วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

สุขภาพจิตและการปรับตัว


สุขภาพจิตและการปรับตัว

คำกล่าวที่ว่า “จิตอันสบายอยู่ในกายอันผาสุก” มีความเป็นจริงอยู่มากทีเดียว เมื่อใดร่างกายเจ็บปวด เรามักมีอารมณ์หงุดหงิด คิดสิ่งใดไม่ค่อยออก และถ้าจิตเศร้าหมองกินไม่ลงนอนไม่หลับ ร่างกายทรุดโทรมเห็นได้ชัด ในบางครั้งอาจมีโรคแทรกซ้อนได้ง่าย สุขภาพที่เปลี่ยนไป เราสังเกตเห็นได้ง่ายกว่าสุขภาพจิต ยิ่งกว่านั้นเครื่องมือทางการแพทย์ในปัจจุบันช่วยให้การศึกษาสุขภาพกายได้ง่ายขึ้น ส่วนสุขภาพจิตที่ดีเราพอจะตรวจสอบ โดยอาศัยข้อสังเกตพฤติกรรมบางประการดังนี้คือ
ผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดี
1. มีปรัชญาชีวิต2. มีความจริงใจต่อผู้อื่น 2. สามารถเผชิญกับความจริง 3. มีอารมณ์ขัน 4. นับถือตนเองและผู้อื่น 5. มีความกระตือรือร้นในชีวิตไม่เบื่อหน่ายท้อแท้ 6. มีเป้าหมายที่อยู่ในแนวความสามารถของตัวเอง 7. มีความสนใจกว้างขวาง 8. ใช้ศักยภาพของตนเต็มที่ในการทำงานและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ 9. เป็นผู้รู้จักหาประโยชน์จากประสบการณ์และหมั่นแสวงหาความรู้เพื่อปรับปรุงความสามารถของตนเอง
ฯลฯ
สำหรับสุขภาพจิตไม่ดี ซึ่งมีอาการทางโรคจิตที่พอจะทราบได้จากลักษณะอาการโรคดังต่อไปนี้
  1. Paychoses แบ่งออกเป็น Schizophrenic reaction,Manic Depressive reaction,Paychosoma-tic disorder ฯลฯ
  2. Neuroses แบ่งออกเป็น Conversion react-ion, Obsessive Compulsive, Phobic Reaction, Anxiety Reaction

เมื่อคนเรามีปัญหาหรืออุปสรรค โดยปกติคนจะหาทางแก้ไขหรือเอาชนะอุปสรรคนั้นๆ ในทางด้านร่างกายมีระบบที่ใช้กลไกต่างๆ ซึ่งเป็นอวัยวะในการปรับตัว เช่น เมื่ออากาศหนาว ร่างกายถูกกระตุ้นให้สั่นสักครู่ ความรู้สึกหนาวจะทุเลา แต่ทางด้านจิตใจนั้น อาศัยกลไกทางจิตใจการปรับตัวซึ่งรู้จักกันในนาม “Defense Mechanism” คือวิธีการทีบุคคลพยายามรักษาศักดิ์ศรีของตัวเอง และพยายามขจัดความวิตกกังวลใจหรือความไม่สบายใจต่างๆ ทั้งระดับ Conscious และ Unconscious


พฤติกรรมที่แสดงออกมีมากมายหลายแบบดังจะกล่าวพอสังเขปคือ
  1. Rationalization ได้แก่ การหาเหตูผลที่สังคมยอมรับ ทำนององุ่นเปรี้ยวมะนาวหวาน
  2. Compensation เป็นพฤติกรรมชดเชยสิ่งที่ตนเองไม่มีหรือเป็นปมด้อย เช่นเรียนไม่เก่ง หันไปเอาดีทางกีฬาซึ่งเป็นการหักเหความสนใจออกจากข้อบกพร่องของตนด้วย
  3. Identification เป็นการทำตนให้เป็นส่วนหนึ่งของพวกพ้อง เช่น เอาตราโรงเรียนหรือสถาบันต่างๆมาติดกระจกรถยนต์
  4. Repression เป็นการเก็บกดความรู้สึกต่างๆ เช่น โกรธเพื่อนแต่ทำอะไรเขาไม่ได้ ตัวเองต้องหวานอมขมกลืนไปเรื่อยๆ
  5. Regression เป็นพฤติกรรมถดถอยไปสู่อดีต เช่น ไม่ได้ดั่งใจปรารถนาก็จะกระทืบเท้า ซอยเท้า เหมือนที่เคยทำสมัยเด็กๆ
  6. Reaction Formation เป็นการซ้อนเร้นความรู้สึกที่แท้จริง และพยายามแสดงออกในรูปแบบที่สังคมยอมรับ เช่น มนชายเกลียดมานวิกาแต่เวลาเจอกันต่อหน้าผู้
อื่น มนชายแสดงทำทีเป็นมิตรสนิทสนมมาก ตรงกันข้ามกับจิตใจที่กำลังด่าทอหรือแช่งชักหักกระดูก
ฯลฯ
การใช้ Defense Mechanism เหล่านี้ แม้จะไม่ใช่เป็นการป้องกันหรือแก้ปัญหา แต่ก็จะเป็นการยืดเวลาในการแก้ปัญหา และเป็นการช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดจนกว่าจะหาหนทางแก้ปัญหาได้ บางครั้งช่วยให้เกิดความสร้างสรรค์ขึ้นในสังคมด้วยซ้ำไป















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น