วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

สิ่งแวดล้อมด้านชีวกายภาพ ( biophysical environment ) สิ่งแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม ( socio-cultural environment )



1. สิ่งแวดล้อมด้านชีวกายภาพ ( biophysical environment ) คือสิ่งแวดล้อมที่ที่มองเห็นได้สัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 เช่น มนุษย์ สัตว์ พืช ดิน น้ำ ภูมิอากาศ รถยนต์ ถนน สิ่งก่อสร้าง ความหนาแน่นของประชากร
2. สิ่งแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม ( socio-cultural environment ) คือสิ่งแวดล้อมที่ไม่เห็นโดยตรงแต่สัมผัสได้โดยทางจิตใจ หรือความรู้สึกนึกคิด ได้แก่ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ความเชื่อ ความรู้สึก บุคคล ประเพณีวัฒนธรรม ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตได้เช่นกัน เช่น โคโร (โรคจู๋ในประเทศไทย) ซึ่งเป็นโรคประสาทอุปทาน พบได้บ่อยในชุมชนที่มีความเชื่อทางไสยศาสตร์ และเกี่ยวโยงกับประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น สิ่งแวดล้อมที่เป็นเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงในชีวิตก็มีผลกระทบต่อจิตใจ เช่น ความผิดหวัง เรื่องความรัก การทำงาน หรือเหตุการณ์ที่ต้องเผชิญอันตรายร้ายแรง จะเป็นตัวกระตุ้นให้คนที่มีบุคลิกภาพอ่อนแอเกิดความคับข้องใจมากขึ้นจนปรับตัวไม่ได้ และเกิดปัญหาสุขภาพจิตในที่สุด
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมอื่น เช่น การอยู่ในระดับสังคมที่ต่ำ ฐานะยากจนเป็นสาเหตุของโรคจิตเภท ( schizophrenia ) มากกว่าคนที่อยู่ในระดับความเป็นอยู่ที่ดีกว่า จากการศึกษายังไม่สามารถพิสูจน์ได้ อย่างไรก้อตามพบว่า ปัจจัยทางสังคมนี้ เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการในผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ความเสี่ยงของแต่ละบุคคลอาจเป็นผลจากทั้งด้านพันธุกรรมหรือจากการเลี้ยงดู
สภาพแวดล้อมทำให้เกิดความเครียดเรื้อรัง และมีผลต่อสุขภาพจิตของคน โดยเฉพาะการอยู่ในที่แออัด อากาศเป็นพิษ มีเสียงดัง มีกลิ่นเหม็น การอบรมเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง ปล่อยปละละเลยขาดความอบอุ่น สิ่งแวดล้อมที่เป็นสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงในชีวิตก็มีผลกระทบต่อจิตใจ เช่น ความผิดหวัง เรื่องความรัก การทำงาน การเกิดภัยธรรมชาติน้ำท่วม แผ่นดินไหว วินาศภัย ไฟไหม้ สงคราม ภาวะวิกฤตบ้านเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้มีผลกระตุ้นให้คนที่มีบุคคลิกภาพอ่อนแอเกิดความคับข้องใจมากขึ้น จนปรับตัวไม่ได้ และเกิดปัญหาสุขภาพจิต ปัจจัยด้านความแออัดและความหนาแน่นของประชากร พบว่า ความแออัดในที่อยู่อาศัยทำให้เกิดความเครียดเรื้อรัง และมีผลต่อสุขภาพจิต การอพยพย้ายถิ่นมีผลต่อสุขภาพ สังคม จิตวิทยาของผู้ย้ายถิ่น เช่น ผู้ย้ายถิ่นจะเกิดความรู้สึกหมดความผูกพันกับสิ่งเดิม เกิดความลำบากในการปรับตัวในถิ่นใหม่ เกิดความคับข้องใจในความคาดหวัง ถ้าถิ่นใหม่นั้นไม่เป็นไปตามที่คาดคิด ขาดคนรู้จักหรือขาดเพื่อนให้กำลังใจ ความรู้สึกดังกล่าวจะทำให้ผู้อพยพย้ายถิ่นเกิดปัญหาทางสุขภาพจิตหรือพฤติกรรมเบี่ยงเบน มลพิษทางเสียง เสียงที่ดังเกิน 85 เดซิเบลทำให้เกิดความรำคาญ อารมณ์เสีย นอนอไม่หลับ ปวดศรีษะ มลพิษทางอากาศ ที่มีสารพิษเจือปน เช่น ฝุ่นละออง ไอควัน ไอระเหย ก๊าซ สารพิษ และกลิ่น ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ พืช สัตว์ ซึ่งผลเสียต่อ สุขภาพกายและสุขภาพจิต
2. มุมมองด้านสังคมวิทยา ได้มีการอธิบายสาเหตุของความผิดปกติทางจิตไว้ 5 แนวคิด คือ
2.1 แนวคิดทางการแพทย์ อธิบายโรคจิตเหมือนกับโรคทางกายอื่นๆ และรักษาโดยยาหรือการทำช็อคไฟฟ้า
2.2 แนวคิดทางจิตวิเคราะห์ เชื่อว่า ความผิดปกติทางจิตเกิดจากสาเหตุภายในจิตใจที่ไม่สามารถปรับกลไกทางจิตให้เหมาะสมได้ ซึ่งรากฐานมาจากทฤษฎีของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ แนวคิดนี้กล่าวว่าการรักษาควรใช้วิธีจิตบำบัดแบบจิตวิเคราะห์
2.3 แนวคิดทางการเรียนรู้ มีรากฐานมาจากทฤษฎีของพาฟลอฟ และ ธอร์นไดค์ เชื่อว่าคนเรามีความผิดปกติทางจิตใจเพราะถูกฝึกฝนเรียนรู้มาเช่นนั้น จนเกิดเป็นความเคยชิน การรักษาควรใช้พฤติกรรมบำบัด
2.4 แนวคิดของ โทมัส ซาซ ( thomus szaz อ้างถึงใน อัมพร, 2538 ) เชื่อว่า ความผิดปกติทางจิตไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการที่เกิดจากผลของปัญหาที่มนุษย์ต้องเผชิญในชีวิต
2.5 แนวคิดทางด้านความเครียด กล่าวว่า ความเครียดเป็นภาวะทางจิตใจและร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่ถูกกระตุ้นให้แสดงออกต่อสภาวการณ์แวดล้อม เป็นการปรับตัว ในรูปแบบของการต่อสู้หรือถอยหนี จิตใจและร่างกายที่ถูกกระตุ้น จะเกิดเป็นอาการกลัวหรือวิตกกังวลในระดับที่แตกต่างกันเมื่อเกิดบ่อยทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทได้
3. มุมมองทางด้านจิตวิทยา เป็นอีกมุมมองหนึ่งของปัจจัยหรือสาเหตุของความผิดปกติทางจิตที่อธิบายว่าเกิดจาก ปัจจัยภายนอก และภานอกตัวบุคคล
ปัจจัยภายในบุคคล ได้แก่ สาเหตุทางร่างกาย เมื่อเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง และความพิการของอวัยวะที่สำคัญ ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวน หรือความรู้สึกเปลี่ยนไปจากปกติ เช่น หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย เนื่องจากกายและใจมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด สาเหตุทางจิตใจ จากความผิดหวัง ทำให้เกิดความคับข้องใจ ความขัดแย้งในใจ เกิดการผิดปกติทางจิตได้
ปัจจัยภายนอกบุคคล ได้แก่ สาเหตุจากครอบครัว สัมพันธภาพของคนในครอบครัว สภาพจิตใจที่แตกต่างกันมาจากการเลี้ยงดูที่ต่างกัน วัฒนธรรมและค่านิยมของสังคม หากมีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมประเพณีอย่างรวดเร็ว จะทำให้คนเราปรับตัว ไม่ทันโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เป็นผู้ใหญ่ เพราะคนเหล่านี้จะรู้สึกว่า วัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปนั้นขัดกับความรู้สึกที่ตนได้รับการอบรมมา ทำให้เกิดความสับสน และความขัดแย้งในใจ นอกจากนี้สาเหตุจากภาวการณ์แวดล้อมต่างๆ เหตุการณ์ หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตของช่วงวัยต่างๆ ที่คนเราเผชิญ หรือปรับตัว หากไม่ซับซ้อนมากก็ไม่เกิดปัญหา แต่หากมีความซับซ้อนมากก็ทำให้การปรับตัวมีความยากลำบาก ภาวการณ์นี้ยังรวมถึงภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ สงคราม วิกฤตบ้านเมือง เช่น จลาจล วิกฤตเศรษฐกิจ
แม้ว่าความโน้มเอียงในการศึกษาปัจจุบัน จะหันไปสู่ปัจจัยทางชีวภาพในการหาสาเหตุการเกิดปัญหาสุขภาพจิต และการเจ็บป่วยหรือการเกิดโรคทางจิตเวช แต่การนำปัจจัยอื่นๆมาพิจารณาร่วมด้วยนั้น จะช่วยให้เกิดความเข้าใจสาเหตุของปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น และจะนำไปสู่การให้การส่งเสริมสุขภาพจิต การป้องกันปัญหาสุขภาพจิต และการร่วมวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วย รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพจิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขอบเขตของงานสุขภาพจิต
งานสุขภาพจิตเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ทั้งที่มีสุขภาพจิตในระดับปกติ จนถึงระดับการเจ็บป่วยทางจิตเวช ขอบเขตของงานสุขภาพจิต มีขอบเขตของงานสุขภาพจิต มีขอบเขตที่สอดคล้องกับภารกิจของงานด้านสุขภาพหรืองานสาธารณะสุข ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันและควบคุมโรค การให้การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพจิต ดังนี้
  1. การส่งเสริมสุขภาพจิต การเตรียมพร้อม ดูแลสุขภาพจิตให้แข็งแรง เข้มแข็ง ทั้งระยะก่อนคลอด โดยการให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์
  2. การป้องกัน ควบคุมโรค และปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะกลุ่มหรือบุคคลที่มีภาวะเสี่ยง
  3. การรักษาพยาบาลผู้ที่มีปัญหา หรือป่วยด้วยโรคทางจิตเวช
  4. การฟื้นฟูสภาพจิตในจผู้ป่วย และได้รับการรักษา

มีการเปรียบเทียบให้เห็นถึงขอบเขตทางศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กัน ดังนี้ (อัมพร,2538)
วิชาสุขภาพจิต (mental health) คือศาสตร์ที่จะสงวนไว้ซึ่งสุขภาพจิตที่ดีและส่งเสริมสุขภาพจิต เป็นเรื่องราวที่รวบรวมวิธีการทั้งหลายในการป้องกันความผิดปกติของจิตใจ ในขณะเดียวกัน ก็เป็นเรื่องราวที่ช่วยในการปรับตัวของมนุษย์
จิตเวชศาสตร์ (psychiatry) เป็นวิชาที่ว่าด้วยการเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจของมนุษย์ซึ่งต้องการความช่วยเหลือและรักษา กล่าวถึงโรคต่างๆ ของการเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจรวมถึง แนวทางการรักษาด้วยวิธีการต่างๆอย่างละเอียด
สุขภาพจิตชุมชน (community mental health) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาสุขภาพจิต ซึ่งนำเอาหลักสาธารณะสุขศาสตร์ไปประยุกต์ในการป้องกันปัญหาการเจ็บป่วยทางจิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น