิธีในการปรับตัวทำให้ความต้องการของ ID และความเป็นจริงของโลกต่อมนุษย์อยู่ในระดับกลาง ( Crooks & Stein 1988 : 434 ) 8.2.2 ทำให้ Ego ไม่อยู่ในสภาวะวิตกกังวลใจมากเกินไป ความวิตกกังวลใจมี 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. Neurotic anxiety เป็นความวิตกกังวล เมื่อ Ego ไม่สามารถควบคุมแรงกระตุ้นของ ID ซึ่งเป็นอันตราย และต้องเก็บกดความปรารถนาอย่างรุนแรง หรือ เมื่อเกิดความรู้สึกหมดหวังที่จะตอบสนองความต้องการ ID 2. Moral anxiety เป็นความวิตกกังวล เมื่อรู้สึกว่าถูกลงโทษจาก Superego 3. Realistic anxiety เป็นความวิตกกังวลใจ เมื่อมีอันตรายอยู่ในโลกภายนอกจริงๆ (นวลละออ สุภาผล 2527: 37 – 38) 8.2.3 การปรับตัวเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนในโลกนี้จะต้องประสบอยู่ตลอดเวลา ถ้าบุคคลใดสามารถปรับตัวได้ดีก็จะเป็นผู้ที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้อย่างปกติสุข ( ฉวี วิชญานตินัย 2529: 83 ) 8.2.4 การปรับตัวแสดงให้เห็นถึงเรื่องบุคลิกภาพของบุคคลว่าจะมีลักษณะปกติ มีความสุข หรือปรับตัวไม่ได้ อันส่อให้เห็นถึงภาวการณ์ไม่สามารถที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นๆได้อย่างมีความสุข มีความทุกข์และมีปัญหาทางจิต ( Elizabeth Hurlock 1964: 749) 8.2.5 การปรับตัวเป็นลักษณะของมนุษย์และสัตว์เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์และตระกูลของตนไว้สืบไป การปรับตัวบางครั้งมนุษย์และสัตว์จะต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการอยู่รอดซึ่งไม่ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
8.3 ลักษณะของผู้ที่ปรับตัวได้ดี 1. มีอัตมโนทัศน์ (Self – Concept) ที่ถูกต้อง 2. มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี 3. มีความรับผิดชอบ 4. ยอมรับความเป็นจริงของตนเองในสังคม ไม่รู้สึกว่าด้อยและต่ำต้อย 5. มีความเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 6. มีอารมณ์ขัน 7. มีความสามารถในการตัดสินใจ 8. มีความเชื่อมั่นในตนเองและเคารพตนเอง 9. มีความรักมนุษยชาติ ไม่อิจฉาริษยา 10 . มีความสุขและมีความพอใจในความเป็นอยู่ของตน
8.4 ลักษณะของเด็กที่ปรับตัวไม่ได้ 1. มีความวิตกกังวลใจ ใบหน้าแสดงความทุกข์ 2. เกาะติดกับคนอื่นๆ ไปไหนมาไหนคนเดียวไม่ได้ 3. ไม่มีความสุข 4. มีปัญหาในการเรียนและการทำงานเพราะขาดสมาธิและไม่มีเหตุผล 5. มีปัญหาในการรับประทานและการนอน 6. แสดงพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ดื้อ ร้องไห้บ่อย ละเมอ ตกใจง่าย ปัสสาวะรดที่นอน ๚ล๚ 7. มีอาการทางกายเมื่อเวลากังวลใจ เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง หายใจไม่ออก หอบหืด ตาพร่ามัว พูดไม่ชัด ฯลฯ 8. ไม่มีความตั้งใจ การเรียนไม่ดี 9. มีลักษณะร้อนรน แสดงอาการกระวนกระวาย ไม่อยู่นิ่ง 10. ใจลอย เหม่อ ไม่สนใจใครไม่ค่อยมีเพื่อน
8.5 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัว
การปรับตัวของแต่ละบุคคลต่างๆ มีปัจจัยสนับสนุนว่า การปรับตัวจะเป็นลักษณะอย่างไร ปรับตัวได้ดีหรือจะมีปัญหาในการปรับตัวประเภทใด ศึกษาจากปัจจัยดังนี้ 8.5.1 ชีวิตในช่วงต่างๆ ชีวิตของบุคคลแต่ละวัยมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการในแต่ละช่วงอายุเป็นอย่างไรจะส่งผลให้บุคคลต้องแสดงพฤติกรรมเช่นนั้น เช่นวัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการทางกายอย่างรวดเร็ว มีความต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการเพื่อนที่สนับสนุนและส่งเสริมบทบาททางสังคม การปรับตัววัยรุ่นมักจะมีปัญหา เพราะเด็กเองรู้สึกสับสนในการเป็นเด็กและเริ่มจะมีความรับผิดชอบในการกระทำแบบผู้ใหญ่ วัยรุ่นมีความต่อต้านสังคมที่มองว่า วัยรุ่นเองทำให้ผู้ใหญ่เดือดร้อนเพราะอยากเด่น อยากดัง การปรับตัวของวัยรุ่นจึงเป็นการแสดงการเด่น การก้าวร้าว บางคนปรับตัวด้วยการเก็บตัว เป็นต้น
8.5.2 สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมมีผลต่อการปรับตัว มนุษย์จำเป็นต้องปรับตัวตามสภาพแวดล้อม เช่น การมีทัศนคติ (เจตคติ) ค่านิยม ประเพณี วัฒนธรรมการศึกษา ระบบการเมือง ดินฟ้าอากาศ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและการปรับตัว การปรับตัวของมนุษย์มีตั้งแต่เกิดจนตาย มนุษย์ใช้การปรับตัวเพื่อความอยู่รอด 8.5.3 พันธุกรรม สิ่งมีชีวิตไม่ว่า พืช คน สัตว์ อาจจะมีการปรับสายพันธุ์เพื่อการอยู่รอด บางครั้งมีการพัฒนาพันธุ์เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างต่างๆ ให้เข้ากับวิวัฒนาการของโลก เช่น ตระกูลไดโนเสาร์ต้องศูนย์พันธุ์ไป เพราะไม่มีการปรับสายพันธุ์ให้เข้ากับเหตุการณ์ของภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงยุคต่างๆจากยุคหิน ยุคทองแดง มาจนถึงปัจจุบัน แม้แต่เชื้อราบางชนิดมีการพัฒนาเป็นประเภทต่างๆ เพื่อมิให้มันถูกทำลายจากธรรมชาติและคน 8.5.4 ลักษณะของบุคลิกภาพ ลักษณะของบุคลิกภาพของคน เช่น คนอ้วน คนผอม คนรูปร่างสมส่วน เป็นนักกีฬา ซึ่งตามทฤษฎีของเซลดอน มีการปรับตัวแบบต่างๆ เช่นคนอ้วนมักเป็นคนก้าวร้าว คนผอมเป็นเจ้าอารมณ์ ชอบความสันโดษ ไม่เปิดเผยตนเอง ทฤษฎีของจุง อธิบายประเภทการแสดงพฤติกรรมของคนว่าคนลักษณะเปิดเผย (Extrovert) ชอบสนุก โกรธง่าย หายเร็ว เมื่อมีปัญหามักจะแสดงกิริยาก้าวร้าว ใช้กำลัง เป็นต้น นักทฤษฎีต่างๆของฟรอยด์ ได้อธิบายถึงภาวะโครงสร้างของคนว่าโครงสร้างของบุคลิกภาพประกอบด้วยอิด อีโก้ ซุปเปอร์อีโก้ (Id Ego Superego) Id เป็นภาวะของการแสดงสัญชาติญาณดั้งเดิมของมนุษย์ด้านการแสวงหาความสนุกสนาน ตัณหา ความหลงตนว่า เป็นตัวกูของกู ส่วน Ego เป็นลักษณะของความมีเหตุผล อาศัยหลักความเป็นจริงของชีวิต เปรียบเหมือนภาวะของคนที่มีจิตสำนึกซึ่งไม่เหมือนกัน Id ที่เป็นสภาวะของจิตไร้สำนึก ดังนั้นการปรับตัวของบุคคลแต่ละคนล้วนแสวงหาความต้องการของตนและปรับตัวตามลักษณะตามที่ต้องการที่แฝงอยู่ในตนเองเช่น ยึดความเห็นแก่ตัว เอาเปรียบคนอื่นๆ ทำตนน่าสงสาร ทำลายตนเอง เป็นต้น 8.5.5 สัญชาติญาณ คำว่า สัญชาติญาณ หมายถึง สิ่งที่มนุษย์หรือสัตว์มีแต่กำเนิด ไม่ต้องมีการอบรมสั่งสอนหรือแนะนำ เช่น นกรู้จักสร้างรัง คนรู้จักเลี้ยงลูกเองเมื่อถึงเวลาที่ตนมีลูก เป็นต้น วิลเลียม เจมส์ (William James) กล่าวว่า สัญชาติญาณของมนุษย์มีอยู่หลายประการ ได้แก่ 1. สัญชาติญาณแห่งการสืบพันธุ์ 2. สัญชาติญาณแห่งการต่อสู้ 3. สัญชาติญาณแห่งการรวมกลุ่ม 4. สัญชาติญาณแห่งการเป็นพ่อ แม่ 5. สัญชาติญาณแห่งการอยากรู้อยากเห็น 6. สัญชาติญาณแห่งการเรียกร้องความสนใจ 7. สัญชาติญาณแห่งการขอความช่วยเหลือ 8. สัญชาติญาณแห่งการมีชีวิตอยู่รอด 9. สัญชาติญาณแห่งการทำลาย 10. สัญชาติญาณแห่งการต้องการคนสงสาร เห็นใจ สัญชาติญาณของมนุษย์ทำให้มนุษย์มีแบบของการปรับตัวแตกต่างกันตามลักษณะของสัญชาติญาณต่างๆ 8.5.6 การเรียนรู้และประสบการณ์ การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพราะมนุษย์ได้รับประสบการณ์ ด้านสติปัญญา ด้านทักษะ ซึ่งเป็นความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อและมีความสัมพันธ์กันกับระบบประสาท และมีพัฒนาการความรู้สึกในด้านความสวยงาม ความถูกต้อง มนุษย์นำสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้และการเห็นตัวอย่างจากตัวแบบต่างๆ หรือจากประสบการณ์ที่ได้รับทั้งส่วนที่ดีและส่วนลบมาใช้ในการปรับตัว เช่น รู้จักการปรับสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ ให้เข้ากับการดำรงชีวิตและการอยู่รอด มนุษย์ยุคปัจจุบันเจริญในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีแผนใหม่ก็อาจจะนำความเจริญไปสร้างเสริมเทคนิคการปรับตัวแบบใหม่ๆ 8.5.7 กระบวนการสังคมประกิต กระบวนการสังคมประกิต หมายถึง การที่มนุษย์ได้รับการอบรมสั่งสอนจากครอบครัว ญาติ ครู กลุ่มคนในอาชีพต่างๆ ตั้งแต่วัยทารก การอบรมสั่งสอนอาจจะเกิดทั้งทางตรงและทางอ้อม ประสบการณ์จากการที่ได้รับการอบรมที่ดี เช่น การได้รับความรักความอบอุ่นจากครอบครัวในวัยทารก จะทำให้บุคคลรับความประทับใจในสิ่งดีเอาไว้ ตามทฤษฎีของอิริคสัน เด็กในระยะวัยทารกถ้ารับความรักจากแม่ จะพัฒนาเป็นความรู้สึกด้านความไว้วางใจแก่ทุกๆคน แต่ทางตรงกันข้ามแม่ไม่เคยให้ความรักแก่ลูกๆ จะพัฒนาความคิดว่าคนทุกคนไว้ใจไม่ได้ ความคิดนี้จะค่อยๆ พัฒนาบุคลิกภาพของคนในวัยต่อไป เมื่อเป็นผู้ใหญ่จะมีลักษณะของความคิดว่าคนทุกคนไม่ดี และมีผลต่อการปรับตัวในโอกาสต่อไป 8.5.8 แบบของพัฒนาการของมนุษย์ ตามทฤษฎีของเฟียเจต์สติปัญญาของคนเกิดขึ้นตั้งแต่วัยทารก โดยการเรียนรู้จากการสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่สายตาและอวัยวะจะสัมผัสได้ การสะสมความคิด ความเข้าใจจะค่อยๆพัฒนาการเป็นการเข้าใจสิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมแต่จะค่อยๆเข้าใจการใช้เหตุผล การรู้จักวิเคราะห์ การแก้ปัญหาเมื่อมีอายุมากขึ้น จากพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์ช่วยสร้างรูปแบบของการปรับตัวของคนแต่ละประเภท ระดับสติปัญญาต่างกันมีผลต่อความแตกต่างและประสิทธิภาพในการปรับตัวของคน ผู้ที่มีปัญหาทางสติปัญญา เช่น คนปัญญาอ่อน บุคลิกภาพแปรปรวน โรคจิต โรคประสาทเพราะมีความบกพร่องทางระบบประสาท และสมองย่อมมีผลต่อลักษณะของการปรับตัวไม่ได้ ส่วนทฤษฎีของโคลเบอร์ที่กล่าวถึงพัฒนาการทางจริยธรรมของคนในวัยต่างๆ ซึ่งเกิดจากการเข้าใจตนเอง การรับหลักการของสังคม การเข้าใจการเป็นพลเมืองดีของสังคมหรือการเอาใจตนเอง เพื่อหวังสิ่งตอบแทน เป็นสิ่งที่สนับสนุนหรือการต่อต้านการปรับตัวของคน เช่น คนบางคนปรับตัวในด้านการเห็นแก่ตัว เอาเปรียบคนอื่น ก้าวร้าวทางการกระทำโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องเพราะเขามีพัฒนาการติดกับขั้นต้นๆของจริยธรรม เป็นต้น 8.5.9 การขัดแย้งในใจ ลินดา เดวิตคอฟ (Linda L. Davidoff 1987: 348) ให้ความหมายว่า การขัดแย้ง หมายถึง ภาวะที่บุคคลต้องเลือกเอาระหว่างสถานการณ์ เหตุการณ์ สิ่งของ ความต้องการหรือการกระทำที่มีตัวเลือก 2 สิ่งแต่ต้องเลือกเพียงอย่างเดียว การขัดแย้งในใจ หมายถึง การที่บุคคลมีความวิตกกังวลใจ ไม่สามารถจะเลือกว่าสิ่งใดควรจะเลือกหรือตนเองควรทำอย่างไร การขัดแย้งก่อให้เกิดความทุกข์ ความไม่สบายใจ ซึ่งแยกเป็น 3 ประการได้แก่ 1. การขัดแย้งเพราะตนเองมีสิ่งที่จะต้องเลือกเพียงประการเดียว แต่ตนจะต้องเปรียบเทียบของสองสิ่งซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ตนชอบและต้องการทั้งคู่ กรณีเช่น บุคคลจะรู้สึกว่าตนเองถูกบีบบังคับให้ตัดสินใจ เช่น ต้องเลือกระหว่างการศึกษาต่อและการสอบเข้าทำงาน การกู้เงินเพื่อแต่งงาน กับการสร้างบ้าน เป็นต้น ซึ่งเป็นการขัดแย้งประเภท Positive – Positive 2. การขัดแย้งประเภทที่บุคคลจะต้องเลือกเพียงประการเดียวในสิ่งที่ตนเองไม่ชอบเลย เป็นการขัดแย้งประเภท Negative - Negative เช่น ขับรถถูกจับเพราะทำผิดกฎจราจรอาจถูกปรับหรือไม่อาจถูกกักขัง เป็นต้น 3. การขัดแย้งประเภทที่บุคคลจะต้องเลือกสิ่งที่ไม่ดีและสิ่งดีซึ่งเกิดคู่กันจะเลือกเฉพาะสิ่งที่ดีไม่ได้ เช่น การแต่งงานกับคนดีแต่จน รักคนสวนแต่ใจดำ เป็นต้น ภาวะของการขัดแย้งในใจเหล่านี้มีผลต่อการปรับตัวของบุคคลที่มีสภาวะของความขัดแย้งในใจอาจจะมีความไม่ปกติเพราะภาวะของการมีสุขภาพจิตที่ไม่สมดุล ส่วนเลวิน (Lewin 1959) แบ่งความขัดแย้งเป็น 4 ประเภท คือ 1.) Approach – approach conflict เป็นลักษณะที่บุคคลจะต้องเลือกเพียงอย่างเดียว การขัดแย้งประเภทนี้ ตัดสินใจง่ายและไม่ค่อยจะต้องคิดมาก เช่น จะไปซื้อของหรือจะไปชมภาพยนตร์ จะศึกษาต่อหรือทำงาน เป็นต้น 2.) Avoidance – avoidance conflict เป็นลักษณะที่บุคคลจะต้องเลือกในสถานการณ์ หรือการกระทำเพียงอย่างเดียวทั้งๆ ที่ สถานการณ์นั้นไม่เป็นที่พึงปรารถนา ซึ่งแตกต่างกับประเภทแรกเพราะ ประเภทแรกเป็นสถานการณ์ที่ดีทั้งคู่ นักจิตวิทยากล่าวว่าการขัดแย้งประเภทนี้ก่อให้เกิดความเครียดสูง เพราะตัดสินใจยาก เช่น ติดคุกหรือถูกปรับ ทำแท้งหรือต้องออกจากโรงเรียน เป็นต้น 3.) Single approach - avoidance conflict เป็นลักษณะที่บุคคลจะต้องกระทำ ไม่มีตัวเลือกเลย เป็นประเภทน้ำผึ้งขม เช่น รถสวยแต่ราคาแพง งานดีแต่วุฒิการศึกษาสูง ภาพยนตร์สนุกแต่บัตรราคาแพง เป็นต้น การขัดแย้งประเภทนี้ทำให้เกิดความกังวลใจสูง 4.) Double approach - avoidance conflict เป็นการเลือกโดยมีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ ซึ่งแต่ละจุดมุ่งหมายจะมีทั้งดีและไม่ดี เช่น การศึกษาในภาคกลางคืนดี แต่ต้องใช้เวลานานและค่าเรียนแพง จะแต่งงานกับสมชายหรือนฤนาถดี สมชายเรียนสูงแต่จน ส่วนนฤนาถนิสัยไม่ดีแต่หล่อ เป็นต้น การเลือกประเภทนี้ทำให้บุคคลเครียดและเกิดความสับสนสูง 8.5.10 สุขภาพจิต สุขภาพจิต หมายถึง ภาวะที่บุคคลมีความเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม เข้าใจเอกลักษณ์และความรับผิดชอบของตน รวมทั้งการปรับตนให้ข้ากับคนอื่นๆในสังคมได้ การที่บุคคลจะมีสุขภาพจิตที่ดีได้นั้นจะต้องมีความพร้อมทั้งทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่ อยู่ในบรรยากาศของความเอื้ออาทรและมีน้ำใจไมตรีต่อกัน คนที่มีลักษณะนี้มักเป็นคนร่าเริง อารมณ์ดี มองโลกในแง่ดี เป็นมิตร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ใจกว้าง มีเมตตากรุณา มีลักษณะที่ยืดหยุ่นง่าย เป็นต้น ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม คนประเภทนี้มักจะได้เห็นตัวแบบที่ดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่พัฒนาความรู้นึกคิดด้านสร้างสรรค์ การจัดสภาพแวดล้อมที่ดีมีการเลี้ยงดูเด็กแบบประชาธิปไตย ไม่มีสภาวะรับการกดดันจากสังคมเศรษฐกิจ ประเพณี ความเชื่อ อีกทั้งไม่มีข้อบกพร่องทางด้านสุขภาพทางร่างกายในแง่ความเจ็บปวดทั้งทางกายและทางจิต สิ่งเหล่านี้ทีผลต่อการเสริมสร้างสุขภาพจิตของบุคคลอย่างยิ่ง ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีย่อมมีศิลปะในการปรับตัว และมีวิธีการดำรงชีวิตในสังคมได้ดีถึงแม้ว่าตนเองจะอยู่ในภาวะความสับสน ยุ่งยากเพียงใดก็สามารถประคองชีวิตให้ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ
8.6 การปรับตัวแบบต่างๆ
ตามปกติแล้วมนุษย์มีวิธีการปรับตัวหลายประการ เช่น ใช้ศิลปะต่างๆ ในการปรับตัว และปรับตัวโดยใช้วิธีการทางการวางเงื่อนไขประเภทต่างๆ การปรับตัววิธีการต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้ 1. การใช้ศิลปะการปรับตัว การปรับตัวประเภทนี้มีหลายประการได้แก่ การร้องไห้ การระบายอารมณ์โดยการพูดจา ปรับทุกข์กับคนอื่น การรับประทานอาหารแปลกๆ การท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ การเล่นอาจเป็นการเล่นตามกติกา การร้องเพลง การเล่นดนตรี การเล่นไพ่ การเล่นเทนนิส หรือการเล่นการพนันประเภทต่างๆ เพื่อคลายเครียดและลดความขัดแย้งในใจลง บางคนใช้วิธีการแต่งตัวสวยๆและไปแสดงตัวตามงานต่างๆ แต่บางคนหาคนที่ตนเองรักและชอบเป็นการปลดปล่อยพลังหรือแรงทางเพศ ตามทฤษฎีของฟรอยด์ในปมออดิปุส (Oedipus Complex) หรือปมอีเลคต้า (Electra Complex) โดยมีวิธีการแปลก บางคนรักเผื่อเลือก รักแล้วทิ้ง ไม่รักใครจริงแต่ทดสอบพลังทางเพศของตนเพื่อระบายความไม่สบายใจ เป็นต้น 2. การปรับตัวโดยการต่อสู้ เป็นวิธีการปรับตัวโดยบุคคลทำการต่อต้าน แสดงความก้าวร้าวต่อสิ่งที่ตนไม่ปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นบุคคล กลุ่มคน สัตว์ หรือเหตุการณ์ต่างๆ การต่อสู้อาจเป็นการต่อสู้โดยตรงได้แก่การแสดงพฤติกรรมทางกาย เช่น การชกต่อย ตี ปา ทุบ ทำลาย อีกประการหนึ่งเป็นการแสดงการก้าวร้าวหรือการต่อสู้โดยทางอ้อม ได้ว่า การพูดจะเสียดสี การพูดประชดประชัน การเหน็บแนม การประสงค์ร้าย การแสดงอาฆาตพยาบาท การก้าวร้าวอาจเป็นในรูปการก้าวร้ายย้ายที่ เช่น ตัวเองไม่แสดงอาการแต่จิตใจต่อต้านเข้าประเภทดื้อตาใสก็มี หรือตอบโต้บุคคลที่ตนเองไม่ชอบหน้าไม่ได้เลย แสดงตอบโต้กับสิ่งอื่นๆ หรือคนอื่น เช่น ทำลายสิ่งของเครื่องใช้ ทำร้ายสัตว์เลี้ยง เป็นต้น 3. การปรับตัวแบบหนี การปรับตัวแบบหนีเป็นวิธีการที่บุคคลไม่ต้องการที่จะเผชิญหน้ากบสิ่งที่ทำให้จิตใจไม่ปกติ จึงหาวิธีหลบหลีกให้พ้นจากเหตุการณ์นั้นๆ เพราะนั้นไม่ได้ที่จะทำให้จิใจไม่สบาย การหนีมี 2 ประการได้แก่ การหลบหรือถดถอย การอยู่ตามลำพัง การไม่ต่อต้านด้วย หรืออาจเป็นวิธีการที่ตัวเองยังอยู่แต่จิตใจไม่รับรู้ ซึ่งเรียกว่า ใจหนีไป ตัวอย่างนักเรียนนั่งฟังครูสอนแต่ 4. กลวิธานในการปรับตัว
คำว่า กลวิธาน หมายถึง การใช้กลวิธี หรือ เทคนิคในการปรับตัวเพื่อรักษาจิตใจให้อยู่ในสภาพสมดุลเพื่อทำให้เกิดความสบายใจ ไม่วิตกกังวลหรือเกิดความเครียดเพราะถ้าบุคคลใดมีสิ่งที่ทำให้ตนเองมีความทุกข์ใจ มีความวิตกกังวลใจแล้วบุคคลนั้นจะไม่มีความสุขครุ่นคิดจนทำให้จิดใจฟุ่งซ้าน วิธีที่จะทำให้คลายความวิตกกังวลใจลงได้อาจกระทำโดยใช้วิธีการต่างๆ ที่สังคมยอมรับว่าไม่ผิดปกติและส่งผลต่อจิตใจที่เกิดความปกติได้หลังจากปรับตัวแล้วนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียง เช่น ฟรอยด์ ให้ความสำคัญของการใช้กลวิธานในการปรับตัวว่า เป็นการทำให้ตัวเองลดความเครียดและเป็นเกราะป้องกันตัวเองที่ทำให้ตนเองใช้การปรับตัวแบบไม่ยอมรับความเป็นจริง (Curt and Stein 1988: 434 ) การใช้กลวิธีหรือกลวิธานในการปรับตัว (Defense Mechanism) มีดังนี้
  1. การเก็บกด (Repression)
  2. การอ้างเหตุผล (Rationalization)
  3. การโยนความผิดไปให้สิ่งอื่น (Projection)
  4. การย้อนกลับ (Regression)
  5. การชดเชย (compensation)
  6. การฝันกลางวัน (Fantasy)
  7. การนับตนเข้าเป็นพวก (Identification)
  8. การเสี่ยง (Sublimation)
  9. การกระทำตรงข้ามกับจิตใจ (Reaction – formation)
  10. การปฏิเสธ (Daniel)
  11. การชอบอวดอ้างว่าฉลาดรอบรู้ (Intellectualization)
  12. การทำอย่างอื่นแทน (Displacement)
  13. การตัดความรู้ออกไป (Isolation)
  14. การมีอาการป่วยทางกาย (Conversation)

1. การเก็บกด ฟรอยด์กล่าวว่า การเก็บกดเป็นภาวะที่ Ego กระทำเพื่อป้องกันและมิให้การเรียกร้องของ Id เป็นจริงขึ้นเพื่อจะลดภาวะการกังวลใจของ Ego การเก็บกดเป็นการไม่ต้องการที่จะคิด นึกถึงและกล่าวในสิ่งที่ตนเองอยากจะลืม โดยที่แกล้งลืมบ่อย ๆ จนสามารถลืมได้เอง ตัวอย่าง ผู้หญิงไทยจะต้องเก็บความรู้สึกทางด้านเพศ เพราะความเป็นกุลสตรีตามที่สังคมคาดหวังไว้ แม้จะมีความรู้สึกและความต้องการทางเพศอย่างไรจะพูดหรือจะเรียกร้องไม่ได้ การเก็บความรู้สึกเป็นอันตรายต่อต่อสุขภาพเพราะเป็นการจงใจและซ่อนความรู้สึกที่ข่มขื่นใจของตนไว้
2. การอ้างเหตุผล เป็นภาวการณ์ที่บุคคลยกเหตุผลมาอ้างเพื่อตนเองจะมีความรู้สึกทางสบายใจแทนที่จะเกิดความกังวลใจ เช่น พ่อแท่ที่ดุร้ายและเจ้าอารมณ์มักจะทำโทษลูกอย่างรุนแรง โดยแสร้งพูดเพื่อลบล้างความผิดในด้านการทำโทษลูกรุนแรงเกินกว่าเหตุว่ากระทำเพราะรักลูก กลัวลูกเสียคน เข้าทำเอง “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี”
3. การโยนความผิดไปให้สิ่งอื่น เป็นการลดความกังวลของตนโดยแสดงการกรำต่อสิ่งอื่น การกล่าวโทษสิ่งอื่นแทนที่จะยอมรับว่าตนเองผิด เช่น เด็กไม่สนใจการเรียนก็จะอ้างว่า แม่ให้ทำงานจนไม่มีเวลาอ่านหนังสือ แม่บ้านปรุงอาหารไม่อร่อย ก็โทษว่าเครื่องแกงไม่ดี เนื้อไม่สด ทำให้เสียรสอาหาร เป็นต้น
4. การย้อนกลับ เป็นการแสดงพฤติกรรมดังที่เคยกระทำมาก่อนในวัยเด็ก หรือในระยะแรกๆเช่น เด็กต้องการให้แม่เอาใจตนจึงแสร้งแสดงกิริยาอาการเหมือนตนเองเป็นลูกเล็กๆ ด้วยการพูดไม่ชัด กระทืบเท้าเวลาโกรธ เป็นต้น เพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนอื่น ๆ
5. การชดเชย เป็นการปรับตัวโดยหาจุดเด่นของตนเองมาทดแทนความบกพร่องของตนเพื่อจะลดความด้อยของตนเอง เช่น หญิงสาวที่หน้าตาไม่สวยจะพยายามแต่งกายให้เด่น โดยใช้สีฉูดฉาด แต่งหน้าเข้ม เป็นต้น คนบางคนพยายามพัฒนาความสามารถของตนในด้านอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างความเก่งในด้านอื่น เช่น นโปเลียนมีรูปร่างเตี้ย แต่เป็นนักรบที่มีความสามารถ ปีโธเฟนนักดนตรีก้องโลก ชาวเยอรมัน แต่ความเป็นจริง เป็นคนหูหนวก เป็นต้น
6. ฝันกลางวัน เป็นการสร้างจินตนาการโดยสร้างจุดมุ่งหมายเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของตนเองเพราะชีวิตของตนเองไม่ประสบความสำเร็จเลย เช่น วัยรุ่นสร้างจินตนาการว่า ตนเองเป็นคนเรียนเก่ง หรือเป็นนักกีฬาที่คนมากมายชื่นชอบ เป็นต้น การสร้างวิมานในอากาศนี้เป็นการช่วยลดความตึงเครียดและกังวลใจได้แต่ถ้าพฤติกรรมบ่อยๆ เป็นประจำ จะทำให้มีบุคลิกภาพที่ไม่ยอมรับความจริงและนาน ๆ เข้าจะมีอาการของโรคประสาทและโรคจิตเพราะไม่ยอมรับและรับรู้โลกของความจริง
7. การนับตนเข้าเป็นพวก เป็นการปรับตัวโดยนำตนเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและคิดว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งในเหตุการณ์นั้น เช่น เมื่อตนดูละคร ตนเองมีความรู้สึกว่าเป็นตัวละครนั้น มีความปรารถนาเป็นตัวเอกนั้น
8. การเลี่ยง เป็นการแสดงพฤติกรรมในด้านการแสดงพลังงานทางเพศออกมาในรูปของงาน สร้างสรรค์ งานศิลปะ งานพัฒนา งานที่เป็นพระโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม เพื่อแสดงความรู้สึกของตนเองไปสู่งานแทน เป็นต้น
9. การกระทำตรงกันข้ามกับใจคิด เป็นการแสดงพฤติกรรมไม่ตรงกับความรู้สึกและความนึกคิดจริง ๆ ของตน เช่น ภรรยาหลวงและภรรยาน้อยแสร้งทำดีต่อกัน แต่ความจริงแล้วเพียงเพื่อแสร้งทำเท่านั้น คนบางคนแกล้งแสดงตัวเป็นคนใจดีต่อคนอื่น ๆ ซึ่งความจริงเป็นคนที่มีจิตใจดุร้าย เป็นต้น
10. การปฏิเสธ เป็นการไม่ยอมรับความจริงเพื่อป้องกันตัวเองทั้งๆ ที่ความจริงแล้วตนเองไม่สบายใจเลย เช่น แม่ที่มีลูกปัญญาอ่อนมากพยายามปฏิเสธว่าลูกไม่เป็นเช่นนั้น ผู้หญิงที่ป่วยหนักคิดว่าตนเองต้องหายและจะต้องกลับมาบ้าน เป็นต้น
11. การชอบอวดอ้างว่าฉลาดรอบรู้ เป็นการแสดงว่าตนเองมีความรู้ ฉลาดรู้ทันไม่ว่าจะเป็นภาคทฤษฎีหรือหลักฐานความรู้ โดยพูดอวดกับคนอื่นๆ เช่น ชายคนหนึ่งอวดว่าเขารู้เรื่องการขับรถทุกประเภท แม้กระทั่งขับเครื่องบินก็ได้เป็นต้น
12. การทำอย่างอื่นแทน การป้องกันตัวประเภทนี้บุคคลไม่สามารถแสดงความคิดเห็น โต้แย้ง ต่อต้านกับคนที่ต้องการจะแสดงพฤติกรรมได้ เลยไปแสดงตอบโต้กับคนอื่นแทน เช่น ชายที่ถูกภรรยาตำหนิ เขาไม่สามารถจะตอบโต้ได้เพราะกลัวเกรงภรรยา เมื่อมาที่ทำงานเขาจึงหาเรื่องดุว่าลูกน้องในที่ทำงานแทน เป็นต้น 13. กี่ตัดความรู้สึกออกไป เป็นการตัดความรู้สึกนึกคิดที่ทำให้ตนเองมีความทุกข์ ความวิตกกังวลใจออกไป เช่น เด็กที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ เลยมาสอบเข้าที่วิทยาลัยครูแทนเด็กคนนี้ปลอบใจตนเองว่า เรียนในมหาวิทยาลัยอาจจะหางานทำไม่ได้ การเป็นครูเป็นอาชีพที่ดีและหางานในชนบทได้ถ้าไม่เลือกมากนัก เป็นต้น
14.การมีอาการป่วยทางกาย บุคคลที่มีความขัดแย้งและมีความวิตกกังวลใจมากๆ จะมีความรู้สึกว่าตนเองค่อยสบาย หายใจไม่ออก มีอาการป่วยทางกายหลายอย่าง เช่น ปวดศีรษะ ใจสั่น อ่อนเพลีย ท้องอืด เป็นต้น
การปรับตัวโดยใช้กลไกของการป้องกันตัวดังกล่าว เป็นวิธีที่ยอมรับกันว่าไม่ผิดปกติหรือมีความแปลกซึ่งคนส่วนใหญ่ปลอบใจตนเองว่า ทำให้ตนเองสบายใจและไม่เป็นคนทีมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา สรุปแล้วการใช้กลวิธานในการปรับตัวของบุคคลจ่าง ๆ นั้น จัดเป็นกลุ่มได้ดังนี้ 1. กลุ่มที่ใช้กลวิธานประเภทปฏิเสธหรือไม่ยอมรับความจริง การใช้กลวิธานแบบนี้เกี่ยวข้องกับความรู้สึกผิดชอบ ความละอายใจ เสียความภาคภูมิใจในตนเอง คนมักจะใช้การเก็บกดความรู้สึก (repression) ของตนไว้ในจิตใต้สำนึกหรือพยายามจะลืม 2. กลุ่มที่ใช้กลวิธานประเภทบิดเบือนความจริงหรือหลอกตนเอง กลุ่มนี้ใช้วิธีดังนี้ 2.1 Rationalization เป็นการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง เพื่อรักษาหน้าและกลบเกลื่อนเหตุผลที่แท้จริง การอ้างเหตุผลมี 2 ลักษณะ คือ 2.1.1 องุ่นเปรี้ยว (Sour Lemon) เป็นการบอกว่าสิ่งที่เราไม่สามารถหามาได้เพราะว่าไม่ดีจึงไม่อยากได้ 2.1.2 มะนาวหวาน (Sweet Lemon) เป็นการอ้างเหตุผลว่าตนเองมีความยุ่งยาก 2.2 Projection เป็นการโยนความผิดให้แก่คนอื่นเพื่อทำให้ตนสบายใจและพ้นจากความผิดเข้าทำนองว่า “รำไม่ดี โทษปี่โทษกลอง” 2.3 Displacement เป็นการถ่ายเทความขุ่นมัวทางอารมณ์จากบุคคลหนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่ง จัดเป็นประเภท “หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว” 2.4 Reaction Formation เป็นการแสดงพฤติกรรมตรงกันข้ามกับความรู้สึกที่แท้จริงหรือต้องการที่จะกลบเกลื่อนความรู้สึกจริง ๆ เช่น เดินคนเดียวมืดๆ รู้สึกหวาดกลัวจึงร้องเพลงปลอบใจเพื่อแสดงว่าตนเองไม่กลัวผิด
3. กลุ่มที่ใช้กลวิธานประเภทหลบหนีความจริง กลุ่มนี้ใช้วิธีดังนี้ 3.1 Regression เป็นการแสดงพฤติกรรมแบบถอยหลังไปเป็นเด็กเพื่อหลบหนีจากความจริง เช่น การทำเสียงดัง ร้องไห้เหมือนเด็ก พูดไม่ชัด ปัสสาวะรดที่นอน เป็นต้น 3.2 Conversation เป็นการแสดงการหนีจากเหตุการณ์รุนแรงโดย การเจ็บป่วย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง ชาตามแขนามขา ปวดท้อง เป็นต้น 3.3 Isolation เป็นการแยกตัวเพื่อหนีจากเหตุการณ์ที่ไม่ปรารถนาเพราะไม่ต้องการเผชิญกับความจริงที่ตนเองไม่ชอบ 3.4 Fantasy เป็นการแสดงจินตนาการสร้างวิมานในอากาศว่าตนเองได้รับความสุขสมหวังทั้ง ๆ ที่ในชีวิตจริงมีแต่ความไม่สบายใจ เช่น อยากเป็นคนเด่นดังในโลก อยากเป็นดารา เป็นต้น 3. 5 Danial เป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเพราะกระทบกระเทือนอารมณ์และทำตนเองเศร้าเสียใจเกินกว่าจะสร้างความสดชื่นให้เกิดขึ้นได้ 4. กลวิธานประเภทปะทะสถานการณ์หรือก้าวร้าว เป็นการระบายความกดดัน ความทุกข์ยากของตนเองโดยการทะเลาะกับคนอื่น การทำลายข้าวของหรือใช้วาจาดุด่า ข่มขู่ อย่างหยาบคาย การก้าวร้าวอาจแสดงออกในรูปของการกระทำและการใช้คำพูดเสียดสี ประชดประชัน 5. กลุ่มที่ใช้กลวิธานประเภทประนีประนอม การปรับตัวแบบเปลี่ยนแปลงการกระทำและเปลี่ยนจุดมุ่งหมายบางประการ แม้จะตรงกับความปรารถนาเดิม แต่สามารถลดความตึงเครียดลงได้ เช่น 5.1 Compensation เป็นการแสดงการกระทำในรูปอื่นเพื่อทดแทนความผิดหวังหรือทดแทนปมด้อยของตนเอง เช่น เรียนไม่เก่งแต่เล่นกีฬาเก่งแทน 5.2 Sublimation เป็นการแสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนจากสังคมไม่ยอมรับเป็นพฤติกรรมที่สังคมยอมรับเพื่อเป็นการประนีประนอมสถานการณ์ หรือเปลี่ยนแปลงรูปของอารมณ์และพฤติกรรมที่เป็นโทษมาเป็นคุณ เช่น การเป็นนักมวย เพื่อระบายอารมณ์ ความรู้สึกก้าวร้าว รุนแรง การเป็นนักดนตรี นักประพันธ์ นักศิลปะ เพื่อระบายความรู้สึกเก็บกดทางด้านเพศ ความไม่สบายใจ เป็นต้น 5.3 Substitution เป็นการแสดงออกเพื่อทดแทนหรือชดเชยความผิดหวังหรืออุปสรรคที่ตนเองแก้ไขไม่ได้ เช่น เป็นครูไม่ได้ก็เป็นผู้ช่วยครูแทน แต่งงานกับพี่ไม่ได้ก็แต่งงานกับน้องแทน 5.4 Symbolization เป็นการใช้สัญลักษณ์แทนความคิดหรือความรู้สึกที่ไม่เปิดเผยได้ เช่น การระบายความรู้สึกทางเพศได้ โดยการพูดในเชิงหลายแง่ตีความหมายทางติดตลก เป็นต้น 5.5 Identification เป็นการเลียนความคิด พฤติกรรมของคนอื่นมาเป็นตนเองเพื่อทำตนให้เหมือน เพื่อให้ตนเองได้รับการยอมรับจากสังคมและตนเองเกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น เช่น การเลียนแบบดารา ลูกชายแสดงพฤติกรรมเลียนแบบบิดา เป็นต้น
8.7 การปรับตัวของบุคคลในวัยต่าง ๆ
ก่อนที่จะศึกษาเรื่องการปรับตัวของบุคคลต่างวัยนั้น เรามาพิจารณาเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์แต่ละวัยว่าแตกต่างกันอย่างไร
8.8 พัฒนาการของบุคคลในวัยต่าง ๆ 8.8.1 วัยเด็กตอนต้น ลักษณะทั่วไปของวัยเด็กมีดังนี้ 1. พัฒนาการทางร่างกาย ร่างกายพัฒนาอย่างรวดเร็ว ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพัฒนา ฟันน้ำนมเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 7 เดือน ฟันแท้เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6 ปี กล้ามเนื้อมัดใหญ่ พัฒนามากกว่ากล้ามเนื้อมัดเล็ก เด็กมีทักษะทางการเคลื่อนไหวและการทรงตัว เช่น การวิ่ง กระโดด แต่กล้ามเนื้อมัดเล็กและสายตายังไม่พัฒนาเต็มที่ จะเห็นได้จากการจับช้อน ปากกา ดินสอ การเขียน การวาดภาพ 2. สติปัญญา มีการพัฒนาอยู่ระดับ (preoperational Thought period) เด็กมีการรับรู้โดยการสังเกตเห็นความแตกต่างทางรูปธรรม ยังไม่มีการคิดโดยใช้เหตุ ผลทางปัญหา ตัวอย่าง

ความคงที่ของจำนวน


-เด็กจะตอบว่ามีจำนวนเท่ากัน -เด็กจะตอบส่าแถวบนมีจำนวนมากกว่า
มวลสาร
-เด็กบอกว่ามีขนาดเท่ากัน -เด็กจะบอกว่าก้อนกลมเล็กกว่า

ความยาว


-เด็กบอกว่าไม้ 2 ท่อนมีขนาดเท่ากัน -เด็กบอกว่าไม้ 2 ท่อนยาวไม่เท่ากัน

ปริมาตร



-นำลูกบอลใส่ในแก้ว -นำลูกบอลขึ้นจากแก้วใบหนึ่ง
เด็กบอกว่าน้ำในแก้วสูง เด็กบอกว่าน้ำในแก้วไม่เท่ากัน
เท่ากัน

3. พัฒนาการทางภาษา เข้าใจคำศัพท์ไม่มาก แต่มีวงคำศัพท์กว้างจากคำที่อยู่รอบ ๆ ตัวและเข้าใจคำศัพท์ของสิ่งแวดล้อม รู้จักพูดประโยคสั้น ๆ ได้ 4. อารมณ์ มีความอยากรู้อยากเห็น สนใจเรื่องรอบตัว ช่างพูด ช่างซักถาม ดื้อ อิจฉา และก้าวร้าว กลัวจินตนาการ กลัวความมืด กลัวสัตว์ร้าย 5. พัฒนาการด้านบุคลิกภาพ ตามทฤษฎีอีริคสัน วัยเด็กอยู่ในขั้นความรู้สึกด้านความคิดสร้างสรรค์ ความรู้สึกผิด ถ้าเด็กได้กระทำความดี ทำให้ช่วยเหลือผู้ใหญ่แต่ผู้ใหญ่ไม่ชื่นชม ได้แต่ตำหนิ เด็กจะรู้สึกว่าตนเองมีความผิด ส่วนทฤษฎีของโคลเบอร์กอยู่ในขั้นการลงโทษและคำสั่ง อายุประมาณ 5 ปี การกระทำของเด็กอยู่ในระดับกระทำตามผู้ใหญ่สั่งเพื่อหลีกเลี่ยงการพูดลงโทษ ทฤษฎีฟรอยด์ วัยนี้มีความเห็นแก่ตัว(Id) ไม่สนใจด้านการใช้เหตุผล มีความเห็นแก่ตัว (Egocentric) เวลาเล่นจะสนใจตนเอง ไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่น และการมีเหตุผล (Ego) ในปลายวัยเด็กตอนต้นจะเริ่มมีเหตุผลบ้าง (Ego) เด็กชายและเด็กหญิงจะพัฒนาปมออดิปุสและปมอีเล็คตร้า (Oedipus and Electra Complex) โดยเด็กชายจะชอบแม่ ส่วนเด็กหญิงจะชอบพ่อ ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงจะเลียนแบบการแสดงพฤติกรรมและเลียนแบบบทบาททางเพศของพ่อและแม่ ฟรอยด์กล่าววว่า การปรับตัวของเด็กวัยตอนต้นมีดังนี้
1. การเก็บกด (Repression) 2. การสะกดกั้น (Subpression) 3. การทดแทน (Sublimation) 4. การย้ายที่ความโกรธ (Displacement) 5. การชดเชย (Compensation) 6. การทำปฏิกิริยาตรงกันข้าม (Reaction Formation) 7. การหาเหตุผลอ้าง (Retionalization) 8. การแยกตัวออกจากผู้อื่น (Isolation)
8.8.2 เด็กวัยตอนกลาง ลักษณะทั่วไป
1. พัฒนาการทางร่างกาย โดยทั่วไปความรวดเร็วในการเจริญเติบโตเริ่มช้าลง และเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เด็กหญิง จะมีอัตราพัฒนาการทางร่างกายเร็วกว่าเด็กชาย 1 ปี 1 ปีครึ่ง เด็กชายและเด็กหญิงจะเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นเมื่ออายุรวม 10-11 ปี หรืออาจเร็วกว่านั้นเล็กน้อยในรายที่เด็กมีความสมบูรณ์ และแข็งแรงกว่าคนอื่น ๆ ในระดับอายุเท่ากัน เด็กหญิงและเด็กชายจะมีอัตราของส่วนสูงและน้ำหนักเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปเด็กชายจะมีอัตราความสูงมากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย กระดูกจะยาวและใหญ่ขึ้น กระดูกแขน ขา จะยาวขึ้นและแข็งแรงขึ้น กล้ามเนื้อมัดใหญ่ตามกล้ามเนื้อแขน ขา จะพัฒนาขึ้น จะเห็นจากการที่เด็กสามารถใช้กำลังที่แขน ขา ในการวิ่ง กระโดด เขย่ง บิน เต้นได้ดีและเร็วขึ้น กล้ามเนื้อมัดเล็กตามข้อนิ้วมือ นิ้วเท้าดีขึ้น สายตาประสานกันดี การทำงานใช้ความระเอียดและความประณีตดีขึ้นกว่าวัยเด็กตอนต้น ฟันเริ่มมีการพัฒนาโดยจะมีฟันแท้ซึ่งเป็นฟันชุดที่ 2 ขึ้นแทนที่ฟันน้ำนม โดยฟันน้ำนมจะเริ่มหักเมื่ออายุ 6 ปี ฟันแท้จะขึ้นครบเมื่ออายุ 12 ปี วัยนี้จะมีการพัฒนาทางร่างกายมากขึ้น เด็กมักจะรับประทานอาหารจุขึ้นและนอนมากขึ้นจนดูว่าเป็นวัยเกียจคร้านและสกปรก วัยนี้ได้รับสมญาว่าเป็นวัย “ซุกซน” , “วัยมอมแมม” หรือ “วัยเริ่มดื้อ” ส่วนใหญ่จะมีโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่าย โรคภัยไข้เจ็บซึ่งเกิดขึ้นบ่อยในระยะนี้ ได้แก่ โรคหวัด อีสุกอีใส คางทูม หัด ท้องเสีย ปวดฟัน เหา กลาก เกลื้อน ฝี ปอดบวม เป็นต้น อย่างไรก็ดีการเกิดอุบัติเหตุมักเกิดง่ายสำหรับเด็กวัยนี้เพราะเป็นระยะไม่ค่อยระวัง ไม่มีความรอบคอบและชอบใช้พลังในการต่อสู้ ระยะนี้เด็กหญิงละเด็กชายไม่ถูกกัน ทะเลาะกันบ่อยครั้ง เด็กชายชอบทุบตี ต่อย ใช้กำลังกายต่อกัน เด็กหญิงชอบแสดงความก้าวร้าวทางวาจา ได้แก่ การพูดเสียดสี เหน็บแนม ประชดประชัน เป็นต้น
2. สติปัญญา ตามทฤษฎีของเพียเจต์ ระดับสติปัญญาอยู่ในขั้น Preoperational Thought Period และ Concrete Operation ซึ่งหมายถึงเด็กเข้าใจการใช้เหตูผล รู้จักเปรียบเทียบน้ำหนัก เวลา ประมาตร และความคิดด้านนามธรรม รู้จักการใช้เหตุผล เด็กทั้งสองเพศชอบอ่านเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ นิยาย การผจญภัย เทพนิยายปรัมปรา เป็นต้น กิจกรรมที่กระทำเด็กวัยนี้ชอบกิจกรรมการแข่งขัน การเล่นตามกติกา การเล่นเกม การออกกำลังกาย การตกแต่ง กิจกรรมทางศิลปะ กิจกรรมโต้วาที กิจกรรมฝึกพูด วัยนี้มีความพร้อมที่จะทำกิจกรรมที่ประณีตและละเอียดได้ดี มีความคิดสร้างสรรค์จากการแสดงความคิดและการแสดงกิจกรรมต่างๆ
3. พัฒนาการทางด้านอารมณ์ เด็กวันนี้เริ่มเข้ากลุ่ม สนใจเพื่อนในวัยเดียวกันและเพศเดียวกับตน มีความสามารถเป็นผู้นำกลุ่ม เรียนรู้การควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดีพอใช้ เข้าใจสิ่งแวดล้อมและการปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ทางสังคม รู้จักการเป็นผู้ชนะ ผู้แพ้ การเสียสละ ฝึกการเรียนแบบ มักจะเลียนแบบพฤติกรรมผู้ที่ตนนิยมและชื่นชม เช่น ดาราภาพยนตร์ นักร้องดังๆ ดาราละครโทรทัศน์ นักกีฬาที่เด่นดังไม่ว่าจะเป็นชาติอะไร เข้าใจบทบาททางสังคม บทบาททางเพศ บทบาทของพ่อแม่ ลดความนิยมในความสำคัญของพ่อแม่และญาติพี่น้องลง สนใจสิ่งแวดล้อมนอกครอบครัวเพิ่มขึ้น มักต่อต้านการบีบบังคับของพ่อแม่ ชอบความยุติธรรม บางครั้งมีอารมณ์น้อยใจอันเกิดจากการขาดคนเอาใจใส่ เช่น พ่อ แม่ เพื่อน เสียใจเมื่อไม่ใครสนใจตนหรือซ้ำเติมตน และจะพัฒนาอารมณ์ริษยา อิจฉาที่ตนไม่มีความทัดเทียมผู้อื่น
4. พัฒนาการทางด้านสังคม วัยนี้สนใจการมีเพื่อน ยอมทำตามมติของกลุ่มและต้องการเป็นสมาชิกของกลุ่ม เริ่มแสดงพฤติกรรมต่อต้านพ่อแม่ ปรับตัวได้ดีกับกลุ่มเพื่อนและคนนอกสังคมครอบครัว เริ่มเรียนรู้กติกาของสังคมและกติกาของโลกที่ตนเองจำเป็นจะต้องปฏิบัติเพื่อมิให้เป็นที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ที่ผู้อื่นทำกัน รู้จักการปฏิบัติตามคนในสถาบันทางสังคมและครอบครัวกระทำกันเริ่มเข้าใจพ่อแม่แต่ความรักและความกลัวลดลง เพราะรู้ว่าพ่อแม่มีความรับผิดชอบต่อบุตรและรู้ว่าบุตรเองจะต้องเรียนรู้ชีวิตภายนอกครอบครัวมากขึ้น
5. พัฒนาการทางบุคลิก ตามทฤษฎีของฟรอยด์ วัยนี้อยู่ในขั้นแฝง ( Latency Stage ) มักไม่สนใจเรื่องเพศแต่สนใจสิ่งแวดล้อมแทน ได้แก่ การผจญภัย การเล่น การเข้ากลุ่ม การแข่งขัน การแสดงกิจกรรมของกลุ่ม โดยแยกตามความสนใจ เด็กชายและหญิงจะเป็นศัตรูกัน ทะเลาะกันเป็นประจำ
อีริคสัน ( Erikson ) กล่าวว่า พัฒนาการของเด็กอยู่ในขั้นความคิดริเริ่ม-ความรู้สึกผิด ( Initiative vs. Guilt ) โดยที่เด็กแสดงความคิดริเริ่มโดยการซักถาม แสดงความคิดแปลก ผู้ใหญ่ควรรับฟังและให้ข้อเสนอแนะมากกว่าจะตำนิหรือดุว่าเด็ก เพระจะทำให้เด็กเกิดความหวาดกลัวซึ่งจะพัฒนาเป็นคนมีบุคลิกภาพไม่มีความเชื่อมั่นในตนเองต่อไป นอกจากนี้ปลายวัยจะพัฒนาความรู้สึกขยันหมั่นเพียร ความรู้สึกต่ำต้อย ( Industry Vs. Inferiority ) ผู้ใหญ่จะต้องกระต้นให้กำลังใจมากกว่าจะต่อว่าหรือตำนิ เพราะจะเป็นการสร้างปมด้อยในใจของเด็กให้เป็นคนไม่กล้าตัดสินใจต่อไป
ส่วนโคลเบอร์ก ( Moraliberg ) กล่าวว่าเด็กวัยนี้มีพัฒนาการทางจริยธรรมระดับที่2 การมีจริยธรรมของตนเอง ( Morality of Conventional role Conformity ) ขั้นที่ 3 ขั้นพฤติกรรมเชิงจริยธรรมขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของสังคม ( The Law and Order Orientation ) ขั้นนี้อายุระหว่าง 10-13 ปี เด็กระดับนี้กระทำตนตามกฎระเบียบของสังคมเพื่อให้ผู้อื่นยอมรับ
การปรับตัวระยะวัยเด็กตอนปลายมักจะเป็นประเภทการทดแทน การฝันกลางวัน การสันโดษ การโต้แย้ง การเก็บตัว การมีเหตุผลของตน การปฏิเสธและการก้าวร้าว
8.8.3 พัฒนาการของวัยรุ่น 1.พัฒนาทางร่างกาย วัยรุ่นมีพัฒนาการทางร่างกายรวดเร็วมาก เพราะการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ มีการเพิ่มส่วนสูงและน้ำหนัก ผู้ชายจะพัฒนาความสูงจนถึงอายุ 20 ปีจึงจะหยุดสูง ส่วนผู้หญิงจะพัฒนาความสูงอายุ 18 ปี จึงจะหยุดสูง เมื่อเข้าสู่วัยแรกรุ่นผู้หญิงจะเป็นสาวเร็วกว่า 1 ปีครึ่ง โดยจะมีรูปร่างและน้ำหนักมากกว่าชาย พอเข้าระยะปลายวัยรุ่นอายุประมาณ 20 ปี ผู้ชายจะแข็งแรงกว่าและมีกำลังมากกว่าผู้หญิง วัยรุ่นจะพัฒนาด้าน กล้ามเนื้อ กระดูก ระบบประสาท อวัยวะ ภายในร่างกายใหญ่ขึ้น เส้นโลหิตขยาย หัวใจ ตับ ปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ ฯลฯ ขยายใหญ่ขึ้น ระบบโลหิตแรงขึ้น สมองใหญ่ขึ้น (Warren R. Baller et al. 1969 :213-219) ต่อมไร้ท่อจะขับฮฮร์โมนต่างๆที่ช่วยพัฒนาร่างกายและมีอิทธิพลต่ออารมณ์และจิตใจ เช่น ฮอร์โมน เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน (Estrogen and Progesterone) สำหรับเพศหญิงและฮอร์โมนแอนโดรเจนและเทสโตสเตอโรล (Androgenand Testosterone) สำหรับเพศชาย ต่อมไร้ท่อที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่น ไดแก่ ต่อมใต้สมองต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ต่อมตับอ่อนและต่อมเพศ
อิทธิพลของฮอร์โมนช่วยพัฒนา ลักษณะที่หนึ่งของเพศ (Primary Characteristic) ได้แก่ การขยายตัวของเพศสัมพันธ์ ส่วนลักษณะที่สองของเพศ (Secondary Chacacteristics) ได้แก่ การมีเสียงห้าว มีขนในที่ลับ รักแร้ ขา เครา หนวด นม มีภาวะไข่สุก มีการผลิตน้ำอสุจิมีขอบเส้นผม (Hair Line) เป็นต้น(Garrison 1972 : 49 )
วัยรุ่นที่เป็นหนุ่มสาวเร็วเกินไปหรือเป็นหนุ่มสาวช้าหรือมีพัฒนาการทางร่างกายไม่เจริญเต็มที่จะสร้างปัญหาให้กับตัวเอง ได้แก่ การเกิดความวิตกกังวลใจ เกรงตนเองจะมีปมด้อยไม่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนหรือทำให้ตนเองมีความผิดปติไม่เทียบเท่าเพื่อนๆในกลุ่ม
2. พัฒนาการทางอารมณ์ คนทั่วไปเรียกวัยรุ่นว่าเป็นคนเจ้าอารมณ์ มีอารมณ์รุนแรง อารมณ์ค้างทำให้หงุดหงิด เพราะตนเอง เกิดความขัดแย้งในใจเมื่อร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสมญานามที่คนอื่นเรียกวัยรุ่น เพราะเกิดความเกลียด ได้แก่ “วัยพายุบุแคม” หรือ “วัยวุ่นวาย” เพราะอารมณ์ปรวนแปรได้ง่าย เกิดความสัมพันธ์ระหว่างหัวเลี้ยวหัวต่อของความเป็นเด็กกับความเป็นผู้ใหญ่ ลักษณะอารมณ์เด่นของวัยรุ่นได้แก่ 1. อารมณ์รุนแรง 2. อารมณ์ไม่คงที่ 3. อารมณ์ค้าง 4. ควบคุมอารมณ์ไม่คงที่ 5. อารมณ์กังวลใจ 6. อารมณ์กลัว
3. พัฒนาการด้านสังคม วัยนี้ทั้ง 2 เพศเริ่มสนใจกันและกัน (Genital Stage) เริ่มจับคู่และมีความรัก ปลายวัยรุ่นต้องการจะมองหาคู่ครอง วัยรุ่นยังมีความสนใจตัวเอง(Egocentric)ห่วงตังเองและสนใจตัวเอง เช่น สนใจของอิสรภาพของตัวเอง การแต่งกาย การคำนึงถึงความต้องการเฉพาะตน
วัยรุ่นรักเพื่อนและจะยอมปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เพื่อนหรือกลุ่มวางเงื่อนไข เพื่อนมีอิทธิพลต่อวัยรุ่น (พรรณี ชูทัย 2522 : 120) วัยรุ่นชอบแสดงพฤติกรรมเลียนแบบผู้ใหญ่กระทำกัน จึงมักกระทำผิดพลาดง่าย เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์และขาดประสบการณ์ วัยรุ่นมักจะมีปัญหากับพ่อแม่ ไม่ลงรอยกันเพราะต้องการอิสรภาพและไม่ต้องการจะให้พ่อแม่ มองว่าตัวเองเป็นเด็กในความปกครองเหมือนแต่ก่อน ต้องการจะแสดงตนเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว(Henry L. Roediger et al. 1984 : 300)
4.พัฒนาการทางสติปัญญา สติปัญญาของวัยรุ่นอยู่ชั้นสูงสุดอายุ(19-20ปี) (Warren R.Baller el al. 1968 : 218) วัยรุ่นมักจะทำอะไรผิดพลาดเพราะขาดประสบการณ์และการมองโลกในความเป็นจริง วัยรุ่นมองอะไรเป็นหลักการและอุดมการณ์การณ์ของความเป็นจริงตามหลักทฤษฎีมากกว่าหลักการปฏิบัติ(Roediger et al.1984 : 78) เพียเจต์กล่าวว่าสติปัญญาอยู่ในขั้นใช้ตรรกศาสตร์(Formal Operations) สามารถคิดวิเคราะห์และปรับตัวได้หลายมุม ขึ้นเป็นพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นสูงสุดวัยรุ่นมีความจำดีมีความสามารถทางภาษาสูง เข้าใจทฤษฎีต่างๆ และกฎเกณฑ์รวมทั้งแนวคิดต่างๆ
5. พัฒนาการทางบุคลิกภาพ
ตามหลักทฤษฎีของอีริคสัน พัฒนาการของวัยรุ่นอยู่ในขั้นความมีเอกลักษณ์ของตนและความสับสนในบทบาท(Sense of Identity Diffusion) ระยะนี้วันรุ่นมีความสับสนว่าตนเองมีบทบาทอย่างไรและควรจะวางตัวอย่างไร ส่วนพัฒนาการทางจริยธรรมของวัยรุ่นอยู่ในขั้นที่ 3 ระดับ มีวิจารณญาณของตนเอง ขั้นที่5 ขั้นสัญญาสังคม (The Social Contract Legalistic Orientation)โดยปฏิบัติตามระเบียบของสังคม เข้าใจเหตุผลของสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติตามขั้นที่ 6 ขั้นมีคุณธรรมประจำใจ (The Universal Etical Principle Orientation)วัยรุ่นปฏิบัติตามหลักสากล เพื่อสร้างอุดมการณ์ของการมีอุดมการณ์ประจำใจ
การปรับตัวของวัยรุ่นมักจะอยู่ในประเภทการโต้แย้งอย่างมีเหตุผล การรักสันโดษ การเก็บกดความรู้สึก การเนรเทศตนเอง การฝันเฟื่อง การทดแทน และการแสดงพฤติกรรมารก้าวร้าวย้ายที่
8.8.4 พัฒนาการของผู้ใหญ่ตอนต้น วัยผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นระยะมีความสุขุม รอบคอบ ควบคุมอารมณ์ได้และแสดงพฤติกรรมรุนแรงน้อยลง มีพัฒนาการทางสติปัญญาสูงสุด รู้จักสงเคราะห์ วิเคราะห์ แก้ปัญหา และประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิต ด้านสังคมมีเพื่อนมาก ทั้งในวงการอาชีพของตนและนอกวงการ รู้จักบทบาททางสังคมและการวางตนให้เหมาะสมกับงานและการปรับตัว มีความรับผิดชอบและรู้จักคิด วัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีความต้องการ
1. การแสวงหาอาชีพ 2. มีความพึงพอใจในการทำงาน 3. ต้องการแต่งงานและมีบุตร 4. มีความมั่นคงทางจิตใจในการสร้างครอบครัวและฐานะ 5. วางแผนเพื่ออนาคต วัยผู้ใหญ่ตอนต้นอยู่ในขั้น Sense of Intimacy vs. Isolation ซึ่งเป็นระยะการสร้างฐานะความปึกแผ่นโดยมีการรับผิดชอบตนเอง มีความครัวและความสำเร็จถ้าผู้ใหญ่ที่มีความล้มเหลวจะมีความรู้สึกว่าถูกแยกอยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง มีรายงานการวิจัยพบว่าบุคคลที่มีอายุระหว่าง 35-45 ปีอาจจะมีอาการของโรคประสาทสูงมาก (Henry L. Roediger III et al. 1984 : 315) บางครั้งอาจจะเป็นคนไร้คุณธรรมอย่างมาก วัยผู้ใหญ่ซึ่งแต่งงานระหว่างอายุ 20-24ปี มีลูกถึง24 เปอร์เซ็นต์ ถ้าแต่งงานระหว่างอายุ25-29 ปี อาจไม่มีลูกเลยถึง 13 เปอร์เซ็นต์ ผู้หญิงที่มีบุตรคนแรกเมื่ออายุ30ปี มักจะมีบุตรอีก
8.8.4.1 การรับรู้ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แชร์ (K. Warner Schaie 1977-1978) กล่าวว่าการรับรู้ของผู้ใหญ่ต่างกับวัยเด็กและวัยรุ่นอยู่ที่ความคิดและแสวงหาความรู้ การรับรู้ของวัยนี้มีดังนี้ (Henry L. Roediger III et al.1984 : 385) 1. แสวงหาความรอบรู้(FreeWheeling Stage)เป็นการศึกษาค้นคว้าด้านต่างๆทั้งความคิดและทักษะในการปฏิบัติ 2. การวางเป้าหมาย(Goal Directed Stage) เป็นการตั้งจุดมุ่งหมาย ในการดำเนินการโดยการนำความรู้ต่างๆมาใช้ 3. การดำเนินการ(Responsible Stage) เป็นการนำความรู้ต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับบุคคลต่างๆ รู้จักการอยู่ร่วมกัน รู้จักการแก่ปัญหาของกลุ่มโดยใช้หลักการของมนุษย์สัมพันธ์ 4. การบริหาร (Executive Stage) เป็นการนำวิธีการต่างๆ ไปใช้กับหน่วยงานต่างๆเช่น งานอาชีพ เป็นต้น 5. การแยกตน (Reintegrative Stage) เป็นการเลือกคิดหรือเลือกกระทำในสิ่งที่ตนเองสนใจและต้องการ พัฒนาการในขั้นที่ 1-2 เป็นของผู้ใหญ่วัยต้นๆ ขั้นที่3-4 เป็นขั้นผู้ใหญ่วัยกลาง ส่วนขั้นที่5เป็นผู้ใหญ่วัยปลาย ดูตามภาพที่ 8.1 โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 22ปี วัยผู้ใหญ่แบ่งเป็น 3 ระยะแต่ละระยะจะกินเวลา5ปี




















วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย



65
ระยะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย



60
จุดสูงสุดของวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง



55
ช่วงอายุ50 ผู้ใหญ่ตอนกลาง



50
การเข้าสู้วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง



45
ระยะต่อวัยกลางคน





40
สร้างหลักฐาน





33
ช่วงอายุ30





28
ระยะแรกสู้วัยรุ่นผู้ใหญ่




 22
ระยะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น




 17
วัยรุ่น


















ภาพที่ 8.1การแสดงพัฒนาการของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและตอนกลางตาม Levinson
ที่มา: Henry L. Roediger III et al. Psychology. (Canada : Little,Bown Company Limited, 1984), p. 377
8.8.5 วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง วัยผู้ใหญ่ตอนกลางมีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ดังนี้
1. เกิดการกังวลเกี่ยวกับสมรรถภาพทางร่างกาย เช่น ผิวหนังเริ่มเหี่ยวย่น เป็นโรคต่างๆ ง่าย เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง การป้องกันโดยอาจกระทำโดยการออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร ใช้เครื่องสำอางมากขึ้นและรับประทานอาหารเสริมวิตามินเพื่อชลอความชราและเสริมสร้างสุขภาพ 2. กลัวความตายจากอุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ เช่น หัวใจวาย ผู้ชายมักกลัวตายละความเสื่อมทางสุขภาพ ผู้หญิงกลัวสูญเสียความงาม กลัวเป็นหม้าย (Linda L. Davidoff 1987 : 425-426) 3. ผู้ชายจะเริ่มแสดงพฤติกรรมเจ้าอารมณ์ เอาจริงเอาจังกับชีวิตมักแสดงท่าทางไม่สนใจที่จะพึ่งใคร ผู้หญิงมีความรู้สึกในด้านการแข่งขัน ก้าวร้าวไม่อิสระ 4. อำนาจลดลง ลูกๆ มักจะไม่มีเวลาให้กับพ่อแม่และอยู่ภายในความควบคุมของพ่อแม่น้องลง พ่อแม่กลางคนจะมีความรู้สึกอิสระในด้านการเลี้ยงลูกมากขึ้น แต่กังวลใจว่าตนจะสูญเสียและแยกจากลูกของตน 5. คิดแต่เรื่องเวลาที่เหลือว่ามีอยู่อีกเท่าไรมากกว่าจะคิดว่าเวลาที่เกิดมาจนถึงปัจจุบันนานเท่าไรแล้ว 6. กลัวจะเป็นโรคและตายเหมือนพ่อแม่ของตน รวมทั้งกลัวลูกๆจะได้รับโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากตน เช่น เบาหวาน เป็นต้น 7. มีความรู้สึกว่าตนจะต้องดูแลพ่อแม่ที่แก่ชราแล้ว เพราะมีความเข้าใจความรู้สึกของคนแก่ในขณะที่ตนเองกำลังจะเป็นคนแก่เช่นกัน อีกประการหนึ่ง กลัวว่าถ้าตนถอดทิ้งพ่อแม่ที่แก่ชรา ลูกๆ อาจจะทอดทิ้งตัวเองบ้างและตัวเองจะมีความรู้สึกผิดอยู่ตลอดไป 8. มีความรู้สึกอิสระในการรับภาวะดูแลลูกเหมือนครั้งก่อนๆ ลูกโตขึ้นและจบการศึกษาเป็นส่วนใหญ่ ความรับผิดชอบที่มีต่อลูกๆ ลดลง มีความรู้สึกว่าตนเองมีเวลาว่างมาขึ้น ไม่เคร่งเครียดเหมือนเมื่อลูกยังเล็กๆอยู่ 9. เตรียมพร้อมทีจะรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เช่น ลูกจบการศึกษาแล้วจะต้องมีการแต่งงานและแยกครอบครัวออกไปจากพ่อแม่ หรือลูกจะต้องนำสมาชิกใหม่มาอยู่ด้วย เป็นต้น 10. ในผู้หญิงจะเป็นระยะวิกฤต ได้แก่ การเข้าสู่ภาวการณ์หมดประจำเดือน (menopause)ในหญิงอายุระหว่าง 45-55 ปี ต่อมอดรีนาลจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลง ต่อมอดรีนาลและเริ่มสร้างฮอร์โมนเริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปี และจะสิ้นสุดในอายุ 55 ปี ผลที่เกิดขึ้นได้แก่ ประจำเดือนหยุด รังไข่หยุดผลิตไข่ ไม่มีโอกาสจะมีลูกอีกต่อไป อาการทางกายที่ปรากฏมีหลายประการ ได้แก่ การมีความรู้สึกร้อนวูบตามผิวหนังและตามใบหน้า เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ หายใจไม่สะดวก การย่อยอาหารผิดปกติ มีอาการเหมือน ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เป็นลมบ่อย ปวดศรีษะปวดหลัง ขาดแคลเซียมในกระดูก คอแห้ง การถ่ายปัสสาวะผิดปกติ มีความรู้สึกเหมือนมีก้อนในลำคอซึ่งทำให้กลืนน้ำลายลำบาก ช่องคลอดแห้งมีความยุ่งยากในการมีเพสัมพันธ์ ผิวหนังเหี่ยวย่นมีริ้วรอยของความชราปรากฏทั่วไปและหน้าอกเหี่ยวย่นลง อาการทางจิตใจที่เห็นได้ชัด ได้แก่ ความรู้สึกเศร้าสร้อย ซึม มีความเครียดสูง เพราะมีความวิตกว่าตนเองแก่ชราลงหมดหน้าที่ในการมีบุตรซึ่งสามีจะเบื่อหน่ายและทอดทิ้ง ในผู้ชายฮอร์โมนแอนโดรเจนลดลง สมรรถภาพทางกายและจิตใจเริ่มลดลง บทบาทของความเป็นสามีและพ่อเปลี่ยนไปเพราะลูกโตขึ้น สับสนทางอารมณ์แต่สามารถจะปรับตัวได้ ยังคงมีเพศสัมพันธ์ต่อไปได้อีก 11. สูญเสียการรับรู้และมีความเสื่อมของสมอง ความจำระยะสั้นหรือความจำระยะยาวจะเริ่มลดลง เมื่ออายุ 60 ปี คำพูดจะช้าลงกว่าเดิม
3.8.5.1 การปรับตัวในวัยผู้ใหญ่กลางคน 1. เปลี่ยนแปลงความรู้สึกของตนเองต่อสิ่งอื่นๆ ในด้านการควบคุมลดลง ค่านิยมที่ยึดถืออยู่เดิมจะเปลี่ยนแปลงไปตามประสบการณ์ 2. ปรับตัวให้เข้ากับบทบาทใหม่ที่ย่างเข้าสู่วัยชราจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อลูกหลานและเพื่อเตรียมชีวิตในปลายวัย 3. ปรับสภาพจิตใจให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและยอมรับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย 4. การเตรียมตัววางแผนครอบครัวเมื่อตนเองเกษียณอายุหรือมีความสามารถหาเงินจากรายได้ลดลง 5. ปรับตัวทางด้านทางเพศ ยอมรับการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากสูงอายุ และปรับตัวรับสภาวะการเป็นหม้ายหรือหย่าร้าง บุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับความล้มเหลวในการงานและผิดหวังในชีวิตสมรสอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ อายุ 35-45 ปี บางคนเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลประสาทเนื่องจากภาวการณ์ปรับตัวไม่ได้วัยผู้ใหญ่ตอนกลางอยู่ในขั้น Sense of Generativity VS. Sense of Absorption ของทฤษฏีอีริคสัน ที่กล่าวถึงการที่บุคคลมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อครอบครัว รู้จักอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน แต่ผู้ใหญ่ที่มีชีวิตล้มเหลวจะคิดถึงแต่ตนเอง สงสารตนเองและสนใจตนเองมากกว่าคนอื่น การปรับตัวในวัยผู้ใหญ่ส่วนมากจะใช้กลวิธานในการปรับตัวแบบต่างๆ ตามความสนใจและการใช้เหตุผลของตนเป็นสำคัญ
8.8.6. พัฒนาวัยชรา วัยชราออกเป็น 2 ระยะดังนี้ (Linda L. Davidoff 19878 : 427) 1. วันชราตอนต้น (Young Old Age) อายุ 65-75 ปี 2. วัยชราตอนปลาย (Old Old Age) อายุ 75 ปีขึ้นไป
8.8.6.1 การเปลี่ยนแปลงในวัยชรามีดังนี้ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง แคลเซียมในกระดูกเสื่อมลงอายุของกระดูกบางชิ้นจะเสื่อมลงตามระยะเวลาของการใช้งาน กระดูกของคนชรามักจะเปราะบางและโค้งงอ ถ้าล้มกระดูกจะหักง่าย กระดูกเสียรูปร่างโดยคนชราที่นั่งงอตัวเป็นประจำหลังจะโกง
ผิวมีไขมันน้อยลงเพราะต่อมไขมันใต้ผิวหนังเสื่อมลง ผิวหนังจะแห้งละบาง มีจุด กระ ขึ้นอยู่ตามผิวหนังทั่วไป ผิวหนังมีรอยย่น เหี่ยวทั่วไป ซึ่งเป็นสัญญาณของความชราภาพ ผมเริ่มบางลง มีสีเทาหรือขาว การรับสัมผัสทางหู ตา จมูก ลิ้นและ ผิวหนังเสื่อมลง สายตาจะมองเห็นไม่ชัด ลักษณะเป็นสายตายาว คนชราที่เคยมีลักษณะสายตาสั้นมาก่อนจะลดลักษณะของสายตายาวขึ้นไม่สั้นมากเหมือนครั้งก่อน การรับรสทางลิ้นเสื่อมลง คนชราจึงมักปฏิเสธอาหาร ไม่ค่อยรับประทานอาหารให้มากเหมือนก่อนๆ จึงเกิดภาวะการขาดสารอาหารง่าย หูไม่ค่อยได้ยินชัดเจน มีลักษณะของคนหูตึงเป็นส่วนใหญ่ จมูกไม่ค่อยจะได้กลิ่น การปรับตัวของคนชราไม่สามารถจะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้
ระบบหมุนเวียนของโลหิตเสื่อมลง การเต้นของหัวใจลดลงตามอายุ ความดันโลหิตจะลดลง 1 เปอร์เซ็นต์ ทุกๆ ปีหลังจากอายุ 20 ปี (Roediger III et al. 1984 : 390) ความต้องการออกซิเจนที่ส้นเลือดนำไปตามโลหิตสู่ส่วนต่างๆ ลดลง โลหิตไหลช้าลง เส้นโลหิตเปราะแข็งขึ้นตามอายุ บางครั้งมีการสะสมตามไขมัน อันเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลมาก หรือไขมันที่อุดตันเส้นโลหิตโดยเฉพาะที่เส้นโลหิตบริเวณขั้วหัวใจอาจเกิดจากการขับฮอร์โมนของต่อมอดรีนาลินผิดปกติ ภาวะเช่นนี้ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เลือดมาเลี้ยงสมองช้าลง คนชรามักจะตายด้วยโรคหัวใจ มะเร็ง และความดันโลหิตสูง
8.8.6.2 ระบบหายใจของคนชราเปลี่ยนแปลง การหายใจสั้น มีช่วงสั้นมากตามอายุ ทำให้ออกซิเจนไปสู่ถุงลมในปอด หลอดลมน้อย ปอดจึงแฟบเหี่ยวลง
8.8.6.3 ระบบต่อมไร้ท่อทำงานลดลง ต่อมฟิทุยอินทารี ไทรอยด์ พาราไทรอยด์ ในคนชราผลิตฮอร์โมนน้อยลงตามอายุ จากการลดปริมาณของฮอร์โมนทำให้เกิดโรคบางอย่าง รวมทั้งทำให้มีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ คนสูงอายุจึงเป็นโรคง่าย เช่น เบาหวาน มะเร็ง และโรคผิดปกติอื่นๆ
8.8.6.4 ระบบสืบพันธ์ในคนชราเปลี่ยนแปลง ในผู้ชายอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไปจะลดการผลิตอสุจิลง 50 เปอร์เซ็นต์ อายุ 80 ปี จะผลิตเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ผู้ชายจะมีอาการผิดปกติของต่อมลูกหมากซึ่งจะต้องทำการผ่าตัด หญิงจะมีอาการปวดหลัง เอว ช่องคลอด แห้งและหดตัว ไม่สามารถจะร่วมเพศอีกได้เพราะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
ความจำของคนอายุ 60 หรือ 70 ปี จะลดลง การพูดช้าลง การตัดสินใจช้า การสนองตอบในการรับรู้ต่างๆ ลดลง อายุมากไม่ทำให้การเรียนรู้ลดลง แต่คนสูงอายุมีความกังวลสูง จากการวิจัยเรื่องระดับ I.Q. ของคนสูงอายุนั้น อายุ 50-60 ปี อาจจะมีการสูญเสียความสามารถทางสมองลงบ้าง แต่ยังไม่มีหลังฐานบ่งชี้แน่นอน อายุ 70 ปี อาจมีการสูญเสีย I.Q. ลงบ้าง ถ้าคนชราได้ใช้ความคิดให้คล่อง มีสุขภาพดี มีสิ่งแวดล้อมทางส่วนตัวและทางสังคมดี การเสื่อมของสมองอาจไม่มีเพราะใช้สมองอยู่เสมอจึงลดอัตราการเสื่อมของสมองลงได้ สรุปแล้วคนชราที่มีการศึกษาดี รักษาสุขภาพ มีความคล่องแคล่ว และจัดสภาพแวดล้อมแวดล้อมรอบตัวดีไม่มีผลของการเสื่อมของสมองแต่อย่างใด (Lind L. Davidoff 1987 : 427)
8.8.6.5 อาการเจ็บป่วยทางสมองของคนชรา ในวัยผู้ใหญ่และวัยชรามีการเจ็บป่วยทางสมองดังนี้(Benjamin B. Lahey 1980 : 365-377)
1. โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) มักจะเกิดหลังอายุ 50 ปี กล้ามเนื้อแขน ขา จะไม่มีแรง มีอาการสั่นและเกร็ง ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกว่า มือ เข่า ขา ศีรษะตั้งเกร็ง แต่ไม่มีผลต่อสติปัญญาและการรับรู้อย่างใด เวลาเดินจะมีอาการสั่นกล้ามเนื้อไม่มีแรง 2. โรคฮันติงตัน (Huntington’s Disease) ผู้พบโรคนี้คือ George Huntington ในปี ค.. 1872 มักจะปรากฏในอายุ 30-50 ปี เกิดจากความเสื่อมของ Cerebral cortex และสมองตอนกลางส่วนล่าง ผลที่เกิดได้แก่ เวลาเดินเหมือนมีอาการกระตุก โรคนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยยีนที่มีลักษณะเด่น หญิงและชายมีโอกาสจะได้รับการถ่ายทอดได้เท่าๆกัน มีการสูญเสียความจำ การตั้งใจ อารมณ์ซึมเศร้า กังวล มีความรู้สึกไม่เป็นมิตร 3. โรคทางสมอง (Alzheimer) แพทย์ชาวเยอรมันค้นพบโรคนี้ในปี ค.. 1900 ผู้พบชื่อ Alois Alzheimer อาจเกิดขึ้นตั้งแต่อายุ 30-40 ปี หรือ 30-40 ปี หรือ 50-60 ปี ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย เกิดจากการมีโพรงในสมองทำให้เกิดมีของเหลวไปขังในสมอง อาการที่เป็นได้แก่ พูดไม่ชัด ความจำเสื่อม ไม่ค่อยมีสมาธิ มีปัญหาในการใช้ภาษาเป็นสื่อในการพูด อ่านและเขียน 4. โรคทางสมอง Pick’s Diseanse ผู้ค้นพบคือ Arnold Pick ในปี ค.. 1800 โรคนี้เกิดจากการถูกทำลายของเนื้อสมองส่วนหน้า มีอาการคล้ายๆ กับโรค Alzheimer ผู้หญิงมักจะมีอาการมากกว่าผู้ชาย 5. โรคสมอง Senile Dementia เกิดจากการที่เซลล์สมองถูกทำลายหรือเซลล์สมองตายน้ำหนักของสมองจะเล็กลง มักเกิดเมื่ออายุ 60 ปี และจะแสดงอาการออกมาชัดเจนราวๆ อายุ 70-80 ปี จากการศึกษาซึ่งไม่มีตัวเลขยืนยันแน่นอนพบว่า อายุ 65 ปี การตายของเซลล์สมองมี 5 เปอร์เซ็นต์ อายุ 80 ปี จะมีการตายของเซลล์สมองถึง 20 เปอร์เซ็นต์ และถ้าบุคคลนั้นมีสุขภาพดี และมีสิ่งแวดล้อมทางสังคมดี อาจจะมีการสูญเสียน้อยลง อาการที่แสดงออกได้แก่ การเปลี่ยนแปลงนิสัยประจำตัวลง เสียความจำ สติปัญญาเริ่มสับสนอารมณ์แปรปรวน เศร้าซึมและกังวลใจ 6. โรคสมอง Cerebrovascular Disease เกิดกับบุคคลอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปเพราะความอ้วนโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เลือดส่งไปเลี้ยงสมองน้อยมากจนถึงระยะขาดเลือดนานถึง 2-3 นาที เซลล์สมองขาดออกซิเจนจะตาย ผู้ที่มีอาการจะสูญการรับรู้และไม่มีสติสัมปชัญญะ
นอกจากนี้ยังมีอาการต่างๆ ที่เกิดจากผู้สูงอายุได้รับอุบัติเหตุ เช่น การหกล้ม ศีรษะฟาดพื้น การขาดอาหาร การสูญเสียบุคคลที่รัก เป็นเนื้องอกในสมองซึ่งเกิดจากเซลล์มะเร็งหลุดเข้าไปในสมอง อาการที่เกิดกับความผิดปกติทางสมองได้แก่ ความผิดปกติทางด้านสติปัญญา อารมณ์ การจำ พฤติกรรมเปลี่ยนไปและปวดศีรษะอย่างรุนแรง เป็นต้น
พัฒนาการของวัยชราอยู่ในชั้น Sense of Integrity vs. Sense of Despair วัยชราจะนึกถึงอดีตอันสวยสดงดงามที่ตนประสบความสำเร็จ
สรุปแล้วการปรับตัวของวัยผู้ใหญ่มักจะใช้กลวิธานของการปรับตัวแบบต่างๆ เช่น การเก็บกด การทดเทิด การเข้าข้างตนเอง การกระทำตรงกันข้าม การปฏิเสธ เป็นต้น






ตารางต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบการนำทฤษฎีต่างๆมาใช้อธิบายการพัฒนาบุคลิกภาพทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของบุคคล ตั้งแต่เกิดจนถึงวัยชรา
ทฤษฎีทางสติปัญญา
ทฤษฏีพัฒนาทางสติปัญญา
เพียเจต์ (Piaget)
Theory of Intellectual
Development
ทฤษฏีบุคลิกภาพ
อีริคสัน (Erikson)
Theory of Development


1.Sensory-motor Intelligence
(0-2 ปี)
-การไขว่คว้า เคลื่อนไหว การมอง การดูด สติปัญญาพัฒนาจากการปะทะกับสิ่งแวดล้อม เป็นระยะดูดซึมพฤติกรรม (Assimilation) ด้วยการหยิบจับ กัด ดูด ดู ภายหลังเปลี่ยนเป็นการปรับความแตกต่าง (Accommdation) เป็นการเปลี่ยนความคิด เติมให้สอดคล้องกับสิ่งใหม่ เช่น เอาเหล็ก พลาสติกมากัดดูพบว่ากินไม่ได้ ความคิดที่ได้เด็กจะนำไปสร้างความสมดุล (Equillbration) ซึ่งทำให้เด็กปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้
2.Preoperational thought
(2-7 ปี)
2.1Preconceptual thought
(2-4 ปี)
ไม่เข้าใจเหตุผล เข้าใจสิ่งที่มองเห็นจากรูปร่าง
2.2 Intuittive thought
(4-7 ปี)
-มีเหตุผลขึ้น เข้าใจปฏิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังคงไม่เข้าใจเรื่องของระยะทาง มวลสาร ความคงที่ และปริมาตร
3.Concrete operations
(7-11ปี)
-รู้จักใช้เหตุผล แก้ปัญญาได้ เข้าใจรูปธรรม รู้เรื่องมวลสาร ปริมาตร เวลา ระยะทาง รวมทั้งรู้จักการคิดย้อนกลับ (reversibity) ได้ เช่นนำน้ำที่มีจำนวนเท่ากัน ใส่ในแก้วมีขนาดต่างกัน เด็กจะบอกได้ว่าปริมาณน้ำเท่ากัน แต่มีความแตกต่างกันเพียงภาวะที่ใส่น้ำ
4.Formal operations
(11-15 ปี)
-พัฒนาความคิด ความเข้าใจถึงขั้นสูงสุด คิดแบบผู้ใหญ่ แก้ปัญหาได้ เข้าใจใส่สิ่งที่เป็นนามธรรม ตั้งสมมุติฐานของความคิดเองได้


1.Trust Vs. Mistrust
ความไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ
  1. ปี)
เด็กพัฒนาความไว้วางใจต่อคนและคนอื่นจากสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่และลูก ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูไม่คงเส้นคงวา เด็กคิดว่าโรคอันตรายและไม่น่าอยู่ ปลอดภัยสำหรับตน
2.Autonomy vs. Doubt
ความเป็นตัวของตัวเอง-ความไม่มั่นใจ
(2-3 ปี )
ถ้าเด็กได้ฝึกการทำกิจกรรมต่างๆเป็นการฝึกความสามารถ เด็กจะพัฒนาความมั่นใจและภูมิใจในตนเอง
3.Initiative vs. Guilt
ความคิดริเริ่ม – ความรู้สึกผิด
(4 – 5 ปี )
เด็กเริ่มสนใจกิจกรรมสำรวจ ตั้งคำถามแปลกๆ ถ้าถูกผู้ใหญ่ตำหนิ ดุว่า จะรู้สึกว่าตนผิด
4. Industry vs. Inferiority
ความขยันหมั่นเพียร-ความรู้สึกต่ำต้อย
(6-11 ปี)
เด็กพยายามจะพัฒนาความขยันขันแข็ง ถ้าถูกต่อว่า ไม่สนใจ เด็กจะรู้สึกว่าตนเองเป็นคนล้มเหลว และน่าเบื่อ
5. Identity vs. Roie confusion
ความเป็นเอกลักษณ์ – ความสับสนในบทบาท
(12-18 ปี)
วัยรุ่นแสวงหาเอกลักษณ์อันได้แก่ ความเด่นความด้อย ความต้องการ ความสนใจของตนและการที่คนอื่นๆ มองตนเองอย่างไร ถ้าวัยรุ่นรู้ว่าตนเองมีความสามารถอย่างไร เท่ากับวางแผนอนาคตได้จะไม่มีความรู้สึกสับสนว่าตนเองเป็นใคร ต้องการอะไร
6.Intimacy vs. Isolation
ความผูกพัน – การแยกตัว
(ผู้ใหญ่ตอนต้น)
วัยนี้ต้องการจะแต่งงานและสร้างความสัมพันธ์กับคู่ครอง ถ้ามีปัญหาจะแยกทางกัน
7.Generativity vs. Self absorption
การทำประโยชน์ให้สังคม – การคิดถึงแต่ตนเอง
(ผู้ใหญ่ตอนกลาง)
เป็นระยะทำตนเป็นประโยชน์แก่บุตรหลาน และมีสัมพันธภาพกับคนอื่นในสังคม ถ้าทำไม่ได้โดยบุคคลไม่พัฒนามาถึงขึ้นนี้จะเบื่อหน่ายชีวิต คิดแต่การสร้างความสุขให้แก่ตนเอง
8.Integrity vs. Despair
บูรณาภาพ – ความสิ้นหวัง
(วัยชรา)
ถ้าบุคคลผ่านพัฒนาการขั้นต่างๆ มาดี จะมีความสุข สมหวัง พอใจชีวิตตนเอง ตรงกันข้าม ถ้าพัฒนาแต่ขั้นไม่ดีจะรู้สึกว่ามีเวลาน้อยเหลือเกิน เสียดายเวลาที่ผ่านมา หาความสงบให้แก่ชีวิตตนเองไม่ได้


ทฤษฏีพัฒนาการทางเพศ
(Psychosexual Development)


ทฤษฏีพัฒนาการทางจริยธรรม
(Kohlbert’s Six Stages of Moral Reasoning)


1.ขั้นปาก (Oral Stage)
(0-1 ปี)
-ต้องการดูดนม มีความต้องการด้านความสัมผัสในการใช้ปาก
-ถ้าได้รับความลำบากในการดูดนมจะเกิดการติดตัน (Fixation) มีผลต่อพัฒนาการทางบุคลิกภาพเป็นคนพูดมาก ด่าเก่ง พูดจาเสียดสี เหน็บแนม กินจุบจิบ สูบบุหรี่ ดื่มสุรา
2.ขั้นทวาร (Anal Stage)
(1-3 ปี)
-เด็กต้องการการฝึกหัดที่นุ่มนวลในด้านการขับถ่าย
-ถ้าเกิดความลำบากจะพัฒนาบุคลิกภาพ เป็นผู้ใหญ่ที่ตระหนี่ ชอบเก็บสะสม สะเพร่า ไม่ประณีตเรียบร้อย หรือ ประณีตมากจนเกินไป
3.ขั้นอวัยวะสืบพันธ์ (Phallic Stagc)
(3-5 ปี)
-เด็กลูบคลำ จับอวัยวะของตน อยากรู้เด็กชายเกิดปมออดิปุส (Oedipus Complex) เด็กจะรักแม่แต่เกลียดพ่อ เด็กหญิงเกิดปมอีเลคตร้า (Electra)
Complex) เด็กหญิงรักพ่อแต่เกลียดแม่
-เด็กทั้ง2เพศจะเลียนแบบบทบาทของพ่อและแม่ เด็กชายจะเลียนแบบบทบาทพ่อเป็นชายชาตรี เด็กหญิงจะเลียนแบบบทบาทแม่เป็นผู้หญิงเต็มตัวและสมบูรณ์
ขั้นแฝง (Latency Stage)
(6-13ปี)
เด็กทั้ง2เพศ จะเก็บกดความรู้สึกทางเพศ จะไม่แสดงความสนใจเรื่องเพศตรงกันข้ามสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น การเล่น การทำกิจกรรมกับกลุ่ม
5.ขั้นพึงพอใจเพศตรงข้าม (Genital Stage)
(วัยรุ่น)
-สนใจเพศตรงข้าม เริ่มออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีเพื่อน2เพศ เป็นจับคู่เพื่อพัฒนาชีวิตคู่ต่อไป



โคลเบอร์ก (Kohlberg)
ระดับที่ 1 ก่อนมีจริยะธรรม (Promoral)
อายุ4-10 ปี
ขั้นที่1 การลงโทษและคำสั่ง (The Punishmont and Obedient Orientation)
(เด็ก 5ปี)
-เด็กกระทำตนเป็นคนเชื่อฟัง เพราะไม่ต้องการถูกทำโทษจากผู้ใหญ่
ขั้นที่2การได้รับสิ่งตอบแทน (The Instrumental relativist Orientation)
(อายุ7-8ปี)
-เด็กกระทำในสิ่งที่เขาหวังว่าจะได้รับสิ่งตอบแทนเป็นการแลกเปลี่ยนแบบยื่นหมูยื่นหมา
ระดับที่2 ระดับมีจริยธรรมเป็นของตนเอง (Morality ot Convertional role Conformity)
ขั้นที่3 การยอมรับจากผู้อื่นเพื่อต้องการเป็นเด็กดี (Good Boy or Nice Girl)
(อายุ10-11ปี)
-ต้องการเป็นคนดีในสายตาผู้ใหญ่แสดงพฤติกรรมเพื่อให้คนอื่นชมเชย
ขั้นที่4ระเบียบของสังคม (The Law and Order Orientation)
(12-13ปี)
-วางตนและปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมเพื่อมิให้สังคมตำหนิอย่างเคร่งครัด
ระดับ3 การมีจริยธรรมที่เป็นวิจารณญาณของตนเอง
ขั้นที่5กระทำตามสัญญาสังคม
ขั้นที่6มีอุดมการณ์หรือคุณธรรมประจำใจ
ระดับ3 เป็นพัฒนาการทางจริยธรรมที่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของบุคคลขั้นนี้บุคคลจะกระทำตามกฎเกณฑ์ที่เป็นประชาธิปไตย เข้าใจเหตุและผล รักษาสิทธิมนุษยชน กระทำตามอุดมการณ์ที่มีคุณธรรม ไม่ต้องการจะได้รับคำกล่าวหาว่าเป็นคนไร้คุณธรรม



จากตารางการเปรียบเทียบทฤษฎีพัฒนาการทางด้านจริยธรรม บุคลิกภาพและสติปัญญาของบุคคลตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยชรา ทำให้เข้าใจลำดับขั้นของพัฒนาการต่างๆ ว่า ดำเนินการอย่างไร ถ้าเกิดปัญหาในด้านในแล้วจะส่งผลต่อบุคลิกภาพด้านใดบ้าง





8.9 ปัญหาในการปรับตัวของวัยต่างๆ 8.9.1 วัยเด็ก ปัญหาในการปรับตัวมีดังนี้ 1. การมีปัญหาด้านสุขภาพ ร่างกายไม่แข็งแรง มีโรคประจำตัว 2. ปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจ การเป็นเด็กเจ้าอารมณ์อันเกิดจากการได้รับการเลี้ยงดูแบบเอาใจมากเกินไป ทนุถนอนมากจนเป็นเด็กเอาแต่ใจตนเอง เด็กมีปัญหาทางด้านการขาดแคลนเอาใจใส่ การขาดความรักและความอบอุ่นจากครอบครัว การทอดทิ้งและการทารุณกรรม(Child Abuse) ทางจิตใจและร่างกาย 3. ปัญหาจากครอบครัว การขาดพ่อแม่ หรือขาดพ่ออย่างเดียว ขาดแม่อย่างเดียว การไร้ผู้อุปการะ เป็นเด็กในความอุปการะของคนอื่น
4. การเป็นเด็กพิการทางสมองหรือทางกาย บางคนมีความบกพร่องของอวัยวะบางส่วน เช่น ตาบอด หูหนวก แขน ขาพิการ เด็กเรียนช้า เด็กพิการซับซ้อน เด็กออทิซึม เด็กปัญญาอ่อน เป็นต้นเด็กประเภทนี้มักจะมีปัญหาทางอารมณ์ มีความก้าวร้าวทางพฤติกรรมมากกว่าเด็กปกติ
5. ปัญหาทางการพัฒนาระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาทเช่น เด็กมีปัญหาในการใช้สายตา การวิ่ง การเดิน การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กบริเวณมือและนิ้วมือช้าซึ่งสร้างปัญหาในการเรียนและการทำกิจกรรมเด็กบางคนพูดติดอ่า พูดช้า พูดไม่ชัดเป็นต้น
6. การเป็นโรคทางพันธุกรรมเพราะความผิดปกติของโครโมโซมตั้งแต่กำเนิด ปากแหว่ง เท้าปุก ตัวเหลือง ม้ามโต ตาบอดสี ผมหงอกในเด็ก โรคลมชัก เด็กมีอวัยวะผิดปกติเป็นต้น เด็กประเภทนี้จะมีปัญหาทางอารมณ์ และไม่ค่อยเข้าร่วมกลุ่มสังคม กับเพื่อนมักจะเก็บตัวและแยกตัวอยู่โดดเดี่ยว
7. เด็กที่มีปัญหาทางร่างกาย ได้แก่เด็กที่ผอมผิดปกติและเด็กที่อ้วนผิดปกติ อาจเกิดจากพันธุกรรม หรือมีความผิดปกติในการสร้างนิสัยของการมีเจตคติเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารและมีปัญหาทางจิตใจ 8. เด็กที่มีปัญหาในการปรับตัวได้แก่ 8.1 เด็กที่มีภาวะสังคมเศรษฐกิจไม่เท่าเทียมเด็กอื่นๆ เช่น เด็กอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรมเด็กอยู่ในเขตอุตสาหกรรม เห็นตัวอย่างไม่ดีจากคนในสังคม ได้แก่ การปฏิบัติตน เป็นเด็กเร่ร่อน เด็กลักขโมย เป็นต้น 8.2 ความสัมพันธ์ของเด็กกับการปกครองและการเลี้ยงดูบุตรมีปัญหา ทำให้เด็กเกิดความเครียด มีอาการทางประสาท ประพฤติผิดกฎหมาย (Delinquent Children) ไม่สามารถสร้างอัตตาในด้านความภูมิใจในตนเองอย่างคนอื่นๆ ได้ (Self Esteem) 8.3 พ่อแม่ที่ไม่ต้องการบุตร ใจร้าย มึนตึง เย็นชากับบุตรภายในบ้าน ไม่มีการสร้างความเอื้ออาทรต่อกันในระหว่างสมาชิก พ่อแม่ไม่พูดคุยกับบุตร ไม่แนะนำอบรมสั่งสอนบุตร และแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีให้บุตรเห็นประจำ จากการวิจัยของ เอลเดอร์ (Elder 1962, 1963) บอมรินด์ (Baumrind 1968, 1975) และคนอื่นๆ พบว่า พ่อแม่ที่แสดงความรัก แนะนำให้กำลังใจบุตร ให้บุตรมีส่วนตัดสินใจกับพ่อแม่ ให้อิสระแก่บุตร เป็นพ่อแม่ที่มีความรับผิดชอบ อบรมบุตรแบบประชาธิปไตย ไม่บังคับ บีบคั้นจิตใจบุตรให้ดำเนินชีวิตตามเส้นทางที่พ่อแม่วางกรอบไว้ให้บุตร อยู่ในโอวาท บุตรจะมีลักษณะเป็นบุคคลไม่ดื้อ เข้าใจคุณค่าของชีวิต มีจิตใจดี ไม่มีความขัดแย้งในจิตใจ ไม่ปฏิบัติตนเป้นเด็กเกเรและมีเหตุมีผลในการตัดสินใจ (Paul Hery Mussen et al. 1980; 222)
8.9.1.1 พฤติกรรมที่แสดงออกที่มีปัญหาในการปรับตัว 1. นอนไม่หลับ รับประทานอาหารยาก เลือกรับประทานอาหาร 2. ดื้อ ต่อต้าน ก้าวร้าวทางพฤติกรรม ทำลายข้าวของ 3. ฝันร้าย นอนกัดฟัน ตกใจกลางดึก ละเมอ ปัสสาวะรดที่นอน 4. เก็บกดความรู้สึก ไม่ชอบพูดคุยกับใคร 5. ชอบโอ้อวดในทางไม่จริง อวดอ้างยกตนข่มคนอื่น 6. ติดกับคนอื่น ไม่กล้าอยู่คนเดียว กลัวการอยู่คนเดียวตามลำพัง ต้องมีเพื่อนหรือพ่อแม่เคียงข้าง 7. มีปัญหากับเพื่อนๆ ครู เพื่อนบ้านบ่อยในเรื่องความประพฤติ 8. มีอาการเหม่อลอย ฝันกลางวัน 9. ไม่มีสมาธิในการทำงาน ไม่รับผิดชอบงานที่ทำ ลุกลี้ลุกลนไม่อดทน 10. ชอบเล่นคนเดียว อยู่ตามลำพังถ้าไม่พอใจหรือพูดกับตนเองโดยสมมุติเพื่อนเอาเอง 11. โกหก มักพูดไม่จริงเป็นประจำ มักปฏิเสธ 12. ไม่มีอารมณ์เป็นสุข มักริษยา อิจฉาคนอื่น
8.9.2 วัยรุ่น ปัจจุบันในการปรับตัวมีดังนี้ 1. ปัญหาของสุขภาพและการพัฒนาอวัยวะต่างๆ ของร่างกายโดยมีโดยมีความวิตกกังวลใจ กลัวตัวเองมีปมด้อยไม่เทียมเท่าเพื่อนๆ เช่น หญิง-กังวลในเรื่อง การมีหน้าอกเล็ก มีหน้าอกใหญ่เกินไป ไม่สูง ผอมหรืออ้วนจนเกินไป ไม่มีประจำเดือนเร็วเหมือนเพื่อนๆ ใบหน้าไม่เกลี้ยง มีสิว จมูกไม่โด่ง ผิวไม่ขาว ทรวดทรงไม่สมส่วน ส่วนชาย-กังวลเรื่องการมีรูปร่างเล็กไม่สง่าผ่าเผย เสียงไม่ห้าวทุ้ม ไม่มีหนวดและเครา ไม่มีกล้ามเนื้อ เตี้ย มีสิว ไม่มีขนบริเวณขาและรักแร้ อวัยวะเพศไม่เจริญเติบโตเป็นต้น 2. ปัญหาเรื่องการแต่งกาย ทรงผม ทรวดทรง 3. ปัญหาเรื่องเพื่อน ต้องการอยู่ในกลุ่มและกลุ่มยอมรับตน ได้รับความสำเร็จเป็นผู้นำกลุ่มหรือสมาชิกที่ดีของกลุ่ม 4. ได้รับความสำเร็จในด้านการเรียนมากกว่าได้รับคำติจากครูและจากพ่อแม่ ต้องการมีความอิสระในการเลือกเรียนวิชาที่ตนเองสนใจและถนัด 5. ต้องการได้รับความสนใจจากเพศตรงข้าม 6. ต้องการเป็นวีรบุรุษ ในสายตาของเพื่อน 7. มีปัญหาในการแสดงอารมณ์ วัยรุ่นมักมีอาการใจร้อน ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ ชอบต่อต้านถ้าผู้ใหญ่ไม่มีความยุติธรรม 8. มีปัญหาด้านอิสรภาพ ต้องการความอิสระในการแต่งกาย การแสดงความคิด การกลับบ้าน การเลือกอาชีพ การคบเพื่อน การใช้จ่ายเงิน การไปเที่ยว เป็นต้น 9. ปีปัญหาในการวางตน ต้องการแสดงว่าตนเองเป็นผู้ใหญ่ รับผิดชอบตนเองเป็นคิดเป็น และพูดเป็น แต่ผู้ใหญ่กลับควบคุมอย่างใกล้ชิดและอบรมสั่งสอนเหมือนตนเองเป็นเด็กอยู่เสมอ จึงเกิดความรำคาญ 10. ต้องการช่วยพัฒนาสังคมเหมือนเช่นผู้ใหญ่ทั้งหลาย และต้องการให้ผู้ใหญ่เข้าใจตนเอง เข้าใจความคิดและปฏิบัติต่อวัยรุ่นในแง่ให้ความเข้าใจและมีจิตเมตตาบ้าง 8.9.2.1 พฤติกรรมที่วัยรุ่นแสดงออก 1. แสดงอาการยั่วยุทางการกระทำ ทางวาจา และการแต่งกาย โดยไม่สนใจใคร อวดตนเอง ไม่สนใจว่าคนอื่นๆ จะรำคาญหรือเดือดร้อน 2. แสดงพฤติกรรมเป็นคนอารมณ์รุนแรง โกรธ และอาฆาต 3. ไม่มีใครอดทนในการรอคอย 4. ชอบใช้ความรุนแรงในการตัดสินการกระทำ เช่น การต่อสู้ การทำลายล้างศัตรู การใช้กำลังมากกว่าการใช้เหตุผล 5. ดื้อ ต่อต้าน ทางพฤติกรรม ไม่สนใจใครว่าจะคิดอย่างไร มักทำตามใจตนเอง คิดอย่างไรมักจะทำอย่างนั้น 6. บางครั้งเชื่อง่ายเพราะขาดประสบการณ์ 7. มีความใจน้อยง่าย ชอบประชดชีวิต เก็บกดความรู้สึก ถ้ามีปัญหามักหนีโดยการเสพยาเสพติด เล่นการพนัน การทำผิดกกหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (Delinquency) 8. มีอาการทางประสาท เช่น การท้อแท้ การเก็บตัวถ้าเสียใจมากอาจจะห่าตัวเองตายได้ 9. วัยรุ่นมักไม่ชอบให้ผู้ใหญ่แนะนำตักเตือน จะมีความรู้สึกเกลียดมากที่ผู้ใหญ่ไม่ให้เกียรติตน 10. ต้องการเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ คบเพื่อน ทุกๆ รุ่น บางครั้งต้องการเพื่อนต่างเพศเพื่อคลายความเหงาใจ 8.9.3 วัยผู้ใหญ่ ปัญหาในวัยผู้ใหญ่ได้แก่ 1. การประกอบอาชีพ การเลือกอาชีพที่ตนเองสนใจและต้องการแสดงความสามารถ 2. การมีคู่ตรองและสร้างครอบครัว ต้องการแต่งงานกับคนในอุดมคติ 3. การเท่าเทียมกันในสังคมของเพศชายและเพศหญิง การลดช่องว่างของการ เหลี่อมล้ำในบางอาชีพรวมทั้งความไม่เท่ากันเรื่องอัตราค่าจ้างและกฎหมายแรงงานในบางอาชีพ 4. การเปลี่ยนค่านิยมสังคมเรื่องเพศในสังคมปัจจุบันให้เพศชายมีการทำทารุณกรรมทางเพศง่าย และสังคมไม่ตำหนิ เช่น การหย่าร้าง การแต่งงานใหม่ การรับผิดชอบครอบครัว การเป็นผู้นำของครอบครัว การเป็นผู้นำของครอบครัว การปกครองบุตรเป็นต้น 5. ปัญหาด้านบุคลิกภาพ ได้แก่ การอ้วน (obesity) การผอมเกินไป (Anorexia Nervosa) ความเครียด วิตกกังวล การขัดแย้งในการทำงานกับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน 6. การสร้างความสัมพันธ์กับคู่ครอง ญาติพี่น้อง บุตรเขย บุตรสะใภ้ บิดามารดา ไม่ปกติมีความไม่สบายใจกับปัญหาในครอบครัว 7. ปัญหาการรับผิดชอบและบทบาทในการงานในด้านการแสดงความสามารถและทักษะเฉพาะของอาชีพ 8. ปัญหาของสุขภาพ การหมดภาวะเจริญพันธ์ (Menopause) การมีความเสื่อมของสังขารร่างกายทีละน้อย การกลัวความชรา การกลัวคู่ครองจะทอดทิ้ง การเตรียมตัวเกษียณอายุ เตรียมหาอาชีพเสริมหลังเกษียณอายุ 9. ปัญหาที่อยู่อาศัยเพราะมีสมาชิดเพิ่มในบ้าน 10. ปัญหาการจากไปของคู่ครอง เช่น การตาย การหย่า การเจ็บป่วย ของคู่ครอง 11. ปัญหาการขาดเพื่อนในวัยเดียวกันหรือเพื่อนร่วมอาชีพ 8.9.3.1 พฤติกรรมที่แสดงออกในวัยผู้ใหญ่เมื่อมีปัญหาในการปรับตัว 1. ไม่มีความสุขในการปฏิสัมพันธ์กับคู่ครอง มีปัญหาในการอยู่ร่วมกับสมาชิกอื่นในครอบครัว 2. มีปัญหาในการทำงาน 3. ไม่มีสมาธิในการทำงาน 4. มีปัญหาวิตกกังวล เครียด เก็บตัว 5. มีปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัย อ่อนเพลีย หายใจไม่อิ่ม นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ท้องอืด ท้อแท้เบื่อหน่าย หมดกำลังใจทำงาน เป็นต้น
8.10 ข้อเสนอแนะในเรื่องการปรับตัวของบุคคลวัยต่างๆ
1. ปัญหาหลักทีสำคัญของการปรับตัวของเด็กวัยรุ่น ควรเริ่มศึกษาจากครอบครัวหรือเรียกว่า ครอบครัวบำบัด นักจิตวิทยาของทฤษฏีจิตวิเคราะห์เน้นความสำคัญของการเลียงดุเด็กในระยะ 1-5 ปี ว่ามีความสำคัญต่อพัฒนาความคิดและบุคลิกภาพของบุคคลเมื่อมีอายุมากขึ้น จากการศึกษาพัฒนาทางเพศของ ฟรอยด์ (Psychoanalytic Theory) ช่วยรักษาสภาพอารมณ์ของบุคคล เช่น ภาวการณ์เศร้าซึม จิตเภท การกลัว การเกิดการขัดแย้งของจิตไร้สำนึก (Psychosexual Development) ที่กล่าวถึงขั้นปาก ขั้นทวาร ฯลฯ แนวคิดของฟรอยด์มีดังนี้ - ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) ช่วยรักษาสภาพอารมของคน เช่น ภาวการณ์เศร้าซึม การกลัว การเกิดการขัดแย้งของจิตไร้สำนึก (Unconscious Mind) - ครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นแรกของชีวิต - ครอบครัวสอนให้เด็กแก้ปัญหา - ครอบครัวสอนให้เริ่มรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น - ครอบครัวเป็นหน่อย (Unit) หนึ่งในระบบการบำบัดความผิดปกติทางกรปรับตัว - ปัญหาต่างๆที่เกิดกับเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ เริ่มจากครอบครัว (Minuchin 1974, Napier and Whitaker 1980, อ้างโดย Santrock 1987 : 210) 2. นักจิตวิทยาหลายท่านทำการวิจัยพบว่า การกอดรัดของมารดา การยิ้มแย้มของมารดา และการเอาใจใส่จากแม่ ทำให้เด็กรู้ว่าโลกและคนรอบข้างเป็นมิตร (Hartup 1985, Scroufe and Fleeson 1985) 3. บรอนเฟนเบรนเนอร์ (Bronfenbrenner) และครูเตอร์(Crouter 1983) วิจัยพบว่าครอบครัวเป็นตัวแบบการสอนบทบาททางเพศ ส่วนฟริ่งและคระ (Feiring and Lewin 1978) และแลมบ์ (Lamb 1976) มีการวิจัยว่าพ่อแม่สอนให้ให้ลูกมีความสามารถในการสื่อสาร เรียนรู้ทักษะทางสังคม นอกจากนี้ความราบรื่นในชีวิตสมรสของพ่อแม่ช่วยสร้างเจตคติที่ดีในชีวิตสมรสของลูกทั้งทางตรงและทางอ้อม (Jay Belsky 1981) ความสัมพันธ์ระหว่าง พ่อ-ลูกชายและแม่-ลูกชาย นักจิตวิทยาบำบัดกล่าวว่า วิธีนี้ช่วยลดปัญหาในครอบครัว ช่วยในด้านสุขภาพ จิตและการปรับตัวของบุคคลได้ 4. แบบต่างๆ ของพ่อแม่ที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมและบุคลิกภาพของลูก แชเฟอร์ (Schaefer 1959) กล่าวว่า แบบต่างๆ ของพ่อแม่มีหลายประเภท ดูภาพแสดงแบบการปกครองของพ่อแม่ (Dimensions of Parenting) เช่น การปกครองลูกด้วยความรัก เผด็จการ เป็นศัตรูต่อลูก ฯลฯ ถ้าพ่อแม่คนใดที่เลี้ยงลูกให้ความรัก ความอบอุ่น ฝึกวินัย ฝึกทักษะทางสังคม ฝึกความรับผิดชอบ เป็นต้น ลูกๆ จะได้รับพฟติกรรมที่ดีทางสังคม มีความภาคภูมิใจตนเอง ไม่มีปัญหาส่วนตัว (Coopersmith 1967; Radke-Yarrow et al. 1988; Rothbaum 1988; L. Alan sroufe et al. 1992: 459) 5. ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระยะวัยรุ่น เช่นปัญหายาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน การฆ่าตัวตาย การซึมเศร้า เครียด มีครรภ์นอกสมรส การขัดแย้งในครอบครัวสิ่งเหล่านี้ทำให้สุขภาพจิตขิงวัยรุ่นทั้งระยะแรกรุ่นในช่วงอายุ 10-12 ปี และ 14-15 ปี มีสูงมากกว่าวัยรุ่นตอนปลาย นอกจากนี้ยังส่งผลถึงการปรับตัวของวัยรุ่น สตีเฟน โพว์ ฮัล โกรทแว้นท์ (Hal Grotevant) และแคทเทอรีน คูเปอร์ (Catherine Cooper 1986) แนะนำว่าการแก้ไขและลดปัญหา เหล่านี้มีดังนี้ 5.1 พ่อแม่กระตุ้น สนใจและไม่วิจารณ์ลูก 5.2 ถามไถ่ความทุกข์สุขและรับฟังความคิดเห็นของลุก 5.3 บ้านมีบรรยากาศอบอุ่น อารมณ์ของพ่อแม่ไม่ปรวนแปรง่าย

Permissive Detached Freedom Indifferent Democratic Neglecting Cooperative Rejecting Accepting Hostile Loving Demanding Overindulgent Antagonistic Protective Dictatorial Overprotective Possessive Authoritarian

ภาพที่ 8.2 แสดงแบบการปกครองของพ่อแม่ (Dimension of Parenting) ที่มา : L. Alan Sroufe et al. Child Development. (New York : McGraw Hill, Inc., 1992), p.459.

5.4 ปัญหาต่างๆ พ่อแม่สนับสนุนช่วยเหลือและรับผิดชอบ วิธีการเหล่านี้จะช่วยสร้าง อัตมโนทัศน์ (Self) และเรียนรู้บทบาททางสังคมทางเพศอย่างถูกต้องจากพ่อแม่ (L.Alan Scroufe et al. 1992 : 538) 6. การแก้ไขปัญหาทางด้านอารมณ์ เช่น มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย อารมณ์แปรวนแปร ซึ่งเดี๋ยวดีเดี่ยวร้าย อาการลังเลตัดสินใจไม่ได้นั้น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ การแก้ไขดังกล่าวใช้วิธีการคิดดังนี้ (Santrock 1987 : 626-627) 6.1 รู้จักวิเคราะห์ พิจารณาเหตุผล (Propositional Thinking) 6.2 รู้จักตั้งสมมุติฐาน เข้าใจโครงสร้างของโลก รู้จักสรุปความคิดเห็น หลักการต่างๆ (Formulation of hypothesis) 6.3 มีความสามารถในการจัดระบบจากปัจจัยต่างๆ เพื่อแก้ปัญหา (Combinatorial logic) ตัวอย่างของข้อนี้ได้แก่ การนำขวดบรรจุของเหลวไม่มีสี 5 ขวด ให้นำของเหลวมาผสมกันเพื่อให้มีสีเหลือง ถ้าบุคคลไม่เข้าใจ ไม่มีความรู้ในวิชาการทางเคมี จะทดลองนำขวดที่ 2 ผสมกับขวดที่ 3 ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีสีเหลือง แต่บุคคลที่มีหลักการจะพิจารณาและแก้ปัญหาได้โดยไม่เสียเวลามาก 6.4 สามารถสำรวจความจริงโดยการพิจารณาความเป็นไปได้ว่าจะต้องถูกต้องหรือไม่ตามหลักตรรกศาสตร์ (Acceptance of contrary-to-fact statement) 6.5 รู้จักควบคุมและพิจารณาตัวแปรด้านต่างๆ อันอาจจะมีผลต่อพฤติกรรม รู้จักสังเกตตัวแปรอื่นๆ ว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร (Control and separation of variables) 6.6 สามารถสรุปอย่างมีหลักการตามสมมุติฐาน ทฤษฏีการสังเกตตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Inductive reasoning) เช่น อีกาทั้งฝูงสีดำ เราบอกได้ว่าตัวแรกสีดำ ตัวต่อไปจะมีสีดำด้วย 6.7 สามารถเข้าใจโครงสร้างหรือยอมรับกฎทั่วไป เช่น สามเหลี่ยมทั่วไปมีมุมเท่ากัน 3 มุม และมีด้านเท่ากัน 3 ด้าน ดังนั้น A จึงมีด้าน 3 ด้านเท่ากันด้วย 7. ใช้กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิด กระบวนการคิดมีแสดงดังภาพข้างล่างนี้ พฤติกรรมการคิดต้องมีการตัดสินใจ การจำ ความรู้สึกที่รับเข้าเป็นต้น กระบวนการคิดของคนดังไดอาแกรมข้างล่างนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องของความคิด การจำ ประสบการณ์ การตัดสินใจและการส่งข้อมูลย้อนกลับโดยสามารถจัดเป็นรูปของระบบได้









ภาพที่ 8.3 แสดงถึงพฤติกรรมของการใช้ความคิด

สรุปแล้วการปรับตัวของบุคคลขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการดูจากภาพแสดงถึงพฤติกรรมของการใช้ความคิด ประกอบปัจจัยสำคัญได้แก่ พันธุกรรม จิตใจ สิ่งแวดล้อม อายุ และการเปลี่ยนแปลงแต่ละช่วงชีวิต เป็นต้น ลักษณะของผู้ที่มีความสามารถในการปรับตัวได้ดีมีดังนี้ (ฉวี วิชญเนตินัย 2529 : 73) 1. มีอัตมโนทัศน์ (Self-Concept) ที่ถูกต้อง 2. มีความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพอันดีกับบุคคลอื่นๆ 3. มีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยและยอมรับตนเอง 4. มีความคิดและปฏิบัติตามสภาพของความเป็นจริง 5. มีอารมณ์ขัน 6. มีความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างรายรื่น
นักจิตวิทยาบางคนกล่าวว่าการปรับตัวเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนในโลกนี้จะต้องประสบอยู่ตลอดเวลา การปรับตัวทำให้มนุษย์มีความสุขในการดำรงชีวิต เฮอร์ลอค (Elizabeth B. Hurlock 1964 : 749) กล่าวว่า “ความสุขของเด็กส่วนมากได้มาจากมนุษยสัมพันธ์ ไม่ใช่มาจากการเป็นเจ้าของวัตถุธรรมต่างๆ เด็กจะมีความสุขก็ต่อเมื่อเด็กรู้สึกว่าตนเป็นที่ยอมรับของคนอื่น เด็กจะเป็นที่ยอมรับของคนอื่นได้ก็ต่อเมื่อเขาปรับตัวได้ดี และสามารถจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”
ดังนั้นการศึกษาเรื่องของบุคลิกภาพ สุขภาพจิตและการปรับตัวจึงต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเพราะสิ่งสำคัญที่สุดได้แก่การที่บุคคลทุกเพศ ทุกวัยสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างไม่มีปัญหา เหมือนกับทรรศนะของ อีริค เบอร์น (Eric berne) ที่กล่าวถึงตำแหน่งตำแหน่งชีวิตประเภท
1. am OK. – You are OK. คนประเภทนี้ปรับตัวได้ดีเพราะมองตนเองและคนอื่นดี
สรุป
การปรับตัว หมายถึง การที่บุคคลสามารถดำรงชีวิตอยู่เพื่อให้จิตใจของตนมีสมดุลไม่เกิดความขัดแย้งในจิตใจ การปรับตัวของมนุษย์แต่ละวัยมีจุดมุ่งหมายและมีวิธีการแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะพัฒนาการด้านต่างๆ ของมนุษย์ สิ่งที่มีอิทธิพลในการปรับตัว ได้แก่ ความต้องการวัยเพศ ช่วงชีวิตที่เปลี่ยนแปลง พัฒนาการ ประสบการณ์ การเรียนรู้ เป็นต้น การปรับตัวมีหลายวิธี เช่น การสู้ การหนี และการใช้การประนีประนอม การปรับตัวกับสภาพจิตมีความสัมพันธ์กับผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต









โครโมโซม เซลล์สมอง ระบบ การเลี้ยง ทางกายภาพ อารมณ์ไม่ ประสาท ดูในวัย เช่นการเดินทาง/ มั่นคง ระบบ 0-3 ปี เศรษฐกิจ/ จิตใจอ่อน กล้ามเนื้อ การเห็น การเมือง/ ไหวง่าย ระบบ จากตัวแบบ ครอบครัว/ ความสับสน ต่อมไร้ท่อ ฯลฯ และความ ทางจิตภาพ ขัดแย้ง เช่น ความ สิ่งที่กระทบ คับแค้นใจ จิตใจอย่าง ความกดดัน รุนแรง จากการงาน/ ความไม่ ยุติธรรม
ภาพที่ 8.4 แสดงกระบวนการปรับตัว
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น