วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

เด็กที่มีปัญหาในการปรับตัว


8. เด็กที่มีปัญหาในการปรับตัวได้แก่
 8.1 เด็กที่มีภาวะสังคมเศรษฐกิจไม่เท่าเทียมเด็กอื่นๆ เช่น เด็กอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรมเด็กอยู่ในเขตอุตสาหกรรม เห็นตัวอย่างไม่ดีจากคนในสังคม ได้แก่ การปฏิบัติตน เป็นเด็กเร่ร่อน เด็กลักขโมย เป็นต้น 8.2 ความสัมพันธ์ของเด็กกับการปกครองและการเลี้ยงดูบุตรมีปัญหา ทำให้เด็กเกิดความเครียด มีอาการทางประสาท ประพฤติผิดกฎหมาย (Delinquent Children) ไม่สามารถสร้างอัตตาในด้านความภูมิใจในตนเองอย่างคนอื่นๆ ได้ (Self Esteem)
 8.3 พ่อแม่ที่ไม่ต้องการบุตร ใจร้าย มึนตึง เย็นชากับบุตรภายในบ้าน ไม่มีการสร้างความเอื้ออาทรต่อกันในระหว่างสมาชิก พ่อแม่ไม่พูดคุยกับบุตร ไม่แนะนำอบรมสั่งสอนบุตร และแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีให้บุตรเห็นประจำ จากการวิจัยของ เอลเดอร์ (Elder 1962, 1963) บอมรินด์ (Baumrind 1968, 1975) และคนอื่นๆ พบว่า พ่อแม่ที่แสดงความรัก แนะนำให้กำลังใจบุตร ให้บุตรมีส่วนตัดสินใจกับพ่อแม่ ให้อิสระแก่บุตร เป็นพ่อแม่ที่มีความรับผิดชอบ อบรมบุตรแบบประชาธิปไตย ไม่บังคับ บีบคั้นจิตใจบุตรให้ดำเนินชีวิตตามเส้นทางที่พ่อแม่วางกรอบไว้ให้บุตร อยู่ในโอวาท บุตรจะมีลักษณะเป็นบุคคลไม่ดื้อ เข้าใจคุณค่าของชีวิต มีจิตใจดี ไม่มีความขัดแย้งในจิตใจ ไม่ปฏิบัติตนเป้นเด็กเกเรและมีเหตุมีผลในการตัดสินใจ (Paul Hery Mussen et al. 1980; 222)
8.9.1.1 พฤติกรรมที่แสดงออกที่มีปัญหาในการปรับตัว 1. นอนไม่หลับ รับประทานอาหารยาก เลือกรับประทานอาหาร 2. ดื้อ ต่อต้าน ก้าวร้าวทางพฤติกรรม ทำลายข้าวของ 3. ฝันร้าย นอนกัดฟัน ตกใจกลางดึก ละเมอ ปัสสาวะรดที่นอน 4. เก็บกดความรู้สึก ไม่ชอบพูดคุยกับใคร 5. ชอบโอ้อวดในทางไม่จริง อวดอ้างยกตนข่มคนอื่น 6. ติดกับคนอื่น ไม่กล้าอยู่คนเดียว กลัวการอยู่คนเดียวตามลำพัง ต้องมีเพื่อนหรือพ่อแม่เคียงข้าง 7. มีปัญหากับเพื่อนๆ ครู เพื่อนบ้านบ่อยในเรื่องความประพฤติ 8. มีอาการเหม่อลอย ฝันกลางวัน 9. ไม่มีสมาธิในการทำงาน ไม่รับผิดชอบงานที่ทำ ลุกลี้ลุกลนไม่อดทน 10. ชอบเล่นคนเดียว อยู่ตามลำพังถ้าไม่พอใจหรือพูดกับตนเองโดยสมมุติเพื่อนเอาเอง 11. โกหก มักพูดไม่จริงเป็นประจำ มักปฏิเสธ 12. ไม่มีอารมณ์เป็นสุข มักริษยา อิจฉาคนอื่น
8.9.2 วัยรุ่น ปัจจุบันในการปรับตัวมีดังนี้ 1. ปัญหาของสุขภาพและการพัฒนาอวัยวะต่างๆ ของร่างกายโดยมีโดยมีความวิตกกังวลใจ กลัวตัวเองมีปมด้อยไม่เทียมเท่าเพื่อนๆ เช่น หญิง-กังวลในเรื่อง การมีหน้าอกเล็ก มีหน้าอกใหญ่เกินไป ไม่สูง ผอมหรืออ้วนจนเกินไป ไม่มีประจำเดือนเร็วเหมือนเพื่อนๆ ใบหน้าไม่เกลี้ยง มีสิว จมูกไม่โด่ง ผิวไม่ขาว ทรวดทรงไม่สมส่วน ส่วนชาย-กังวลเรื่องการมีรูปร่างเล็กไม่สง่าผ่าเผย เสียงไม่ห้าวทุ้ม ไม่มีหนวดและเครา ไม่มีกล้ามเนื้อ เตี้ย มีสิว ไม่มีขนบริเวณขาและรักแร้ อวัยวะเพศไม่เจริญเติบโตเป็นต้น 2. ปัญหาเรื่องการแต่งกาย ทรงผม ทรวดทรง 3. ปัญหาเรื่องเพื่อน ต้องการอยู่ในกลุ่มและกลุ่มยอมรับตน ได้รับความสำเร็จเป็นผู้นำกลุ่มหรือสมาชิกที่ดีของกลุ่ม 4. ได้รับความสำเร็จในด้านการเรียนมากกว่าได้รับคำติจากครูและจากพ่อแม่ ต้องการมีความอิสระในการเลือกเรียนวิชาที่ตนเองสนใจและถนัด 5. ต้องการได้รับความสนใจจากเพศตรงข้าม 6. ต้องการเป็นวีรบุรุษ ในสายตาของเพื่อน 7. มีปัญหาในการแสดงอารมณ์ วัยรุ่นมักมีอาการใจร้อน ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ ชอบต่อต้านถ้าผู้ใหญ่ไม่มีความยุติธรรม 8. มีปัญหาด้านอิสรภาพ ต้องการความอิสระในการแต่งกาย การแสดงความคิด การกลับบ้าน การเลือกอาชีพ การคบเพื่อน การใช้จ่ายเงิน การไปเที่ยว เป็นต้น 9. ปีปัญหาในการวางตน ต้องการแสดงว่าตนเองเป็นผู้ใหญ่ รับผิดชอบตนเองเป็นคิดเป็น และพูดเป็น แต่ผู้ใหญ่กลับควบคุมอย่างใกล้ชิดและอบรมสั่งสอนเหมือนตนเองเป็นเด็กอยู่เสมอ จึงเกิดความรำคาญ 10. ต้องการช่วยพัฒนาสังคมเหมือนเช่นผู้ใหญ่ทั้งหลาย และต้องการให้ผู้ใหญ่เข้าใจตนเอง เข้าใจความคิดและปฏิบัติต่อวัยรุ่นในแง่ให้ความเข้าใจและมีจิตเมตตาบ้าง 8.9.2.1 พฤติกรรมที่วัยรุ่นแสดงออก 1. แสดงอาการยั่วยุทางการกระทำ ทางวาจา และการแต่งกาย โดยไม่สนใจใคร อวดตนเอง ไม่สนใจว่าคนอื่นๆ จะรำคาญหรือเดือดร้อน 2. แสดงพฤติกรรมเป็นคนอารมณ์รุนแรง โกรธ และอาฆาต 3. ไม่มีใครอดทนในการรอคอย 4. ชอบใช้ความรุนแรงในการตัดสินการกระทำ เช่น การต่อสู้ การทำลายล้างศัตรู การใช้กำลังมากกว่าการใช้เหตุผล 5. ดื้อ ต่อต้าน ทางพฤติกรรม ไม่สนใจใครว่าจะคิดอย่างไร มักทำตามใจตนเอง คิดอย่างไรมักจะทำอย่างนั้น 6. บางครั้งเชื่อง่ายเพราะขาดประสบการณ์ 7. มีความใจน้อยง่าย ชอบประชดชีวิต เก็บกดความรู้สึก ถ้ามีปัญหามักหนีโดยการเสพยาเสพติด เล่นการพนัน การทำผิดกกหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (Delinquency) 8. มีอาการทางประสาท เช่น การท้อแท้ การเก็บตัวถ้าเสียใจมากอาจจะห่าตัวเองตายได้ 9. วัยรุ่นมักไม่ชอบให้ผู้ใหญ่แนะนำตักเตือน จะมีความรู้สึกเกลียดมากที่ผู้ใหญ่ไม่ให้เกียรติตน 10. ต้องการเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ คบเพื่อน ทุกๆ รุ่น บางครั้งต้องการเพื่อนต่างเพศเพื่อคลายความเหงาใจ 8.9.3 วัยผู้ใหญ่ ปัญหาในวัยผู้ใหญ่ได้แก่ 1. การประกอบอาชีพ การเลือกอาชีพที่ตนเองสนใจและต้องการแสดงความสามารถ 2. การมีคู่ตรองและสร้างครอบครัว ต้องการแต่งงานกับคนในอุดมคติ 3. การเท่าเทียมกันในสังคมของเพศชายและเพศหญิง การลดช่องว่างของการ เหลี่อมล้ำในบางอาชีพรวมทั้งความไม่เท่ากันเรื่องอัตราค่าจ้างและกฎหมายแรงงานในบางอาชีพ 4. การเปลี่ยนค่านิยมสังคมเรื่องเพศในสังคมปัจจุบันให้เพศชายมีการทำทารุณกรรมทางเพศง่าย และสังคมไม่ตำหนิ เช่น การหย่าร้าง การแต่งงานใหม่ การรับผิดชอบครอบครัว การเป็นผู้นำของครอบครัว การเป็นผู้นำของครอบครัว การปกครองบุตรเป็นต้น 5. ปัญหาด้านบุคลิกภาพ ได้แก่ การอ้วน (obesity) การผอมเกินไป (Anorexia Nervosa) ความเครียด วิตกกังวล การขัดแย้งในการทำงานกับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน 6. การสร้างความสัมพันธ์กับคู่ครอง ญาติพี่น้อง บุตรเขย บุตรสะใภ้ บิดามารดา ไม่ปกติมีความไม่สบายใจกับปัญหาในครอบครัว 7. ปัญหาการรับผิดชอบและบทบาทในการงานในด้านการแสดงความสามารถและทักษะเฉพาะของอาชีพ 8. ปัญหาของสุขภาพ การหมดภาวะเจริญพันธ์ (Menopause) การมีความเสื่อมของสังขารร่างกายทีละน้อย การกลัวความชรา การกลัวคู่ครองจะทอดทิ้ง การเตรียมตัวเกษียณอายุ เตรียมหาอาชีพเสริมหลังเกษียณอายุ 9. ปัญหาที่อยู่อาศัยเพราะมีสมาชิดเพิ่มในบ้าน 10. ปัญหาการจากไปของคู่ครอง เช่น การตาย การหย่า การเจ็บป่วย ของคู่ครอง 11. ปัญหาการขาดเพื่อนในวัยเดียวกันหรือเพื่อนร่วมอาชีพ 8.9.3.1 พฤติกรรมที่แสดงออกในวัยผู้ใหญ่เมื่อมีปัญหาในการปรับตัว 1. ไม่มีความสุขในการปฏิสัมพันธ์กับคู่ครอง มีปัญหาในการอยู่ร่วมกับสมาชิกอื่นในครอบครัว 2. มีปัญหาในการทำงาน 3. ไม่มีสมาธิในการทำงาน 4. มีปัญหาวิตกกังวล เครียด เก็บตัว 5. มีปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัย อ่อนเพลีย หายใจไม่อิ่ม นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ท้องอืด ท้อแท้เบื่อหน่าย หมดกำลังใจทำงาน เป็นต้น
8.10 ข้อเสนอแนะในเรื่องการปรับตัวของบุคคลวัยต่างๆ
1. ปัญหาหลักทีสำคัญของการปรับตัวของเด็กวัยรุ่น ควรเริ่มศึกษาจากครอบครัวหรือเรียกว่า ครอบครัวบำบัด นักจิตวิทยาของทฤษฏีจิตวิเคราะห์เน้นความสำคัญของการเลียงดุเด็กในระยะ 1-5 ปี ว่ามีความสำคัญต่อพัฒนาความคิดและบุคลิกภาพของบุคคลเมื่อมีอายุมากขึ้น จากการศึกษาพัฒนาทางเพศของ ฟรอยด์ (Psychoanalytic Theory) ช่วยรักษาสภาพอารมณ์ของบุคคล เช่น ภาวการณ์เศร้าซึม จิตเภท การกลัว การเกิดการขัดแย้งของจิตไร้สำนึก (Psychosexual Development) ที่กล่าวถึงขั้นปาก ขั้นทวาร ฯลฯ แนวคิดของฟรอยด์มีดังนี้ - ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) ช่วยรักษาสภาพอารมของคน เช่น ภาวการณ์เศร้าซึม การกลัว การเกิดการขัดแย้งของจิตไร้สำนึก (Unconscious Mind) - ครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นแรกของชีวิต - ครอบครัวสอนให้เด็กแก้ปัญหา - ครอบครัวสอนให้เริ่มรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น - ครอบครัวเป็นหน่อย (Unit) หนึ่งในระบบการบำบัดความผิดปกติทางกรปรับตัว - ปัญหาต่างๆที่เกิดกับเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ เริ่มจากครอบครัว (Minuchin 1974, Napier and Whitaker 1980, อ้างโดย Santrock 1987 : 210) 2. นักจิตวิทยาหลายท่านทำการวิจัยพบว่า การกอดรัดของมารดา การยิ้มแย้มของมารดา และการเอาใจใส่จากแม่ ทำให้เด็กรู้ว่าโลกและคนรอบข้างเป็นมิตร (Hartup 1985, Scroufe and Fleeson 1985) 3. บรอนเฟนเบรนเนอร์ (Bronfenbrenner) และครูเตอร์(Crouter 1983) วิจัยพบว่าครอบครัวเป็นตัวแบบการสอนบทบาททางเพศ ส่วนฟริ่งและคระ (Feiring and Lewin 1978) และแลมบ์ (Lamb 1976) มีการวิจัยว่าพ่อแม่สอนให้ให้ลูกมีความสามารถในการสื่อสาร เรียนรู้ทักษะทางสังคม นอกจากนี้ความราบรื่นในชีวิตสมรสของพ่อแม่ช่วยสร้างเจตคติที่ดีในชีวิตสมรสของลูกทั้งทางตรงและทางอ้อม (Jay Belsky 1981) ความสัมพันธ์ระหว่าง พ่อ-ลูกชายและแม่-ลูกชาย นักจิตวิทยาบำบัดกล่าวว่า วิธีนี้ช่วยลดปัญหาในครอบครัว ช่วยในด้านสุขภาพ จิตและการปรับตัวของบุคคลได้ 4. แบบต่างๆ ของพ่อแม่ที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมและบุคลิกภาพของลูก แชเฟอร์ (Schaefer 1959) กล่าวว่า แบบต่างๆ ของพ่อแม่มีหลายประเภท ดูภาพแสดงแบบการปกครองของพ่อแม่ (Dimensions of Parenting) เช่น การปกครองลูกด้วยความรัก เผด็จการ เป็นศัตรูต่อลูก ฯลฯ ถ้าพ่อแม่คนใดที่เลี้ยงลูกให้ความรัก ความอบอุ่น ฝึกวินัย ฝึกทักษะทางสังคม ฝึกความรับผิดชอบ เป็นต้น ลูกๆ จะได้รับพฟติกรรมที่ดีทางสังคม มีความภาคภูมิใจตนเอง ไม่มีปัญหาส่วนตัว (Coopersmith 1967; Radke-Yarrow et al. 1988; Rothbaum 1988; L. Alan sroufe et al. 1992: 459) 5. ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระยะวัยรุ่น เช่นปัญหายาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน การฆ่าตัวตาย การซึมเศร้า เครียด มีครรภ์นอกสมรส การขัดแย้งในครอบครัวสิ่งเหล่านี้ทำให้สุขภาพจิตขิงวัยรุ่นทั้งระยะแรกรุ่นในช่วงอายุ 10-12 ปี และ 14-15 ปี มีสูงมากกว่าวัยรุ่นตอนปลาย นอกจากนี้ยังส่งผลถึงการปรับตัวของวัยรุ่น สตีเฟน โพว์ ฮัล โกรทแว้นท์ (Hal Grotevant) และแคทเทอรีน คูเปอร์ (Catherine Cooper 1986) แนะนำว่าการแก้ไขและลดปัญหา เหล่านี้มีดังนี้ 5.1 พ่อแม่กระตุ้น สนใจและไม่วิจารณ์ลูก 5.2 ถามไถ่ความทุกข์สุขและรับฟังความคิดเห็นของลุก 5.3 บ้านมีบรรยากาศอบอุ่น อารมณ์ของพ่อแม่ไม่ปรวนแปรง่าย
Permissive Detached Freedom Indifferent Democratic Neglecting Cooperative Rejecting Accepting Hostile Loving Demanding Overindulgent Antagonistic Protective Dictatorial Overprotective Possessive Authoritarian

ภาพแสดงแบบการปกครองของพ่อแม่ (Dimension of Parenting) ที่มา : L. Alan Sroufe et al. Child Development. (New York : McGraw Hill, Inc., 1992), p.459.

5.4 ปัญหาต่างๆ พ่อแม่สนับสนุนช่วยเหลือและรับผิดชอบ วิธีการเหล่านี้จะช่วยสร้าง อัตมโนทัศน์ (Self) และเรียนรู้บทบาททางสังคมทางเพศอย่างถูกต้องจากพ่อแม่ (L.Alan Scroufe et al. 1992 : 538) 6. การแก้ไขปัญหาทางด้านอารมณ์ เช่น มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย อารมณ์แปรวนแปร ซึ่งเดี๋ยวดีเดี่ยวร้าย อาการลังเลตัดสินใจไม่ได้นั้น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ การแก้ไขดังกล่าวใช้วิธีการคิดดังนี้ (Santrock 1987 : 626-627) 6.1 รู้จักวิเคราะห์ พิจารณาเหตุผล (Propositional Thinking) 6.2 รู้จักตั้งสมมุติฐาน เข้าใจโครงสร้างของโลก รู้จักสรุปความคิดเห็น หลักการต่างๆ (Formulation of hypothesis) 6.3 มีความสามารถในการจัดระบบจากปัจจัยต่างๆ เพื่อแก้ปัญหา (Combinatorial logic) ตัวอย่างของข้อนี้ได้แก่ การนำขวดบรรจุของเหลวไม่มีสี 5 ขวด ให้นำของเหลวมาผสมกันเพื่อให้มีสีเหลือง ถ้าบุคคลไม่เข้าใจ ไม่มีความรู้ในวิชาการทางเคมี จะทดลองนำขวดที่ 2 ผสมกับขวดที่ 3 ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีสีเหลือง แต่บุคคลที่มีหลักการจะพิจารณาและแก้ปัญหาได้โดยไม่เสียเวลามาก 6.4 สามารถสำรวจความจริงโดยการพิจารณาความเป็นไปได้ว่าจะต้องถูกต้องหรือไม่ตามหลักตรรกศาสตร์ (Acceptance of contrary-to-fact statement) 6.5 รู้จักควบคุมและพิจารณาตัวแปรด้านต่างๆ อันอาจจะมีผลต่อพฤติกรรม รู้จักสังเกตตัวแปรอื่นๆ ว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร (Control and separation of variables) 6.6 สามารถสรุปอย่างมีหลักการตามสมมุติฐาน ทฤษฏีการสังเกตตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Inductive reasoning) เช่น อีกาทั้งฝูงสีดำ เราบอกได้ว่าตัวแรกสีดำ ตัวต่อไปจะมีสีดำด้วย 6.7 สามารถเข้าใจโครงสร้างหรือยอมรับกฎทั่วไป เช่น สามเหลี่ยมทั่วไปมีมุมเท่ากัน 3 มุม และมีด้านเท่ากัน 3 ด้าน ดังนั้น A จึงมีด้าน 3 ด้านเท่ากันด้วย 7 ใช้กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิด กระบวนการคิดมีแสดงดังภาพข้างล่างนี้ พฤติกรรมการคิดต้องมีการตัดสินใจ การจำ ความรู้สึกที่รับเข้าเป็นต้น กระบวนการคิดของคนดังไดอาแกรมข้างล่างนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องของความคิด การจำ ประสบการณ์ การตัดสินใจและการส่งข้อมูลย้อนกลับโดยสามารถจัดเป็นรูปของระบบได้











ภาพแสดงถึงพฤติกรรมของการใช้ความคิด
สรุปแล้วการปรับตัวของบุคคลขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการดูจากภาพแสดงถึงพฤติกรรมของการใช้ความคิด ประกอบปัจจัยสำคัญได้แก่ พันธุกรรม จิตใจ สิ่งแวดล้อม อายุ และการเปลี่ยนแปลงแต่ละช่วงชีวิต เป็นต้น ลักษณะของผู้ที่มีความสามารถในการปรับตัวได้ดีมีดังนี้ (ฉวี วิชญเนตินัย 2529 : 73) 1. มีอัตมโนทัศน์ (Self-Concept) ที่ถูกต้อง 2. มีความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพอันดีกับบุคคลอื่นๆ 3. มีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยและยอมรับตนเอง 4. มีความคิดและปฏิบัติตามสภาพของความเป็นจริง 5. มีอารมณ์ขัน 6. มีความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างรายรื่น
นักจิตวิทยาบางคนกล่าวว่าการปรับตัวเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนในโลกนี้จะต้องประสบอยู่ตลอดเวลา การปรับตัวทำให้มนุษย์มีความสุขในการดำรงชีวิต เฮอร์ลอค (Elizabeth B. Hurlock 1964 : 749) กล่าวว่า “ความสุขของเด็กส่วนมากได้มาจากมนุษยสัมพันธ์ ไม่ใช่มาจากการเป็นเจ้าของวัตถุธรรมต่างๆ เด็กจะมีความสุขก็ต่อเมื่อเด็กรู้สึกว่าตนเป็นที่ยอมรับของคนอื่น เด็กจะเป็นที่ยอมรับของคนอื่นได้ก็ต่อเมื่อเขาปรับตัวได้ดี และสามารถจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”
ดังนั้นการศึกษาเรื่องของบุคลิกภาพ สุขภาพจิตและการปรับตัวจึงต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเพราะสิ่งสำคัญที่สุดได้แก่การที่บุคคลทุกเพศ ทุกวัยสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างไม่มีปัญหา เหมือนกับทรรศนะของ อีริค เบอร์น (Eric berne) ที่กล่าวถึงตำแหน่งตำแหน่งชีวิตประเภท
1. am OK. – You are OK. คนประเภทนี้ปรับตัวได้ดีเพราะมองตนเองและคนอื่นดี
สรุป
การปรับตัว หมายถึง การที่บุคคลสามารถดำรงชีวิตอยู่เพื่อให้จิตใจของตนมีสมดุลไม่เกิดความขัดแย้งในจิตใจ การปรับตัวของมนุษย์แต่ละวัยมีจุดมุ่งหมายและมีวิธีการแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะพัฒนาการด้านต่างๆ ของมนุษย์ สิ่งที่มีอิทธิพลในการปรับตัว ได้แก่ ความต้องการวัยเพศ ช่วงชีวิตที่เปลี่ยนแปลง พัฒนาการ ประสบการณ์ การเรียนรู้ เป็นต้น การปรับตัวมีหลายวิธี เช่น การสู้ การหนี และการใช้การประนีประนอม การปรับตัวกับสภาพจิตมีความสัมพันธ์กับผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต




















โครโมโซม เซลล์สมอง ระบบ การเลี้ยง ทางกายภาพ อารมณ์ไม่ ประสาท ดูในวัย เช่นการเดินทาง/ มั่นคง ระบบ 0-3 ปี เศรษฐกิจ/ จิตใจอ่อน กล้ามเนื้อ การเห็น การเมือง/ ไหวง่าย ระบบ จากตัวแบบ ครอบครัว/ ความสับสน ต่อมไร้ท่อ ฯลฯ และความ ทางจิตภาพ ขัดแย้ง เช่น ความ สิ่งที่กระทบ คับแค้นใจ จิตใจอย่าง ความกดดัน รุนแรง จากการงาน/ ความไม่ ยุติธรรม
ภาพแสดงกระบวนการปรับตัว







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น