วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพ (ปราโมทย์, 2548 ; อัมพร,2540; บุญวดี ,2539)


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพ 
(ปราโมทย์, 2548 ; อัมพร,2540; บุญวดี ,2539)

        แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปัญหาสุขภาพจิตมีหลายมุมมอง เนื่องจากจิตใจของมนุษย์เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ความผิดปกติทางจิตเป็นภาวะที่ค่อนข้างยุ่งยาก ซับซ้อน และมีสาเหตุจากหลายปัจจัยมุมมองของการเกดปัญหาสุขภาพจิตของศาสตร์ด้านต่างๆ จึงมีความแตกต่างกัน สามารถจำแนกได้ 3 มุมมองได้แก่ 1. มุมมองด้านการแพทย์ ได้อธิบายสาเหตุความผิดปกติทางจิต โดยมีฐานความคิดอยู่ 3 ทฤษฎี 1.1 ทฤษฎีที่เชื่อว่าความผิดปกติทางจิตเกิดจากพันธุกรรม การศึกษากลุ่มแฝดคนละใบจำนวน 5,000 คู่ ซึ่งหนึ่งคนในคู่แฝดถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท พบว่าร้อยละ 15 ของคู่แฝดเป็นโรคนี้เช่นกัน และในกลุ่มแฝดไข่ใบเดียวกันพบร้อยละ 86 เช่นเดียวกันกับการศึกษาของประเทศอังกฤษ ที่พบว่า แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน มีโอกาสเป็นโรคจิตเภทได้มากกว่าแฝดที่เกิดจากไข่คนละใบและไม่ใช่พบเฉพาะในโรคจิตเภทเท่านั้น ยังพบลักษณะถ่ายทอดทางพันธุกรรมในโรคอารมณ์แปรปรวน (mood disorder) และโรคประสาทย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive) (Kaplan and Sadock,1985 ; Gottesman,1991) ปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นปัจจัยที่ค้านกับความเห็นเกี่ยวกับอาการทางจิตเวทที่ว่าเป็นผลจากการเลี้ยงดู หรือความเครียด โรคทางจิตเวทในปัจจุบันที่พบว่า พันธุกรรมมีบทบาทในการเกิดโรคอย่างมาก คือ โรคอารมณ์แปรปรวน(mood disorder) โรคจิตเภท (schizophrenia) และภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์(Alzheimer’s disease) โอเวน โอโดโนแวนและกอตแมน คาลแมน และซาดอค (Owen and Gottesman,1991,2002 ; Kallman,1946 and Sadock, 1985) ได้รายงานการศึกษาโรคอารมณ์แปรปรวนในผู้ป่วย พบว่ามีพี่น้องพ่อแม่เดียวกันที่ป่วยเป็นโรคนี้ด้วยร้อยละ 23 แต่มีพี่น้องต่างพ่อแม่กันที่ป่วยเป็นโรคนี้เพียงร้อยละ 17


1.2 ทฤษฎีที่เชื่อว่า ความผิดปกติทางจิตเกิดจากสาเหตุทางกาย กลุ่มทฤษฎีนี้ เชื่อว่าโรคจิตมีสาเหตุจากความผิดปกติทางรางกายในระบบใดระบบหนึ่ง ซึ้งส่วนใหญ่เป็นพยาธิสภาพของสมอง ความผิดปกติของการเผาผลาญอาหาร (metabolism) หรือความผิดปกติของต่อมไร้ท่อเป็นการสะท้อนความเชื่อที่ว่า การทำงานของสมองทำให้เกิดพฤติกรรม ความคิดและอารมณ์มิใช้เพียงจิตใจ ซึ่งเสมือนนามธรรม มีการศึกษาสมองทั้งในแง่กายวิภาค (neuroanatomy) สรีรวิทยา (neurophysiology) และชีวเคมี (neurobiochemistry) โดยเฉพาะด้านชีวเคมีซึ่งได้รับการศึกษาและพิสูจน์จนได้คำตอบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระดับการสื่อสารประสาท (neurotransmitters) ต่างๆกับการเกิดโรคและอาการทางจิตเวชอย่างมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา การศึกษาความผิดปกติทางชีวเคมีในร่างกายของผู้ป่วยโรคจิตพบว่า กลุ่มผู้มีอาการผิดปกติทางจิตมีการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางในส่วนของสารสื่อประสาท (neurotransmitter) กลุ่มเอมีน(amine) ได้แก่ ซีโรโตนิน(serotonin) นอร์อีพิเนฟริน (norepinephrine) โดปามีน(dopamine) ไม่สมดุล เช่นในโรคจิตเภท พบว่า โดปามีนเพิ่มขึ้น กลุ่มผู้ป่วยซึมเศร้า ซีโรโตนินและนอร์อีพิเนฟรินลดลง สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา(National Institute of Mental Health) ได้ศึกษาการสังเคราะห์โดปามีนในผู้ป่วยจิตเภทโดยตั้งสมมุติฐานไว้ 3 ประการคือ(Kaplan and sadock,1994; Monk,1987; Stanley 1989; บุญวดี,2529)
1.มีสารโดปามีนเพิ่มขึ้นที่ ซิปแนป(synapse) ของระบบสังเคราะห์โดปามีน 2. มีจำนวนตัวรับหลังซิปแนป(post synapse receptor ) เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของโดปามีน
3.มีปฏิกิริยาที่เปลี่ยนแปลงที่ไม่สมดุลเกิดขึ้นระหว่าง acetyl choline,bopamine และกรดแกมมาอมิโนบิวทีริกg-aminobutyric acid,GABA)
การทำงานของระบบประสาทส่วนกลางมีส่ารสื่อนำประสาท(neurotransmitter) กลุ่มเอมีน(amine) ได้แก่ซีโรโทนิน โดปามีน และ นอร์อิพิเนฟริน (serotonin, dopamine andnorepinephrine) ติดต่อกับเซลล์ประสาทจำนวนมาก ทำให้ประสาทส่วนต่างๆ สามารถติกต่อกันได้สารสิอนำประสาทถูกสร้างขึ้นในเลือด แล้วถูกเก็บไว้บริเวณเส้นเลือดฝอย เรียกว่า เส้นเลือดฝอยซินแนปติก (synaptic vesicle) ซึ่งอยู่ในเซลล์ประสาทเมื่อประสาทถูกกระตุ้นด้วยความคิด ความรู้สึกเซลล์ปนะสาทจะปล่อยสารสื่อนำประสาทออกไปทำปฏิกิริยากับตัวรับประสาท (receptor) บริเวณที่เรียกว่าประสาทโพสต์ซินแนปติก (post synaptic nerve) หลังจากนั้นสารสื่อนำประสาทก็จะถูกทำให้หมดฤทธิ์ โดยถูกดูดกลับเข้าสู่ประสาทพรีซินแนปติก (presynaptic nerve) เป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลือน้อยก็จะถูกทำลาย โดยวิธีการสังเคราะห์เป็น 5-Hydroxyindole Acetic Acid (5-HIAA)ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในน้ำไขสันหลัง จากการศึกษาพบว่าในผู้ป่วยซึมเศร้า และฆ่าตัวตาย จะมี5-HIAAในน้ำไขสันหลังลดลง (Monk, 1987)

สาเหตุทางร่างกาย การเจ็บป่วยเรื้อรังหรือโรคบางชนิด เช่นโรคไต ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ซึ่งต้องใช้เวลาในการรักษาพยาบาลนาน หรือไม่สามารถรักษาได้ ทำให้เกิดความคับข้องใจและวิตกกังวล อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย อ่อนเพลีย อันเป็นสาเหตุทำให้สุขภาพจิตเสื่อมโทรม ความพิการต่างๆ เช่น หลังโก่ง ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ ขาขาด ความบกพร่องนี้ทำให้เกิดปมด้อยและก่อให้เกิดสุขภาพจิตที่ผิดปกติ หรืออาจจะเนื่องมาจากพยาธิสภาพสมอง เช่น โรคสมองเสื่อมในวัยชรา (senile dementia) โรคสมองเสื่อมก่อนวัย (Alzheimer disease) ซึ่งอาจนำไปสู่อาการทางจิตประสาทได้ 1.3 ทฤษฎีที่เชื่อว่าความผิดปกติทางจิตเกิดจากสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อจิตใจและพฤติกรรมมีมาก ที่สำคัญที่สุดคือ ครอบครัว เป็นสิ่งแวดล้อมที่หล่อหลอมบุคลิกภาพ นิสัยและสมรรถภาพในการปรับตัว ซึ่งมาจากการเลี้ยงดูของบุคคลในครอบครัวนั่นเอง การศึกษาพบว่าเด็กที่มาจากครอบครัวที่แตกแยก มักมีพฤติกรรม เช่น นิสัยลักขโมย อันธพาล ติดสารเสพติด
สิ่งแวดล้อมเป็นผลรวมของปรากฏการณ์ทีเกิดขึ้นอยู่โดยรอบ และมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของชีวิต สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวมนุษย์ อาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น