วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

กลวิธานในการปรับตัว (Defense Mechanism)


4. กลวิธานในการปรับตัว
คำว่า กลวิธาน หมายถึง การใช้กลวิธี หรือ เทคนิคในการปรับตัวเพื่อรักษาจิตใจให้อยู่ในสภาพสมดุลเพื่อทำให้เกิดความสบายใจ ไม่วิตกกังวลหรือเกิดความเครียดเพราะถ้าบุคคลใดมีสิ่งที่ทำให้ตนเองมีความทุกข์ใจ มีความวิตกกังวลใจแล้วบุคคลนั้นจะไม่มีความสุขครุ่นคิดจนทำให้จิดใจฟุ่งซ้าน วิธีที่จะทำให้คลายความวิตกกังวลใจลงได้อาจกระทำโดยใช้วิธีการต่างๆ ที่สังคมยอมรับว่าไม่ผิดปกติและส่งผลต่อจิตใจที่เกิดความปกติได้หลังจากปรับตัวแล้วนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียง เช่น ฟรอยด์ ให้ความสำคัญของการใช้กลวิธานในการปรับตัวว่า เป็นการทำให้ตัวเองลดความเครียดและเป็นเกราะป้องกันตัวเองที่ทำให้ตนเองใช้การปรับตัวแบบไม่ยอมรับความเป็นจริง (Curt and Stein 1988: 434 ) การใช้กลวิธีหรือกลวิธานในการปรับตัว (Defense Mechanism) มีดังนี้
  1. การเก็บกด (Repression)
  2. การอ้างเหตุผล (Rationalization)
  3. การโยนความผิดไปให้สิ่งอื่น (Projection)
  4. การย้อนกลับ (Regression)
  5. การชดเชย (compensation)
  6. การฝันกลางวัน (Fantasy)
  7. การนับตนเข้าเป็นพวก (Identification)
  8. การเสี่ยง (Sublimation)
  9. การกระทำตรงข้ามกับจิตใจ (Reaction – formation)
  10. การปฏิเสธ (Daniel)
  11. การชอบอวดอ้างว่าฉลาดรอบรู้ (Intellectualization)
  12. การทำอย่างอื่นแทน (Displacement)
  13. การตัดความรู้ออกไป (Isolation)
  14. การมีอาการป่วยทางกาย (Conversation)
1.การเก็บกด
ฟรอยด์กล่าวว่า การเก็บกดเป็นภาวะที่ Ego กระทำเพื่อป้องกันและมิให้การเรียกร้องของ Id เป็นจริงขึ้นเพื่อจะลดภาวะการกังวลใจของ Ego
การเก็บกดเป็นการไม่ต้องการที่จะคิด นึกถึงและกล่าวในสิ่งที่ตนเองอยากจะลืม โดยที่แกล้งลืมบ่อย ๆ จนสามารถลืมได้เอง ตัวอย่าง ผู้หญิงไทยจะต้องเก็บความรู้สึกทางด้านเพศ เพราะความเป็นกุลสตรีตามที่สังคมคาดหวังไว้ แม้จะมีความรู้สึกและความต้องการทางเพศอย่างไรจะพูดหรือจะเรียกร้องไม่ได้ การเก็บความรู้สึกเป็นอันตรายต่อต่อสุขภาพเพราะเป็นการจงใจและซ่อนความรู้สึกที่ข่มขื่นใจของตนไว้
2.การอ้างเหตุผล
เป็นภาวการณ์ที่บุคคลยกเหตุผลมาอ้างเพื่อตนเองจะมีความรู้สึกทางสบายใจแทนที่จะเกิดความกังวลใจ เช่น พ่อแท่ที่ดุร้ายและเจ้าอารมณ์มักจะทำโทษลูกอย่างรุนแรง โดยแสร้งพูดเพื่อลบล้างความผิดในด้านการทำโทษลูกรุนแรงเกินกว่าเหตุว่ากระทำเพราะรักลูก กลัวลูกเสียคน เข้าทำเอง “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี”
3.การโยนความผิดไปให้สิ่งอื่น
เป็นการลดความกังวลของตนโดยแสดงการกรำต่อสิ่งอื่น การกล่าวโทษสิ่งอื่นแทนที่จะยอมรับว่าตนเองผิด เช่น เด็กไม่สนใจการเรียนก็จะอ้างว่า แม่ให้ทำงานจนไม่มีเวลาอ่านหนังสือ แม่บ้านปรุงอาหารไม่อร่อย ก็โทษว่าเครื่องแกงไม่ดี เนื้อไม่สด ทำให้เสียรสอาหาร เป็นต้น
4.การย้อนกลับ
เป็นการแสดงพฤติกรรมดังที่เคยกระทำมาก่อนในวัยเด็ก หรือในระยะแรกๆเช่น เด็กต้องการให้แม่เอาใจตนจึงแสร้งแสดงกิริยาอาการเหมือนตนเองเป็นลูกเล็กๆ ด้วยการพูดไม่ชัด กระทืบเท้าเวลาโกรธ เป็นต้น เพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนอื่น ๆ
5.การชดเชย
เป็นการปรับตัวโดยหาจุดเด่นของตนเองมาทดแทนความบกพร่องของตนเพื่อจะลดความด้อยของตนเอง เช่น หญิงสาวที่หน้าตาไม่สวยจะพยายามแต่งกายให้เด่น โดยใช้สีฉูดฉาด แต่งหน้าเข้ม เป็นต้น
คนบางคนพยายามพัฒนาความสามารถของตนในด้านอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างความเก่งในด้านอื่น เช่น นโปเลียนมีรูปร่างเตี้ย แต่เป็นนักรบที่มีความสามารถ ปีโธเฟนนักดนตรีก้องโลก ชาวเยอรมัน แต่ความเป็นจริง เป็นคนหูหนวก เป็นต้น

6. ฝันกลางวัน
เป็นการสร้างจินตนาการโดยสร้างจุดมุ่งหมายเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของตนเองเพราะชีวิตของตนเองไม่ประสบความสำเร็จเลย เช่น วัยรุ่นสร้างจินตนาการว่า ตนเองเป็นคนเรียนเก่ง หรือเป็นนักกีฬาที่คนมากมายชื่นชอบ เป็นต้น
การสร้างวิมานในอากาศนี้เป็นการช่วยลดความตึงเครียดและกังวลใจได้แต่ถ้าพฤติกรรมบ่อยๆ เป็นประจำ จะทำให้มีบุคลิกภาพที่ไม่ยอมรับความจริงและนาน ๆ เข้าจะมีอาการของโรคประสาทและโรคจิตเพราะไม่ยอมรับและรับรู้โลกของความจริง
7. การนับตนเข้าเป็นพวก
เป็นการปรับตัวโดยนำตนเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและคิดว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งในเหตุการณ์นั้น เช่น เมื่อตนดูละคร ตนเองมีความรู้สึกว่าเป็นตัวละครนั้น มีความปรารถนาเป็นตัวเอกนั้น
8. การเลี่ยง
เป็นการแสดงพฤติกรรมในด้านการแสดงพลังงานทางเพศออกมาในรูปของงาน สร้างสรรค์ งานศิลปะ งานพัฒนา งานที่เป็นพระโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม เพื่อแสดงความรู้สึกของตนเองไปสู่งานแทน เป็นต้น
9. การกระทำตรงกันข้ามกับใจคิด
เป็นการแสดงพฤติกรรมไม่ตรงกับความรู้สึกและความนึกคิดจริง ๆ ของตน เช่น ภรรยาหลวงและภรรยาน้อยแสร้งทำดีต่อกัน แต่ความจริงแล้วเพียงเพื่อแสร้งทำเท่านั้น คนบางคนแกล้งแสดงตัวเป็นคนใจดีต่อคนอื่น ๆ ซึ่งความจริงเป็นคนที่มีจิตใจดุร้าย เป็นต้น
10. การปฏิเสธ
เป็นการไม่ยอมรับความจริงเพื่อป้องกันตัวเองทั้งๆ ที่ความจริงแล้วตนเองไม่สบายใจเลย เช่น แม่ที่มีลูกปัญญาอ่อนมากพยายามปฏิเสธว่าลูกไม่เป็นเช่นนั้น ผู้หญิงที่ป่วยหนักคิดว่าตนเองต้องหายและจะต้องกลับมาบ้าน เป็นต้น

11. การชอบอวดอ้างว่าฉลาดรอบรู้
เป็นการแสดงว่าตนเองมีความรู้ ฉลาดรู้ทันไม่ว่าจะเป็นภาคทฤษฎีหรือหลักฐานความรู้ โดยพูดอวดกับคนอื่นๆ เช่น ชายคนหนึ่งอวดว่าเขารู้เรื่องการขับรถทุกประเภท แม้กระทั่งขับเครื่องบินก็ได้เป็นต้น
12. การทำอย่างอื่นแทน
การป้องกันตัวประเภทนี้บุคคลไม่สามารถแสดงความคิดเห็น โต้แย้ง ต่อต้านกับคนที่ต้องการจะแสดงพฤติกรรมได้ เลยไปแสดงตอบโต้กับคนอื่นแทน เช่น ชายที่ถูกภรรยาตำหนิ เขาไม่สามารถจะตอบโต้ได้เพราะกลัวเกรงภรรยา เมื่อมาที่ทำงานเขาจึงหาเรื่องดุว่าลูกน้องในที่ทำงานแทน เป็นต้น
13. กี่ตัดความรู้สึกออกไป
เป็นการตัดความรู้สึกนึกคิดที่ทำให้ตนเองมีความทุกข์ ความวิตกกังวลใจออกไป เช่น เด็กที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ เลยมาสอบเข้าที่วิทยาลัยครูแทนเด็กคนนี้ปลอบใจตนเองว่า เรียนในมหาวิทยาลัยอาจจะหางานทำไม่ได้ การเป็นครูเป็นอาชีพที่ดีและหางานในชนบทได้ถ้าไม่เลือกมากนัก เป็นต้น
14.การมีอาการป่วยทางกาย
บุคคลที่มีความขัดแย้งและมีความวิตกกังวลใจมากๆ จะมีความรู้สึกว่าตนเองค่อยสบาย หายใจไม่ออก มีอาการป่วยทางกายหลายอย่าง เช่น ปวดศีรษะ ใจสั่น อ่อนเพลีย ท้องอืด เป็นต้น
การปรับตัวโดยใช้กลไกของการป้องกันตัวดังกล่าว เป็นวิธีที่ยอมรับกันว่าไม่ผิดปกติหรือมีความแปลกซึ่งคนส่วนใหญ่ปลอบใจตนเองว่า ทำให้ตนเองสบายใจและไม่เป็นคนทีมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
สรุปแล้วการใช้กลวิธานในการปรับตัวของบุคคลจ่าง ๆ นั้น จัดเป็นกลุ่มได้ดังนี้
  1. กลุ่มที่ใช้กลวิธานประเภทปฏิเสธหรือไม่ยอมรับความจริง
การใช้กลวิธานแบบนี้เกี่ยวข้องกับความรู้สึกผิดชอบ ความละอายใจ เสียความภาคภูมิใจในตนเอง คนมักจะใช้การเก็บกดความรู้สึก (repression) ของตนไว้ในจิตใต้สำนึกหรือพยายามจะลืม
  1. กลุ่มที่ใช้กลวิธานประเภทบิดเบือนความจริงหรือหลอกตนเอง
กลุ่มนี้ใช้วิธีดังนี้
2.1 Rationalization เป็นการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง เพื่อรักษาหน้าและกลบเกลื่อนเหตุผลที่แท้จริง การอ้างเหตุผลมี 2 ลักษณะ คือ
2.1.1 องุ่นเปรี้ยว (Sour Lemon)เป็นการบอกว่าสิ่งที่เราไม่สามารถหามาได้เพราะว่าไม่ดีจึงไม่อยากได้
2.1.2 มะนาวหวาน (Sweet Lemon) เป็นการอ้างเหตุผลว่าตนเองมีความยุ่งยาก
2.2 Projection เป็นการโยนความผิดให้แก่คนอื่นเพื่อทำให้ตนสบายใจและพ้นจากความผิดเข้าทำนองว่า “รำไม่ดี โทษปี่โทษกลอง”
2.3 Displacement เป็นการถ่ายเทความขุ่นมัวทางอารมณ์จากบุคคลหนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่ง จัดเป็นประเภท “หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว”
2.4 Reaction Formation เป็นการแสดงพฤติกรรมตรงกันข้ามกับความรู้สึกที่แท้จริงหรือต้องการที่จะกลบเกลื่อนความรู้สึกจริง ๆ เช่น เดินคนเดียวมืดๆ รู้สึกหวาดกลัวจึงร้องเพลงปลอบใจเพื่อแสดงว่าตนเองไม่กลัวผิด
3. กลุ่มที่ใช้กลวิธานประเภทหลบหนีความจริง
กลุ่มนี้ใช้วิธีดังนี้
3.1 Regression เป็นการแสดงพฤติกรรมแบบถอยหลังไปเป็นเด็กเพื่อหลบหนีจากความจริง เช่น การทำเสียงดัง ร้องไห้เหมือนเด็ก พูดไม่ชัด ปัสสาวะรดที่นอน เป็นต้น
3.2 Conversation เป็นการแสดงการหนีจากเหตุการณ์รุนแรงโดย การเจ็บป่วย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง ชาตามแขนามขา ปวดท้อง เป็นต้น
3.3 Isolation เป็นการแยกตัวเพื่อหนีจากเหตุการณ์ที่ไม่ปรารถนาเพราะไม่ต้องการเผชิญกับความจริงที่ตนเองไม่ชอบ
3.4 Fantasy เป็นการแสดงจินตนาการสร้างวิมานในอากาศว่าตนเองได้รับความสุขสมหวังทั้ง ๆ ที่ในชีวิตจริงมีแต่ความไม่สบายใจ เช่น อยากเป็นคนเด่นดังในโลก อยากเป็นดารา เป็นต้น
3. 5 Danial เป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเพราะกระทบกระเทือนอารมณ์และทำตนเองเศร้าเสียใจเกินกว่าจะสร้างความสดชื่นให้เกิดขึ้นได้
4. กลวิธานประเภทปะทะสถานการณ์หรือก้าวร้าว
เป็นการระบายความกดดัน ความทุกข์ยากของตนเองโดยการทะเลาะกับคนอื่น การทำลายข้าวของหรือใช้วาจาดุด่า ข่มขู่ อย่างหยาบคาย การก้าวร้าวอาจแสดงออกในรูปของการกระทำและการใช้คำพูดเสียดสี ประชดประชัน
5. กลุ่มที่ใช้กลวิธานประเภทประนีประนอม
การปรับตัวแบบเปลี่ยนแปลงการกระทำและเปลี่ยนจุดมุ่งหมายบางประการ แม้จะตรงกับความปรารถนาเดิม แต่สามารถลดความตึงเครียดลงได้ เช่น
5.1 Compensation เป็นการแสดงการกระทำในรูปอื่นเพื่อทดแทนความผิดหวังหรือทดแทนปมด้อยของตนเอง เช่น เรียนไม่เก่งแต่เล่นกีฬาเก่งแทน
5.2 Sublimation เป็นการแสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนจากสังคมไม่ยอมรับเป็นพฤติกรรมที่สังคมยอมรับเพื่อเป็นการประนีประนอมสถานการณ์ หรือเปลี่ยนแปลงรูปของอารมณ์และพฤติกรรมที่เป็นโทษมาเป็นคุณ เช่น การเป็นนักมวย เพื่อระบายอารมณ์ ความรู้สึกก้าวร้าว รุนแรง การเป็นนักดนตรี นักประพันธ์ นักศิลปะ เพื่อระบายความรู้สึกเก็บกดทางด้านเพศ ความไม่สบายใจ เป็นต้น
5.3 Substitution เป็นการแสดงออกเพื่อทดแทนหรือชดเชยความผิดหวังหรืออุปสรรคที่ตนเองแก้ไขไม่ได้ เช่น เป็นครูไม่ได้ก็เป็นผู้ช่วยครูแทน แต่งงานกับพี่ไม่ได้ก็แต่งงานกับน้องแทน
5.4 Symbolization เป็นการใช้สัญลักษณ์แทนความคิดหรือความรู้สึกที่ไม่เปิดเผยได้ เช่น การระบายความรู้สึกทางเพศได้ โดยการพูดในเชิงหลายแง่ตีความหมายทางติดตลก เป็นต้น
5.5 Identification เป็นการเลียนความคิด พฤติกรรมของคนอื่นมาเป็นตนเองเพื่อทำตนให้เหมือน เพื่อให้ตนเองได้รับการยอมรับจากสังคมและตนเองเกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น เช่น การเลียนแบบดารา ลูกชายแสดงพฤติกรรมเลียนแบบบิดา เป็นต้น
8.7 การปรับตัวของบุคคลในวัยต่าง ๆ
ก่อนที่จะศึกษาเรื่องการปรับตัวของบุคคลต่างวัยนั้น เรามาพิจารณาเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์แต่ละวัยว่าแตกต่างกันอย่างไร
8.8 พัฒนาการของบุคคลในวัยต่าง ๆ
8.8.1 วัยเด็กตอนต้น
ลักษณะทั่วไปของวัยเด็กมีดังนี้
  1. พัฒนาการทางร่างกาย
ร่างกายพัฒนาอย่างรวดเร็ว ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพัฒนา ฟันน้ำนมเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 7 เดือน ฟันแท้เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6 ปี กล้ามเนื้อมัดใหญ่ พัฒนามากกว่ากล้ามเนื้อมัดเล็ก เด็กมีทักษะทางการเคลื่อนไหวและการทรงตัว เช่น การวิ่ง กระโดด แต่กล้ามเนื้อมัดเล็กและสายตายังไม่พัฒนาเต็มที่ จะเห็นได้จากการจับช้อน ปากกา ดินสอ การเขียน การวาดภาพ
  1. สติปัญญา
มีการพัฒนาอยู่ระดับ (preoperational Thought period) เด็กมีการรับรู้โดยการสังเกตเห็นความแตกต่างทางรูปธรรม ยังไม่มีการคิดโดยใช้เหตุ ผลทางปัญหา ตัวอย่าง

ความคงที่ของจำนวน


-เด็กจะตอบว่ามีจำนวนเท่ากัน -เด็กจะตอบส่าแถวบนมีจำนวนมากกว่า
มวลสาร
-เด็กบอกว่ามีขนาดเท่ากัน -เด็กจะบอกว่าก้อนกลมเล็กกว่า

ความยาว


-เด็กบอกว่าไม้ 2 ท่อนมีขนาดเท่ากัน -เด็กบอกว่าไม้ 2 ท่อนยาวไม่เท่ากัน
ปริมาตร



-นำลูกบอลใส่ในแก้ว -นำลูกบอลขึ้นจากแก้วใบหนึ่ง
เด็กบอกว่าน้ำในแก้วสูง เด็กบอกว่าน้ำในแก้วไม่เท่ากัน
เท่ากัน



3.พัฒนาการทางภาษา
เข้าใจคำศัพท์ไม่มาก แต่มีวงคำศัพท์กว้างจากคำที่อยู่รอบ ๆ ตัวและเข้าใจคำศัพท์ของสิ่งแวดล้อม รู้จักพูดประโยคสั้น ๆ ได้
4.อารมณ์
มีความอยากรู้อยากเห็น สนใจเรื่องรอบตัว ช่างพูด ช่างซักถาม ดื้อ อิจฉา และก้าวร้าว กลัวจินตนาการ กลัวความมืด กลัวสัตว์ร้าย
5.พัฒนาการด้านบุคลิกภาพ
ตามทฤษฎีอีริคสัน วัยเด็กอยู่ในขั้นความรู้สึกด้านความคิดสร้างสรรค์ ความรู้สึกผิด ถ้าเด็กได้กระทำความดี ทำให้ช่วยเหลือผู้ใหญ่แต่ผู้ใหญ่ไม่ชื่นชม ได้แต่ตำหนิ เด็กจะรู้สึกว่าตนเองมีความผิด

ส่วนทฤษฎีของโคลเบอร์กอยู่ในขั้นการลงโทษและคำสั่ง อายุประมาณ 5 ปี การกระทำของเด็กอยู่ในระดับกระทำตามผู้ใหญ่สั่งเพื่อหลีกเลี่ยงการพูดลงโทษ
ทฤษฎีฟรอยด์ วัยนี้มีความเห็นแก่ตัว(Id) ไม่สนใจด้านการใช้เหตุผล มีความเห็นแก่ตัว (Egocentric) เวลาเล่นจะสนใจตนเอง ไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่น และการมีเหตุผล (Ego) ในปลายวัยเด็กตอนต้นจะเริ่มมีเหตุผลบ้าง (Ego)

เด็กชายและเด็กหญิงจะพัฒนาปมออดิปุสและปมอีเล็คตร้า (Oedipus and Electra Complex) โดยเด็กชายจะชอบแม่ ส่วนเด็กหญิงจะชอบพ่อ ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงจะเลียนแบบการแสดงพฤติกรรมและเลียนแบบบทบาททางเพศของพ่อและแม่

ฟรอยด์กล่าววว่า การปรับตัวของเด็กวัยตอนต้นมีดังนี้
  1. การเก็บกด (Repression)
  2. การสะกดกั้น (Subpression)
  3. การทดแทน (Sublimation)
  4. การย้ายที่ความโกรธ (Displacement)
  5. การชดเชย (Compensation)
  6. การทำปฏิกิริยาตรงกันข้าม (Reaction Formation)
  7. การหาเหตุผลอ้าง (Retionalization)
  8. การแยกตัวออกจากผู้อื่น (Isolation)


      1. เด็กวัยตอนกลาง
ลักษณะทั่วไป
1.พัฒนาการทางร่างกาย
โดยทั่วไปความรวดเร็วในการเจริญเติบโตเริ่มช้าลง และเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เด็กหญิง จะมีอัตราพัฒนาการทางร่างกายเร็วกว่าเด็กชาย 1 ปี 1 ปีครึ่ง เด็กชายและเด็กหญิงจะเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นเมื่ออายุรวม 10-11 ปี หรืออาจเร็วกว่านั้นเล็กน้อยในรายที่เด็กมีความสมบูรณ์ และแข็งแรงกว่าคนอื่น ๆ ในระดับอายุเท่ากัน
เด็กหญิงและเด็กชายจะมีอัตราของส่วนสูงและน้ำหนักเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปเด็กชายจะมีอัตราความสูงมากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย กระดูกจะยาวและใหญ่ขึ้น กระดูกแขน






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น