วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

สุขภาพจิต(Mental Health) (ปราโมทย์, 2548 ; อัมพร,2540; บุญวดี ,2539)


สุขภาพจิต(Mental Health)

บทที่ 1
แนวคิดพื้นฐานและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิต
แนวคิด
สุขภาพจิตเป็นศาสตร์ทีมีความสำคัญต่อการดำเนินสาธารณาสุข เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการางด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม ของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนสิ้นชีวิต การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิต ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดีและไม่ดี วิวัฒนาการของงานสุขภาพจิต เป็นความรู้เบื้องต้นที่มีความจำเป็น ในการนำไปใช้วางแผนป้องกันปัญหาสุขภาพจิต การส่งเสริมสุขภาพจิตและการฟื้นฟูสุขภาพจิต จึงมีความจำเป็นที่จะมีการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ดังกล่าว
แนวคิดพื้นฐานของสุขภาพจิต
เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 มนุษย์เริ่มมีศึกษาด้านจิตใจที่เรียนกว่า “วิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม (Behavioral Science)” วิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรมมีหลายสาขา มีการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง ทำให้เราได้เรียนรู้การอธิบาย และการทำความเข้าใจจิตมนุษย์ได้ชัดเจนมากขึ้น การศึกษาจิตใจในเชิงวิทยาศาสตร์คือ การใช้การสังเกตโดยละเอียด เพื่อเก็บข้อมูลจากพฤติกรรมนำมาวิเคราะห์และแปลความหมาย ซี่งก็คือ การแสดงความคิดเห็น ถ้าความคิดเห็นมีเหตุผลเชื่อถือได้จึงพัฒนาเป็นทฤษฎี
สุขภาพจิตเป็นสภาวะทางจิตใจมีการปรับและเปลี่ยนแปลง ตามสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวของผู้นั้น และยังขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในบุคคลนั้น หากบุคคลมีพื้นฐานด้านสุขภาพจิตที่ดี มั่นคง มีความเจริญ เติบโตด้านสุขภาพจิตเต็มที่ ก็จะมีความสามารุในการปรับภาวะสมดุลทางจิตให้สามารถอยู่กับตัวเอง

ความหมายของสุขภาพจิต
องค์การอนามัยโลก (W H O อ้างใน อัมพร,2540) ให้ความหมายของสุขภาพจิตว่า เป็นความสามารถของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุขอยู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดี มีสัมพันธภาพอันดีงามกับบุคคลอื่น และดำรงชีวิตได้ด้วยความสมดุลอย่างสุขสบาย รวมทั้งสนองความต้องการของตนเองในโลกที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจ และมิได้หมายความรวมเฉพาะเพียงแต่ปราศจากอาการของโรคประสาทและโรคจิตเท่านั้น
“Health is state of complete physical, mental and social well-being and not merely the absence of disease or infirmity”
ภาวะสุขภาพจิตได้รับอิทธิพลจากปัจจัยด้านชีวะและสังคม เป็นสภาพที่ไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับระดับและความผันแปรต่าง ๆ สุขภาพจิตเป้นความสามารถของบุคคลในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น และความสามารถที่ปรับตัว หรือทำสิ่งที่สร้างสรรค์ได้ ในสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลง เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในใจ บุคคลที่มีสุขภาพจิตดี จะสามารถปรับจิตใจให้เกิดความพอใจในผลที่ได้รับ และพร้อมที่จะเผชิญปัญหา แทนที่จะหลีกหนีจากปัญหาหรืออุปสรรคนั้น สามารถใช้ความรู้สึกนั้นขัดแย้งในใจให้เป็นแรงผลักดันในการดำรงตนอยู่อย่างมีความสุข
ฝน แสงสิงแก้ว (2527) กล่าวว่า ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีมิได้หมายถึง ผู้ที่มิได้มีสุขภาพจิตแปรปรวนอย่างเดียว แต่หมายถึง ผู้ที่ปรับสภาพจิตใจให้มีความสมดุลกับสภาพแวดล้อมได้ตามวัยของชีวิต สุขภาพจิตนี้อาจเปรียบได้กับความสุขทางใจ ซึ่งเป็นนามธรรมหรือมีคุณค่าทางคุณภาพมากกว่าคุณค่าทางปริมาณ
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ (2530) ให้ความหมายสุขภาพจิตไว้ว่า สุขภาพจิต หมายถึง ความสมบูรณ์ทางจิตใจของมนุษย์ ซึ่งช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ปราศจากโรคจิต
โรคประสาท มีความสามารถในการปรับตัวต่อสังคมได้อย่างเหมาะสม ทำประโยชน์ให้แก่ตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จาโฮดา (Jahoda , 1985) ได้ทบทวนความหมายของสุขภาพจิตภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการสุขภาพและความเจ็บป่วยทางจิตใจ (Commission on Mental IIIness and Health)
ของสหรัฐอเมริกาว่า ในการพิจารณาความหมายของสุขภาพจิต สามารถพิจารณาได้ 3 ลักษณะ คือ
  1. พิจารณาถึงความสามารถในการทำงานของบุคคลนั้น โดยดูถึงลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลนั้นว่า จะสามารถเผชิญต่องานที่ทำได้อย่างไร จะมีความหนักแน่นและสามารถทำงานได้อย่างสม่ำเสมอแค่ไหน
  2. สุขภาพจิตขึ้นอยู่กับสถานการณ์รอบ ๆ ตัวของบุคคลนั้น กล่าวคือ บุคคลนั้นจะมีสุขภาพจิตดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์แวดล้อมรอบตัวเป็นสำคัญ
  3. การพิจารณาสุขภาพจิต อาจใช้ลักษณะของสังคมเป็นเกณฑ์ หรือใช้ลักษณะทางวัฒนธรรมและประเพณีของกลุ่มชนชั้นนั้นๆ เป็นหลักได้ เพราะพฤติกรรมของกลุ่มชนเป็นตัวชี้บอกมาตรฐานของสุขภาพจิต

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (2548) ให้ความหมายของสุขภาพจิตไว้ว่า
สุขภาพจิต หมายถึง สภาพความสมบูรณ์ของจิตใจซึ่งดูได้จากความสามารถในเรื่องการกระชับมิตร พิชิตอุปสรรคและรู้จักพอใจ ดังนี้
การกระชับมิตร หมายถึง ความสามารถในการผูกมิตรและรักษาความเป็นมิตรไว้ให้ได้รวมทั้งความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่นและเป็นสุข
พิชิตอุปสรรค หมายถึง ความสามารถในการแก้ปัญหาและปรับตัวให้อยู่ได้ หรือก่อให้เกิดประโยชน์ได้ในท่ามกลางความเป็นอยู่และความเปลี่ยนแปลงของสังคม
รู้จักพอใจ หมายถึง ความสามารถในการทำใจให้ยอมรับในสิ่งที่อยากได้ อยากเป็นเท่าที่ได้ ที่เป็นอยู่จริงได้ด้วยความสบายใจ
อัมพร โอตระกูล (2540) สรุปว่า สุขภาพจิต หมายถึง สภาพชีวิตที่เป็นสุขมีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ สามารถปรับตัว หรือปรับความต้องการให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเข้ากับบุคคล และเข้ากับสังคมที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น ทั้งยังก่อให้เกิดผลดีต่อตนเองอีกด้วย
สรุปได้ว่า สุขภาพจิต คือ สภาพชีวิตที่เป็นสุข มีอารมณ์มั่นคงสามารถปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีสมรรถภาพในการทำงาน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความพอใจ เป้าหมายของการเรียนรู้ วิชาสุขภาพจิต ก็คือ การทำให้ชีวิตมีความสุข ความพอใจ ความสมหวัง ทั้งของตนเองและผู้อื่น
ความสำคัญของสุขภาพจิต
สุขภาพจิต เป็นความสามารถของบุคคลในการดำเนินชีวิตให้ไปสู่เป้าหมายที่ได้กำหนด หรือคาดหวังไว้ สุขภาพจิตแฝงอยู่กับวิถีชีวิตของมนุษย์ทุกวัย จนอาจกล่าวได้ว่า สุขภาพจิตเป็นปัจจัยกำหนดความสุข และความสำเร็จในชีวิตของมนุษย์ ดังภาษิตที่กล่าวว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ ได้มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งต่อคณะจิตแพทย์ ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เมื่อวันที่ 14 .. 2520 ว่า
สุขภาพจิตและสุขภาพกายนี้ มีความสัมพันธ์ที่จะโยงกันอย่างยิ่ง พูดได้ว่าสุขภาพจิตสำคัญกว่าสุขภาพกายด้วยซ้ำ เพราะว่าคนไหนที่ทางกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่จิตใจฟั่นเฟือนไม่ได้เรื่องนั้นถ้าทำอะไรก็จะยุ่งได้ กายที่แข็งแรงนั้นก็จะไม่มีประโยชน์ต่อตนเอง หรือสังคมอย่างใด ส่วนคนที่สุขภาพกายไม่สู้แข็งแรงแต่สุขภาพจิตดี หมายความว่า จิตใจดี รู้จักจิตใจของตัว และรู้จักปฏิบัติให้ถูกต้องย่อมเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้มาก ในที่สุดสุขภาพจิตที่ดีก็อาจจะพามาซึ่งสุขภาพทางกายที่ดีได้”
การดูแลปัญหาสุขภาพจิต เป็นหน้าที่ของบุคลากรทางจิตเวช เริ่มจากการให้ความรู้ในวิธีการป้องกัน หลีกเลี่ยง สิ่งที่จะก่อให้เกิดปัญหา การรักษาเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว และด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมถึงการติดตามผลเพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ
สุขภาพจิตที่ผิดปกติ ลักษณะที่แสดงออกเริ่มตั้งแต่พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง มีผลต่อสมรรถภาพในการทำงาน รวมถึงความผิดปกติของความคิด และอารมณ์ จนถึงระดับที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้ใกล้ชิด ความมุ่งหมายในการรักษา คือ บรรเทาแก้ไขอาการที่เกิดขึ้น เพิ่มสมรรถภาพให้กลับมาสู่ปกติ การรักษาควรเริ่มจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การวินิจฉัยที่ถูกต้อง วางแผนการรักษาที่รัดกุม เต็มไปด้วยความเข้าใจและเห็นใจต่อผู้ป่วย ผู้รักษาต้องกล้าที่จะยอมรับความผิดพลาด ยอมแก้ไข แม้ปัญหาสุขภาพจิตของตนเอง
สุขภาพจิตมีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์หลายด้าน เช่น ด้านการศึกษาด้านอาชีพ ด้านชีวิตครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ด้านสุขภาพร่างกาย ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีจะประสบความสำเร็จในทุกด้าน ถ้าสุขภาพจิตดีร่างกายก็จะสดชื่น หน้าตายิ้มแย้ม สมองแจ่มใส เป็นที่สบายใจแก่ผู้พบเห็น อยากคบค้าสมาคมด้วย ทำงานสำเร็จ ศึกษาได้ตามที่วางเป้าหมายไว้
วิวัฒนาการของการดำเนินงานสุขภาพจิตในประเทศไทย (กรมสุขภาพจิต,2548)
การดำเนินงานสุขภาพจิตในประเทศไทยได้เริ่มมาประมาณ 116 ปี ในวันที่ 1 พฤศจิกายน รศ. 108 (.. 2432) โรงพยาบาลคนเสียจริตได้เปิดดำเนินการเป็นครั้งแรก มีสถานที่ตั้งบริเวณทิศเหนือของ
ป้อมปัจตามิตร ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองสาน ภายใต้การดูแลของกรมพยาบาล กระทรวงธรรมการ ได้ย้ายมาก่อสร้างในที่ดินของตระกูลสมเด็จพระยาสุริยวงศ์ไวยวัฒน์คือโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาในปัจจุบัน พ.. 2461 มีการพัฒนาด้านการบำบัดรักษา แบบตะวันตกมากขึ้น รวมทั้งมีการเผยแพร่ความรู้ทางจิตเวชศาสตร์ สุขภาพจิตและจิตวิทยา ตลอดจนขยายงานสุขภาพจิตไปยังสภาบันการศึกษา ในปีเดียวกันนี้ได้เปลี่ยนชื่อจากโรงพยาบาลตนเสียจริตเป็นโรงพยาบาลโรคจิตธนบุรี พ.. 2476 ได้โอนย้ายไปขึ้นกับกองสาธารณสุขพระนคร กรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย ระยะนี้สร้างโรงพยาบาลสุขภาพจิตขึ้นทั่วทุกประเทศ คือ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ สุราษฎร์ธานี โรงพยาบาลโรคจิตลำปาง ต่อมาย้ายไปเป็นโรงพยาบาลสวนปรุงเชียงใหม่ โรงพยาบาลศรีธัญญา นนทบุรี และโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อุบลราชธานี วันที่ 25 ธันวาคม พ.. 2482 ตั้งกองสุขภาพจิตขึ้น สังกัดอยู่ในกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย มีสำนักงานอยู่ที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา มีหน้าที่ควบคุมดูแลโรงพยาบาลโรคจิตทั้งหมด
วันที่ 10 มีนาคม พ.. 2485 ได้โอนกองสุขภาพจิตมาสังกัด กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนชื่อเป็นกองโรงพยาบาลโรคจิต และเป็นกองสุขภาพจิต เมื่อปี พ.. 2515 มีสำนักงานอยู่บริเวณวังเทวะเวสม์ สามเสนกรุงเทพมหานคร รับผิดชอบงานสุขภาพจิตทั่วประเทศมีหน่วยงานในสังกัดทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และในวันที่ 1 เมษายน พ.. 2524 ได้ย้ายที่ทำการอยู่ ณ ถนนติวานนท์ นนทบุรี จนถึงปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น