วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

รูปเล่มรายงาน สุขภาพจิตและการปรับตัว (Mental Health And Adjustment)



สุขภาพจิตและการปรับตัว
(Mental Health And Adjustment)

ภูษณิศา อ่อนอึ่ง ศิริรัตน์ สิมมา วิไลลักษณ์ กายขุนทศ จิราวรรณ ป้อมสุวรรณ ปภัสรา ชมภูนุช เกศสินีย์ ศรีสายพงษ์ อาทิมา อุดมวงศ์รัตนา หริพันธุ์ วงค์ขัติย์ อีฟตีนา ลีวาเมาะ
เสนอ รศ. จินตนา ณ สงขลา

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา 1051104 จิตวิทยาสำหรับครู (Psychology for Teacher) วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554
สุขภาพจิตและการปรับตัว
(Mental Health And Adjustment)
นางสาว ภูษณิศา อ่อนอึ่ง 5410111224007 นางสาว ศิริรัตน์ สิมมา 5410111224021 นางสาว วิไลลักษณ์ กายขุนทศ 5410111224023 นางสาว จิราวรรณ ป้อมสุวรรณ 5410111224032 นางสาว ปภัสรา ชมภูนุช 5410111224038 นางสาว เกศสินีย์ ศรีสายพงษ์ 5410111224044 นางสาว อาทิมา อุดมวงศ์รัตนา 5410111224054 นาย หริพันธุ์ วงค์ขัติย์ 5410111224057 นางสาว อีฟตีนา ลีวาเมาะ 5410111224059
เสนอ รศ. จินตนา ณ สงขลา

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา 1051104 จิตวิทยาสำหรับครู (Psychology for Teacher) วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554

คำนำ

จิตวิยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับจิต (Mind) วิญญาณและศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ความคิด ความรู้สึก หรือจิตใจจะควบคุมพฤติกรรมการแสดงออกของมนุษย์ สุขภาพจิตเป็นศาสตร์ทีมีความสำคัญต่อการดำเนินสาธารณาสุข เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการางด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม ของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนสิ้นชีวิต การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิต ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดีและไม่ดี วิวัฒนาการของงานสุขภาพจิต เป็นความรู้เบื้องต้นที่มีความจำเป็น ในการนำไปใช้วางแผนป้องกันปัญหาสุขภาพจิต การส่งเสริมสุขภาพจิตและการฟื้นฟูสุขภาพจิต จึงมีความจำเป็นที่จะมีการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ดังกล่าว การศึกษาในครั้งนี้ได้แบ่งหัวข้อการศึกษาโดยมีหัวข้อดังนี้ บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญ ประวัติความเป็นมาเรื่องการปรับตัว ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสุขภาพจิตและการปรับตัว สุขภาพจิต (Mental Health) ความหมายของสุขภาพจิต ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี สุขภาพจิตของวัยรุ่น ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพจิต สุขภาพจิตในโรงเรียน (Mental Health in School) การปรับตัว (Adjustment) ความหมายของการปรับตัว ความสำคัญของการปรับตัว ประเภทของการปรับตัว สาเหตุของการปรับตัว ลักษณะของผู้ที่ปรับตัวได้ดี ลักษณะของเด็กที่ปรับตัวไม่ได้ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัว การปรับตัวแบบต่างๆ ของผู้ที่มีความสามารถในการปรับตัวได้ดี การปรับตัวในวัยรุ่น การปรับตัวผิดปกติของเด็กวัยรุ่น (Personality Disorders) ท้ายที่สุดนี้ ผู้ศึกษาขอกราบขอบพระคุณ รศ. จินตนา ณ สงขลา ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในการทำรายงาน และเพื่อนๆทุกคน และที่สำคัญคือ แหล่งข้อมูลจากเอกสารตำรา เป็นการใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มา ณ ที่นี้ด้วย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้คงเป็นประโยชน์แก่ท่านได้ตามสมควร

ผู้ศึกษา






สารบัญ
เรื่อง หน้า คำนำ สารบัญ บทที่ 1 บทนำ 6 ความเป็นมาและความสำคัญ 9 ประวัติความเป็นมาเรื่องการปรับตัว 9 บทที่ 2 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสุขภาพจิตและการปรับตัว 12 1. สุขภาพจิต (Mental Health) 12 1.1 ความหมายของสุขภาพจิต 12 1.2 ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี 14 1.3 สุขภาพจิตของวัยรุ่น 15 1.4 ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพจิต 16 1.5 สุขภาพจิตในโรงเรียน (Mental Health In School) 18 2. การปรับตัว (Adjustment) 28 2.1 ความหมายของการปรับตัว 28 2.2 ความสำคัญของการปรับตัว 29 2.3 ประเภทของการปรับตัว 29 2.4 สาเหตุของการปรับตัว 30 2.5 ลักษณะของผู้ที่ปรับตัวได้ดี 31 2.6 ลักษณะของเด็กที่ปรับตัวไม่ได้ 32 2.7 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัว 32 2.8 การปรับตัวแบบต่างๆ 35 2.9 การปรับตัวในวัยรุ่น 39 2.10 การปรับตัวผิดปกติของเด็กวัยรุ่น (Personality Disorders) 39 บทที่ 3 สรุปผลการดำเนินการศึกษา(Conclusion) 46 บรรณานุกรม


สารบัญรูปภาพ

ภาพที่ หน้า รูปภาพที่ 2.1 แผนผังแสดงกระบวนการปรับตัว 43 รูปภาพที่ 2.2 การแสดงพัฒนาการของวัยผู้ใหญ่ตอนต้น 44 และตอนกลางตาม Levinson รูปภาพที่ 2.3 แสดงแบบการปกครองของพ่อแม่ (Dimension of Parenting) 45 รูปภาพที่ 2.4 แสดงถึงพฤติกรรมของการใช้ความคิด 45











บทที่ 1
บทนำ (General Introduction)

1.1 ความเป็นมา และ ความสำคัญ (Background and Significance)
เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 มนุษย์เริ่มมีศึกษาด้านจิตใจที่เรียนกว่า “วิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม (Behavioral Science)” วิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรมมีหลายสาขา มีการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง ทำให้เราได้เรียนรู้การอธิบาย และการทำความเข้าใจจิตมนุษย์ได้ชัดเจนมากขึ้น การศึกษาจิตใจในเชิงวิทยาศาสตร์คือ การใช้การสังเกตโดยละเอียด เพื่อเก็บข้อมูลจากพฤติกรรมนำมาวิเคราะห์และแปลความหมาย ซึ่งก็คือ การแสดงความคิดเห็น ถ้าความคิดเห็นมีเหตุผลเชื่อถือได้จึงพัฒนาเป็นทฤษฎี
สุขภาพจิตเป็นสภาวะทางจิตใจมีการปรับและเปลี่ยนแปลง ตามสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวของผู้นั้น และยังขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในบุคคลนั้น หากบุคคลมีพื้นฐานด้านสุขภาพจิตที่ดี มั่นคง มีความเจริญ เติบโตด้านสุขภาพจิตเต็มที่ ก็จะมีความสามารุในการปรับภาวะสมดุลทางจิตให้สามารถอยู่กับตัวเอง
ปัจจุบัน สุขภาพจิตเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตมนุษย์มาก ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความเจ็บไข้ได้ป่วยทางร่างกายเลย อันจะเห็นได้จากการที่โรงพยาบาลโรคจิตต้องรับคนไข้มากขึ้น นอกจากนี้ศูนย์สุขวิทยาหลายแห่งก็มีงานล้นหลามเช่นกัน ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันเป็นความสับสนวุ่นวาย ความสลับซับซ้อน และความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ความสุข ในการดำเนินชีวิตลดน้อยลงไปกว่าสมัยก่อนมาก ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาทางอาชญากรรมที่สูงมีอัตราการเกิดสูงมาก ปัญหาทางการครองชีพที่ต้องสู้ แย่งชิง และฉวยโอกาส ปัญหาครอบครัว ที่ขาดความสุข ก่อให้เกิดการหย่าร้าง การทอดทิ้งบุตร การทะเลาะวิวาท การมีอารมณ์รุนแรง การฉุดคร่าข่มขืน ซึ่งเกิดขึ้นในอัตราสูง และเกิดแทบทุกวัน บุคคลหันไปนิยมวัตถุธรรมยิ่งขึ้น เพราะความเจริญทางด้านวัตถุในปัจจุบันนี้ก้าวหน้ามากกว่าสมัยก่อนอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ
สังคมพลุกพล่านเต็มไปด้วยผู้คนที่ไม่อาจจะวางใจได้ ภาวะดังกล่าวนี้เนื่องจากการทวีของจำนวนประชากรในอัตราที่สูงมากจนทำให้มนุษย์ มีการขัดแย้งในการดำรงชีวิตร่วมกันมากขึ้นมีความกระทบกระเทือนจิตใจต่อกัน เกิดความพิการทางจิตใจ ที่เรียกว่า สุขภาพจิตเสื่อมสามารถทำร้ายคน หรืออาจจะร้ายแรงถึงขนาดฆ่าคนได้ ต้นเหตุของการเป็นเช่นนี้เกิดขึ้นทั่วไปทุกมุมโลก และผู้ที่มีสุขภาพจิตดีเท่านั้น ที่สามารถจะต่อสู้กับภาวะการณที่เกิดขึ้นได้ด้วยเหตุนี้เองเราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพจิต เพื่อศึกษาถึงสาเหตุของการที่จะทำให้บุคคลสุขภาพจิตเสื่อม และการฝึกฝนตนเองให้มีสุขภาพจิตที่ดี ตลอดจนการบำบัดอาการป่วยทางจิต เพื่อช่วยให้บุคคลสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน
ความสำคัญของสุขภาพจิต
สุขภาพจิต เป็นความสามารถของบุคคลในการดำเนินชีวิตให้ไปสู่เป้าหมายที่ได้กำหนด หรือคาดหวังไว้ สุขภาพจิตแฝงอยู่กับวิถีชีวิตของมนุษย์ทุกวัย จนอาจกล่าวได้ว่า สุขภาพจิตเป็นปัจจัยกำหนดความสุข และความสำเร็จในชีวิตของมนุษย์ ดังภาษิตที่กล่าวว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ ได้มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งต่อคณะจิตแพทย์ ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เมื่อวันที่ 14 .. 2520 ว่า
สุขภาพจิตและสุขภาพกายนี้ มีความสัมพันธ์ที่จะโยงกันอย่างยิ่ง พูดได้ว่าสุขภาพจิตสำคัญกว่าสุขภาพกายด้วยซ้ำ เพราะว่าคนไหนที่ทางกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่จิตใจฟั่นเฟือนไม่ได้เรื่องนั้นถ้าทำอะไรก็จะยุ่งได้ กายที่แข็งแรงนั้นก็จะไม่มีประโยชน์ต่อตนเอง หรือสังคมอย่างใด ส่วนคนที่สุขภาพกายไม่สู้แข็งแรงแต่สุขภาพจิตดี หมายความว่า จิตใจดี รู้จักจิตใจของตัว และรู้จักปฏิบัติให้ถูกต้องย่อมเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้มาก ในที่สุดสุขภาพจิตที่ดีก็อาจจะพามาซึ่งสุขภาพทางกายที่ดีได้”
การดูแลปัญหาสุขภาพจิต เป็นหน้าที่ของบุคลากรทางจิตเวช เริ่มจากการให้ความรู้ในวิธีการป้องกัน หลีกเลี่ยง สิ่งที่จะก่อให้เกิดปัญหา การรักษาเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว และด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมถึงการติดตามผลเพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ
สุขภาพจิตที่ผิดปกติ ลักษณะที่แสดงออกเริ่มตั้งแต่พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง มีผลต่อสมรรถภาพในการทำงาน รวมถึงความผิดปกติของความคิด และอารมณ์ จนถึงระดับที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้ใกล้ชิด ความมุ่งหมายในการรักษา คือ บรรเทาแก้ไขอาการที่เกิดขึ้น เพิ่มสมรรถภาพให้กลับมาสู่ปกติ การรักษาควรเริ่มจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การวินิจฉัยที่ถูกต้อง วางแผนการรักษาที่รัดกุม เต็มไปด้วยความเข้าใจและเห็นใจต่อผู้ป่วย ผู้รักษาต้องกล้าที่จะยอมรับความผิดพลาด ยอมแก้ไข แม้ปัญหาสุขภาพจิตของตนเอง
สุขภาพจิตมีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์หลายด้าน เช่น ด้านการศึกษาด้านอาชีพ ด้านชีวิตครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ด้านสุขภาพร่างกาย ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีจะประสบความสำเร็จในทุกด้าน ถ้าสุขภาพจิตดีร่างกายก็จะสดชื่น หน้าตายิ้มแย้ม สมองแจ่มใส เป็นที่สบายใจแก่ผู้พบเห็น อยากคบค้าสมาคมด้วย ทำงานสำเร็จ ศึกษาได้ตามที่วางเป้าหมายไว้
สุขภาพจิตมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนเราทุกคน สุขภาพจิตมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสุขสุขภาพร่างกายเลย ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าโรงพยาบาลโรคจิตในปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้น และแต่ละแห่งต้องรับคนไข้มากขึ้น ปัญหาทางสุขภาพจิตเสื่อมในปัจจุบันทวีจำนวนยิ่งขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากซับซ้อนในสังคม เช่น ปัญหาทางอาชญากรรมทั้งผู้ใหญ่และเด็กวัยรุ่น ปัญหาชีวิตครอบครัวที่ขาดความสุข ก่อให้เกิดการหย่าร้าง ปัญหาของเด็กที่ถูกทอดทิ้ง สาเหตุเหล่านี้เกิดจากสภาพของจิตใจที่ผิดปกตินั่นเอง
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า มนุษย์ในปัจจุบันต้องพบกับภาวะตึงเครียดมากมาย ภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ความรับผิดชอบที่ต้องมีต่อครอบครัวและสังคม ความวิตกกังวลที่เกิดจากความไม่ปลอดภัยต่างๆในสังคม เช่น โจรผู้ร้าย การจี้ปล้น การฉุดคร่า และข่มขืน การแพร่หลายของยาเสพติดต่างๆ ทำให้เกิดความห่วงใยบุตรหลาน กลัวว่าจะไปติดยาเสพติดหรือถูกยุยงให้กลายเป็นผู้ประกอบอาชญากรรมต่างเมื่อใดก็ได้
ภาวะดังกล่าวข้างต้นนี้ ผู้ที่มีร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็งเท่านั้นที่จะต่อสู้ได้ นั่นคือผู้ที่มีสุขภาพจิตดีเท่านั้น จะผ่านพ้นสถานการณ์เหล่านั้นไปได้ด้วยดี สุขภาพจิตสามารถที่จะบำรุงได้เช่นเดียวกับสุขภาพของร่างกาย และสุขภาพจิต มีความสัมพันธ์กับสุขภาพทางกายอย่างแยกไม่ออก ผู้ที่มีสุขภาพดีย่อมไม่ใช่ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เจ็บออดๆแอดๆ และมีความหวั่นไหวทางอารมณ์ง่ายๆ
ผู้ที่มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ จะเป็นผู้ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมีประสิทธิภาพคือทำประโยชน์ให้แก่ตนเอง และส่วนรวมได้ดียิ่ง มีความกระตือรือร้นและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน รู้จักพักผ่อนหย่อนใจ มีความอดกลั้น มีความบากบั้น อันเป็นสัญลักษณ์แห่งสภาพจิตที่สมบูรณ์เยี่ยม เป็นความสามารถในการต่อสู้และเผชิญกับชีวิตอย่างมีความสุข
ผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดี ย่อมจะช่วยให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดพลอยมีความสุข คือมีสุขภาพจิตดีไปด้วย การมีหน้าตายิ้มแย้ม จิตใจชื่นบานย่อมมีแต่มิตร ด้วยเหตุนี้เองทุกคนจึงควรหันมาสนใจสุขภาพของตน เพื่อการดำรงชีวิตีที่เต็มไปด้วยประโยชน์สุขทั้งตนเองและส่วนรวม สามารถแก้ปัญหาของตนเองได้และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
ความสำคัญของสุขภาพจิตต่อชีวิตประจำวัน
ในการดำรงชีวิตในสังคม คนเราจำเป็นจะต้องเกี่ยงข้อง พึ่งพาอาศัยกันอยู่ตลอดเวลา ถ้าหากเรามีสุขภาพจิตดี เราย่อมจะเป็นที่พึ่งพาแก่ผู้อื่นได้ดี และถ้ามีความจำเป็นเราก็จะไปพึ่งผู้อื่น หรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้ดีด้วย ถ้าหากสุขภาพจิตเราเสื่อมเราจะกลายเป็นภาระแก่ผู้อื่นต้องดูแล และต้องพึ่งผู้อื่นตลอดเวลา หากสุขภาพจิตเสื่อมอย่างรุนแรง อาจจะเป็นภัยแก่สังคมได้ด้วย เช่น อาจจะก่อการทะเลาะวิวาท การมีอารมณ์พลุ่งพล่านโดยไม่มีสาเหตุ ถ้ารายที่รุนแรงมากอาจจะก่ออาชญากรรมต่างๆขึ้นได้ นับเป็นการสูบเสียทางสังคมอย่างยิ่ง
ฉะนั้นประโยชน์ที่ได้จากการมีสุขภาพจิตดี ในการดำรงชีวิตจึงมีนานาประการทุกคนจึงควรบำรุงรักษาสุขภาพจิตของตนเองให้ดีอยู่เสมอ การรู้จักพักผ่อนคลายอารมณ์ต่างๆเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้ชีวิตเป็นระเบียบแบบแผนขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่โกรธ กลัดกลุ้ม ก็พักผ่อนใจให้ คลายความตึงเครียดลงเสียบ้าง จะช่วยให้ชีวิตของคนเรามีความสุขขึ้น มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
ความสัมพันธ์ของสุขภาพจิตและการปรับตัว
ในภาวะสังคมโลกปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ได้แก่ สังคม วัฒนธรรม การเมือง การศึกษา การคมนาคม การแพทย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร และพาณิชกรรม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต การใช้ชีวิตประจำวันของคนในสังคม กล่าวคือ มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น แย่งชิงทรัพยากรที่มีจำกัด มีการลดจ้างงานลง โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆมาแทนคน ทำให้เกิดภาวะว่างงาน เกิดความตรึงเครียด เกิดความวิตกกังวลจากการต่อสู้ดิ้นรน แข่งขัน ซึ่งธรรมชาติมนุษย์ทุกคนมีความต้องการจะหลีกเลี่ยงสภาพความตรึงเครียด ต้องการพบแต่ความสุข ดังนั้น บุคคลต้องมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปเหล่านี้ให้ได้ หากแต่ความสามารถของมนุษย์มีขอบเขตจำกัด บางคนเมื่อประสบปัญหาทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล หวาดกลัว ท้อแท้ เหนื่อยหน่าย และสิ้นหวังหมดทางออกในชีวิต ไม่สามารถปรับตัวได้ จึงมีปัญหาสุขภาพจิต บางคนหาทางออกโดยการอำลาโลกที่โหดร้ายทารุณ โลกที่สร้างความทุกข์ทรมานใจอย่างแสนสาหัสแก่ตนเองด้วยทำอัตวินิบาตกรรมคือฆ่าตัวตายแบบต่างๆ เช่น กินยาฆ่าแมลง การใช้อาวุธปืนยินตนเอง การผูกคอตาย หรือการกระโดดลงมาจากที่สูง ดังเป็นข่าวที่เห็นกันตามหนังสือพิมพ์ ซึ่งนับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ทำให้สามารถเชื่อมโยงและวิเคราะห์ได้ว่า “ขณะนี้ปัญหาสุขภาพจิตของคนในสังคมนี้กำลังมีปัญหาเพิ่มมากขึ้น” ซึ่งเป็นสาเหตุที่ต้องหาทางแก้ไขโดยเร็ว แนวทางทำได้โดยช่วยให้บุคคลมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตและการปรับตัวอย่างถูกต้อง รู้จักวิธีผ่อนคลายความเครียด ความทุกข์ใจ ความวิตกกังวลใจ จากปัญหาที่เผชิญอยู่อย่างมีสติ และมีความรอบคอบอย่างเท่าทันสภาพที่เกิดขึ้น
สรุปได้ว่า สุขภาพจิตและการปรับตัว จะมีความสัมพันธ์กันกล่าวคือ บุคคลที่มีสุขภาพจิตดีย่อมมีความสามารถในการปรับตัวได้ดี และบุคคลที่มีการปรับตัวที่ดีย่อมส่งผลทำให้บุคคลนั้นมีสุขภาพจิตที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข
ประวัติความเป็นมาของความรู้เรื่องการปรับตัว
สมัยก่อนมักจะมีคำกล่าวในทำนองที่ว่า “คนนั้นเป็นคนดี” หรือ “คนนั้นเป็นคนบ้า” ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันดีตามความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นสมัยนั้นว่าบุคคลผู้ถูกกล่าวขวัญถึงนั้นเป็นคนปกติธรรมดาหรือมีความผิดปกติจากคนธรรมดาสามัญทั่วไป ด้วยเหตุใดๆก็ตาม เช่นถูกภูตปีศาจเข้าสิง ถูกสะกดด้วยเวทมนต์คาถา หรือถูกครอบงำด้วยอำนาจทางไสยศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่งอันทำให้สติฟั่นเฟือนและควบคุมจิตใจไม่อยู่ แต่ในสมัยปัจจุบัน คำกล่าวข้างต้นจะเปลี่ยนรูปใหม่เป็น “คนนั้นปรับตัวได้” หรือ “คนนี้ปรับตัวไม่ได้” ซึ่งมนุษย์ในสมัยโบราณไม่สามารถเข้าใจความหมายใหม่นี้ได้อย่างแน่นอน ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปรับตัวนี้เป็นผลผลิตใหม่อย่างหนึ่งของยุคแห่งความเจริญทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ หรือกล่าวได้ว่าความคิดเกี่ยงกับเรื่องการปรับตัวของมนุษย์ตั้งต้นจากจุดที่ Darwin ได้ประกาศผลค้นคว้าของเขาเกี่ยวกับทฤษฎีแห่งวิวัฒนาการและการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตในกลางศตวรรษที่ 19

ประวัติความเป็นมาของความรู้เรื่องการปรับตัวนี้จึงนับได้ว่ามีจุดเริ่มต้นจากการที่มนุษย์ในสมัยโบราณมีความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตใจอย่างรุนแรง หรือวิกลจริต เช่นที่เรียกกันตามภาษาชาวบ้านว่า “คนบ้า” ดังได้กล่าวแล้วนี่เอง ความทุกข์ใจความเคร่งเครียดใจที่นักจิตวิทยาสมัยใหม่รวมเรียกว่าความข้องคับใจนี้เป็นสิ่งที่มนุษย์หลีกเลี่ยงไม่พ้นไม่ว่าจะอยู่ในยุคใดนับแต่โบราณกาลมาแล้ว
มนุษย์ในสมัยดึกดำบรรพ์คงจะได้สังเกตอิทธิพลแห่งจิตที่มีต่อร่างกายมาช้านานแล้วจึงได้ตั้งตนเป็นพ่อมดหมอผี ผู้วิเศษ คนทรงเจ้าเข้าผี หรือผู้มีอำนาจลึกลับทางไสยศาสตร์และมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในสมัยโบราณเรื่อยมาในการเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมต่างๆขึ้นซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นไปในแง่ความคิดค้นและพยายามที่จะใช้อำนาจจิตบำบัดอาการป่วยทางกายตลอดจนควบคุมพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ แม้ในสมัยนี้ซึ่งเป็นสมัยแห่งความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ชนบางหมู่บางเหล่าก็ยังยึดมั่นในพิธีกรรมทางไสยศาสตร์อย่างมั่นคงไม่มีเสื่อมคลาย นักประวัติศาสตร์และจิตแพทย์หลายคน ผู้ศึกษาประวัติความเป็นมาขอวิชาจิตเวชต่างก็ย้ำความจริงที่ว่าการแพทย์แผนปัจจุบันซึ่งรวมถึงสาขาจิตเวชด้วยนั้นมีประวัติความเป็นมาสืบเนื่องมาจากบรรดาพ่อมดหมอผี หรือเจ้าแห่งเวทมนต์คาถาผู้ตั้งตนเป็นหมอรักษาผู้ป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บทางกาย หรือผู้ป่วยทางจิตนี่เอง
ในสมัยปัจจุบันวิทยาการทุกสาขาเจริญก้าวหน้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาแทนที่ความเชื่อทางไสยศาสตร์และอำนาจลี้ลับต่างๆ มนุษย์ได้ใช้เหตุผลและการสังเกตของจริงในการศึกษาแทนที่จะหลงเชื่องมงายในอิทธิพลลึกลับที่ไม่อาจเข้าใจหรือไม่บังอาจแตะต้องได้เช่นแต่ก่อนและจากข้อมูลต่างๆที่ค้นคว้ารวบรวมได้นี้ นักวิทยาศาสตร์จึงได้วิเคราะห์และตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้ในวิชาสาขาต่างๆขึ้น อาทิเช่น วิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยาเป็นต้น นอกจากนี้ยังได้นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษาตรวจสอบพฤติกรรมของมนุษย์อีกด้วยแต่ว่าอาจจะเนื่องมาจากเหตุที่ว่า มนุษย์มีความเชื่อฝังเชื่อมาแต่ดั้งเดิมว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นเรื่องลี้ลับเหนือธรรมชาติ และอยู่นอกขอบเขตของวิทยาศาสตร์ ดังนั้นการศึกษาในเรื่องนี้โดยอาศัยหลักวิชาวิทยาศาสตร์จึงเป็นไปล่าช้ากว่าวิชาสาขาอื่น ผู้คนเพิ่งเริ่มตื่นตัวมากขึ้นนับตั้งแต่ Darwin ได้ประกาศทฤษฎีแห่งวิวัฒนาการในกลางศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ประจวบกับในครึ่งหลังสตวรรษที่ 19 นั้นได้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในยุโรป ซึ่งนับได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อันน่าตื่นเต้น อีกทั้งใน ค.. 1860 นักวิทยาศาสตร์และปรัชญาเมธีเยอรมันผู้มีชื่อเสียงคือ Sigmund Freud ซึ่งได้เริ่มศึกษาจิตใจของมนุษย์โดยการวิเคราะห์ในเชิงวิทยาศาสตร์ ผลงานค้นคว้าของเขาได้นำไปสู่ทฤษฎีจิตวิเคราะห์อันยังผลให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพและพฤติกรรมของคนเรานั่นเอง สรุปได้ว่าเพิ่งจะเป็นที่ยอมรับกันในปลายศตวรรษที่ 19 นี้เองว่าในการศึกษาเรื่องพฤตกรรมของมนุษย์นี้เราสามารถใช้วิธีการตามหลักวิทยาศาสตร์ศึกษาได้เป็นอย่างดี และจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วนี่เองวิชาจิตวิทยาจึงได้รับการรับรองว่าเป็นวิทยาการสาขาหนึ่งโดยเฉพาะ
ในการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์นี้นักจิตวิทยาได้เน้นหนักเกี่ยวกับสาเหตุทางชีววิทยาแต่แต่ละบุคคลและอิทธิพลของสังคม การศึกษาวิจัยของนักจิตวิทยาบางพวกในปัจจุบันได้เน้นหนักเกี่ยวกับสภาวะพื้นฐานทางชีววิทยาของบุคคลว่าเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหายุ่งยากและความล้มเหลวในการปรับตัวในขณะเดียวกัน นักจิตวิยาอีกพวกหนึ่งกลับมีความเห็นว่าสภาวะแวดล้อมทั้งทางกายภาพ และทางสังคมมีอิทธิพลอย่างยิ่งในการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ อย่างไรก็ดีนักจิตวิทยาผู้ศึกษาเกี่ยวกับบุคลิกภาพและการปรับตัวส่วนใหญ่ทั่วๆไปต่างยอมรับความสำคัญของอิทธิพลร่วมระหว่างสองสิ่ง คือสภาวะพื้นฐานทางชีววิทยาของบุคคลกับสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่าทุกคนเกิดมาพร้อมด้วยโครงสร้างทางชีววิทยาที่แตกต่างกัน และเติบโตในสิ่งแวดล้อมซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นต่างๆกัน ดังนั้น แต่ละคนจึงแสดงพฤติกรรมออกมาในลักษณะแตกต่างกัน
นอกเหนือจากอิทธิพลร่วมระหว่างสองสิ่งนี้แล้ว ในชีวิตที่ผ่านมาแต่ละคนยังได้รับประสบการณ์ทั้งในแง่ส่วนตัวและในแง่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งมีส่วนสร้างบุคลิกลักษณะที่เป็นแบบเฉพาะตัวขึ้นมาด้วยประสบการณ์ส่วนตัวในชีวิตที่ผ่านมาของแต่ละคนย่อมไม่ซ้ำกับผู้ใด เช่น บางคนประสบความรู้สึกผิดหวังอย่างรุนแรงเนื่องจากความล้มเหลวในขณะที่บางคนประสบความสำเร็จและความภาคภูมิใจ หรือบางคนสะสมความรู้สึกเก็บกดไว้เป็นเวลายาวนาน หรือบางคนต้องเผชิญกับโศกนาฏกรรมบางอย่างในชีวิตที่ผ่านมาเป็นต้น ส่วนประสบการณ์ร่วมนั้นหมายถึงการที่เราได้รับประสบการณ์บางอย่างที่คล้ายคลึงกับผู้อื่น ทั้งนี้อาจจะเป็นผลเนื่องจากการอยู่ร่วมสังคมเดียวกันภายใต้อิทธิพลทางวัฒนธรรมที่เป็นรูปแบบเดียวกัน ซึ่งมีส่วนทำให้คนเราได้รับประสบการณ์คล้ายคลึงร่วมกันเกี่ยวกับแผนปฏิบัติในด้านต่างๆ เช่น การดำเนินชีวิต และการเรียนรู้ปรัชญา และค่านิยมของสังคมนั้นๆเป็นต้น
กล่าวโดยสรุปได้ว่าตามหลักการวิชาจิตวิทยาสมัยใหม่ การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ตามหลักเกณฑ์วิทยาศาสตร์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาสภาวะทั้งสามด้านของมนุษย์ คือศึกษาและสังเกตพฤติกรรมของมนุษย์โดยพิจารณาสภาวะพื้นฐานทางชีววิทยา เช่น สภาวะทางกาย ละอิทธิพลของพันธุกรรมประกอบกับสภาวะทางจิตอันเกิดจากประสบการณ์ทั้งหลายในชีวิตร่วมกับสภาวะแวดล้อมของแต่ละบุคคลด้วย
นักจิตวิทยาได้ทำการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับสภาวะทางจิตและการปรับตัวของมนุษย์ต่อเนื่องกันตลอดมา บางครั้งผลการวิจัยค้นคว้าที่นักจิตวิทยาคนหนึ่ง ได้สรุปหรือตั้งเป็นทฤษฎีไว้และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในระยะหนึ่ง อาจถูกหักล้างในเวลาต่อมโดยนักจิตวิทยาอีกคนหนึ่งซึ่งทำการศึกษาค้านคว้าและพบว่าทฤษฎีที่ตั้งไว้ก่อนหน้านั้นไม่ถูกต้องก็ได้ การที่ปัญหาเกี่ยวกับสภาวะทางจิตของมนุษย์ และการปรับตัวเป็นปัญหาที่ยังหาข้อยุติที่แน่นอนเด็ดขาดลงไปยังไม่ได้ ดังกล่าวนี้จึงเท่ากับเป็นการยั่วยุ หรือท้าทายบรรดานักจิตวิทยาทั้งหลายให้เสาะแสวงหาข้อเท็จจริงด้วยการศึกษา และค้นคว้าวิจัยต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมีความมุ่งหมายที่จะได้มาซึ่งความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องนี้




บทที่ 2
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสุขภาพจิตและการปรับตัว
การศึกษาเอกสารและตำราที่เกี่ยวข้องกับงานการศึกษาเรื่อง สุขภาพจิตและการปรับตัว ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยเสนอเป็นหัวข้อตามลำดับดังนี้

1. สุขภาพจิต (Mental Health)
1.1 ความหมายของสุขภาพจิต
สุขภาพจิต หมายถึง ภาวะที่บุคคลมีความเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม เข้าใจเอกลักษณ์และความรับผิดชอบของตน รวมทั้งการปรับตนให้ข้ากับคนอื่นๆในสังคมได้ การที่บุคคลจะมีสุขภาพจิตที่ดีได้นั้นจะต้องมีความพร้อมทั้งทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่ อยู่ในบรรยากาศของความเอื้ออาทรและมีน้ำใจไมตรีต่อกัน คนที่มีลักษณะนี้มักเป็นคนร่าเริง อารมณ์ดี มองโลกในแง่ดี เป็นมิตร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ใจกว้าง มีเมตตากรุณา มีลักษณะที่ยืดหยุ่นง่าย เป็นต้น ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม คนประเภทนี้มักจะได้เห็นตัวแบบที่ดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่พัฒนาความรู้นึกคิดด้านสร้างสรรค์ การจัดสภาพแวดล้อมที่ดีมีการเลี้ยงดูเด็กแบบประชาธิปไตย ไม่มีสภาวะรับการกดดันจากสังคมเศรษฐกิจ ประเพณี ความเชื่อ อีกทั้งไม่มีข้อบกพร่องทางด้านสุขภาพทางร่างกายในแง่ความเจ็บปวดทั้งทางกายและทางจิต สิ่งเหล่านี้ทีผลต่อการเสริมสร้างสุขภาพจิตของบุคคลอย่างยิ่ง ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีย่อมมีศิลปะในการปรับตัว และมีวิธีการดำรงชีวิตในสังคมได้ดีถึงแม้ว่าตนเองจะอยู่ในภาวะความสับสน ยุ่งยากเพียงใดก็สามารถประคองชีวิตให้ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ
สุขภาพจิต มีความหมาย 2 ประการ ดังนี้
1. สุขภาพจิต (Mental Health) คือสุขภาพจิตใจที่ดีของมนุษย์ หรือการมีสภาพจิตที่ดี เช่นมีจิตใจที่เบิกบานแจ่มใสอยู่เสมอ ไม่มีความวิตกกังวลใดๆทั้งสิ้น ส่วนบุคคลที่มีสุขภาพจิตเสื่อมย่อมหมายถึง บุคคลที่มีสุขภาพจิตผิดปกติมีความกังวลทุกข์ร้อนอยู่เสมอ ตลอดจนมีพฤติกรรมผิดไปจากปกติธรรมดา 2. สุขวิทยาจิต (Mental Hygiene) คือศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำจิตใจให้สมบูรณ์ เป็นแขนงหนึ่งของจิตวิทยาคลินิก หรือจิตวิทยาปกติซึ่งส่งเสริมให้คนมีสุขภาพจิตสมบูรณ์ การป้องกันความพิการทางจิต และการบำบัดรักษาความพิการทางจิตของมนุษย์
ฝน แสงสิงแก้ว (2527) กล่าวว่า ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีมิได้หมายถึง ผู้ที่มิได้มีสุขภาพจิตแปรปรวนอย่างเดียว แต่หมายถึง ผู้ที่ปรับสภาพจิตใจให้มีความสมดุลกับสภาพแวดล้อมได้ตามวัยของชีวิต สุขภาพจิตนี้อาจเปรียบได้กับความสุขทางใจ ซึ่งเป็นนามธรรมหรือมีคุณค่าทางคุณภาพมากกว่าคุณค่าทางปริมาณ
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ (2530) ให้ความหมายสุขภาพจิตไว้ว่า สุขภาพจิต หมายถึง ความสมบูรณ์ทางจิตใจของมนุษย์ ซึ่งช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ปราศจากโรคจิต โรคประสาท มีความสามารถในการปรับตัวต่อสังคมได้อย่างเหมาะสม ทำประโยชน์ให้แก่ตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เอลลี่ โบว์เออร์ (Eli Bower) นักจิตวิทยา ไดให้ความหมายของสุขภาพจิตว่า “สุขภาพจิต คือ ความสามารถของบุคคลในการแก้ปัญหาต่างๆ ให้หลุดพ้นจากความกดดันและความบีบคั้นของชีวิต ผู้ที่มีสุขภาพจิตดี คือผู้ที่แก้ไขปัญหาชีวิตได้เหมาะสมตามสภาพแวดล้อมของตน” องค์การอนามัยโลก (WHO อ้างใน อัมพร, 2540) ให้ความหมายของสุขภาพจิตว่า เป็นความสามารถของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุขอยู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดี มีสัมพันธภาพอันดีงามกับบุคคลอื่น และดำรงชีวิตได้ด้วยความสมดุลอย่างสุขสบาย รวมทั้งสนองความต้องการของตนเองในโลกที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจ และมิได้หมายความรวมเฉพาะเพียงแต่ปราศจากอาการของโรคประสาทและโรคจิตเท่านั้น
“Health is state of complete physical, mental and social well-being and not merely the absence of disease or infirmity”
ภาวะสุขภาพจิตได้รับอิทธิพลจากปัจจัยด้านชีวะและสังคม เป็นสภาพที่ไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับระดับและความผันแปรต่าง ๆ สุขภาพจิตเป้นความสามารถของบุคคลในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น และความสามารถที่ปรับตัว หรือทำสิ่งที่สร้างสรรค์ได้ ในสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลง เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในใจ บุคคลที่มีสุขภาพจิตดี จะสามารถปรับจิตใจให้เกิดความพอใจในผลที่ได้รับ และพร้อมที่จะเผชิญปัญหา แทนที่จะหลีกหนีจากปัญหาหรืออุปสรรคนั้น สามารถใช้ความรู้สึกนั้นขัดแย้งในใจให้เป็นแรงผลักดันในการดำรงตนอยู่อย่างมีความสุข
จากการที่กรมสุขภาพจิตได้จัดประชุม นักวิชาการด้านสุขภาพจิตและจิตเวชครั้งใหญ่ เมื่อปี พ.. 2537 ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับความหมายของสุขภาพจิตไว้ดังนี้ สุขภาพจิต หมายถึง สภาพชีวิตที่เป็นสุขอันเป็นผลมาจากวิธีการมองคน มองโลก รวมทั้งสามารถจัดการกับความคิด อารมณ์ การแสดงออกของตนเองต่อผู้อื่นและสังคมอย่างเหมาะสมและภายใต้สภาพแวดล้อมและเวลาที่เปลี่ยนแปลง ( http://www.thaimental.com) จาโฮดา (Jahoda , 1985) ได้ทบทวนความหมายของสุขภาพจิตภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการสุขภาพและความเจ็บป่วยทางจิตใจ (Commission on Mental Illness and Health) ของสหรัฐอเมริกาว่า ในการพิจารณาความหมายของสุขภาพจิต สามารถพิจารณาได้ 3 ลักษณะ คือ 1. พิจารณาถึงความสามารถในการทำงานของบุคคลนั้น โดยดูถึงลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลนั้นว่า จะสามารถเผชิญต่องานที่ทำได้อย่างไร จะมีความหนักแน่นและสามารถทำงานได้อย่างสม่ำเสมอแค่ไหน 2. สุขภาพจิตขึ้นอยู่กับสถานการณ์รอบ ๆ ตัวของบุคคลนั้น กล่าวคือ บุคคลนั้นจะมีสุขภาพจิตดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์แวดล้อมรอบตัวเป็นสำคัญ 3. การพิจารณาสุขภาพจิต อาจใช้ลักษณะของสังคมเป็นเกณฑ์ หรือใช้ลักษณะทางวัฒนธรรมและประเพณีของกลุ่มชนชั้นนั้นๆ เป็นหลักได้ เพราะพฤติกรรมของกลุ่มชนเป็นตัวชี้บอกมาตรฐานของสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (2548) ให้ความหมายของสุขภาพจิตไว้ว่า สุขภาพจิต หมายถึง สภาพความสมบูรณ์ของจิตใจซึ่งดูได้จากความสามารถในเรื่องการกระชับมิตร พิชิตอุปสรรคและรู้จักพอใจ ดังนี้ การกระชับมิตร หมายถึง ความสามารถในการผูกมิตรและรักษาความเป็นมิตรไว้ให้ได้รวมทั้งความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่นและเป็นสุข พิชิตอุปสรรค หมายถึง ความสามารถในการแก้ปัญหาและปรับตัวให้อยู่ได้ หรือก่อให้เกิดประโยชน์ได้ในท่ามกลางความเป็นอยู่และความเปลี่ยนแปลงของสังคม รู้จักพอใจ หมายถึง ความสามารถในการทำใจให้ยอมรับในสิ่งที่อยากได้ อยากเป็นเท่าที่ได้ ที่เป็นอยู่จริงได้ด้วยความสบายใจ อัมพร โอตระกูล (2540) สรุปว่า สุขภาพจิต หมายถึง สภาพชีวิตที่เป็นสุขมีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ สามารถปรับตัว หรือปรับความต้องการให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเข้ากับบุคคล และเข้ากับสังคมที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น ทั้งยังก่อให้เกิดผลดีต่อตนเองอีกด้วย
สรุปได้ว่า สุขภาพจิต คือ สภาพชีวิตที่เป็นสุข มีอารมณ์มั่นคงสามารถปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีสมรรถภาพในการทำงาน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความพอใจ เป้าหมายของการเรียนรู้ วิชาสุขภาพจิต ก็คือ การทำให้ชีวิตมีความสุข ความพอใจ ความสมหวัง ทั้งของตนเองและผู้อื่น
ความแตกต่างของสุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิต สุขภาพของคนเราแบ่งออกเป็น สุขภาพทางกาย และสุขภาพทางจิต
1. สุขภาพทางกาย (Physical Health) หมายถึงสุขภาพของร่างกายที่มีการพัฒนาเหมาะสมกับวัย ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและทุพพลภาพ มีความต้านทานโรคได้ดี ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ เรียกว่าเป็นคนมีสุขภาพสมบูรณ์ 2.สุขภาพจิต (Mental Health) หมายถึงสภาพสมบูรณ์ทางจิตใจของมนุษย์ หรือสมรรถภาพในการปรับปรุงตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นสุข ไม่มีอาการของ โรคจิต โรคประสาท หรือพฤติกรรมที่ผิดปกติอย่างหนึ่งอย่างใด
1.2 ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี เราทราบแล้วว่า ผู้มีสุขภาพจิตดี คือ ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและจิตใจเป็นสุข ส่วนผู้ที่มีสุขภาพจิตไม่ดี คือผู้ที่มีลักษณะตรงกันข้าม และผู้ที่มีสุขภาพจิตดี คือผู้ที่มีบุคลิกภาพดีนั่นเอง ผู้ที่มีสุขภาพจิตดี เกิดจากได้รับความความรักความอบอุ่นจากครอบครัวเป็นอย่างดี ฉะนั้นเด็กทุกคนควรจะได้รับการเอาใจใส่เป็นอย่างดี นับตั้งแต่วัยก่อนเกิดทีเดียว ถ้าท่านต้องการให้เด็กของท่านมีสุขภาพจิตดี เป็นเด็กน่ารัก เติบโตขึ้นพร้อมด้วยศีลธรรมที่ดีงาม มีสมรรถภาพดี เด็กจะต้องได้รับความเอาใจใส่ดี พ่อแม่มีความรักใคร่ต่อกัน และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก จะต้องพิจารณาถึงความผูกพันในครอบครัวก่อนอื่นทีเดียว
การพัฒนาสุขภาพจิต คือ การศึกษาให้เข้าใจธรรมชาติของคนทุกรุ่นทุกวัย เช่น ศึกษาวัยเด็ก เพื่อช่วยให้เข้าใจเด็ก และส่งเสริมให้เด็กพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกดี ศึกษาผู้ที่อยู่ในวัยชรา ก็คือส่งเสริมให้คนในวัยชรามีชีวิตอย่างมีความสุข และเป็นที่ต้องการของสังคม ผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดีมีดังนี้ 1. มีเจตคติที่ดีต่อตนเอง พอใจใจตนเองและเป็นผู้ที่รู้จักและเข้าใจตนเองได้ดีว่าตนเองเป็นอย่างไร มีความรู้ความสามารถเพียงใด กล่าวคือ ยอมรับตนเองใจความรู้ความสามารถ ความคิดความรู้สึก และทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับตนเอง และเห็นคุณค่าใจตนเอง มีความเคารพตนเอง 2. มีใจกว้าง สามารถยอมรับและเผชิญกับความจริง มีสติ สามารถยอมรับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นแก่ตนเองได้ ไม่คิดเพ้อฝันอยู่กับความคิดและความปรารถนาของตนเองที่ไม่อาจเป็นไปได้ 3. มีความสามารถที่จะเอาชนะอุปสรรค และปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ตนเองได้ สามารถเผชิญกับปัญหาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ มีความรับผิดชอบต่อการคิดการตัดสินใจ และการกระทำของตนเอง 4. มีความเป็นตัวของตัวเอง มีอิสระในการกระทำของตนเอง กล่าวคือ บุคคลที่ไม่ถูกครอบงำจากอิทธิพลของผู้อื่นและสังคม สามารถตัดสินใจทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยยึดมาตรฐานที่เป็นหลักประจำใจของตนที่เรียกว่า มีจุดยืนของตนเองมากกว่าจะทำสิ่งใดโดยขึ้นอยู่กับการบีบคั้นของบุคคลอื่นและอิทธิพลภายนอก 5. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ คือ บุคคลที่มีความสามารถควบคุมอารมณ์ ความคิดของตนเองได้ จึงมีพฤติกรรมการแสดงออกเหมาะสมกับสถานการณ์ ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ เช่น เกลียด กลัว วิตกกังวล โกรธ อิจฉาริษยา รัก นั่นคือ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ คือ เป็นผู้ที่สามารถควบคุมและแสดงอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม รู้จักอดทนและรู้จักการรอคอย 6. เป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข มีความเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น และยอมรับความแตกต่างของบุคคลได้ 7. เป็นคนที่ทนต่อความกดดัน ความผิดหวัง ความสูญเสีย ความพ่ายแพ้ได้ กล่าวคือ มีความอดทนอดกลั้น เข้มแข็งและเป็นผู้ที่เรียนรู้จากความล้มเหลวของตนเอง แทนที่จะหาข้อแก้ตัวด้วยการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง หรือโยนความผิดให้ผู้อื่น
1.3 สุขภาพจิตของวัยรุ่น เด็กวัยรุ่นหนุ่มสาวคือผู้ที่อยู่ในวัยระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Adolescence เด็กเหล่านี้อยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้มีปัญหาต่างๆเกิดขึ้นมาก เป็นต้นว่าขาดโรงเรียน ก่อการทะเลาะวิวาท รวมตัวกันต่อต้านกฎเกณฑ์ของโรงเรียนและสังคม เป็นต้น ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นนี้ผู้ใหญ่ทุกฝ่ายจะไม่ลำบากเลยถ้าได้ทำความเข้าใจปัญหา และศึกษาถึงธรรมชาติของเด็กวัยรุ่นตั้งแต่แรก จะช่วยลดปัญหาต่างๆได้มาก
วัยรุ่นเราถือว่าเป็นวัยที่สำคัญเป็นวัยที่ร่างกายเจริญรวดเร็ว ร่างกายเปลี่ยนแปลงเร็วจนเจ้าตัวก็แทบจะรับไม่ทัน ในวัยนี้การวางตัวของเด็กลำบากมาก เพราะจะเป็นผู้ใหญ่ก็ยังเป็นไม่ได้ ยังขาดประสบการณ์ เป็นเด็กไม่ใช่เสียแล้ว จึงทำให้เกิดการวางตัวลำบาก เคอะเขิน อะไรมักไม่ถูกต้อง เด็กในวัยนี้จึงมักจะถูกผู้ใหญ่ติเตียนและอาจจะถูกลงโทษก็ได้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้เด็กเสียใจ และการเสียใจอาจจะทำสิ่งต่างๆผิดพลาดลงไปอีกได้
เราจะพบว่าตามสถานพยาบาลโรคจิตนั้น มีเด็กที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตที่เป็นเด็กวัยรุ่นจำนวนมากมาขอคำปรึกษาแนะนำ จากจำนวนคนไข้เหล้านี้ แพทย์พบว่ามีสาเหตุของความผิดปกติต่างๆกัน เช่นสาเหตุเกิดจากปัญญาอ่อน สมองพิการ ลมบ้าหมู โรคจิต ร่างกายพิการ ปัญหาเกิดจาดอารมณ์และไม่พบความผิดปกติใดๆเลยก็มี จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูและผู้ปกครองควรจะได้ทราบถึงสาเหตุของความผิดปกติ ที่แน่ชัดของเด็กของตน เพื่อจะได้รับการรักษาพยาบาล
ปัญหาของเด็กวัยรุ่นจึงจำเป็นต้องพิจารณาเป็นรายๆไป และต้องศึกษาต้นตอหรือสาเหตุของปัญหาอย่างลึกซึ้ง ไม่ควรประณามหรือลงโทษการกระทำของเขา นอกจากนี้อาจจะมีสาเหตุอื่น เช่นปัญหาทางครอบครัวหรือสังคมของเด็กเอง การทราบสาเหตุจะช่วยให้ผู้ใหญ่รู้สึกเห็นใจ เมตตาสงสารเด็กมากขึ้นและช่วยเด็กได้อย่างถูกทางขึ้น เป็นการช่วยให้เด็กในสังคมของเรามีความสุขขึ้นเมื่อเด็กมีความสุขปัญหาต่างๆที่มีก็มองเห็นทางแก้ได้ ปัญหาของสังคมก็จะลดน้อยลงไปด้วย นับว่าช่วยเหลือเด็กวัยรุ่นของเรานั้นคือการช่วยสังคมของเราให้สงบสุขนั่นเอง
1.4 ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพจิต ปัญหาด้านอารมณ์ คำว่า ’ปัญหาด้านอารมณ์’ หมายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วทำให้ความรู้สึกของบุคคลสับสนมปั่นป่วน มักออกมาในรูปความรู้สึกเสียใจ ผิดหวัง ท้อแท้ หวาดกลัว พฤติกรรมที่เกิดขึ้นมักจะรุนแรงเกินความเป็นจริงอารมณ์ (Emotion) คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในระยะเวลานานระยะหนึ่ง จนอาจทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ต่าง ๆ” อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่แรกจนถึงวัยชรา จะมีการพัฒนาการขึ้นเรื่อย ๆ ต่อเนื่องกันไปในแต่ระดับอายุ เรียกว่า ‘พัฒนาการทางอารมณ์’ เราแบ่งพัฒนาการทางอารมณ์ตามลำดับอายุไว้ดังนี้
1. วัยทารก (อายุระหว่างแรกเกิด- 1 ขวบ) อารมณ์ของทารกแรกเกิดมักออกมาในรูปรุนแรงสุดขีด พบว่า เสียงช่วงแรกเกิด แสดงถึงความกลัวที่จะเริ่มเข้าสู่ชีวิตใหม่ อารมณ์ของทารกแรกเกิดมี ดังนี้ 1. อารมณ์โกรธ มักพบมากเมื่อทารกถูกขัดขวางที่จะทำสิ่งที่เขาต้องการ 2. อารมณ์กลัว ความกลัวของเด็กที่เกิดจากการเรียนรู้เช่นเดียวกัน ทารกมักเริ่มกลัวในสิ่งที่ตนเองไม่คุ้น 3. อารมณ์อิจฉาริษยา มักเกิดได้ง่ายเมื่อมีน้องและบิดามารดาเอาใจใส่น้องเป็นพิเศษ ทำให้ตนขาดความสำคัญไป 4. อารมณ์อยากรู้อยากเห็น พบว่า ถ้าทารกได้รับสิ่งเร้าที่รุนแรงก็จะรู้สึกสนใจมากขึ้น ความกลัวก็เป็นลักษณะหนึ่งที่ช่วยให้ทารกเกิดความอยากรู้อยากเห็น 5. อารมณ์ดีใจ เป็นอารมณ์แห่งความรื่นรมย์ มีความสุข มักเกิดขึ้นกับทารกที่มีสุขภาพดี ทารกจะรู้จักยิ้มหรือหัวเราะเมื่อมีความพอใจ 6. อารมณ์รัก ทารกจะแสดงความรักออกมาโดยการกอดรัด แล้วแต่เด็กแต่ละคน ความรัก จัดเป็นอารมณ์ที่รื่นรมย์ของทารกได้รับการเอาใจใส่จากบิดามารดาเป็นอย่างดี
2. วัยเด็ก (อายุระหว่าง 2-12 ปี) วัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
. วัยเด็กตอนต้น (อายุระหว่า 2 -6 ปี) เด็กวัยนี้มักเป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิดและโกรธง่าย โมโหร้ายโดยปราศจากเหตุผล มักแสดงความขัดขืนและดื้อรั้นต่อพ่อแม่อยู่เสมอ เป็นวัยที่เรียกกันว่า วัยปฏิเสธ ซึ่งเป็นลักษณะธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ . วัยเด็กตอนกลาง (หญิงอายุระหว่าง 6- 11 ปี ชายอายุ 6-12 หรือ 13ปี) เด็กวัยนี้ต้องการความรัก ความอบอุ่นปลอดภัย และความเอาใจใส่มากจากผู้ใหญ่และผู้ที่อยู่ในสังคม เช่น พ่อ แม่ ครู เพื่อน เด็กวัยนี้จะแสดงอารมณ์ออกมาทางด้านท่าทาง และคำพูด . วัยเด็กตอนปลาย (อายุระหว่าง 10-12 ปี) วัยนี้เป็นวัยคาบเกี่ยวระยะก่อนวัยรุ่น หรือวัยเริ่มแตกเนื้อสาว วัยนี้ไม่แตกต่างกับเด็กวัยกลางคนมากนัก อารมณ์ของเด็กวัยนี้จัดอยู่ในระดับปานกลาง คือ ไม่ดีหรือร้ายจนเกินไป ความกลัวของเด็กที่มีอยู่ในวัยต้น ๆ ก็ จะเริ่มลดน้อยลง เปลี่ยนมาเป็นความกังวลใจ กังวลกับเรื่องรูปร่างของตน อยากให้แข็งแรงสวยงาม กลัวอันตรายที่เกิดกับครอบครัวและตนเอง
3. วัยรุ่น (หญิงอายุระหว่าง 11- 12ปี, ชายอายุระหว่าง 13-21 ปี) อารมณ์ของวัยรุ่นนั้นเป็นอารมณ์ที่รุนแรง โดยที่เรียกวัยนี้ว่าเป็นวัย ‘พายุบุแคม’ ซึ่งหมายถึงการมีอารมณ์ที่รุนแรง เต็มไปด้วยความเชื่อมั่นในตนเองในบางครั้งมักเกิดความคิดเห็นขัดแย้งกับผู้ใหญ่
เราสามารถแบ่งประเภทอารมณ์ของวัยรุ่นได้ ดังนี้ 1. ประเภทก้าวร้าวรุนแรง เช่น อารมณ์โกรธ อิจฉา เกลียดชัง 2. ประเภทเก็บกดเอาไว้ เช่น ความกลัว ความวิตกกังวล ความเศร้าใจ 3. อารมณ์สนุก เช่น ความรัก สุขสบาย ตื่นเต้น อารมณ์ต่าง ๆ ของวัยรุ่นที่ควรทราบ มีดังนี้ 1. อารมณ์กลัว ซึ่งมีอยู่ในทุกคน จะเกิดขึ้นเมื่อรู้สึกตนเองไม่ได้รับความปลอดภัย 2. ความกังวลใจ เป็นผลมาจากความกลัว โดยกลัวเรื่องต่าง ๆ นานา แล้วเก็บเอาเรื่องต่าง ๆ เหล่านั้นมาเป้นความกังวลใจ 3. อารมโกรธ เป็นการแสดงออกของอารมณ์ประเภทก้าวร้าว รุนแรงประเภทเดียวกับความอิจฉาริษยาและความเกลียดชัง โดยจะแสดงออกให้เห็นหลาอย่างทั้งทางตรงและทางอ้อม 4. อารมณ์รัก ความรักเป็นอารมณ์ประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นกับทุกคน ทุกเพศทุกวัย ในวัยรุ่นมีความรักประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. ความรักตนเอง ได้แก่ ความรักและดูแลอาใจใส่สภาพความเป็นไปของร่างกายตนเอง 2. ความรักเพื่อน ปกติวัยรุ่นจะให้ความรักและความสนิทสนมจากเพื่อนเพศเดียวกัน 3. ความรักที่ตนเทิดทูนบูชาเป็นพิเศษ เด็กวัยรุ่นมักจะเทิดทูนบูชาคนที่อยากเอาแบบอย่างโดยยึดถือแนวทางที่จะปรับปรุงบุคลิกภาพของตนในอนาคต 5. อารมณ์อิจฉาริษยา มักเกิดขึ้นเมื่อตนไม่สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ด้วยวิธีใด ๆ หรือถูกแย่งชิงเอาความรักไป สาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่พบในอารมณ์อิจฉาริษยาของวัยรุ่น คือการแย่งคามรักความสนใจภายในครอบครัว 6. ความอยากรู้อยากเห็น วัยรุ่นมักเกิดวามอยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าหรือสิ่งที่ได้รับการปกปิดซ้อนเร้น 7. ความสนใจ เด็กวัยรุ่นมักมีพลังมากมักสนใจในการเล่นกีฬา การทำงานเกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไก เรื่องเพศ เป็นต้น
1.5 สุขภาพจิตในโรงเรียน (Mental Health In School) 1.5.1 ความหมายและความสำคัญ สุขภาพจิตในโรงเรียนก็คือสุขภาพจิตของครู” เพราะครูเป็นหลักเป็นตัวตั้งตัวตีของโรงเรียน ถ้าครูสุขภาพจิตเสีย โรงเรียนก็เสียหมด ถ้าครูอยู่ด้วยกันดี รักใคร่กันดี รักนักเรียน สอนนักเรียนด้วยความเอาใจใส่ โรงเรียนนั้นก็มีสุขภาพจิตที่ดี
ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว กล่าวว่า “สุขภาพจิตในโรงเรียนก็คือสุขภาพจิตของครูและนักเรียนนั่นเอง”
ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า “สุขภาจิตในโรงเรียน คือ ความสมบูรณ์ทางจิตในของครุและนักเรียน ซึ่งปราศจากอาการผิดปกติต่างๆ ทางจิต เช่น โรคจิต โรคประสาท ฯลฯ และความสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนนั้น ๆ โดยไม่มีข้อขัดแย้งต่างๆ ภายในจิตใจ”
สุขภาพจิตของนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญมากอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เขาเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาบุคลิกภาพ และพัฒนาบุคลิกภาพอย่างเหมาะสม ในช่วงขวบปีแรกของชีวิต เด็กจะเป็นคนอย่างไร หรือมีบุคลิกภาพแบบใดนั้นเป็นเพราะอิทธิพลของพ่อแม่ ประสบการณ์ซึ่งเด็กได้รับจากพ่อแม่หลายอย่างจะยังคงฝังแน่นอยู่ในตัวเด็ก ประสบการณ์เหล่านี้มีทั้งดีและเลว ถ้าเด็กได้รับประสบการณ์ที่ดีจากพ่อแม่ เด็กก็จะมีโอกาสเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพจิตดี ในทางตรงกันข้ามเด็กที่ได้รับประการณ์ที่ไม่ดี เป็นต้นว่า เป็นเด็กที่พ่อแม่โอ๋มากเกินไป จนมีลักษณะของการไม่กล้าคิด กล้าทำ หรือไม่กล้าตัดสินใจเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ลักษณะเช่นนี้จะยังคงอยู่ในตัวเด็กไม่มากก็น้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลของโรงเรียน หน้าที่สำคัญของโรงเรียน คือ การพัฒนาเด็กให้ถึงขีดสุดของทุกด้าน ได้แก่ พัฒนาการทางร่างกาย พัฒนาการทางสติปัญญา พัฒนาการทางอารมณ์ และพัฒนาการทางสังคม กล่าวสั้นๆก็หมายถึงพัฒนาการของกายกับจิตนั่นเอง แต่บุคลิกของเด็กแต่ละคนที่เข้ามาถึงโรงเรียนใหม่แตกต่างกันบ้างก็ดี บ้างก็เลว บัดนี้ภาระในการแก้ไข ปรับปรุงบุคลิกภาพที่ไม่พึ่งประสงค์ของเด็กได้ตกมาอยู่กับครู ภาระสำคัญอันนี้ครูจะดำเนินไปพร้อมกับการส่งเสริมบุคลิกภาพของเด็กที่ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้นไป
เป้าหมายที่ทุกคนมีความคาดหวังว่าจะได้รับจากทางโรงเรียน คือ การที่ได้พบเห็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาด มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีอารมณ์สดชื่นแจ่มใสร่าเริงตามสมควรแก่วัย มีความสามารถในการตัดสินใจ ความสามารถในการแก้ปัญหา การช่วยเหลือตนเองการอยู่ร่วมกับเพื่อนๆและครูได้ดี การไม่เป็นตัวปัญหาของครูและผู้ปกครอง ลักษณะเช่นนี้ก็คือ ลักษณะของเด็กที่มีสุขภาพจิตดี ความสำเร็จอันนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าขาดความร่วมมือและการทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งของครู สุขภาพจิตของครูก็มีความสำคัญเช่นเดียวกับสุขภาพจิตของเด็กนักเรียน ครูที่มีสุขภาพจิตดีเท่านั้นจึงจะสอนนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นสุขภาพจิตในโรงเรียนจึงหมายถึงสุขภาพจิตของนักเรียนและสุขภาพจิตของครูนั่นเองo
1.5.2 สุขภาพจิตของนักเรียน นักเรียนที่มีสุขภาพจิตดีนั้น สามารถสังเกตได้ง่ายๆจากความรู้สึกว่านักเรียนคนนั้นเป็น “เด็กน่ารัก” ซึ่งพอจะขยายความได้ว่า เด็กมีรูปร่างผิวพรรณดี มีดวงตาแจ่มใสเป็นประกาย สะอาดสะอ้าน ยิ้มง่าย กล้าพูดกล้าซักถาม กล้าแสดงออกด้วยความกระตือรือร้นชองเข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่เคอะเขิน ชอบเล่นกับเพื่อนๆอย่างสนุกสนาน ไม่รังแกเพื่อน แสดงออกกับเพื่อนด้วยความมีน้ำใจ รู้จักให้อภัย ไม่เป็นเด็กขี้ฟ้อง ขี้โกหก หรือพูดปด โอ้อวด เวลาทำงานก็ทำด้วยความตั้งใจ ผลการเรียนแสดงความก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ มาโรงเรียนสม่ำเสมอ แต่ถ้าเด็กไม่มีลักษณะดังกล่าวก็แสดงว่าเด็กคนนั้นมีปัญหาทางสุขภาพจิตเกิดขึ้นแล้ว 1. ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต พอจะแบ่งออกได้เป็นข้อๆดังนี้ 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลงกว่าเดิม ทั้งๆที่เคยเป็นเด็กมีความตั้งใจเรียนมาก่อน 1.2 ขาดโรงเรียนบ่อย หรือมาสายเป็นประจำ โดยมีข้ออ้างไม่สมเหตุสมผล 1.3 แสดงอาการเบื่อหน่ายในการเรียน เช่น ไม่แสดงความสนใจในขณะที่ครูกำลังสอน หรือนั่งเหม่อลอย 1.4 ไม่ทำงานตามที่ครูสั่ง หรือทำเสร็จช้า ไม่เรียบร้อย 1.5 มีอารมณ์ไม่มั่นคง เช่น บางครั้งขี้แย่ บางครั้งแสดงอาการโกรธจัดออกมาอย่างไม่มีเหตุผล 1.6 ชอบก่อกวนความสงบเรียบร้อยในห้องเรียน โดยการทำกิริยาอาการแปลกๆเพื่อเรียกร้องความสนใจ 1.7 ปรับตัวเข้ากับเพื่อนไม่ได้ มักก่อเรื่อง หรือไม่ยอมเข้าหาเพื่อนเลย 1.8 แสดงความรู้สึกมีปมด้อย และขาดความเชื่อมั่นในตนเอง 1.9 ชอบแสดงพฤติกรรมแปลกๆ เช่น ดูดนิ้ว กัดเล็บ หรือพูดติดอ่าง 1.10 ชอบพูดปด หรือชอบคุยโม้โอ้อวด 2. สาเหตุที่ทำให้สุขภาพจิตของเด็กเสื่อม ได้แก่ 2.1 ฐานะทางเศรษฐกิจสังคมของพ่อแม่ เช่น ความอยากจนหรือความร่ำรวย อาชีพ หรือตำแหน่งการงาน 2.2 วิธีการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว 2.3 อิทธิพลของชุมชนที่เด็กอาศัยอยู่ เด็กที่มาจากแหล่งเสื่อมโทรมจะมีสุขภาพจิตเสื่อมมากกว่าเด็กที่มาจากแหล่งอื่นๆ 2.4 อิทธิพลของการแข่งขันมากเกินไปในโรงเรียน หรือระหว่างโรงเรียนต่อโรงเรียน เด็กที่เรียนเก่งได้รับการยกย่องชมเชย ในขณะที่เด็กเรียนอ่อนถูกตำหนิ ถูกวิพากษ์วิจารณ์จนเกิดความละอาย บางคนเลยไม่กล้ามาโรงเรียน 2.5 หลักสูตรการเรียนไม่เหมาะสม เนื้อหาที่เรียนมากเกินไปจนเด็กไม่สามารถรับไว้ได้ 2.6 อิทธิพลจากบุคลิกภาพของครู ครูบางคนชอบใช้เสียงดัง ข่มขู่ดุว่า จนเด็กไม่มีสมาธิในการเรียน 2.7 วิธีการสอนของครูไม่ถูกต้อง ไม่สร้างแรงจูงใจ เช่น เด็กควรใช้วิธีเรียนปนเล่น แต่ครูกลับบังคับในเด็กนั่งนิ่งๆเป็นต้น 2.8 บรรยากาศของการทานของครูไม่ดี ครูมีเรื่องขัดแย้งกันบ่อยๆเกิดการทะเลาะวิวาท ทำให้การเรียนการสอนไม่เป็นไปตามปกติ 2.9 สถานที่ตั้งโรงเรียนตั้งอยู่ในสถานที่ไม่เหมาะสม ใกล้แหล่งมหรสพ มีเสียงดังรบกวน 2.10 โรงเรียนขาดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เป็นต้นว่า ห้องน้ำห้องส้วมสกปรก โรงอาหารคับแคบ ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนการสอน
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ลงทุนมหาศาลในการจัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนเพื่ออนาคตของชาติ อนาคตที่ญี่ปุ่นจะต้องเป็นหนึ่ง และเพื่อบรรลุเจตนารมณ์นี้ระบบการศึกษาและระบบสังคมจึงขับเคี่ยวผลักดันให้ผู้คนต้องแข่งขันกันสูง ยิ่งแข่งขัยกันมากขึ้นเท่าใดความเห็นแก่ตัวก็ยิ่งมากขึ้นทุกที จึงมีความตึงเครียดมาก เป็นสังคมที่มีความกดดันสูง พ่อ แม่ และครูจะผลักดันทุกวิถีทางให้เด็กเป็นคนเก่งเพื่อชื่อเสียงของบ้าน ของโรงเรียน ของมหาวิทยาลัย การกวดขันให้มีการแข่งขัยกันนั้น จะเริมมาตั้งแต่ชั้นอนุบาลทีเดียว พ่อแม่จะยอมเสียเงินให้ลูกไปเข้าโรงเรียนพิเศษ ที่มีเงินมากน้อยก็จ้างครูสอนพิเศษราคาแพงมาสอนเป็นส่วนตัวที่บ้าน กวดให้ลูกเข้าโรงเรียนดีมีชื่อเสียงให้ได้ เป็นการปูทางให้มีโอกาสสอบเข้ามหาลัย ถ้าสอบได้ก็จะเป็นที่ยอมรับของญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ครูบาอาจารย์อย่างสูงยิ่ง ในขณะเด็กที่พ่ายแพ้ก็จะถูกเยาะเย้ย ถากถาง แม้แต่ครูก็เหยียดหยามซ้ำเติม เพราะครูเองก็รักและเอาใจแต่ศิษย์ที่เก่งและแข็งแรงเท่านั้น ซึ่งเด็กพวกนี้จะทำชื่อเสียงให้แก่ครูและโรงเรียน
ปัญหาที่ตามมา คือ เด็กหมดความเคารพเชื่อถือครู ถึงกับเกิดการทะเลาะโต้เถียงชกต้อยกับครู ทำร้ายร่างกายครูก็มี เด็กที่อ่อนแอเหล่านี้ก็หาทางทดแทนโดยไปข่มเหงรังแกเด็กที่อ่อนแอกว่าตนอีกทอดหนึ่ง แทนที่จะเห็นอกเห็นในเด็กที่อ่อนแอกว่าเพราะรู้ซึ้งถึงความเจ็บปวดที่ตนได้รับว่ามีรสชาติข่มคือสาหัสเพียงใด สถิติการฆ่าตัวตายของเด็กญี่ปุ่นจึงสูงมาก เพราะความกดดันบีบคั้นจิตใจจากสังคมบังคับให้หามางออกเช่นนั้น ที่จริงการตัดสินใจอันน่าสยดสยองเช่นนั้น เด็กก็ร้องทุกข์ต่อครูและพ่อแม่แล้วแต่ไม่สามารถช่วยได้
ส่วนที่ไม่ถึงกับฆ่าตัวตายก็ประชดกับชีวิตไปเลย ไม่ยินดียินร้ายกับอนาคต พวกนี้จะหนีโรงเรียนเป็นประจำ เพราะเห็นว่าไม่รู้จะเรียนไปทำไม เรียนไม่ทันก็แต่ความเจ็บช้ำ จึงเที่ยวสนุกไปวันๆ เล่นเกมไฟฟ้า ปาจิงโกะ เข้าดิสโก้เธค บ้างก็สนุกด้วยแต่งตัวประหลาดพิลึกกึกกือ ไว้ผมทรงพิสดาร ย้อมสีต่างๆ ให้แปลกตา โดยใช้เงินที่พ่อแม่ให้มาสำหรับเป็นค่าเรียนพิเศษบ้าง หางานชั่วคราวเป็นครั้งคราว ได้เงินมาก่อนหนึ่งก็เที่ยวสนุกสนานจนเงินหมดก็หาใหม่ บางคนก็เข้าร่วมกับแก๊งอันธพาล
1.5.3 สุขภาพจิตของครู ครูมีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของเด็กนักเรียนมากที่สุด การที่ครูจะช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตของเด็กนักเรียนได้นั้น ต้องคำนึงถึงสุขภาพจิตของครูประกอบกันไปด้วย 1. ลักษณะของครูที่มีสุขภาพจิตที่ดี ได้แก่ 1.1 มีความกระตือรือร้น สนใจนักเรียน และกิจกรรมในโรงเรียน 1.2 มีความสามารถที่จะแสดงความร่วมมือ และความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลอื่น 1.3 ยอมรับในความผิดพลาด หรือความบกพร่องของตน 1.4 มีความอดทน ความเมตตากรุณา ความเห็นอกเห็นใจ ความจริงใจ และความยุติธรรมกับนักเรียน 1.5 ปฏิบัติต่อนักเรียนอย่างสุภาพ และเป็นประชาธิปไตย 1.6 รู้จักยกย่องชมเชยนักเรียนที่กระทำความดี 1.7 แสดงออกซึ่งกิริยามารยาทอันดีงาม 1.8 สามารถช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆของนักเรียน ทั้งการเรียนและปัญหาส่วนตัว 1.9 มีความประพฤติปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เพื่อนครู นักเรียนและบุคคลอื่นๆ 1.10 แสดงความเห็น ความเชื่อ และเจตคติที่ดี 1.11 มีอารมณ์ขันที่ดี สามารถแสดงความรู้สึกสนุกสนานออกมาอย่างเหมาะสม 1.12 มีสุขภาพทางกายที่ดี คล่องแคล่วว่องไว และกระฉับกระเฉง 1.13 มีความสนใจในกีฬา ศิลปะ และกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมอื่นๆ
สำหรับครูที่มีสุขภาพจิตเสื่อมนั้นจะสังเกตได้จากลักษณะต่อไปนี้ คือ อารมณ์เสียอย่างไม่มีเหตุผล ไม่มีความอดทน อดกลั้น ไม่มีความยุติธรรม เรียกร้องสิ่งตอบแทนอยู่เสมอ ขาดความเป็นมิตร ขาดความมีเสน่ห์ ขาดความน่ารัก ไม่มีความยืดหยุ่น มักพูดถึงเรื่องราวของผู้อื่นมากเกินไปในทำนองดูถูกเหยียดหยาม ขาดอารมณ์ขัน ขาดความเมตตากรุณา มีท่าทางอวดดี ทะนงตน หยิ่ง จุกจิกจู้จี้ เจ้าระเบียบ และเป็นคนประเภทสมบูรณ์ที่สุด (Perfectionist)
2. ครูเป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคม เช่นเดียวกับคนอื่นๆ ในยุคปัจจุบันที่ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ อันเป็นสาเหตุของสุขภาพจิตเสื่อม สาเหตุที่ทำให้ครูมีสุขภาพจิตเสื่อม ได้แก่ 2.1 ขาดเจตคติและวิญญาณของความเป็นครู 2.2 เกิดความขัดแย้งกับผู้บริหารโรงเรียน หรือกับเพื่อนครูด้วยกัน 2.3 ไม่ได้รับสวัสดิการเพียงพอทั้งที่เกี่ยวข้องกับอาชีพและส่วนตัว บ้านพักครูไม่มี การเบิกค่ารักษาพยาบาลช้า ขาดแคลนอุปกรณ์การสอน ฯลฯ 2.4 การไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม เช่น จากการที่ครูเคยได้รับการยกย่องว่าเป็น “แม่พิมพ์ของชาติ” มาเป็นการตำหนิว่า “ใครๆก็เป็นครูได้” 2.5 งานของครูในโรงเรียนมากเกินไป มีลักษณะจำเจ ซ้ำซากน่าเบื่อหน่าย 2.6 รายได้ของครูไม่เพียงพอและไม่เกิดความสมดุลกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับครูที่มีปัญหาเรื่องนี้คือครูในระดับประถมและมัธยม 2.7 ความไม่มั่นคงในอาชีพ ครูในสถาบันการศึกษาของเอกชนจะเผชิญกับปัญหาในข้อนี้มากที่สุด 2.8 การนันทนาการไม่เพียงพอ ไม่มีเวลาออกกำลังกาย หรือไปกิจกรรมทางสังคมวัฒนธรรมต่างๆ 2.9 การเผชิญกับนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพจิตบ่อยๆ พลอยทำให้ครูมีสุขภาพจิตที่เสื่อมตามไปด้วย 2.10 ไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าจากผู้บริหาร 2.11 ขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน 2.12 มีปัญหาทางด้านครอบครัว
ในปี พ.. 2526 โอษฐ์ วารีรักษ์ และคณะนักจิตวิทยาได้ทำการศึกษาเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะปัญหาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของครู ได้เลือกกลุ่มตัวอย่างจากครู อาจารย์ที่เข้าร่วมรับการอบรมความรู้สุขภาพจิต ระหว่างเดือนเมษายนและเดือนมิถุนายน จากเขตการศึกษา 4 เขต คือเขต 3,4,5 และ 12 ซึ่งประกอบด้วยครูจากจังหวัดต่างๆ รวม 297 คน เป็นชาย 140 คน หญิง 157 คน ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี (54.88 %) การศึกษาระดับปริญญาตรี 76.43% สมรสแล้ว 57% มีบุตร 2-3 คน 58.85% มีรายได้เฉพาะตัวเฉลี่ยเดือนละ 4,210 บาท พบว่า ความทุกข์ยากในชีวิตของครูเกิดจากปัญหาเพื่อนร่วมงานมากที่สุด โดยมีระบบการบริหารงานเป็นกลไกสำคัญ ทำให้เกิดความขัดแย้งบางครั้งบางคราว บางคนหาทางออกโดยวิธีการดื่มเหล้าและเล่นการพนัน แต่ครูส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่า ความสัมพันธ์ระหว่างคู่ครอง บุตร พ่อ แม่ และญาติพี่น้องอยู่ในเกณฑ์ดี และยอมรับว่าปัญหาของชีวิตจะบรรเทาเบาบางได้ก็ด้วยการเริ่มต้นปรับปรุงแก้ไขที่ตัวเอง และเมื่อเปรียบเทียบฐานะความเป็นอยู่กับคนอื่นแล้ว
56.90% เห็นว่าตนมีความเป็นอยู่สุขสบายกว่าบิดามารดา 54.54% เห็นว่าตนมีความสุขสบายกว่าพี่ๆน้องๆ 51.51% เห็นว่าตนมีความเป็นอยู่สุขสบายกว่าเพื่อนๆในระดับเดียวกัน
3. วิธีปฏิบัติตนของครูที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตมีหลายวิธี ดังนี้ 3.1 สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างตนกับผู้บริหาร เพื่อนครูและนักเรียน 3.2 ต้องระลึกว่างานของครูเป็นงานที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และมีความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์และประเทศชาติ 3.3 รู้จักใช้เวลาว่างเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และการออกกำลังกาย 3.4 ศึกษาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อที่จะได้ทราบสาเหตุและแนวทางในการป้องกัน แก้ไข และส่งเสริม 3.5 รู้จักการยอมรับตนเอง และการยอมรับผู้อื่น 3.6 พยายามมองโลกในแง่ดี และรู้จักสร้างอารมณ์ขัน 3.7 พยายามทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงทันเวลา 3.8 เมื่อมีปัญหาใดๆ ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้นว่า นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ 3.9 หาโอกาสแสวงหาความรู้ต่างๆเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพ 3.10 เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรต่างๆ เพื่อการพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น เช่น คุรุสภา ชมรมกีฬาที่ตนเองมีความถนัด ฯลฯ
สุขภาพจิตระหว่า
ครูและครูนั้น คือจิตวิทยาอันหนึ่งของวิชามนุษยสัมพันธ์สุขภาพจิตจะเกิดขึ้นได้ในเมื่อครูและครูรักกัน และเข้าใจซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน โดยเฉพาะในการอยู่ร่วมกัน หรือการที่ต้องปกครองกันในสถาบันต่างๆ มนุษย์ในการปกครองที่อยู่ร่วมกัน นั้นมีความต้องการในลักษณะของความรู้สึกสำคัญๆ อยู่ 4 ประการ คือ ประการที่ 1 ความรู้สึกอยากเป็นเจ้าของ (Sense of Belonging) คือ การเกิดความรู้สึกว่าโรงเรียนนี้เป็นของเรา เพื่อนร่วมงานทุกคนเป็นเพื่อนของเรา เราควรมีส่วนในการสร้างความเจริญงอกงาม ดังนั้นเมื่อมีการงานใดต้องพยายามให้ทุกคนได้มีส่วนช่วย อย่าพึงกระทำเสียคนเดียว ให้คำนึงว่าทุกคนมีฝีมือ มีความสามารถด้วยกันทั้งนั้นมิใช่เรามีความสามารถเพียงคนเดียว ถ้าทุกคนได้มีส่วนร่วมในการกระทำกิจกรรมต่างๆเขาจะเกิดความรู้สึกในด้านความเป็นเจ้าของขึ้นมาเอง เช่น การช่วยกันตกแต่งสถานที่ห้องทำงาน หรือห้องพักครูให้สวยงาม เมื่อทุกคนได้ช่วยกันคนละไม่คนละมือ ทุกคนก็จะช่วยกันดูแลรักษา เพราะมีความรู้สึกว่าได้มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของต่อสถานที่นั้นๆ จึงเกิดเป็นความรักและความหวงแหนขึ้นมา ประการที่ 2 ความรู้สึกอยากให้ยกย่อง (Sense of Recognition) ความรู้สึกนี้มีด้วยกันทุกคน ซึ่งเป็นธรรมดาของมนุษย์ว่าเมื่อได้กระทำสิ่งใดลงไปแล้ว ไม่ว่าจะได้รับผลมากน้อยเพียงไรก็อยากให้คนอื่นยอมรับความสามารถของตน การแสดงความรู้สึกยกย่องคนอื่นควรรู้จักใช้คำว่า “ขอบใจ ดีใจ และยินดีด้วย” เป็นสิ่งทำให้เขาภาคภูมิใจ มีขวัญและกำลังใจที่จะมุมานะทำงานอื่นๆต่อไป ประการที่ 3 ความรู้สึกต้องกรโอกาส (Sense of Opportunity) ครูทุกคนต้องการโอกาสในการก้าวหน้า เมื่อมีโอกาสเท่าใดก็จะก้าวไปให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นค้นว่า ครูน้อยอยากเป็นครูใหญ่ อาจารย์อยากเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์อยากเป็นรองศาสตราจารย์ ดังนั้นถ้าต้องการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและมีสุขภาพจิตที่ดีก็ไม่ควรไปกีดกั้นโอกาสอันดีของบุคคลอื่น นอกจากนี้ครูยังมีความรู้สึกต้องการโอกาสในด้านอื่นๆอีก เช่น โอกาสที่จะมีบ้านเป็นของตนเอง เจ้าของรถยนต์สักคัน ฯลฯ ประการที่ 4 ความรู้สึกต้องการความมั่นคง (Sense of Security) งานใดที่มีความสุข มีความมั่นคง มนุษย์ทุกคนย่อมต้องการความมั่นคงนี้รวมความไปถึงสวัสดิภาพในการงานและครอบครัว ตลอดจนหลักประกันของสังคมในอนาคต เช่น เมื่อเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยสามารถรับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล เมื่อเกษียณอายุก็ได้รับเงินบำเหน็จบำนาญ ดังนั้นถ้าให้การรับรองแก่บุคคลว่าเขาจะเกิดความมั่นคงในด้านการงาน ครอบครัว และสังคมแล้ว จะเป็นสิ่งสร้างสุขภาพจิตในการอยู่ด้วยกัน
เมื่อทราบว่าทุกคนต้องการสิ่งใด โดยเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ก็จะเกิดความเห็นใจรักใคร่กันขึ้นมาเอง ความรักกันในหมู่คณะเมื่อเกิดขึ้น ความสุขและความมีสุขภาพจิตที่ดีนั้นๆก็จะถ่ายทอดไปยังเด็กนักเรียน ทำให้นักเรียนมีความสุข ความสบายใจ มีความรักโรงเรียน ทั้งครูและนักเรียนก็มีสุขภาพจิตที่ดี นั่นคือสุขภาพจิตในโรงเรียนก็จะดีไปด้วย ครูจึงเป็นกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาบุคคลที่มีคุณค่าอันประมาณมิได้คือนักเรียน ดังนั้นครูจึงต้องมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ มีความเข้าใจตนเอง มีคุณธรรม มีสุขภาพจิตที่ดี เมื่อยังขาดการพัฒนาตนเองแล้ว ครูจะไม่สามารถชี้นำนักเรียนให้เป็นพลเมืองดีมีคุณภาพในอนาคตได้
1.5.4 ครูกับการส่งเสริมสุขภาพจิตของนักเรียน โรงเรียนเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยสร้างสุขภาพจิตที่ดีให้แก่เด็ก ในวันหนึ่งๆเราจะพบว่าเด็กใช้เวลาอยู่ในโรงเรียนเป็นเวลานาน ชีวิตในโรงเรียนของเด็กจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับครูทุกๆคน ในโรงเรียน ครูควรมีวิธีการที่จะปฏิบัติต่อเด็กด้วยดี มีใบหน้ายิ้มแย้ม พูดจากับเด็กด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน ให้ความช่วยเหลือเด็ก หากพบว่าเด็กคนใดยังปรับตัวยากก็ต้องรีบช่วยเหลือ ครูจะต้องถือเป็นหน้าที่ของตนในการที่จะสร้างความรักความอบอุ่น และความรู้สึกดีให้แก่เด็ก สุขภาพจิตกับการเรียนของเด็ก  ได้กล่าวไปแล้วว่าเด็กที่มีสุขภาพจิตดีจะเป็นเด็กที่มีความสุข และเด็กที่มีความสุขจะเป็นเด็กที่สร้างปัญหาให้สังคมน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีเลย ด้วยเหตุนี้ครูทุกคนจะต้องอบรมและสอนเด็กจะต้องปรับปรุงตัวเองให้พร้อมอยู่เสมอ พร้อมที่จะเรียน ทำงาน สอนเด็กด้วยการใช้เหตุผล ส่งเสริมให้เด็กปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การเรียนการสอนได้ อนึ่งครูจะต้องทำตัวเป็นตัวอย่างให้แก่เด็ก ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของคำพูด การแต่งกาย และการประพฤติ ปฏิบัติตัว และอย่าลืมว่าครูที่สุขภาพจิตเสื่อมจะทำให้เด็กอีกนับจำนวนเป็นร้อยๆฟันๆคนมีลักษณะเหมือนครูไปด้วย ในการสอนเด็กครูจึงควรปรับปรุงตัวเองทุกขณะให้เป็นผู้มีอารมณ์มั่งคง มีเหตุผล ปรับตัวเข้ากับคณะครูในโรงเรียนได้
1.5.5 สาเหตุที่มีผลกระทบกระเทือนต่อ สุขภาพจิตของเด็ก
1. สภาพทางบ้าน เช่น ผู้ปากครองที่แตกแยกกัน พ่อแม่อย่าร้าง เด็ดขาด ไม่ยอมให้เด็กทำอะไรด้วยตนเอง ทำให้เด็กหาความสุขไม่ได้เลย อาจทำให้สุขภาพจิตเด็กเสื่อมได้ 2. นักเรียนในชั้นหนึ่งๆ มากเกินไป ทำให้ครูเอาใจใส่ดูแลเด็กไม่ทั่วถึง เด็กจึงเกเร และไม่สนใจในการเรียน ดังนั้น โรงเรียนจึงควรจัดชั้นเรียนให้พอเหมาะกับจำนวนของนักเรียน 3. ความรู้สึกไม่ปลอดภัย เช่น เด็กกลัวครู กลัวพ่อแม่จนเกินไป กลัวสอบตก กลัวเพื่อนรังแก สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กขาดความสุข อาจทำให้ขาดความสมบูรณ์ทางด้านจิตใจได้ 4. ความยากจน เด็กต้องเผชิญปัญหากับความขาดแคลนมาตั้งแต่เล็ก ไม่ได้อะไรอย่างเช่นเด็กคนอื่นเขา สิ่งนี้อาจทำให้เด็กรู้สึกผิดหวังอยู่เสมอ 5. พ่อแม่ชอบทะเลาะกันเสมอ เด็กทุกคนต้องการให้พ่อแม่ปรองดองกัน ถ้าพ่อแม่รักกันเด็กก็จะมีความสุข ฉะนั้นความสามัคคีของพ่อแม่ย่อมสร้างความสุขให้แก่ลูกได้เป็นอย่างดี 6. การที่ครูชอบทำโทษเด็กต่อหน้าคนอื่น เช่น การประจานความผิด การกระทำเช่นนี้ไม่สามารถทำให้เด็กกลับตัวได้เลย แต่จะเป็นการสร้างให้เด็กอับอาย ทำให้เด็กไม่อยากมาโรงเรียน ขาความสุขที่ควรจะได้รับ ทำให้อารมณ์ตึงเครียด เป็นบ่อเกิดแห่งความเสื่อมทางจิต
1.5.6 สถานการณ์ที่ครูควรคำนึงถึง ในการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้แก่เด็ก 1. ไม่ควรจัดชั้นเรียนแออัดจนเกินไป
2. ไม่ควรพูดจาเยาะเย้ย หรือ ถากถางเด็กในชั้นเรียน หรือ เข้มงวดกับเด็กจนเกินไป
3. จัดกิจกรรมให้เหมาะสม และตรงตามความต้องการและความสนใจของเด็ก
4. ครูควรเป็นที่ปรึกษาที่ดีให้กับเด็ก ตลอดจน การหาวิธีการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเรียน ให้แก่เด็ก รวมทั้ง แนะนำวิธีการเรียนที่ดีให้แก่เด็ก ทั้งการให้กำลังใจแก่เด็กอย่างสม่ำเสมอ
ในการทำงานร่วมกับเด็ก ครูควรปฏิบัติตนดังต่อไปนี้ คือ 1. ท่าทีของครูควรเป็นไปอย่างจริงใจ และยอมรับเด็ก 2. ควรปล่อย และ เข้มงวด กับเด็กให้ถูกกาลเทศะ 3. อย่าทำให้เด็กรู้สึกอับอาย หรือ เสียหน้า 4. ไม่ควรตื่นเต้นเกี่ยวกับปัญหาของเด็กมากจนเกินไป ควรปล่อยตามสบาย 5. ไม่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อเกิดปัญหา 6. ไม่ควรมีกฎเกณฑ์หรือ ข้อห้ามมากจนเกินไป 7. ควรปล่อยเด็กให้เป็นอิสระบ้างตามสถานการณ์ 8. ครูควรมีความเชื่อมั่นในตนเองเมื่อต้องปฏิบัติหน้าที่ 9. ควรทำความรู้จักกับเด็กทุกคนโดยไม่เลือกฐานะ 10 ไม่ควรแสดงอารมณ์โกรธ หรือ แสดงความไม่พอใจต่อหน้าเด็ก
1.5.7 การป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตของนักเรียน การมีสุขภาพจิตที่ไม่ดี จะทำให้สุขภาพจิตของเด็กพลอยเสียไปด้วย ดังนั้นสุขภาพจิตของครูจึงควรได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ และครูที่มีสุขภาพจิตที่เสื่อมไม่ควรมีบทบาทกับเด็กเลย เช่น ครูที่ชอบแสดงอาการโกรธ ฉุนเฉียวง่าย มิฉะนั้นแล้วจะทำความยุ่งยากให้แก่เด็กอีกมาก
ฉะนั้นสถาบันที่ทำได้มากที่สุดมีอยู่เพียงสองแห่งเท่านั้น คือ ๑) โรงเรียน และ ๒) บ้าน
ทั้งทาบ้านและทางโรงเรียนควรร่วมมือกันช่วยเหลือเด็ก เช่น การอบรมสั่งสอน ให้ความรัก ความเมตตา ตลอดจนให้วัตถุสิ่งของแก่เด็กบ้าง ตามโอกาสที่สมควร ส่วนทางโรงเรียน ครูก็ควรทราบว่าเด็กทุกคนต้องการความสำเร็จ และสิ่งที่เด็กกลัวมากที่สุดคือ การสอบตก ดังนั้น ครูจึงควรช่วยแนะแนวทางให้แก่เด็ก ตลอดจนส่งเสริมในเรื่องของกิจกรรมให้แก่เด็ก
1.5.7.1 การสอนของครู ควรคำนึงถึงสิ่งดังต่อไปนี้
1. กำหนดเวลาเรียนให้เหมาะแก่เด็ก 2. มีการหยุดพักพอควร 3. เวลาพักกลางวันไม่ควรให้เด็กเล่นกีฬา หรือวิ่งเล่นจนเหนื่อยเกินไป 4. กะเวลาบทเรียนให้เหมาะแก่เด็ก 5. วิชาพลศึกษาควรจัดไว้เป็นวิชาสุดท้าย 6. ไม่ควรให้การบ้านมากจนเกินไป 7. ควบคุมดูแลเด็กให้เด็กได้พักผ่อนจริงๆ ( สำหรับเด็กอนุบาล )

1.5.7.2 วิธีแก้ตามหลักของจิตแพทย์หรือ นักจิตวิทยา 1. หาที่ปรึกษา อาจจะปรึกษาพ่อกับแม่ ครู อาจารย์ ตลอดจนเพื่อนที่ไว้วางใจได้ จะช่วยให้ทุกข์เบาบางลง 2. หลีกเลี่ยงไปสักระยะ ไม่ควรหมกมุ่นอยู่กับปัญหานั้นจนเกินไป
3. หางานทำเพื่อระงับความโกรธ เช่น ทำงานบ้าน หรือทำงานที่ตนชอบ
ในบางโอกาสควรฝึกตนให้รู้จักยอมเป็นผู้แพ้เสียบ้าง เพื่อระงับเรื่องวุ่นวายลงบ้าง
4. ไม่ควรหวังในสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากจนเกินไป ควรตั้งความหวังที่พอประมาณ และพยายามก้าวไปสู่ความหวังอย่างถูกทาง จะช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น
5. ปรับปรุงทักษะในเรื่องของมนุษยสัมพันธ์ให้ดีขึ้น เพราะคนเราต้องติดต่อสื่อสารกับผู้คนอยู่เสมอ ดังนั้นการติดต่อกันใน สังคมที่ดีต่อกัน จะช่วยเสริมสร้างความสุขให้แก่กันได้ดียิ่งขึ้น
6. หาเวลาพักผ่อนบ้าง ไม่ควรเคร่งเครียดอยู่กับงานทั้งวัน
7. หาความสุขเสียบ้าง และการมีอารมณ์ขัน จะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดได้
1.5.7.3 สุขภาพจิตของเด็กที่ควรคำนึงถึง มีหลักการดังต่อไปนี้ ความแข็งแรงทางด้านร่างกาย ถ้ามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ก็จะทำให้เด็กมีความสุข ส่งผลต่อสุขภาพทางจิตใจ เชาว์ปัญญา เด็กแต่ละคนมีความรู้ความสามารถที่แตกต่างกัน ดังนั้นถ้าเด็กที่มีเชาว์ปัญญาสูงก็จะสามารถเรียนรู้ได้เร็วก็จะมีสุขภาพจิตใจที่สมบูรณ์กว่าพวกที่มีเชาว์ปัญญาต่ำ อารมณ์ เด็กที่มีความสมบูรณ์ทางอารมณ์ เช่น ได้รับความรัก ความอบอุ่น จะมีความรู้สึกที่มั่นคง การแก้ไขปัญหาทางสุขภาพจิต การแก้ความตึงเครียดทางด้านอารมณ์ ความตึงเครียดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้สุขภาพจิตเสื่อมได้มาก ฉะนั้นการรู้จักวิธีการผ่อนคลายความเครียดจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งมีวิธีการ ดังนี้
1. รู้จักควบคุมและดัดแปลงอารมณ์ของตน
2. การหางานอดิเรกที่ตนเองสนใจเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน














2. การปรับตัว (Adjustment)
2.1 ความหมายของการปรับตัว
การดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในโลกนี้ได้ มนุษย์จำเป็นจะต้องมีการปรับตัว การปรับตัวเป็นวิธีการอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตที่สามารถจะดำรงเผ่าพันธุ์และมีชีวิตรอดได้ มนุษย์ใช้เทคนิคหลายประการในการปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งมีชีวิตและการเรียนรู้จากสิ่งมีชีวิตเพื่อจะจัดสภาพแวดล้อมให้มนุษย์รู้จักพัฒนาตนเอง การปรับตัวจึงมีประโยชน์และมีความสำคัญอย่างยิ่งของมนุษย์ในการพัฒนาบุคลิกภาพและพัฒนาชีวิต
การปรับตัวมีความหมายดังต่อไปนี้ กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ ( 2524 : 180 ) กล่าวว่า “การปรับตัวหมายถึงกระบวนการที่บุคคลพยายามปรับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ตนเอง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านอารมณ์ บุคลิกภาพและความต้องการให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมจนเป็นสภาพการณ์ที่ตนสามารถอยู่ได้ในสังคมหรือสภาพแวดล้อมนั้นๆ” อรทัย ชื่นมนุษย์ ( 2524 : 11 ) กล่าวว่า “การปรับตัวคือปฏิกิริยาของเราที่มีต่อสิ่งแวดล้อม คนเราแต่ละคนจะพยายามฟันฝ่าให้ได้สิ่งที่อยากได้เพื่อให้สำเร็จถึงจุดมุ่งหมายแต่ละอย่างที่ตนวางไว้ พยายามให้ความหวังลุล่วงไปสมความปรารถนา” ชวนพิศ ทองทวี ( 2531 : 257 ) ให้ความหมายว่า “การปรับตัว หมายถึง การพยายามเอาชนะความคับข้องใจที่เกิดจากการมีอุปสรรคกีดขวางทางนำไปสู่จุดหมายที่ต้องการเพื่อรักษาสมดุลของชีวิต” Lazarus (1969) ได้อธิบายความเป็นมาของการปรับตัวว่ามีกำหนดเริ่มแรกมาจากวิชาชีววิทยา กล่าวคือ Darwin เป็นคนเริ่มใช้คำว่า “การปรับตัว” ในทฤษฎีว่าด้วยการวิวัฒนาการของเขาใน ค..1859โดยได้สรุปความคิดว่า สิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมของโลกที่เต็มไปด้วยภยันตรายได้เท่านั้นที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ ต่อมานักจิตวิทยาได้ขอยืมคำว่า “การปรับตัว” ทางชีววิทยามาใช้ในความหมายทางจิตวิทยาในการศึกษาและเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์นี้จำเป็นที่จะต้องศึกษาเรื่องการปรับตัวทั้งในแง่ชีววิทยาและจิตวิทยา ในแง่ชีววิทยาได้แก่ การปรับตัวให้เป็นไปตามความต้องการของร่างกาย ส่วนในแง่จิตวิทยาหมายถึงการปรับตัวให้เป็นไปตามความต้องการของจิตใจ ตัวอย่างของการปรับตัว เช่น การที่มนุษย์รู้จักแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศเพื่อให้ร่างกายมี่ความอบอุ่นพอดี ลักษณะของบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ก็มีแบบต่างๆกันไปทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะดินฟ้าอากาศและภาวะแวดล้อมเช่นกัน นอกจากนี้มนุษย์ยังแสดงให้เห็นความสามารถในการปรับตัวตามสภาวะที่เป็นอยู่ เช่น ชาวเอสกิโมในแถบอาร์คติคสร้างบ้านด้วยน้ำแข็งและหิมะเป็นต้น
สรุปแล้ว การปรับตัวหมายถึง การที่มนุษย์เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมเพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข


2.2 ความสำคัญของการปรับตัว
การปรับตัวมีความสำคัญต่อมนุษย์ดังนี้ 1. ทำให้มนุษย์มีสร้างความสมดุลในจิตใจ เพราะสามารถที่จะหาวิธีขจัดการขัดแย้งอันเกิดสภาพการณ์ของโลกแห่งความเป็นจริงกับความต้องการในจิตใจของมนุษย์ได้ ฟรอยด์กล่าวว่า การใช้กลวิธีในการปรับตัวทำให้ความต้องการของ ID และความเป็นจริงของโลกต่อมนุษย์อยู่ในระดับกลาง (Crooks & Stein 1988 : 434 ) 2. ทำให้ Ego ไม่อยู่ในสภาวะวิตกกังวลใจมากเกินไป ความวิตกกังวลใจมี 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. Neurotic anxiety เป็นความวิตกกังวล เมื่อ Ego ไม่สามารถควบคุมแรงกระตุ้นของ ID ซึ่งเป็นอันตราย และต้องเก็บกดความปรารถนาอย่างรุนแรง หรือ เมื่อเกิดความรู้สึกหมดหวังที่จะตอบสนองความต้องการ ID 2. Moral anxiety เป็นความวิตกกังวล เมื่อรู้สึกว่าถูกลงโทษจาก Superego 3. Realistic anxiety เป็นความวิตกกังวลใจ เมื่อมีอันตรายอยู่ในโลกภายนอกจริงๆ (นวลละออ สุภาผล 2527: 37 – 38)
3. การปรับตัวเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนในโลกนี้จะต้องประสบอยู่ตลอดเวลา ถ้าบุคคลใดสามารถปรับตัวได้ดีก็จะเป็นผู้ที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้อย่างปกติสุข ( ฉวี วิชญานตินัย 2529: 83 ) 4. การปรับตัวแสดงให้เห็นถึงเรื่องบุคลิกภาพของบุคคลว่าจะมีลักษณะปกติ มีความสุข หรือปรับตัวไม่ได้ อันส่อให้เห็นถึงภาวการณ์ไม่สามารถที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นๆได้อย่างมีความสุข มีความทุกข์และมีปัญหาทางจิต ( Elizabeth Hurlock 1964: 749) 5. การปรับตัวเป็นลักษณะของมนุษย์และสัตว์เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์และตระกูลของตนไว้สืบไป การปรับตัวบางครั้งมนุษย์และสัตว์จะต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการอยู่รอดซึ่งไม่ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
2.3 ประเภทของการปรับตัว
ประเภทของการปรับตัว (อำพล ,2536 ; รณชัย, 2548) ประเภทของการปรับตัวของมนุษย์ออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้คือ 1. การปรับตัวแบบดั้งเดิม (primitive adjustment) เป็นการปรับตัวที่มักใช้กัน โดยอาจเผชิญหน้า เป็นการต่อสู้แบบตาต่อตา หรือฟันต่อฟัน หรือหากสู้ไม่ได้ก็จะหนี การปรับตัวชนิดนี้จะนำไปสู่การแพ้ หรือชนะ ที่ทำให้เกิดการสูญเสียฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งอาจมีความเหมาะสมกับสถานการณ์เท่านั้น และที่สำคัญคือ ต้องมีการตระหนักว่า เราก็สามารถเป็นผู้แพ้ได้เสมอ 2. การปรับตัวแบบเหมาะสม (modified adjustment) เป็นการปรับตัวที่เป็นปอย่างเหมาะสม กล่าวคือ การหาวิธีการจัดการกับปัญหา หรืออุปสรรค เช่น หาวิธีการแก้ปัญหา โดยพิจารณาถึงสาเหตุของปัญหา หาวิธีการคิดให้สอดคล้องกับความเป็นจริง หรือลดความคาดหวังต่างๆลง เป็นการปรับตัวที่มีบุคคลมีความรู้ตัว ตระหนักถึงปัญหา และความคับข้องใจที่เกิดขึ้น เช่น ในสภาวะของวิกฤตทางเศรษฐกิจ ผู้ที่ตกงานก็จะปรับตัวโดยการต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรค โดยการยอมทำงานที่มีรายได้ต่ำกว่าเดิม หรือ ยอมมาขายไก่ย่างส้มตำทั้งๆที่เดิมเป็นผู้จัดการธนาคาร การปรับตัวแบบการใช้กลไกในการป้องกันตนเอง(defense mechanism) เป็นวิธีการปรับตัวโดยใช้กลไกทางจิต หรือกระบวนการทางจิตที่เกิดขึ้นโดเยอัตโนมัติ และมักไปทำ โดยไม่รู้ตัว ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีความวิตกกังวล คับข้องใจ หรือเมื่อเจอกับปัญหา อุปสรรคต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการกังวล หรือขจัดความไม่สบายใจ ทำให้บุคคลรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าไม่ผิด หรือเป็นผู้สร้างปัญหา ทำให้เกิดความสบายใจขึ้น ช่วยสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เกิดความสบายใจ ลดความเครียด ทั้งนี้ต่างก็เป็นเพื่อการปรับตัว และรักษาความสมดุลของจิตใจไว้ หากบุคคลใช้กลไกในการป้องกันตนเองมากเกินไปจะทำให้บุคคลไม่ยอมรับข้อบกพร่องของตน ไม่ต้องการแก้ไขปัญหาต่างๆ หรือเป็นการแก้ไขแบบไม่ถูกวิธี และเมื่อใช้วิธีนี้เป็นเวลานาน ทำให้เกิดเป็นความเคยชิน จะนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพจิตได้เช่นกัน บุคคลควรตระหนักว่าวิธีการเหล่านี้จะช่วยลดความกดดัน หรือความเครียดในระยะแรกเท่านี้ ซึ่งควรหาวิธีการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาที่เหมาะสมต่อไป การปรับตัวของบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ผู้ที่ไม่สามารถปรับตัวได้จะเกิดปัญหาทางสุขภาพจิต เกิดความผิดปกติทาด้านจิตใจ ซึ่งประกอบด้วยความผิดปกติในด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านร่างกาย (somatic) เป็นผลมาจาก ระบบประสาทอัตโนมัติ (automatic nervous system)ที่มีผลต่อการแสดงออกทางอารมณ์ เช่นโกรธ หรือกลัวอย่างรุนแรงจะทำให้มีการหายใจผิดปกติ หน้าแดง เหงื่อออกผิดปกติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติในการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย เช่นระบบหมุนเวียนโลหิต ทำให้บุคคลมีความดันโลหิตสูง มีอาการปวดศีรษะ เป็นต้น หรือ เมื่อบุคคลเกิดความเครียด ก็จะสามารถทำให้กล้ามเนื้อตึงเครียดตามาด้วย ความคิด (cognitive) เป็นความผิดปกติในด้านความคิด การวางแผน ความจำ นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติที่เนื่องมาจากการทำงานของประสาทรับสัมผัสต่างๆ คือ ตา หู จมูก ปาก และลิ้น ซึ่งจะทำให้บุคคลมีการรับรู้ บกพร่องไป เช่น รู้สึกว่าตนไม่สามารถมองเห็น ได้กลิ่น หรือลิ้มรส เป็นต้น ด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย (motor) มีความผิดปกติในรูปของกล้ามเนื้อ โครงสร้างของร่างกาย และอวัยวะอื่นๆ ทำให้ตอบสนองต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมผิดปกติ เช่น การที่อวัยวะที่ทำงานมากเกินไป ทำให้ไม่ได้พักผ่อน ในทางตรงกันข้าม บุคคลจะไม่อยากทำอะไรเลย ถ้าไม่มีการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆของร่างการ เป็นต้น ด้านอารมณ์ (affective) เกี่ยวข้องกับลักษณะทางอารมณ์ที่แปรปรวนต่าง ตั้งแต่ ตื่นเต้นมากที่สุดจนถึงซึมเศร้า เป็นลักษณะของความกระวนกระวายใจที่เปลี่ยนปอย่างรวดเร็ว ไม่สม่ำเสมอ เช่น ในคนเดียวกันมีทั้งการมีอารมณ์ร่าเริง แจ่มใส และเปลี่ยนเป็นอารมณ์ที่เศร้าโศกเสียใจ ในทันทีทันใด เป็นต้น
2.4 สาเหตุของการปรับตัว ทำไมมนุษย์ต้องมีการปรับตัว มีเหตุผลสำคัญดังนี้เพื่อความอยู่รอดของชีวิตและเพื่อความสุขและราบรื่นในชีวิตมนุษย์
1. เพื่อความอยู่รอดของชีวิต ตลอดชั่วชีวิตของบุคคลหนึ่งๆ ย่อมผ่านช่วงชีวิตมามากมาย พบกับความเปลี่ยนแปลงทั้งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เริ่มตั้งแต่ปฎิสนธิ เป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดา ต่อมาจนคลอดเป็นทารกแรกเกิดและเติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ เราทุกคนต้องพบกับสภาพการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดซึ่งทุกคนจะต้องปรับตัวเพื่อจะอยู่รอดได้ในแต่ละช่วงชีวิต เช่น เมื่อเป็นทารกแรกเกิดก็ดูดดื่มกินนมมารดาเพียงอย่างเดียว เมื่อโตขึ้นสักหน่อยราวๆ 3 เดือน มารดาก็จะเริ่มให้อาหารอื่นทดแทน เริ่มป้อนข้าว กล้วย น้ำ และอื่นๆ ทีนี้ถ้าเราบอกไม่เอา...เราไม่กิน...เราไม่ยอมกลืน...เราอยากจะดูดนมแม่เพียงอย่างเดียว...เราคงจะไม่เติบโตมาได้ เพราะอะไร เหตุเพราะว่า “น้ำนมแม่นั้นมีคุณค่า อาหารน้อยลงจนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายซึ่งเจริญเติบโตขึ้นทุกวันๆ” เราจะคงยืนยันว่า “เด็กคนนั้นคงไม่เติบโตมาอย่างสมบูรณ์และแข็งแรงได้เป็นแน่” เพราะเขาคงจะขาดสารอาหาร ผอมแห้งไม่มีแรง อ่อนแอ เจ็บป่วยง่าย และอาจจะตายเสียก่อนโต ลักษณะการปรับตัวเช่นนี้เหตุผลคือ ความจำเป็นต้องปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวเรา “เพื่อความอยู่รอดของชีวิต”
2. เพื่อความสุข หากมีคำถามว่า “ความสุขคืออะไร”
ความสุข คือ การไม่มีความทุกข์ ความทุกข์ คือ การไม่มีความสุข
การปรับตัวช่วยให้เรามีความสุขได้อย่างไร? การปรับตัวช่วยให้เรายอมรับสภาพการณ์ สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วพยายามหาวิธีการแก้ไข ขจัดปัดเป่าปัญหาหรือสภาพการณ์ที่ค่อนข้างเลวร้าย หรือสภาพการณ์ที่เลวร้ายมากๆที่เกิดขึ้นกับตัวเราให้บรรเทาเบาบางลง ซึ่งอาจจะพยายามแก้ไขได้ด้วยตนเอง หรือมีการแสวงหาบุคคลอื่นมาช่วยแก้ปัญหา สุดท้ายเมื่อปัญหาคลี่คลายมีการแก้ปัญหาแล้ว ความคิด ความรู้สึก ของเราก็จะดีขึ้น ผ่อนคลายความตึงเครียดลงไป เมื่อความทุกข์หาย ความสุขสบายใจย่อมเกิดขึ้น
2.5 ลักษณะของผู้ที่ปรับตัวได้ดี 1. มีอัตมโนทัศน์ (Self – Concept) ที่ถูกต้อง 2. มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี 3. มีความรับผิดชอบ 4. ยอมรับความเป็นจริงของตนเองในสังคม ไม่รู้สึกว่าด้อยและต่ำต้อย 5. มีความเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 6. มีอารมณ์ขัน 7. มีความสามารถในการตัดสินใจ 8. มีความเชื่อมั่นในตนเองและเคารพตนเอง 9. มีความรักมนุษยชาติ ไม่อิจฉาริษยา 10. มีความสุขและมีความพอใจในความเป็นอยู่ของตน
2.6 ลักษณะของเด็กที่ปรับตัวไม่ได้ 1. มีความวิตกกังวลใจ ใบหน้าแสดงความทุกข์ 2. เกาะติดกับคนอื่นๆ ไปไหนมาไหนคนเดียวไม่ได้ 3. ไม่มีความสุข 4. มีปัญหาในการเรียนและการทำงานเพราะขาดสมาธิและไม่มีเหตุผล 5. มีปัญหาในการรับประทานและการนอน 6. แสดงพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ดื้อ ร้องไห้บ่อย ละเมอ ตกใจง่าย ปัสสาวะรดที่นอน ๚ล๚ 7. มีอาการทางกายเมื่อเวลากังวลใจ เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง หายใจไม่ออก หอบหืด ตาพร่ามัว พูดไม่ชัด ฯลฯ 8. ไม่มีความตั้งใจ การเรียนไม่ดี 9. มีลักษณะร้อนรน แสดงอาการกระวนกระวาย ไม่อยู่นิ่ง 10. ใจลอย เหม่อ ไม่สนใจใครไม่ค่อยมีเพื่อน

2.7 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัว การปรับตัวของแต่ละบุคคลต่างๆ มีปัจจัยสนับสนุนว่า การปรับตัวจะเป็นลักษณะอย่างไร ปรับตัวได้ดีหรือจะมีปัญหาในการปรับตัวประเภทใด ศึกษาจากปัจจัยดังนี้ 2.6.1 ชีวิตในช่วงต่างๆ ชีวิตของบุคคลแต่ละวัยมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการในแต่ละช่วงอายุเป็นอย่างไรจะส่งผลให้บุคคลต้องแสดงพฤติกรรมเช่นนั้น เช่นวัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการทางกายอย่างรวดเร็ว มีความต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการเพื่อนที่สนับสนุนและส่งเสริมบทบาททางสังคม การปรับตัววัยรุ่นมักจะมีปัญหา เพราะเด็กเองรู้สึกสับสนในการเป็นเด็กและเริ่มจะมีความรับผิดชอบในการกระทำแบบผู้ใหญ่ วัยรุ่นมีความต่อต้านสังคมที่มองว่า วัยรุ่นเองทำให้ผู้ใหญ่เดือดร้อนเพราะอยากเด่น อยากดัง การปรับตัวของวัยรุ่นจึงเป็นการแสดงการเด่น การก้าวร้าว บางคนปรับตัวด้วยการเก็บตัว เป็นต้น 2.6.2 สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมมีผลต่อการปรับตัว มนุษย์จำเป็นต้องปรับตัวตามสภาพแวดล้อม เช่น การมีทัศนคติ (เจตคติ) ค่านิยม ประเพณี วัฒนธรรมการศึกษา ระบบการเมือง ดินฟ้าอากาศ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและการปรับตัว การปรับตัวของมนุษย์มีตั้งแต่เกิดจนตาย มนุษย์ใช้การปรับตัวเพื่อความอยู่รอด 2.6.3 พันธุกรรม สิ่งมีชีวิตไม่ว่า พืช คน สัตว์ อาจจะมีการปรับสายพันธุ์เพื่อการอยู่รอด บางครั้งมีการพัฒนาพันธุ์เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างต่างๆ ให้เข้ากับวิวัฒนาการของโลก เช่น ตระกูลไดโนเสาร์ต้องศูนย์พันธุ์ไป เพราะไม่มีการปรับสายพันธุ์ให้เข้ากับเหตุการณ์ของภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงยุคต่างๆจากยุคหิน ยุคทองแดง มาจนถึงปัจจุบัน แม้แต่เชื้อราบางชนิดมีการพัฒนาเป็นประเภทต่างๆ เพื่อมิให้มันถูกทำลายจากธรรมชาติและคน 2.6.4 ลักษณะของบุคลิกภาพ ลักษณะของบุคลิกภาพของคน เช่น คนอ้วน คนผอม คนรูปร่างสมส่วน เป็นนักกีฬา ซึ่งตามทฤษฎีของเซลดอน มีการปรับตัวแบบต่างๆ เช่นคนอ้วนมักเป็นคนก้าวร้าว คนผอมเป็นเจ้าอารมณ์ ชอบความสันโดษ ไม่เปิดเผยตนเอง ทฤษฎีของจุง อธิบายประเภทการแสดงพฤติกรรมของคนว่าคนลักษณะเปิดเผย (Extrovert) ชอบสนุก โกรธง่าย หายเร็ว เมื่อมีปัญหามักจะแสดงกิริยาก้าวร้าว ใช้กำลัง เป็นต้น นักทฤษฎีต่างๆของฟรอยด์ ได้อธิบายถึงภาวะโครงสร้างของคนว่าโครงสร้างของบุคลิกภาพประกอบด้วยอิด อีโก้ ซุปเปอร์อีโก้ (Id Ego Superego) Id เป็นภาวะของการแสดงสัญชาติญาณดั้งเดิมของมนุษย์ด้านการแสวงหาความสนุกสนาน ตัณหา ความหลงตนว่า เป็นตัวกูของกู ส่วน Ego เป็นลักษณะของความมีเหตุผล อาศัยหลักความเป็นจริงของชีวิต เปรียบเหมือนภาวะของคนที่มีจิตสำนึกซึ่งไม่เหมือนกัน Id ที่เป็นสภาวะของจิตไร้สำนึก ดังนั้นการปรับตัวของบุคคลแต่ละคนล้วนแสวงหาความต้องการของตนและปรับตัวตามลักษณะตามที่ต้องการที่แฝงอยู่ในตนเองเช่น ยึดความเห็นแก่ตัว เอาเปรียบคนอื่นๆ ทำตนน่าสงสาร ทำลายตนเอง เป็นต้น 2.6.5 สัญชาติญาณ คำว่า สัญชาติญาณ หมายถึง สิ่งที่มนุษย์หรือสัตว์มีแต่กำเนิด ไม่ต้องมีการอบรมสั่งสอนหรือแนะนำ เช่น นกรู้จักสร้างรัง คนรู้จักเลี้ยงลูกเองเมื่อถึงเวลาที่ตนมีลูก เป็นต้น วิลเลียม เจมส์ (William James) กล่าวว่า สัญชาติญาณของมนุษย์มีอยู่หลายประการ ได้แก่ 1. สัญชาติญาณแห่งการสืบพันธุ์ 2. สัญชาติญาณแห่งการต่อสู้ 3. สัญชาติญาณแห่งการรวมกลุ่ม 4. สัญชาติญาณแห่งการเป็นพ่อ แม่ 5. สัญชาติญาณแห่งการอยากรู้อยากเห็น 6. สัญชาติญาณแห่งการเรียกร้องความสนใจ 7. สัญชาติญาณแห่งการขอความช่วยเหลือ 8. สัญชาติญาณแห่งการมีชีวิตอยู่รอด 9. สัญชาติญาณแห่งการทำลาย 10. สัญชาติญาณแห่งการต้องการคนสงสาร เห็นใจ สัญชาติญาณของมนุษย์ทำให้มนุษย์มีแบบของการปรับตัวแตกต่างกันตามลักษณะของสัญชาติญาณต่างๆ 2.6.6 การเรียนรู้และประสบการณ์ การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพราะมนุษย์ได้รับประสบการณ์ ด้านสติปัญญา ด้านทักษะ ซึ่งเป็นความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อและมีความสัมพันธ์กันกับระบบประสาท และมีพัฒนาการความรู้สึกในด้านความสวยงาม ความถูกต้อง มนุษย์นำสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้และการเห็นตัวอย่างจากตัวแบบต่างๆ หรือจากประสบการณ์ที่ได้รับทั้งส่วนที่ดีและส่วนลบมาใช้ในการปรับตัว เช่น รู้จักการปรับสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ ให้เข้ากับการดำรงชีวิตและการอยู่รอด มนุษย์ยุคปัจจุบันเจริญในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีแผนใหม่ก็อาจจะนำความเจริญไปสร้างเสริมเทคนิคการปรับตัวแบบใหม่ๆ 2.6.7 กระบวนการสังคมประกิต กระบวนการสังคมประกิต หมายถึง การที่มนุษย์ได้รับการอบรมสั่งสอนจากครอบครัว ญาติ ครู กลุ่มคนในอาชีพต่างๆ ตั้งแต่วัยทารก การอบรมสั่งสอนอาจจะเกิดทั้งทางตรงและทางอ้อม ประสบการณ์จากการที่ได้รับการอบรมที่ดี เช่น การได้รับความรักความอบอุ่นจากครอบครัวในวัยทารก จะทำให้บุคคลรับความประทับใจในสิ่งดีเอาไว้ ตามทฤษฎีของ อิริคสัน เด็กในระยะวัยทารกถ้ารับความรักจากแม่ จะพัฒนาเป็นความรู้สึกด้านความไว้วางใจแก่ทุกๆคน แต่ทางตรงกันข้ามแม่ไม่เคยให้ความรักแก่ลูกๆ จะพัฒนาความคิดว่าคนทุกคนไว้ใจไม่ได้ ความคิดนี้จะค่อยๆ พัฒนาบุคลิกภาพของคนในวัยต่อไป เมื่อเป็นผู้ใหญ่จะมีลักษณะของความคิดว่าคนทุกคนไม่ดี และมีผลต่อการปรับตัวในโอกาสต่อไป
2.6.8 แบบของพัฒนาการของมนุษย์ ตามทฤษฎีของเฟียเจต์สติปัญญาของคนเกิดขึ้นตั้งแต่วัยทารก โดยการเรียนรู้จากการสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่สายตาและอวัยวะจะสัมผัสได้ การสะสมความคิด ความเข้าใจจะค่อยๆพัฒนาการเป็นการเข้าใจสิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมแต่จะค่อยๆเข้าใจการใช้เหตุผล การรู้จักวิเคราะห์ การแก้ปัญหาเมื่อมีอายุมากขึ้น จากพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์ช่วยสร้างรูปแบบของการปรับตัวของคนแต่ละประเภท ระดับสติปัญญาต่างกันมีผลต่อความแตกต่างและประสิทธิภาพในการปรับตัวของคน ผู้ที่มีปัญหาทางสติปัญญา เช่น คนปัญญาอ่อน บุคลิกภาพแปรปรวน โรคจิต โรคประสาทเพราะมีความบกพร่องทางระบบประสาท และสมองย่อมมีผลต่อลักษณะของการปรับตัวไม่ได้
ส่วนทฤษฎีของโคลเบอร์ที่กล่าวถึงพัฒนาการทางจริยธรรมของคนในวัยต่างๆ ซึ่งเกิดจากการเข้าใจตนเอง การรับหลักการของสังคม การเข้าใจการเป็นพลเมืองดีของสังคมหรือการเอาใจตนเอง เพื่อหวังสิ่งตอบแทน เป็นสิ่งที่สนับสนุนหรือการต่อต้านการปรับตัวของคน เช่น คนบางคนปรับตัวในด้านการเห็นแก่ตัว เอาเปรียบคนอื่น ก้าวร้าวทางการกระทำโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องเพราะเขามีพัฒนาการติดกับขั้นต้นๆของจริยธรรม เป็นต้น 2.6.9 การขัดแย้งในใจ ลินดา เดวิตคอฟ (Linda L. Davidoff 1987: 348) ให้ความหมายว่า การขัดแย้ง หมายถึง ภาวะที่บุคคลต้องเลือกเอาระหว่างสถานการณ์ เหตุการณ์ สิ่งของ ความต้องการหรือการกระทำที่มีตัวเลือก 2 สิ่งแต่ต้องเลือกเพียงอย่างเดียว การขัดแย้งในใจ หมายถึง การที่บุคคลมีความวิตกกังวลใจ ไม่สามารถจะเลือกว่าสิ่งใดควรจะเลือกหรือตนเองควรทำอย่างไร การขัดแย้งก่อให้เกิดความทุกข์ ความไม่สบายใจ ซึ่งแยกเป็น 3 ประการได้แก่ 1. การขัดแย้งเพราะตนเองมีสิ่งที่จะต้องเลือกเพียงประการเดียว แต่ตนจะต้องเปรียบเทียบของสองสิ่งซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ตนชอบและต้องการทั้งคู่ กรณีเช่น บุคคลจะรู้สึกว่าตนเองถูกบีบบังคับให้ตัดสินใจ เช่น ต้องเลือกระหว่างการศึกษาต่อและการสอบเข้าทำงาน การกู้เงินเพื่อแต่งงาน กับการสร้างบ้าน เป็นต้น ซึ่งเป็นการขัดแย้งประเภท Positive – Positive 2. การขัดแย้งประเภทที่บุคคลจะต้องเลือกเพียงประการเดียวในสิ่งที่ตนเองไม่ชอบเลย เป็นการขัดแย้งประเภท Negative - Negative เช่น ขับรถถูกจับเพราะทำผิดกฎจราจรอาจถูกปรับหรือไม่อาจถูกกักขัง เป็นต้น 3. การขัดแย้งประเภทที่บุคคลจะต้องเลือกสิ่งที่ไม่ดีและสิ่งดีซึ่งเกิดคู่กันจะเลือกเฉพาะสิ่งที่ดีไม่ได้ เช่น การแต่งงานกับคนดีแต่จน รักคนสวนแต่ใจดำ เป็นต้น ภาวะของการขัดแย้งในใจเหล่านี้มีผลต่อการปรับตัวของบุคคลที่มีสภาวะของความขัดแย้งในใจอาจจะมีความไม่ปกติเพราะภาวะของการมีสุขภาพจิตที่ไม่สมดุล
ส่วนเลวิน (Lewin 1959) แบ่งความขัดแย้งเป็น 4 ประเภท คือ 1.) Approach – approach conflict เป็นลักษณะที่บุคคลจะต้องเลือกเพียงอย่างเดียว การขัดแย้งประเภทนี้ ตัดสินใจง่ายและไม่ค่อยจะต้องคิดมาก เช่น จะไปซื้อของหรือจะไปชมภาพยนตร์ จะศึกษาต่อหรือทำงาน เป็นต้น 2.) Avoidance – avoidance conflict เป็นลักษณะที่บุคคลจะต้องเลือกในสถานการณ์ หรือการกระทำเพียงอย่างเดียวทั้งๆ ที่ สถานการณ์นั้นไม่เป็นที่พึงปรารถนา ซึ่งแตกต่างกับประเภทแรกเพราะ ประเภทแรกเป็นสถานการณ์ที่ดีทั้งคู่ นักจิตวิทยากล่าวว่าการขัดแย้งประเภทนี้ก่อให้เกิดความเครียดสูง เพราะตัดสินใจยาก เช่น ติดคุกหรือถูกปรับ ทำแท้งหรือต้องออกจากโรงเรียน เป็นต้น 3.) Single approach - avoidance conflict เป็นลักษณะที่บุคคลจะต้องกระทำ ไม่มีตัวเลือกเลย เป็นประเภทน้ำผึ้งขม เช่น รถสวยแต่ราคาแพง งานดีแต่วุฒิการศึกษาสูง ภาพยนตร์สนุกแต่บัตรราคาแพง เป็นต้น การขัดแย้งประเภทนี้ทำให้เกิดความกังวลใจสูง 4.) Double approach - avoidance conflict เป็นการเลือกโดยมีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ ซึ่งแต่ละจุดมุ่งหมายจะมีทั้งดีและไม่ดี เช่น การศึกษาในภาคกลางคืนดี แต่ต้องใช้เวลานานและค่าเรียนแพง จะแต่งงานกับสมชายหรือนฤนาถดี สมชายเรียนสูงแต่จน ส่วนนฤนาถนิสัยไม่ดีแต่หล่อ เป็นต้น การเลือกประเภทนี้ทำให้บุคคลเครียดและเกิดความสับสนสูง
2.8 การปรับตัวแบบต่างๆ ตามปกติแล้วมนุษย์มีวิธีการปรับตัวหลายประการ เช่น ใช้ศิลปะต่างๆ ในการปรับตัว และปรับตัวโดยใช้วิธีการทางการวางเงื่อนไขประเภทต่างๆ การปรับตัววิธีการต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้ 1. การใช้ศิลปะการปรับตัว การปรับตัวประเภทนี้มีหลายประการได้แก่ การร้องไห้ การระบายอารมณ์โดยการพูดจา ปรับทุกข์กับคนอื่น การรับประทานอาหารแปลกๆ การท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ การเล่นอาจเป็นการเล่นตามกติกา การร้องเพลง การเล่นดนตรี การเล่นไพ่ การเล่นเทนนิส หรือการเล่นการพนันประเภทต่างๆ เพื่อคลายเครียดและลดความขัดแย้งในใจลง บางคนใช้วิธีการแต่งตัวสวยๆและไปแสดงตัวตามงานต่างๆ แต่บางคนหาคนที่ตนเองรักและชอบเป็นการปลดปล่อยพลังหรือแรงทางเพศ ตามทฤษฎีของฟรอยด์ในปมออดิปุส (Oedipus Complex) หรือปมอีเลคต้า (Electra Complex) โดยมีวิธีการแปลก บางคนรักเผื่อเลือก รักแล้วทิ้ง ไม่รักใครจริงแต่ทดสอบพลังทางเพศของตนเพื่อระบายความไม่สบายใจ เป็นต้น 2. การปรับตัวโดยการต่อสู้ เป็นวิธีการปรับตัวโดยบุคคลทำการต่อต้าน แสดงความก้าวร้าวต่อสิ่งที่ตนไม่ปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นบุคคล กลุ่มคน สัตว์ หรือเหตุการณ์ต่างๆ การต่อสู้อาจเป็นการต่อสู้โดยตรงได้แก่การแสดงพฤติกรรมทางกาย เช่น การชกต่อย ตี ปา ทุบ ทำลาย อีกประการหนึ่งเป็นการแสดงการก้าวร้าวหรือการต่อสู้โดยทางอ้อม ได้ว่า การพูดจะเสียดสี การพูดประชดประชัน การเหน็บแนม การประสงค์ร้าย การแสดงอาฆาตพยาบาท การก้าวร้าวอาจเป็นในรูปการก้าวร้ายย้ายที่ เช่น ตัวเองไม่แสดงอาการแต่จิตใจต่อต้านเข้าประเภทดื้อตาใสก็มี หรือตอบโต้บุคคลที่ตนเองไม่ชอบหน้าไม่ได้เลย แสดงตอบโต้กับสิ่งอื่นๆ หรือคนอื่น เช่น ทำลายสิ่งของเครื่องใช้ ทำร้ายสัตว์เลี้ยง เป็นต้น 3. การปรับตัวแบบหนี การปรับตัวแบบหนีเป็นวิธีการที่บุคคลไม่ต้องการที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งที่ทำให้จิตใจไม่ปกติ จึงหาวิธีหลบหลีกให้พ้นจากเหตุการณ์นั้นๆ เพราะฉะนั้นไม่ได้ที่จะทำให้จิตใจไม่สบาย
4. กลวิธานในการปรับตัว คำว่า กลวิธาน หมายถึง การใช้กลวิธี หรือ เทคนิคในการปรับตัวเพื่อรักษาจิตใจให้อยู่ในสภาพสมดุลเพื่อทำให้เกิดความสบายใจ ไม่วิตกกังวลหรือเกิดความเครียดเพราะถ้าบุคคลใดมีสิ่งที่ทำให้ตนเองมีความทุกข์ใจ มีความวิตกกังวลใจแล้วบุคคลนั้นจะไม่มีความสุขครุ่นคิดจนทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน วิธีที่จะทำให้คลายความวิตกกังวลใจลงได้อาจกระทำโดยใช้วิธีการต่างๆ ที่สังคมยอมรับว่าไม่ผิดปกติและส่งผลต่อจิตใจที่เกิดความปกติได้หลังจากปรับตัวแล้วนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียง เช่น ฟรอยด์ ให้ความสำคัญของการใช้กลวิธานในการปรับตัวว่า เป็นการทำให้ตัวเองลดความเครียดและเป็นเกราะป้องกันตัวเองที่ทำให้ตนเองใช้การปรับตัวแบบไม่ยอมรับความเป็นจริง (Curt and Stein 1988: 434 ) การใช้กลวิธีหรือกลวิธานในการปรับตัว
(Defense Mechanism) มีดังนี้
1. การเก็บกด (Repression) 2. การอ้างเหตุผล (Rationalization) 3. การโยนความผิดไปให้สิ่งอื่น (Projection) 4. การย้อนกลับ (Regression) 5. การชดเชย (Compensation) 6. การฝันกลางวัน (Fantasy) 7. การนับตนเข้าเป็นพวก (Identification) 8. การเสี่ยง (Sublimation) 9. การกระทำตรงข้ามกับจิตใจ (Reaction – formation) 10. การปฏิเสธ (Daniel) 11. การชอบอวดอ้างว่าฉลาดรอบรู้ (Intellectualization) 12. การทำอย่างอื่นแทน (Displacement) 13. การตัดความรู้ออกไป (Isolation) 14. การมีอาการป่วยทางกาย (Conversation)
1. การเก็บกด (Repression) ฟรอยด์กล่าวว่า การเก็บกดเป็นภาวะที่ Ego กระทำเพื่อป้องกันและมิให้การเรียกร้องของ Id เป็นจริงขึ้นเพื่อจะลดภาวะการกังวลใจของ Ego เก็บกดเป็นการไม่ต้องการที่จะคิด นึกถึงและกล่าวในสิ่งที่ตนเองอยากจะลืม โดยที่แกล้งลืมบ่อย ๆ จนสามารถลืมได้เอง ตัวอย่าง ผู้หญิงไทยจะต้องเก็บความรู้สึกทางด้านเพศ เพราะความเป็นกุลสตรีตามที่สังคมคาดหวังไว้ แม้จะมีความรู้สึกและความต้องการทางเพศอย่างไรจะพูดหรือจะเรียกร้องไม่ได้ การเก็บความรู้สึกเป็นอันตรายต่อต่อสุขภาพเพราะเป็นการจงใจและซ่อนความรู้สึกที่ข่มขื่นใจของตนไว้
2. การอ้างเหตุผล (Rationalization) เป็นภาวการณ์ที่บุคคลยกเหตุผลมาอ้างเพื่อตนเองจะมีความรู้สึกทางสบายใจแทนที่จะเกิดความกังวลใจ เช่น พ่อแท่ที่ดุร้ายและเจ้าอารมณ์มักจะทำโทษลูกอย่างรุนแรง โดยแสร้งพูดเพื่อลบล้างความผิดในด้านการทำโทษลูกรุนแรงเกินกว่าเหตุว่ากระทำเพราะรักลูก กลัวลูกเสียคน เข้าทำเอง “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี”
3. การโยนความผิดไปให้สิ่งอื่น (Projection) เป็นการลดความกังวลของตนโดยแสดงการกรำต่อสิ่งอื่น การกล่าวโทษสิ่งอื่นแทนที่จะยอมรับว่าตนเองผิด เช่น เด็กไม่สนใจการเรียนก็จะอ้างว่า แม่ให้ทำงานจนไม่มีเวลาอ่านหนังสือ แม่บ้านปรุงอาหารไม่อร่อย ก็โทษว่าเครื่องแกงไม่ดี เนื้อไม่สด ทำให้เสียรสอาหาร เป็นต้น
4. การย้อนกลับ (Regression) เป็นการแสดงพฤติกรรมดังที่เคยกระทำมาก่อนในวัยเด็ก หรือในระยะแรกๆเช่น เด็กต้องการให้แม่เอาใจตนจึงแสร้งแสดงกิริยาอาการเหมือนตนเองเป็นลูกเล็กๆ ด้วยการพูดไม่ชัด กระทืบเท้าเวลาโกรธ เป็นต้น เพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนอื่น ๆ
5. การชดเชย (Compensation) เป็นการปรับตัวโดยหาจุดเด่นของตนเองมาทดแทนความบกพร่องของตนเพื่อจะลดความด้อยของตนเอง เช่น หญิงสาวที่หน้าตาไม่สวยจะพยายามแต่งกายให้เด่น โดยใช้สีฉูดฉาด แต่งหน้าเข้ม เป็นต้น คนบางคนพยายามพัฒนาความสามารถของตนในด้านอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างความเก่งในด้านอื่น เช่น นโปเลียนมีรูปร่างเตี้ย แต่เป็นนักรบที่มีความสามารถ ปีโธเฟนนักดนตรีก้องโลก ชาวเยอรมัน แต่ความเป็นจริง เป็นคนหูหนวก เป็นต้น
6. ฝันกลางวัน (Fantasy) เป็นการสร้างจินตนาการโดยสร้างจุดมุ่งหมายเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของตนเองเพราะชีวิตของตนเองไม่ประสบความสำเร็จเลย เช่น วัยรุ่นสร้างจินตนาการว่า ตนเองเป็นคนเรียนเก่ง หรือเป็นนักกีฬาที่คนมากมายชื่นชอบ เป็นต้น การสร้างวิมานในอากาศนี้เป็นการช่วยลดความตึงเครียดและกังวลใจได้แต่ถ้าพฤติกรรมบ่อยๆ เป็นประจำ จะทำให้มีบุคลิกภาพที่ไม่ยอมรับความจริงและนาน ๆ เข้าจะมีอาการของโรคประสาทและโรคจิตเพราะไม่ยอมรับและรับรู้โลกของความจริง
7. การนับตนเข้าเป็นพวก (Identification) เป็นการปรับตัวโดยนำตนเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและคิดว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งในเหตุการณ์นั้น เช่น เมื่อตนดูละคร ตนเองมีความรู้สึกว่าเป็นตัวละครนั้น มีความปรารถนาเป็นตัวเอกนั้น
8. การเลี่ยง (Sublimation) เป็นการแสดงพฤติกรรมในด้านการแสดงพลังงานทางเพศออกมาในรูปของงาน สร้างสรรค์ งานศิลปะ งานพัฒนา งานที่เป็นพระโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม เพื่อแสดงความรู้สึกของตนเองไปสู่งานแทน เป็นต้น
9. การกระทำตรงกันข้ามกับใจคิด (Reaction – formation) เป็นการแสดงพฤติกรรมไม่ตรงกับความรู้สึกและความนึกคิดจริง ๆ ของตน เช่น ภรรยาหลวงและภรรยาน้อยแสร้งทำดีต่อกัน แต่ความจริงแล้วเพียงเพื่อแสร้งทำเท่านั้น คนบางคนแกล้งแสดงตัวเป็นคนใจดีต่อคนอื่น ๆ ซึ่งความจริงเป็นคนที่มีจิตใจดุร้าย เป็นต้น
10. การปฏิเสธ (Daniel) เป็นการไม่ยอมรับความจริงเพื่อป้องกันตัวเองทั้งๆ ที่ความจริงแล้วตนเองไม่สบายใจเลย เช่น แม่ที่มีลูกปัญญาอ่อนมากพยายามปฏิเสธว่าลูกไม่เป็นเช่นนั้น ผู้หญิงที่ป่วยหนักคิดว่าตนเองต้องหายและจะต้องกลับมาบ้าน เป็นต้น
11. การชอบอวดอ้างว่าฉลาดรอบรู้ (Intellectualization) เป็นการแสดงว่าตนเองมีความรู้ ฉลาดรู้ทันไม่ว่าจะเป็นภาคทฤษฎีหรือหลักฐานความรู้ โดยพูดอวดกับคนอื่นๆ เช่น ชายคนหนึ่งอวดว่าเขารู้เรื่องการขับรถทุกประเภท แม้กระทั่งขับเครื่องบินก็ได้เป็นต้น
12. การทำอย่างอื่นแทน (Displacement) การป้องกันตัวประเภทนี้บุคคลไม่สามารถแสดงความคิดเห็น โต้แย้ง ต่อต้านกับคนที่ต้องการจะแสดงพฤติกรรมได้ เลยไปแสดงตอบโต้กับคนอื่นแทน เช่น ชายที่ถูกภรรยาตำหนิ เขาไม่สามารถจะตอบโต้ได้เพราะกลัวเกรงภรรยา เมื่อมาที่ทำงานเขาจึงหาเรื่องดุว่าลูกน้องในที่ทำงานแทน เป็นต้น
13. กี่ตัดความรู้สึกออกไป (Isolation) เป็นการตัดความรู้สึกนึกคิดที่ทำให้ตนเองมีความทุกข์ ความวิตกกังวลใจออกไป เช่น เด็กที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ เลยมาสอบเข้าที่วิทยาลัยครูแทนเด็กคนนี้ปลอบใจตนเองว่า เรียนในมหาวิทยาลัยอาจจะหางานทำไม่ได้ การเป็นครูเป็นอาชีพที่ดีและหางานในชนบทได้ถ้าไม่เลือกมากนัก เป็นต้น
14.การมีอาการป่วยทางกาย (Conversation) บุคคลที่มีความขัดแย้งและมีความวิตกกังวลใจมากๆ จะมีความรู้สึกว่าตนเองค่อยสบาย หายใจไม่ออก มีอาการป่วยทางกายหลายอย่าง เช่น ปวดศีรษะ ใจสั่น อ่อนเพลีย ท้องอืด เป็นต้น
การปรับตัวโดยใช้กลไกของการป้องกันตัวดังกล่าว เป็นวิธีที่ยอมรับกันว่าไม่ผิดปกติหรือมีความแปลกซึ่งคนส่วนใหญ่ปลอบใจตนเองว่า ทำให้ตนเองสบายใจและไม่เป็นคนทีมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
2.9 การปรับตัวในวัยรุ่น การปรับตัวในวัยรุ่นมีคำกล่าวว่าวัยรุ่นเป็นวัยจะเริ่มเป็นหนุ่มสาวเป็นช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต เป็นวัยพายุบุแคม เนื่องจากว่าวัยนี้จะมีร่างกายเปลี่ยนแปลงมีการพัฒนาจากวัยเด็กเป็นวัยผู้ใหญ่ นอกจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายแล้ว ในด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญาก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนบางครั้งอาจทำให้วัยรุ่นมีปัญหาในการปรับตัวได้
วัยรุ่นเป็นวัยที่สภาพร่างกาย สภาพอารมณ์วุ่นวายไม่คงที่ คือ อยู่ระหว่างความเป็นเด็กและผู้ใหญ่ วัยรุ่นจึงต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆเหล่านี้ บางคนก็สามารถผ่านวัยรุ่นไปได้โดยไม่มีปัญหา แต่อีกหลายคนอาจประสบปัญหาในการดำเนินชีวิตและไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้นวัยรุ่นนี้จึงเป็นวัยที่ผู้ใหญ่ควรให้ความสนใจและช่วยเหลือประคับประคองให้เขาดำเนินชีวิตผ่านไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งร่างกายและจิตใจ
ความหมายของคำว่า ”วัยรุ่น”คำว่า “วัยรุ่น” ในภาษาอังกฤษว่า Adolescence ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า Adolescere หมายถึง เจริญสู่วุฒิภาวะ (Grow into Maturity) วุฒิภาวะ (Maturation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงซึ่งเนื่องมาจากความเจริญงอกงามทางด้านร่างกาย ซึ่งรวมถึงสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมด้วย โดยมีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวเสริม
ความหมายของวัยรุ่นยังใช้คำในภาษาอังกฤษอีกหลายคำ เช่น Teenago หรือ Puberty หมายถึง วัยที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 20 ปี วัยรุ่นจะมีพัฒนาการ ทางร่างกายและด้านเพศ เช่น เสี่ยงเปลี่ยน สัดส่วน ร่างกายเปลี่ยนแปลง มีลักษณะเป็นหญิงและชายชัดเจนขึ้น
2.10 การปรับตัวผิดปกติของเด็กวัยรุ่น (Personality Disorders) การปรับตัวที่ผิดปกติของเด็กวัยรุ่นที่มักพบอยู่เสมอ ในระยะนี้หรือระยะวัยเด็กมีมากมายหลายชนิดด้วยกัน อาการเหล่านี้ไม่เหมือนกับโรคจิตหรือโรคประสาท เป็นเพียงการปรับตัวที่ผิดปกติที่ควรจะได้แก้ไขเสียแต่เนิ่นๆ อาการดังกล่าวมีดังต่อไปนี้
1. Paranoid Personality ประเภทนี้มีความรู้สึกไวมาก เป็นพวกช่างสงสัย มีความอิจฉาริษยาและรู้สึกว่าตนเป็นคนสำคัญมากเกินไป ชอบติเตียนผู้อื่น ทำให้ลำบากในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น 2. Cychothynic Personality บุคลิกภาพแบบนี้บางครั้งก็ซึมเศร้าบางครั้งก็ร่าเริง ในระยะที่มีความร่าเริงจะมีความรู้สึกอบอุ่น มีควมาทะเยอทะยาน มองโลกในแง่ดี แต่พอถึงระยะซึมเศร้าก็จะมีความวิตกกังวลมองโลกในแง่ร้าย และขาดดพลังงาน 3. Schizoid Personality เป็นบุคลิกภาพประเภทขี้อาย มีความรู้สึกไว ไม่ชอบการแข่งขัน และสร้างความสัมพันธ์กับใคร สนใจแต่เฉพาะตนเอง ชอบฝันกลางวัน ไม่สามารถแสดงความไม่พอใจหรือรู้สึกก้าวร้าวอย่างปกติได้ 4. Explosive Personality เป็นบุคลิกภาพแบบก้าวร้าวทางวาจาหรือร่างกาย มักแสดงพฤติกรรมที่ผิดปกติและมัดเสียใจต่อพฤติกรรมของตน มักจะโต้ตอบต่อความกดดันในสิ่งแวดล้อมเกินกว่าเหตุ 5. Obsessive Compulsive Personality เป็นกลุ่มที่ยึดมั่นกับมาตรฐานที่ดีมากเกินไป มีคุณธรรมสูง ยับยั้งตัวเองมมากเกินไปหมกมุ่นกับงานมากเกินไป ไม่รู้จักพักผ่อน ลักษณะนี้จะนำไปสู่โรคประสาทได้ 6. Hysterical Personality เป็นลักษณะของบุคลิกที่ตื่นเต้นง่าย อารมณ์ไม่คงที่ มีปฏิกิริยาต่างๆมากเกินไป เพื่อเรียกร้องความสนใจ มีลักษณะแบบยั่วยวน เป็นบุคลิกที่ยังขาดวุฒิภาระ ชอบพึ่งผู้อื่น ถือตนเองเป็นใหญ่ อาจจะนำไปสู่โรคประสาทฮิสทีเรียได้ 7. Aesthetic Personality เป็นบุคลิกภาพแบบเหนื่อยง่าย มีพลังงานต่ำไม่รู้สึกสนุก ขาดความกระตือรือร้น มีความรู้สึกไวต่อความกดดันทางร่างกายและอารมณ์ 8. Antisocial Personality เป็นพวกที่ขาดการสมาคมที่ดีมาก่อน มักมีพฤติกรรมที่ขัดแย้งกับสังคม มีความเห็นแก่ตัว ขาดความซื่อสัตย์ ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่รู้สำนึกผิดหรือเข็ดหลาบในการถูกลงโทษ ชอบโทษและติเตียนผู้อื่น ขาดความอดทนเท่าที่ควร 9. Passive-Aggressive Personality กลุ่มนี้มีทั้งลักษณะสมยอมและก้าวร้าวออกมาเงียบๆ เช่นขัดขืน ทำหน้าบึ้ง ชอบผัดวันประกันพรุ่ง แกล้งทำเป็นไม่มีความสามารถ ดื้อรั้น เป็นพฤติกรรมที่แสงดถึงความไม่พอใจแต่ไม่กล้าที่จะแสดงออกอย่างเปิดเผย 10. Inadeouate Personality เป็นพวกที่ปรับตัวยาก ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจของตนได้ ทั้งๆที่ดูเหมือนว่าไม่มีความบกพร่องทางร่างกายและจิตใจ การตัดสินใจไม่ดี ไม่มีความมั่นคงในการเข้าสังคม ขาดความอดทน
วิธีแก้ไขเด็กที่ปรับตัวไม่ดีในห้องเรียน ครูจะต้องทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องของเด็กเสียก่อน สิ่งนี้เป็นก้าวสำคัญของการแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆ ของเด็ก ความรู้สึกและทัศนคติของเด็กจะถูกต้องเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ทางครอบครัวและสิ่งแวดล้อมของเด็กแต่ละคน โรงเรียนเป็นสิ่งแวดล้อมใหม่ของเด็กและครูสามารถจะจัดหาสิ่งแวดล้อมดีๆ ให้แก่เด็กได้ เพื่อช่วยให้เด็กแก้ไขความรู้สึกและทัศนคติใหม่ให้ถูกต้อง เพื่อช่วยให้เด็กปรับตัวดีขึ้น เด็กที่รู้สึกว่าขาดความรักขาดความอบอุ่นทางจิตใจนั้นครูควรจะช่วยเด็กโดยให้ความรักความอบอุ่นแก่เด็ก ให้เด็กรู้สึกว่าโรงเรียนเป็นสถานที่ที่ให้ความสุขแก่เขา ทำให้มีอารมณ์มั่นคงขึ้น
เด็กที่มีปมด้อยครูควรแสดงให้เด็กเห็นว่าครูยอมรับในความเป็นอยู่ของเด็กและหาโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถในด้านอื่นๆ ที่เด็กทำได้ดี เพื่อช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จ ให้คนอื่นหันมายกย่องชมเชยเด็กบ้าง สำหรับเด็กที่ไม่ชอบคบหาสมาคมกับเด็กอื่นๆ นั้นอาจจะเนื่องจากเด็กมักจะได้รับความอยุติธรรมจากเพื่อน จึงทำตัวเป็นศัตรูกับคนอื่น ไม่ยอมคบหากับใคร ในกรณีนี้ครูควรแสดงความเป็นมิตรอย่างจริงใจกับเด็กเพื่อให้เด็กเห็นว่าครูเป็นกันเองและรับฟังความรู้สึกต่างๆของเขา นอกจากนี้ครูอาจจะช่วยให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมของโรงเรียน เมื่อเขาทำได้ควรชมและให้กำลังใจ ให้เขาได้รู้ว่าเขาเองมีความสามารถอย่างไร เพื่อช่วยให้เด็กยอมรับความเป็นจริงและรู้จักตัวเองดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เด็กปรับตัวได้ดีขึ้น
จึงกล่าวได้ว่าครูเท่านั้นที่จะช่วยเหลือให้เด็กปรับตัวได้ดีขึ้น เพราะเด็กส่วนมากรัดครูและเชื่อฟังครู คำพูดต่างๆของครูมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของเด็กมาก ความรักความเมตตา ตลอดจนความเข้าใจที่ครูมีต่อเด็กนั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างยิ่งที่จะแก้ไขความรู้สึกและทัศนคติไม่ดีออกไปจากจิตใจเด็กได้ ยอมรับและกระตุ้นให้เด็กมีความเจริญงอกงามในทุกๆด้านให้มากที่สุด โดนการพยายามสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้อบอุ่น มีอิสระและมีโอกาสให้เด็กแสดงความสามารถของตนตามความถนัด และอาการปรับตัวไม่ดีต่างๆ ก็จะค่อยๆหายไป นับว่าครูเป็นผู้หยิบยื่นความสำเร็จให้แก่ตัวเด็กด้วยการช่วยส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพจิตดีด้วย
พฤติกรรมที่เกิดจากการปรับตัวผิดของเด็ก พฤติกรรมที่เกิดจากการปรับตัวผิดมี 6 ประเภท ด้วยกัน ดังนี้
1. พวกที่ชอบกระพิบตาบ่อยๆ เลียริมฝีปาก ดึงผม กัดเล็บ กระดิกขาบ่อยพวกนี้เกิดจากประเภทที่ผิดปกติ ( Nervous behavior ) 2. พวกหมกมุ่นอยู่กับความเศร้าโศกสียใจ วิตกกังวล ชอบนั่งใจลอย หัวเราะเสียงดัง ไม่รับผิดชอบงานพวกนี้เกิดจากอารมณ์รุนแรงเกินไป ( Emotional ovvereaction ) 3. พวกนี้ต้องพึ่งผู้อื่นทำงานคนเดียวไม่ได้ ขี้ระแวงสงสัย ตัดสินใจเองไม่ได้ รู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย พฤติกรรมเหล่านี้เกิดจากขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ ( Emotional immaturity ) 4. พวกที่ชอบแสดงอาร ก้าวร้าวผู้อื่น พูดจาขวานผ่าซาก ชอบติเตียน เกิดจากการชอบอวดตัว ( Exhiditionistic Behavior ) 5. พวกที่ชอบพูดจาหยาบคาย ชอบขัดคำสั่ง ชอบรังแกทารุณสัตว์ พวกนี้เกิดจากการต่อต้านสังคม ( Antisocial Behavior ) 6. พวกที่เจ็บป่วยโดยขาดเหตุผล กินจุหิวเก่ง บางครั้งอาเจียนและอุจจาระไม่เป็นเวลา ( Psychosomatic disturbances )
นักจิตวิทยาบางคนกล่าวว่าการปรับตัวเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนในโลกนี้จะต้องประสบอยู่ตลอดเวลา การปรับตัวทำให้มนุษย์มีความสุขในการดำรงชีวิต เฮอร์ลอค (Elizabeth B. Hurlock 1964 : 749) กล่าวว่า “ความสุขของเด็กส่วนมากได้มาจากมนุษยสัมพันธ์ ไม่ใช่มาจากการเป็นเจ้าของวัตถุธรรมต่างๆ เด็กจะมีความสุขก็ต่อเมื่อเด็กรู้สึกว่าตนเป็นที่ยอมรับของคนอื่น เด็กจะเป็นที่ยอมรับของคนอื่นได้ก็ต่อเมื่อเขาปรับตัวได้ดี และสามารถจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”
ดังนั้นการศึกษาเรื่องของ สุขภาพจิตและการปรับตัวจึงต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเพราะสิ่งสำคัญที่สุดได้แก่การที่บุคคลทุกเพศ ทุกวัยสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างไม่มีปัญหา เหมือนกับทรรศนะของ อีริค เบอร์น (Eric berne) ที่กล่าวถึงตำแหน่งตำแหน่งชีวิตประเภท
1. am OK. – You are OK. คนประเภทนี้ปรับตัวได้ดีเพราะมองตนเองและคนอื่นดี





















โครโมโซม เซลล์สมอง ระบบ การเลี้ยง ทางกายภาพ อารมณ์ม่ ประสาท ดูในวัย เช่นการเดินทาง/ มั่นคง ระบบ 0-3 ปี เศรษฐกิจ/ จิตใจอ่อน กล้ามเนื้อ การเห็น การเมือง/ ไหวง่าย ระบบ จากตัวแบบ ครอบครัว/ ความสับสน ต่อมไร้ท่อ ฯลฯ และความ ทางจิตภาพ ขัดแย้ง เช่น ความ สิ่งที่กระทบ คับแค้นใจ จิตใจอย่าง ความกดดัน รุนแรง จากการงาน/ ความไม่ ยุติธรรม ภาพที่ 2.1 แผนผังแสดงกระบวนการปรับตัว



















วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย



65
ระยะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย



60
จุดสูงสุดของวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง



55
ช่วงอายุ50 ผู้ใหญ่ตอนกลาง



50
การเข้าสู้วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง



45
ระยะต่อวัยกลางคน





40
สร้างหลักฐาน





33
ช่วงอายุ30





28
ระยะแรกสู้วัยรุ่นผู้ใหญ่




 22
ระยะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น




 17
วัยรุ่น



















ที่มา: Henry L. Roediger III et al. Psychology. (Canada : Little,Bown Company Limited, 1984), p. 377
ภาพที่ 2.2 การแสดงพัฒนาการของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและตอนกลางตาม Levinson










Permissive Detached Freedom Indifferent Democratic Neglecting Cooperative Rejecting Accepting Hostile Loving Demanding Overindulgent Antagonistic Protective Dictatorial Overprotective Possessive Authoritarian
ที่มา : L. Alan Sroufe et al. Child Development. (New York : McGraw Hill, Inc., 1992), p.459.
ภาพที่ 2.3 แสดงแบบการปกครองของพ่อแม่ (Dimension of Parenting)







ภาพที่ 2.4 แสดงถึงพฤติกรรมของการใช้ความคิด
บทที่ 3
สรุปผลการศึกษา (Conclusion)
ในการสรุปผลการศึกษา ผู้จัดทำได้ทำการสังเคราะห์ข้อมูลในรายงาน เรื่อง สุขภาพจิต และการปรับตัว (Mental Health and Adjustment) ออกมาให้เข้าใจโดยได้ผลการศึกษาดังต่อไปนี้

จิตวิยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับจิต (Mind) วิญญาณและศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ความคิด ความรู้สึก หรือจิตใจจะควบคุมพฤติกรรมการแสดงออกของมนุษย์ ในเรื่องเกี่ยวกับจิตวิญญาณยังเป็นเรื่องลึกลับที่ยังเป็นที่สนใจ ใจหมู่ของนักวิชาการในปัจจุบัน ซึ่งพยายามจะหาทางพิสูจน์ให้เห็นจริงถึงพลังหรืออำนาจพิเศษของจิตวิญญาณ
คำกล่าวที่ว่า “จิตอันสบายอยู่ในกายอันผาสุก” มีความเป็นจริงอยู่มากทีเดียว เมื่อใดร่างกายเจ็บปวด เรามักมีอารมณ์หงุดหงิด คิดสิ่งใดไม่ค่อยออก และถ้าจิตเศร้าหมองกินไม่ลงนอนไม่หลับ ร่างกายทรุดโทรมเห็นได้ชัด ในบางครั้งอาจมีโรคแทรกซ้อนได้ง่าย สุขภาพที่เปลี่ยนไป เราสังเกตเห็นได้ง่ายกว่าสุขภาพจิต ยิ่งกว่านั้นเครื่องมือทางการแพทย์ในปัจจุบันช่วยให้การศึกษาสุขภาพกายได้ง่ายขึ้น ส่วนสุขภาพจิตที่ดีเราพอจะตรวจสอบ โดยอาศัยข้อสังเกตพฤติกรรมบางประการ
สุขภาพจิต คือ ภาวะที่บุคคลมีความเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม เข้าใจเอกลักษณ์และความรับผิดชอบของตน รวมทั้งการปรับตนให้ข้ากับคนอื่นๆในสังคมได้ การที่บุคคลจะมีสุขภาพจิตที่ดีได้นั้นจะต้องมีความพร้อมทั้งทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่ อยู่ในบรรยากาศของความเอื้ออาทรและมีน้ำใจไมตรีต่อกัน คนที่มีลักษณะนี้มักเป็นคนร่าเริง อารมณ์ดี มองโลกในแง่ดี เป็นมิตร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ใจกว้าง มีเมตตากรุณา มีลักษณะที่ยืดหยุ่นง่าย เป็นต้น ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม คนประเภทนี้มักจะได้เห็นตัวแบบที่ดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่พัฒนาความรู้นึกคิดด้านสร้างสรรค์ การจัดสภาพแวดล้อมที่ดีมีการเลี้ยงดูเด็กแบบประชาธิปไตย ไม่มีสภาวะรับการกดดันจากสังคมเศรษฐกิจ ประเพณี ความเชื่อ อีกทั้งไม่มีข้อบกพร่องทางด้านสุขภาพทางร่างกายในแง่ความเจ็บปวดทั้งทางกายและทางจิต สิ่งเหล่านี้ทีผลต่อการเสริมสร้างสุขภาพจิตของบุคคลอย่างยิ่ง ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีย่อมมีศิลปะในการปรับตัว และมีวิธีการดำรงชีวิตในสังคมได้ดีถึงแม้ว่าตนเองจะอยู่ในภาวะความสับสน ยุ่งยากเพียงใดก็สามารถประคองชีวิตให้ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ
การปรับตัว คือการที่บุคคลสามารถดำรงชีวิตอยู่เพื่อให้จิตใจของตนมีสมดุลไม่เกิดความขัดแย้งในจิตใจ การปรับตัวของมนุษย์แต่ละวัยมีจุดมุ่งหมายและมีวิธีการแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะพัฒนาการด้านต่างๆ ของมนุษย์ สิ่งที่มีอิทธิพลในการปรับตัว ได้แก่ ความต้องการวัยเพศ ช่วงชีวิตที่เปลี่ยนแปลง พัฒนาการ ประสบการณ์ การเรียนรู้ เป็นต้น การปรับตัวมีหลายวิธี เช่น การสู้ การหนี และการใช้การประนีประนอม การปรับตัวกับสภาพจิตมีความสัมพันธ์กับผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต




I
ภาคผนวก
( พระบรมราโชวาท )






พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตและนักศึกษาวิทยาลัยวิชาการศึกษา
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๐๕

“... การศึกษาเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญยิ่งของมนุษย์ คนเราเมื่อเกิดมาก็ได้รับการสั่งสอนจากบิดา มารดา อันเป็นความรู้เบื้องต้น เมื่อเจริญเติบโตขึ้นก็เป็นหน้าที่ของครู และอาจารย์สั่งสอนให้ได้รับวิชาความรู้สูง และอบรมจิตใจให้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม เพื่อจะได้เป็นพลเมืองดีของชาติสืบต่อไป งานของครูจึงเป็นงานที่สำคัญยิ่ง ท่านทั้งหลายซึ่งจะออกไปทำหน้าที่ครู จะต้องตั้งมั่นในศีลธรรม และพยายามถ่ายทอดความรู้แก่เด็กให้ดีที่สุดที่จะทำได้ นอกจากนี้จงวางตนให้สมกับที่เป็นครูให้นักเรียนมีความเคารพนับถือ และเป็นที่เลื่อมใสไว้วางใจ ของผู้ปกครองนักเรียนด้วย ...”













พระราชประวัติ พระราชสมภพ

ศาสตราจารย์ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี พระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.. 2498 (ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 5 ปีมะแม สัปตศก) ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ เป็นผู้ถวายพระประสูติกาล และได้รับการถวายพระนามจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลยโสภาคย์ พร้อมทั้งประทานคำแปลว่า นางแก้ว อันหมายถึง หญิงผู้ประเสริฐ และมีพระนามที่ข้าราชบริพาร เรียกทั่วไปว่า ทูลกระหม่อมน้อย
พระนาม "สิรินธร" นั้น นำมาจากสร้อยพระนามของสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ซึ่งเป็นพระราชปิตุจฉา (ป้า) ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
สำหรับสร้อยพระนาม "กิติวัฒนาดุลย์โสภาคย์" ประกอบขึ้นจากพระนามาภิไธยของสมเด็จพระบรมราชบุพการี 3 พระองค์ ได้แก่ "กิติ" มาจากพระนามาภิไธยของ "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ" สมเด็จพระราชชนนี (แม่) ส่วน "วัฒนา" มาจากพระนามาภิไธยของ "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี) สมเด็จพระปัยยิกา (ย่าทวด) และ "อดุลย์" มาจากพระนามาภิไธยของ "สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก" สมเด็จพระอัยกา (ปู่)

การศึกษา

เมื่อปี พ.. 2501 พระองค์ทรงเริ่มเข้ารับการศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา ซึ่งตั้งอยู่ภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต และทรงศึกษาต่อในโรงเรียนจิตรลดาจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ ในปี พ.. 2515 ก็ทรงสอบไล่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในแผนกศิลปะ ด้วยคะแนนสูงสุดของประเทศ
หลังจากนั้น พระองค์ทรงสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสามารถทำคะแนนสอบเอนทรานซ์เป็นอันดับ 4 ของประเทศ ซึ่งถือเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่ทรงเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในประเทศ จนกระทั่ง ปี พ.. 2520 พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.98
พระองค์ทรงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ด้านจารึกภาษาตะวันออก (ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร) ณ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรและสาขาภาษาบาลีและสันสกฤต จาก ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างนั้น มีพระราชกิจมากจนทำให้ไม่สามารถทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทได้พร้อมกันทั้ง 2 มหาวิทยาลัย พระองค์จึงตัดสินพระทัยเลือกทำวิทยานิพนธ์เพื่อให้สำเร็จการศึกษาที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรก่อน โดยทรงทำวิทยานิพนธ์ห้วข้อเรื่อง “จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง” ทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.. 2522 หลังจากนั้น พระองค์ทรงทำวิทยานิพนธ์หัวข้อเรื่อง “ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท” ทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.. 2524
พระองค์ทรงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยพระองค์ผ่านการสอบคัดเลือกอย่างยอดเยี่ยมด้วยคะแนนเป็นอันดับหนึ่งในบรรดาผู้เข้าสอบทั้งหมด และทรงเป็นนิสิตปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ รุ่นที่ 4 พระองค์ทรงทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อเรื่อง “การพัฒนานวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย” เนื่องจากพระองค์ทรงตระหนักว่าสภาพการเรียนการสอนภาษาไทยนั้นมีปัญหา เพราะนักเรียนไม่ค่อยสนใจเรียนภาษาไทย มีความรู้ ความสามารถ ทักษะในการเข้าใจและใช้ภาษาไม่เพียงพอ พระองค์จึงทรงนำเสนอวิธีการสอนภาษาไทยในลักษณะนวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสนใจในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนและเป็นสื่อที่จะช่วยให้ครูสอนภาษาไทยได้ง่ายขึ้น พระองค์ทรงสอบผ่านวิทยานิพนธ์อย่างยอดเยี่ยม สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.. 2529


http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000041249




ประวิติเกี่ยวกับจิตเวชในประเทศไทย
บริการทางจิตเวชในประเทศไทย เริ่มขึ้นในปี พ.. ๒๔๓๒ เมื่อเริ่มก่อตั้งศิริราชพยาบาล โดยเริ่มเปิดสถานพยาบาลเพื่อรับคนไข้ทางโรคจิตขึ้นที่ ตำบลปากคลองสาน จังหวัดธนบุรี การรักษาพยาบาลในสมัยนั้นยังคงเป็นวิธีรักษาแผนโบราณ มีการกักขัง เฆี่ยนตี และใช้เวทย์มนต์ในการรักษาคนไข้รุ่นแรกนั้นมีประมาณ ๓๐ คน
ต่อมาประมาณปี พ.. ๒๔๕๓ คนไข้โรคจิตได้ทวีจำนวนมากขึ้น ทำให้สถานที่เดิมไม่เพียงพอสำหรับคนไข้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงพยาบาลขึ้นใหม่ โดยสร้างเสร็จเรียบร้อยและรับคนไข้ได้เมื่อปี พ.. ๒๔๕๕
หลังจากนั้นเป็นต้นมา จึงมีการรักษาคนไข้โรคจิตดีขึ้น ตามแบบแผนปัจจุบันคือให้มีการกินอยู่หลับนอนดีขึ้น ผู้ให้การดูแลคนไข้และโรงพยาบาลแห่งนี้ คือ นายแพทย์ เอ็ม คาธิว ชาวอังกฤษ ในสมัยต่อมาได้เปลี่ยนผู้อำนวยการโรงพยาบาลโรคจิตอีกหลายคน จนกระทั่งเมื่อ พ.. ๒๔๖๘ โรงพยาบาลโรคจิตจึงมีแพทย์ไทยเป็นผู้อำนวยการเป็นคนแรก ทานผู้นั้นคือ หลวงวิเชียร แพทยาคม ผู้สำเร็จวิชาโรคจิตมาจากสหรัฐอเมริกา
ต่อมาโรงพยาบาลโรคจิต ได้ขยายอออกไปตามจังหวัดต่างๆ หลายจังหวัดดังนี้คือ
. โรงพยาบาลโรคจิต อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเมื่อปี พ.. ๒๔๘๐ นับเป็นแห่งที่ ๒ ในประเทศไทย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ . โรงพยาบาลโรคจิต จังหวัดลำปาง เปิดเมื่อปี พ.. ๒๔๘๑ . โรงพยาบาลโรคจิต จังหวัดนนทบุรี เปิดเมื่อปี พ.. ๒๔๘๔ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลศรีธัญญา . โรงพยาบาลโรคจิต จังหวัดอุบลราชธานี เปิดเมื่อปี พ.. ๒๔๙๐ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลศรมหาโพธิ์ . โรงพยาบาลโรคจิต ธนบุรี ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา . โรงพยาบาลโรคจิต จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลสวนปรุง
สำหรับสถาบันอื่นๆ มีดังนี้
  1. สถานสงเคราะห์แม่และเด็ก ถนนสาธร เปิดในปี พ.. ๒๕๐๐
  2. โรงพยาบาลปัญญาอ่อน เปิดปี พ.. ๒๕๐๓
  3. คลินิกสุขวิทยาจิต ถนนราชดำเนิน เปิดปี พ.. ๒๕๐๕
  4. โรงพยาบาลประสาท สงขลา เปิดปี พ.. ๒๕๐๘
  5. โรงพยาบาลจิตเวชเด็ก สำโรง เปิดปี พ.. ๒๕๐๙
  6. ศูนย์วิจัยประสาท เชียงใหม่ เปิดปี พ.. ๒๕๑๑
  7. โรงพยาบาลนิติเวช ธนบุรี ซึ่งเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.. ๒๕๑๒





II
ภาคผนวก
( POWER POINT )





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น