วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

บทที่ 1 ทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาสุขภาพจิตในโรงเรียน



บทที่ 1
ทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาสุขภาพจิตในโรงเรียน
บทนำ
เนื้อหาส่วนใหญ่ กล่าวถึงความหมายของสุขภาพจิตและสุขภาพจิตในโรงเรียน เพื่อปูทางให้ผู้อ่านที่ไม่คุ้นเคยกับคำดังกล่าวได้เข้าใจถูกต้อง ก่อนที่จะได้อ่านเนื้อหาสาระที่ขยาย นอกจากนี้ยังได้อธิบายถึงขอบเขตของงานที่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานสุขภาพจิตในดรงเรียนต้องกระทำ ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ครูในโรงเรียนทุกคนหรือเกี่ยวข้องทางอ้อม เช่น บิดา มารดา ผู้ปกครอง เพื่อทำให้การดำเนินงานสอดคล้องกันอันเป็นผลทำให้งานสุขภาพจิตในโรงเรียนมีประสิทธิภาพ บทนี้ยังชี้ให้เห็นถึงจุดหมายและประโยชน์ที่ได้รับการเข้าใจถึงวิชาสุขภาพจิตในโรงเรียนด้วย

คำจำกัดความ
องค์การอนามัยโลกหรือที่เรียกว่า WHO (World Health Organization) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่าสุขภาพ (Health) ไว้ว่า “สุขภาพที่ดีหมายถึง ความสมบูรณ์ทั้งทางกายและจิตใจปราศจากซึ่งโรคภัยไข้เจ็บ (Health is complete physical and mental well-being, and not mere absence of disease)” ถ้าพิจารณาจากคำจำกัดความดังกล่าว จะเห็นได้ว่าคำว่าสุขภาพ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ สุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิต ซึ่งมักเป็นสิ่งที่ต้องควบคู่กันเสมอ แต่ในที่นี้จะขอเน้นเฉพาะ ‘สุขภาพทางจิต’ เท่านั้น
คำว่า ‘สุขภาพทางจิตหรือสุขภาพจิต’ นั้น องค์กรอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “สุขภาพจิต หมายถึง ความสมบูรณ์ทางด้านจิตใจ ซึ่งปราศจากอาการของโรคจิต โรคประสาทหรือลักษณะผิดปกติอื่นๆ ทางจิตใจ และความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแว้ดล้อมได้ โยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจ”

นักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่งคือ เอลลี่ บาวเวอร์ (Eli Bower) กล่าวว่า “สุขภาพจิตคือ ความสามารถของบุคคลในการแก้ปัญหาชีวิตได้เหมาะสมกับสภาพแว้ดล้อม”
หลวงวิเชียร แพทยาคม จิตแพทย์ที่เป็นผู้อำนยการโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา คนแรกของไทย กล่าว่า “สุขภาพจิตคือความสามารถในการรักษามาตรฐานแห่งจิตไว้ พร้อมกับส่งเสริมให้จิตใจมีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปอีก”
ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว จิตแพทย์ที่มีชื่อเสียงมากของไทย วึ่งเป็นผู้บุกเบิกและนำความเจริญมาให้แก่วงการจิตเวชมากมาย ได้ให้ความหมายของคำว่าสุขภาพจิตไว้ ดังนี้ “สุขภาพจิตคือภาวะของมนุษย์ที่มีสุขภาพ และผู้ทีมีสุขภาพจิตดี คือสามารถปรับปรุงตนเองอยุ่ได้ด้วยความสุขในโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ได้” ต่อมาภายหลังท่านได้ให้คำจำกัดความใหม่อีกว่า “สุขภาพจิตคือสภาพชีวิตที่เป้นสุข ผู้มีอารมณ์มั่นคงสามารถปรับตัวให้เข้ากัสังคมที่เปลี่ยนแปลงมากๆ ได้มีสมรรถภาพในการทำงาน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความพอใจ”
แพทย์หญิง คุณหญิงสุภา มาลากุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์สุขวิทยาจิต กองสุขภาพจิต กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้คำจำกัดความของสุขภาพจิตไว้ว่า “สุขภาพจิต คือความมั่นคงทางใจนั่นเอง”
จากคำจำกัดความต่าง ๆ ของหลาย ๆ ท่านดังกล่าวข้างต้น พอสรุปได้ดังนี้
สุขภาพจิตคือ ความสมบูรณ์ของจิตที่ปราศจากอาการผิดปกติต่าง ๆ ทางจิต เช่น โรคจิต โรคประสาท ฯลฯ มีความมั่นคงทางจิตใจ สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมในสังคม โดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจ”
สำหรับคำว่า สุขภาพจิตในโรงเรียนนั้น มีผู้ให้คำจำกัดความ ดังนี้
บางท่านกล่าวว่า “สุขภาพจิตในโรงเรียนก็คือสุขภาพจิตของครู” เพราะครูเป้นหลักเป็นตัวตั้งตัวตีของโรงเรียน ถ้าครูสุขภาพจิตเสีย โรงเรียนก็เสียหมด ถ้าครุอยู่ด้วยกันดี รักใคร่กันดี รักนักเรียน สอนนักเรียนด้วยความเอาใจใส่ โรงเรียนนั้นก็มีสุขภาพจิตที่ดี
ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว กล่าวว่า “สุขภาพจิตในโรงเรียนก็คือสุขภาพจิตของครูและนักเรียนนั่นเอง”
ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า สุขภาจิตในโรงเรียน คือ ความสมบูรณ์ทางจิตในของครุและนักเรียน ซึ่งปราศจากอาการผิดปกติต่างๆ ทางจิต เช่น โรคจิต โรคประสาท ฯลฯ และความสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนนั้น ๆ โดยไม่มีข้อขัดแย้งต่างๆ ภายในจิตใจ
  1. ขอบเขตของงานสุขภาพจิตในโรงเรียน
ก่อนที่จะเข้าใจขอบเขตของงานสุขภาพจิตในโรงเรียน ใคร่อธิบายถึงขอบเขตของงานสุขภาพจิตทั่วๆ ไป เสียก่อน ดังนี้
งานด้านสุขภาพไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางจิตมักมีขอบเขตอยู่ 3 ประการคือ
  1. การป้องกัน (Prevention) เป็นงานที่เน้นการป้องกันมิให้เกิดอันตรายขึ้นแก่สุขภาพ ใช้ได้ทั้งกับบุคคลที่สุขภาพดีหรือสุขภาพไม่ดีทั้งสออย่าง กล่าวคือป้องกันิมให้คนสุขภาพดีมีสขภาพไม่ดีเกิดขึ้น หรือป้องกันคนสุขภาพเสียมิให้เป็นซ้ำขึ้นมาอีกเมื่อรักาหายดีแล้ว
  2. การส่งเสริม (Promotion) เป็นงานที่เน้นถึงการเสริมสร้างสุขภาพในด้านนันทนาการ (Recreation) ต่างๆ เช่น การเล่นนกีฬา การชมมหรสพ ฯลฯ ใช้ได้กับบุคคลที่มีสุขภาพดีอยู่แล้วให้มีสุขภาพดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกเป็นส่วนใหญ่ และยังใช้ได้กับบุคคลที่มีสุขภาพไม่ค่อยดี ซึ่งคืนสภาพเข้าสู่ปกติใหม่ เป็นการฟื้นฟูให้สุขภาพอยู่ในระดับปกติเร็วขึ้น
  3. การรักษา (Curative) เป็นงานที่เน้นถึงการช่วยเหลือและแก้ไขบุคคลที่สุขภาพเสื่อมให้คืนสภาพสู่ระดับปกติ มักใช้กับบุคคลสุขภาพเสื่อมมากกว่าสุขภาพดี
จากขอบเขตของงานด้านสุขภาพ 3 ประการดังกล่าวข้างต้น ซึ่งใช้ได้ทั้งงานสุขภาพทางกายและทางจิตนั้น ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะงานสุขภาพทางจิต ถ้าพิจารณาอย่างละเอียดสามารถอธิบายได้ ดังนี้
ในสถาบันการศึกษา อารงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย งานทางด้านสุขภาพจิตเน้น 2 ประการแรกคือ การป้องกันและการส่งเสริมมากกว่าประการที่สามคือการรักษา ทั้งนี้เพราะในสถาบันการ
ศึกษาส่วนใหญ่บุคคลมีสุขภาพจิตดีมากกว่าเสีย แต่มิใช้ว่าการรักษาจะไม่สำคัญเสียเลย เรายึดหลักที่ว่า “กันไว้ดีกว่าแก้” เพราะการป้องกันมิให้เกิดขึ้นเป็นผลดีและทำได้ง่ายกว่าการแก้ไข ซึ่งอาจสายเกินแก้เสียแล้วก็ได้ ดังคำที่ว่า “วัวหายแล้วล้อมคอก”
ในคลินิกหรือสถานพยาบาล อาทิ สถานีอนามัย คลินิกต่างๆ โรพยาบาล งานทางด้านสุขภาพจิตเน้นประการที่ 3 คือ การรักษาเป็นสำคัญ รองลงมาคือประการที่ 1 และ 2 ได้แก่การป้องกันและการส่งเสริมตามลำดับ ทั้งนี้เพราะบุคคลส่วนใหญ่ที่ไปรับบริการจากคลินิกหรือสถานพยาบาลต่างๆ ดังกล่าวนั้นมักมีสุขภาพจิตเสื่อมโทรมหรือผิดปกติ จึงต้องรีบรักษาแก้ไขให้ฟื้นคืนสภาพเดิมคือสู่สภาพปกติ แล้วจึงทำการป้องกันมิให้กลับมาเป็นซ้ำ และส่งเสริมให้มีสุขภาพจิตดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป แต่ในปัจจุบนในคลินิกหรือสถานพยาบาลก็พยายามให้ความสำคัญของการป้องกันและส่งเสริมมากขึ้น เห็นได้จากการให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วๆ ไปในการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิตในรูปเอกสาร การฉายภาพยนตร์ ฯลฯ เพื่อเป็นการลดภาระการรักษาให้น้อยลง และทำให้มีคนสุขภาพจิตเสื่อมน้อยลงด้วย
กล่าวโดยสรุป งานของสุขภาพจิตในโรงเรียนแบ่งออกเป็น3ประการ เรียงตามลำดับความสำคัญก่อน-หลังดังนี้
  1. การป้องกัน เพื่อไม่ให้จิตของครูและนักเรียนเสื่อมหรือเสียไป โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีประพฤติปฏิบัติมิให้สุขภาพจิตเสียเมื่อประสบปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนเข้าใจถึงลักษณะของสุขภาพจิตดี และเสื่อมว่าแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเตือนตนเองสำหรับบุคคลที่สุขภาพจิตกำลังจะเสื่อมให้หยุดชะงัก และพยายามกลับเข้าสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
  2. การส่งเสริม เพื่อให้สุขภาพจิตของครูและนักเรียนมีสุขภาพจิตดียิ่งๆ ขึ้น โดยการรู้จักให้นันทนาการที่เป็นประโยชน์ช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตและเป็นอย่างดี เช่น การเล่นกีฬา การเล่นดนตรี การร้องเพลง การชมมหรสพต่างๆ ฯลฯ เพื่อผ่อนคลายความตรึงเครียดของจิตใจ และเป็นการเสริมให้เกิดความสามัคคีกลมเกลียว เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับนักเรียนอีกด้วย
  3. การรักษา ในโรงเรียนมักใช้คำว่า “การช่วยเหลือ” มากกว่า เพราะเป็นเพียงแค่การช่วยเหลือขั้นต้นเท่าที่จะทำได้จากความรู้และประสบการณ์ของครูในโรงเรียน ถ้าเกินความสามารถก็มักจะส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ในคลินิกหรือสถานพยาบาลต่อไป

    1. จุดมุ่งหมาย
วิชาสุขภาพจิตในโรงเรียน มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนผู้อ่านได้บรรลุ 3 ประการ ดังนี้
  1. เพื่อให้เข้าใจตนเอง โดยหลักการทั่ว ๆ ไปเป็นที่เชื่อกันว่า ก่อนที่เราจะเข้าใจบุคคลอื่น อย่างน้อยเราควรเข้าใจตนเองให้ถูกต้องเสียก่อน เช่น การเข้าใจบุคลิกภาพ พฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกโดยทราบสาเหตุหรือที่มาของการแสดงพฤติกรรมนั้น การทราบจุดอ่อนหรือปมด้อย จุดแข็งหรือปมเด่นของตัวเอง เพื่อเป้นแนวทางที่จะช่วยปรับปรุงคุณภาพของตนเอง เพื่อเป็นแนวทางที่จะช่วยปรับปรุงคุณภาพของจิตใจให้ดีขึ้น ยอมรับสภาพที่แท้จริงของตนเอง แล้วจะทำให้เป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม ตลอดจนสามารถเข้าใจผู้อื่นได้ดีขึ้นด้วย
  2. เพื่อให้เข้าใจผู้อื่น เนื่องจากคนเราเกิดมามิได้อยู่คนเดียวในสังคม เรามีการอยู่ร่วมกันในสังคม มีการพึ่งพาอาศัยกันและกัน ถ้าเราเข้าใจผู้อื่นให้ถูกต้องได้ ย่อมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีการให้อภัยซึ่งกันและกัน มีความรักและความสามัคคีกัน
  3. เป็นการเตรียมตัวเพื่ออนาคต การที่ได้เรียนรู้ถึงแนวทางต่างๆ ในการที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข จะทำให้นักเรียนมีการปรบตัวได้ดีทั้งในครอบครัวและชุมชน อันเป็นการเตรียมตัวที่จะดำรงชีวิตในครอบครัวและสังคมในอนาตดได้อย่างเหมาะสม และถูกต้อง ทำให้ในสังคมนั้นมีสมาชิกที่มีสุขภาพจิตดี

    1. ประโยชน์ที่ได้รับ
ในการเรียนวิชาสุขภาพจิตในโรงเรียนนั้น ทำให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์หลากหลายประการ ดังนี้
  1. ทำให้ทราบถึงแนวทางในการป้องกันตัวเอง และบุคคลอื่นจากความผิดปกติทางจิต หรือสุขภาพจิตที่เสื่อมโทรม
  2. ทำให้ทราบถึงวิธีที่จะส่งเสริมและจรรโรงไว้ซึ่งความมีสุขภาพจิตที่ดี
  3. ทำให้ทราบแนวทางการช่วยเหลือ ผู้ที่เริ่มมีอาการของ สุขภาพจิตเสื่อม ให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว
  4. ทำให้เข้าใจถึงลักษณะความผิดปกติต่าง ๆ ทางจิต ซึ่งเป็นอาการที่แสดงถึงความเสื่อมของสุขภาพจิต ตลอดจนแนวทางการช่วยเหลือที่ถูกต้อง สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม









บทที่ 3
องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพ
3.1 บทนำ
บทนี้กล่าวถึงรายละเอียดขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีผลทำให้สุขภาพจิตดี หรืเสื่อมมากขึ้นน้อยลง แต่ละองค์ประกอบเป้นหนทางที่จป้องกันมิให้สุขภาพจิตเสื่อม และเป็นการส่งเสริมให้สุขภาพจิตดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
เมื่อใดที่เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพจิตขึ้นนั้น เรามองได้สองประการ คือ ประการแรกเกิดจากตัวบุคคลนั้นเอง ประการที่สองเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวบุคคลนั้น จึงแบ่งองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ องค์ประกอบที่เกิดจากการอบรมเลี้ยงดุเกิดจากประการแรก และองค์ประกอบที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อาทิ บ้าน โรงเรียน และชุมชน ซึง่หมายถึงประการที่สอง
องค์ประกอบทั้งสอง มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเกิดจากองค์ประกอบใด ก็มีผลทำให้เสียสุขภาพจิต
3.2 การอบรมเลี้ยงดู
ผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่จะทำให้มีพลเมืองที่ดีได้ก็คือ ‘ผู้อบรมเลี้ยงดู’ ซึ่งอาจจะเป็น บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลอื่น ๆ บุคคลดังกล่าวนี้จะต้องมีสุขภาพจิตที่ดีพอที่จะพร้อมถ่ายทอดความรัก ความอบอุ่น ความเอาใจใส่ดุแลเกื้อหนุน ความอ่อนโยน ความมีเหตุผล
จุดเริ่มต้นจนถึงจุดสุดท้ายของเรื่องการอบรมเลี้ยงดู โดยแบ่งเป็นหัวข้อสำคัย 3 ประการ คือ
1 ) การเลือกคู่สมรส
2 ) ความพร้อมที่จะมีบุตร
3 ) การอบรมเลี้ยงดูบุตร
1 ) การเลือกคู่สมรส
การสมรสเป็นความสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดในชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นความสำเร็จของชีวิตจึงต้องขึ้นอยู่กับความสำเร็จในชีวิตสมรสด้วย
ความสุขในชีวิตสมรสเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นได้ โดยคู่สมรสควรรู้จักใช้วิจารณญาณพิจารนาโดยรอบคอบก่อนเข้าสู่ชีวิตสมรส เพื่อชีวิตอันสมบูรณ์ ซึ่งจะมีผลตกทอดไปสู่บุตรทำให้ชีวิตครอบครัวราบรื่น เป็นสุขอันเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา
เพื่อให้ชีวิตสมรสมีแต่ความสุขและความราบรื่นตลอดไป ทั้งหญิงและชายที่ต้องการสมรสทั้งหลาย ควรต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
  1. ระยะเวลาที่รู้จักเพื่อศึกษาซึ่งกันและกัน
  2. วุฒิภาวะ
  3. ความสนใจและทัศนคติ
  4. ความเชื่อและศรัทธาทางศาสนา
  5. ระดับการศึกษา
  6. สภาพความเป็นอยู่และวัมนธรรม
  7. ทัศนคติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศ
  8. การมีสัมพันธภาพที่ดีต่อบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง และญาติพี่น้องทั้งสองฝ่าย
  1. ระยะเวลาที่รู้จักเพื่อศึกษาซึ่งกันและกัน
ความสำคัญของระยะเวลาที่คู่สมรส ควรรู้จักเพื่อศึกษาซึ่งกันและกัน เป็นอันดับแรก โดยให้เหตุผลไว้ 3 ประการ คือ
ประการแรก เวลาช่วยให้คู่สมรสเข้าใจถึงบุคลิกลักษณะซึ่งกันและกัน
ระยะเวลาที่ทำให้คู่สมรสมีโอกาสได้ศึกษาซึ่งกันและกันเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่ง ที่จะทำให้ชีวิต สมรสประสบความสำเร็จ
ประการที่สอง เวลาช่วยให้คู่สมรสได้ตรวจและรักษาโรคให้ปลอดภัย คู่สมรสควรจะได้มีการตรวจร่างกายเสียทั้งสองฝ่ายเพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัยจากโรคร้ายและดรคติดต่อทั้งปวง เพื่อมิให้มีผลเสียหายเกิดขึ้นต่อคู่สมรสของตนเอง หรือบุตรที่เกิดขึ้นภายหลัง
ประการที่สาม เวลาช่วยให้ความขัดแย้งระหว่างบุคคลน้อยลง ถ้ารักกันจริงความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นก็จะคลี่คลายไป และมีความเข้าใจดีซึ่งกันและกันหรืออาจเป้นเวลาที่หญิงชายจะสืบประวัติบางอย่าวที่เป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งในการสมรส
  1. วุฒิภาวะ
คำว่า ‘วุฒิภาวะ’ นั้นหมายถึง ความพร้อมและความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และการปรับตัวในสังคม
วุฒิภาวะทางร่างกาย หมายถึงความสมบูรณ์ของร่างกายตามอายุปฏิทินสากล
วุฒิภาวะทางจิตใจหรือทางสมอง หมายถึงระดับเชาว์ปัญญา
วุฒิภาวะทางอารมณ์
วุฒิภาวะทางส้งคม คือการที่บุคคลเข้าใจความสัมพันธ์ของตนกับบุคคลอื่น และของแต่ละบุคคลในสังคม
  1. ความสนใจและทัศนคติ
ความสนใจ เป็นความรู้สึกที่อยากตอบสนองต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ทัศนคติ เป็นความพร้อมที่จะตอบสนองสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ใน 2 ลักษณะที่ตรงกันข้าม กล่าวคือ อาจพร้อมที่จะตอบสนองในการเข้าหา หรือการถอยหนีออกไป
  1. ความเชื่อและศรัทธาทางศาสนา
ศาสนกิจแตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจทำให้ไม่เป็นที่พึงพอใจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายซึ่งต่างก็เคร่งในศาสนาของตน อันเป้นผลทำให้ชีวิตสมรสไม่มีสุข อาจถึงกับต้องหย่าร้างหรือแยกทางกันเดินได้ทั้ง ๆ ที่ยังรักกันอยู่
  1. ระดับการศึกษา
คู่สมรสระดับการศึกษาต่างกันมาก ย่อมมีปัญหาในด้านความเข้าใจหรือการรับรู้ในเรื่องต่าง ๆ แตกต่างกัน โดยเฉพาะฝ่าที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่า มักจะตามไม่ทัน ไม่เข้าใจความหมายของคำพุดอีกฝ่ายหนึ่ง หรือมีการตีความผิดพลาดไปจากความเป็นจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งต้องการ ในที่สุดก็เกิดความเบื่อหน่าย มีการหาทางออกกันต่าง ๆ
  1. สถาพความเป็นอยู่และวัฒนธรรม
สภาพความเป็นอยู่ หมายถึงพื้นฐานดั้งเดิมที่จะก่อให้เกิดบุคลิกภาพต่าง ๆ ของคู่สมรตลอดจนอุปนิสัยใจคอ ต่าง ๆ อาทิ การกินอยู่นอนหลับ การรักษาความสะอาด มารยาทในการรับประทานอาหาร การแต่งการ ฯลฯ
(7) ทัศนคติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศ
กามารมณ์เป็นการแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของบุคคลเช่นเดีวกับความรัก ความใยดีความห่วงใยและความรับผิดชอบ เป็นสมบัติของคน ๆ หนึ่งที่จะให้และแบ่งปันกับคนอีกคนหนึ่งแต่มิใช่เพื่อให้คน ๆ นั้นได้เป็นเจ้าของ รียกร้องหรือควบคุม ความสัมพันธ์ทางเพศที่ดีเกิดจากการมีส่วนร่วมและการให้ซึ่งกันและกัน โดยบคำนึงถึงหลักความนับถือ เสรีภาพ อิสรภาพ ความเสมอภาคเช่นเดียวกับความสัมพันธ์ชนิดอื่น
ชีวิตสมรสที่มีความสุขจะต้องมีความสุขทางเพศด้วยกันทั้งสองฝ่าย องค์ประกอบที่จะทำให้มี ความสุขทางเพศแบบสมบูรณ์จะต้องคำนึงถึงหลัก 3 ประการ คือ
. มีความรู้เรื่องเพศ
คู่สมรสที่ตั้งใจจะแต่งงานกันแนนนอน ควรได้มีการศึกษาความสัมพันธ์ทางเพศของฝ่ายตรงข้าม อาจเริ่มตั้งแต่ความรู้เรื่องอวัยวะเพศของเพศตรงข้าม จนถึงการปฏิบัติกิจทางเพศ
. ความสัมเพศโดยไม่มีการอดกลั้นหรือความละอาย
ความสัมพันธ์ทางเพศที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางด้านอื่น ๆ ดีด้วย และยังกล่าวอีกว่า ความสัมพันธ์ทางเพศที่เกิดจากการมีส่วนร่วมและการให้ซึ่งกันและกัน โดยคำนึงถึงหลักความนับถือ เสรีภาพ ความเสมอภาค เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ชนิดอื่น ๆ
. ต้องมีวามต้องการทางเพศทั้งสองฝ่าย
ในธรรมชาติฝ่ายชายมักเป็นฝ่ายทำให้เกิดปัญหา กล่าวคือถ้าฝ่ายชายไม่คิดเกิดความต้องการทางเพศ เกิดเฉพาะในฝ่ายหญิง ก็อาจไม่เกิดความสัมพันธ์ทางเพศหรือการร่วมเพศขึ้น ดังนั้นฝ่ายชายควรให้ความสนใจในปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นของภรรยาบ้าง โดยการอ่านหนังสือหรือศึกษาหาความรู้ว่าช่วงใด เลวาใด หรือสถานการณ์ใดที่ฝ่ายหญิงจะเกิดความต้องการทางเพศขึ้นได้
(8) การมีสัมพันธภาพที่ดีต่อบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง และญาติพี่น้องทั้งสองฝ่าย
ถ้าคู่สมรสไม่สามรถเข้ากับญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่ายได้แล้ว จะเกิดผลเสียในชีวิตครอบครัว มาก ดังนั้น ก่อนแต่งงาน คู่สมรสควรทำความรู้จักคุ้นเคย กับบุคคลในครอบครัวของแต่ละฝ่าย
2 ) ความพร้อมที่จะมีบุตร
คู่สมรสที่เพิ่งสมรสกันควรมีการางแผนครอบครัวว่า เมื่อใดเข้าทั้งสองจึงพร้อมที่จะมีบุตรได้ และยังไม่ถึงเวลาอันเหมาะสมตามที่วางแผนไว้ ควรมีการคุวมกำเนิดหรือชลอการเกิดด้วยวิธีการต่าง ๆ
จนกว่าเขาทั้งสองจะได้พิจารณาจากองค์ประกอบต่าง ๆ ว่าพร้อมที่จะมีบุตรแล้วจึงยอม ให้เด็กถือกำเนิดขึ้นได้ ในการพิจารณาจากองค์ประกอบต่าง ๆ นั้น สรุปได้เป็น 4องค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
  1. ระยะเวลาของการสมรส
  2. ความต้องการองพ่อแม่
  3. สุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของพ่อแม่
  4. ความมั่นคงของครอบครัว
3) การอบรมเลี้ยงดู
การอบรมเลี้ยงดูบุตรที่พบเห็นยู่บ่อย ๆ ในสังคมไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
  1. การอบรมเลี้ยงดูบุตรแบบอัตตาธิปไตย (Authoritarian)การเลี้ยงดูอบรมแบบเข้มงวดกวดขัน’
  2. การอบรมแบบตามใจ (Leisser-faire) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1. การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปะละเลยหรือทอดทิ้ง
    2. การอบรมเลี้ยงดุแบบถนุถนอมมากเกินไป
(3) การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย (Democracy) ให้บุตรได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่าง เต็มที่
การอบรมเลี้ยงดูประเภทต่าง ๆ ทั้งสามประเภท เมิอนำมาพิจารณาแล้วพบว่า การอบรมเลี้ยงดูประเภทประชาธิปไตย จะมีผลดีและวิธีการที่เหมาะสมมากกว่าการเลี้ยงดูอีกสองประเภท และเชื่อว่า การอบรมเลี้ยงดูประเภทนี้จะทำให้เด้กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ เป็นพลเมืองที่ดีต่อไปของประเทศชาติได้
3.3 สภาพแว้ดล้อม
องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่สุขภาพจิตประเภทนี้ หมายถึงสภาพการณืหรือสิ่งที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับบุคคลอันมีผลทำให้กระทบกระเทือนต่อสภาพของจิตใจ อาจเป็นไปในทางบวกคือมีสุขภาพจิตดี หรือเป็นไปในทางลบ คือมีสุขภาพจิตเสียก็ได้ องค์ประกอบดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ
  1. สภาพแว้ดล้อมทางบ้าน
ในข้อนี้แบ่งสภาพแว้ดล้อมทางบ้านออกเป็น 2 ประเภททสำคัญ คือ
    1. การปะทะสังสรรค์กันระหว่างบุคคลในบ้าน
    2. สภาพของบ้านและสิ่งแวดล้อมในบ้าน
  1. สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน
สภาพแวดล้อมางดรงเรียนแบ่งออกได้ 5 ประการ คือ
    1. สภาพของโรงเรียน
    2. ครู
    3. เพื่อน
    4. ระเบียบวินัยของโรงเรียน
    5. หลักสูตร
  1. สภาพแวดล้อมทางสังคม
สาเหตุ 3 ประการของปัญหาสังคม ดังนี้
ประการที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social change)
ประการที่ 2 ความไม่เป็นระเบียบของสังคม หรือภาวะสังคมพิการ (Social disorganization)
ประการที่ 3 บุคลิกภาพ (Personality)
ความสุขของจิตใจนั้นมาจากทางร่างกาย และสังคม หรือครอบครัวตลอดจนเข้าใจว่าการแก้ปัญหาของสุขภาพจิตในเด็กนั้นคือการแก้ปัญหาที่ตัวผู้ใหญ่นั้นเอง

















บทที่ 4
ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพจิต
1.บทนำ
บทนี้กล่าวถึงลักษณะขงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในตัวบุคคล ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อสุขภาพจิตมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป แล้วแต่ลักษณะปัญหาของบุคคลนั้น ๆ ได้ประสบ กระทบกระเทือนต่อสุขภาพจิตน้อย บุคคลนั้อาจปรับตัวยู่ในสังคมได้ต่อไปอีก แต่ถ้ากระทบกระเทือนต่อสุขภาพจิตมาก บุคคลนั้นย่อมไม่สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จนอาจเป็นโรคผิดปกติทางจิตใจ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ คือ ลักษณะปัญหาด้านอารมณ์ ด้านบุคลิกภาพ และด้านความต้องการ
ปัญหาด้านอารมณ์
คำว่า ’ปัญหาด้านอารมณ์’ หมายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วทำให้ความรู้สึกของบุคคลสับสนมปั่นป่วน มักออกมาในรูปความรู้สึกเสียใจ ผิดหวัง ท้อแท้ หวาดกลัว พฤติกรรมที่เกิดขึ้นมักจะรุนแรงเกินความเป็นจริง
อารมณ์ (Emotion) คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในระยะเวลานานระยะหนึ่ง จนอาจทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ต่าง ๆ”
อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่แรกจนถึงวัยชรา จะมีการพัฒนาการขึ้นเรื่อย ๆ ต่อเนื่องกันไปในแต่ระดับอายุ เรียกว่า ‘พัฒนาการทางอารมณ์’ เราแบ่งพัฒนาการทางอารมณ์ตามลำดับอายุไว้ดังนี้
1) วัยทารก (อายุระหว่างแรกเกิด- 1 ขวบ)
อารมณ์ของทารกแรกเกิดมักออกมาในรูปรุนแรงสุดขีด พบว่า เสียงช่วงแรกเกิด แสดงถึงความกลัวที่จะเริ่มเข้าสู่ชีวิตใหม่ อารมณ์ของทารกแรกเกิดมี ดังนี้
  1. อารมณ์โกรธ มักพบมากเมื่อทารกถูกขัดขวางที่จะทำสิ่งที่เขาต้องการ
  2. อารมณ์กลัว ความกลัวของเด็กที่เกิดจากการเรียนรู้เช่นเดียวกัน ทารกมักเริ่มกลัวในสิ่งที่ตนเองไม่คุ้น
  3. อารมณ์อิจฉาริษยา มักเกิดได้ง่ายเมื่อมีน้องและบิดามารดาเอาใจใส่น้องเป็นพิเศษ ทำให้ตนขาดความสำคัญไป
  4. อารมณ์อยากรู้อยากเห็น พบว่า ถ้าทารกได้รับสิ่งเร้าที่รุนแรงก็จะรู้สึกสนใจมากขึ้น ความกลัวก้เป็นลักษณะหนึ่งที่ช่วยให้ทารกเกิดความอยากรู้อยากเห็น
  5. อารมณ์ดีใจ เป็นอารมณ์แห่งความรื่นรมย์ มีความสุข มักเกิดขึ้นกับทารกที่มีสุขภาพดี ทารกจะรู้จักยิ้มหรือหัวเราะเมื่อมีความพอใจ
  6. อารมณ์รัก ทารกจะแสดงความรักออกมาโดยการกอดรัด แล้วแต่เด็กแต่ละคน ความรัก จัดเป็นอารมณ์ที่รื่นรมณ์ของทารกท่ได้รับการเอาใจใส่จากบิดามารดาเป็นอย่างดี
2) วัยเด็ก (อายุระหว่าง 2-12 ปี)
วัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
. วัยเด็กตอนต้น (อายุระหว่า 2 -6 ปี)
เด็กวัยนี้มักเป้นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิดและโกรธง่าย โมโหร้ายโดยปราศจากเหตุผล มักแสดงความขัดขืนและดื้อรั้นต่อพ่อแม่อยู่เสมอ เป็นวัยที่เรียกกันว่า วัยปฏิเสธ ซึ่งเป้นลักษณะธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์
. วัยเด็กตอนกลาง (หญิงอายุระหว่าง 6- 11 ปี ชายอายุ 6-12 หรือ 13ปี)
เด็กวัยนี้ต้องการความรัก ความอบอุ่นปลอดภัย และความเอาใจใส่มากจากผู้ใหญ่และผู้ที่อยู่ในสังคม เช่น พ่อ แม่ ครู เพื่อน เด็กวัยนี้จะแสดงอารมณ์ออกมาทางด้านท่าทาง และคำพูด
. วัยเด็กตอนปลาย (อายุระหว่าง 10-12 ปี)
วัยนี้เป็นวัยคาบเกี่ยวระยะก่อนวัยรุ่น หรือวัยเริ่มแตกเนื้อสาว วัยนี้ไม่แตกต่างกับเด็กวัยกลางคนมากนัก อารมณ์ของเด็กวัยนี้จัดอยู่ในระดับปานกลาง คือ ไม่ดีหรือร้ายจนเกินไป
ความกลัวของเด็กที่มีอยู่ในวัยต้น ๆ ก็ จะเริ่มลดน้อยลง เปลี่ยนมาเป็นความกังวลใจ กังวลกับเรื่องรูปร่างของตน อยากให้แข็งแรงสวยงาม กลัวอันตรายที่เกิดกับครอบครัวและตนเอง
3) วัยรุ่น (หญิงอายุระหว่าง 11- 12ปี, ชายอายุระหว่าง 13-21 ปี)
อารมณ์ของวัยรุ่นนั้นเป็นอารมณ์ที่รุนแรง โดยที่เรียกวัยนี้ว่าเป็นวัย ‘พายุบุแคม’ ซึ่งหมายถึงการมีอารมณ์ที่รุนแรง เต็มไปด้วยความเชื่อมั่นในตนเองในบางครั้งมักเกิดความคิดเห้นขัดแย้งกับผู้ใหญ่
เราสามารถแบ่งประเภทอารมณ์ของวัยรุ่นได้ ดังนี้
  1. ประเภทก้าวร้าวรุนแรง เช่น อารมณ์โกรธ อิจฉา เกลียดชัง
  2. ประเภทเก็บกดเอาไว้ เช่น ความกลัว ความวิตกกังวล ความเศร้าใจ
  3. อารมณ์สนุก เช่น ความรัก สุขสบาย ตื่นเต้น
อารมณ์ต่าง ๆ ของวัยรุ่นที่ควรทราบ มีดังนี้
  1. อารมณ์กลัว เป็นอารมณ์ที่มีอยู่ในทุกคน โดยจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความปลอดภัย
  2. ความกังวลใจ เป้นผลมาจากความกลัว โดยกลัวเรื่องต่าง ๆ นานา แล้วเก็บเอาเรื่องต่าง ๆ เหล่านั้นมาเป้นความกงวลใจ
  3. อารมณืโกรธ เป็นการแสดงออกของอารมณ์ประเภทก้าวร้าว รุนแรงประเภทเดียวกับความอิจฉาริษยาและความเกลียดชัง โดยจะแสดงออกให้เห็นหลาอย่างทั้งทางตรงและทางอ้อม
วิธีการแก้และควบคุมอารมณ์โกรธของวัยรุ่นทำได้ดังนี้
  1. อย่าทำเป็นไม่สนใจหรือแกล้งไม่เอาใจใส่เวลาเขาโกรธ เพราะจะไม่ช่วยคลายอารมณืโกรธของเด็กได้เลย
  2. คอยให้เขาคลายความโกรธก่อนแล้วจึงค่อยอธิบายเหตุผลให้เขาฟัง ไม่ควรพยายามอธิบายให้เขาฟังในขณะที่เขากำลังอยู่ในอารมณ์โกรธ
  3. พยายามพูดหรือจูงใจเชาให้นึกถึงรื่องอื่น ๆ แทน และทำให้เขาลืมสิ่งที่ก่อให้เกิดความโกระนั้นเสีย
  4. หาสิ่งเร้าใหม่มากระตุ้นให้เด็กเกิดความรู้สึกว่า เขายังเป็นที่ยอมรับนับถือของคนอื่นเหมือนเดิม
  5. กล่าวชมเชยยกย่องในผลงานการกระทำต่าง ๆ ของเด็กไปก่อน แล้วจึงค่อยชี้แจงแสดงเหตุผลกันภายหลัง
(4) อารมณ์รัก ความรักเป็นอารมณ์ประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นกับทุกคน ทุกเพสทุกวัย ในวัยรุ่นมีความรักประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
. ความรักตนเอง ได้แก่ ความรักและดูแลอาใจใส่สภาพความเป้นไปของร่างกายตนเอง
. ความรักเพื่อน ปกติวัยรุ่นจะให้ความรักและความสนิทสนมจากเพื่อนเพศเดียวกัน
. ความรักที่ตนเทิดทูนบูชาเป็นพิเศษ เด็กวัยรุ่นมักจะเทิดทูนบูชาคนที่อยากเอาแบบอย่างโดยยึดถือแนวทางที่จะปรับปรุงบุคลิกภาพของตนในอนาคต
. ความรักในเพศตรงข้าม ในวัยรุ่นปัญหารเรื่องเพศตรงข้ามมักเข้าไปแทรกแวงอยู่ภายในจิตใจเสมอ ก่อให้เกิดความรักแบบวัยรุ่นขึ้น วึ่งปรารถนาที่จะรัก ยกย่องบูชา และเป็นที่กล่าวขวัยในทางที่ดีของบรรดาเพื่อนเพศตรงข้าม ซึ่งก่อให้เกิดพฤติกรรมที่พยายามทำตนให้เป็นจุดเด่น ความรักของวัยรุ่นต่อเพื่อนต่างเพศเป็นไปอย่างรุนแรง และหลงใหลฝั่นอย่างทุ่มเท ซึ่งอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อชีวิตและอนาตคของวัยรุ่นได้มาก
(5) อารมณ์อิจฉาริษยา มักเกิดขึ้นเมื่อตนไม่สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ด้วยวิธีใด ๆ หรือถูกแย่งชิงเอาความรักไป
สาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่พบในอารมณ์อิจฉาริษยาของวัยรุ่น คือการแย่งคามรักความสนใจภายในครอบครัว
(6) ความอยากรู้อยากเห็น วัยรุ่นมักเกิดวามอยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าหรือสิ่งที่ได้รับการปกปิดซ้อนเร้น
(7) ความสนใจ เด้กวัยรุ่นมักมีพลังมากมักสนใจในการเล่นกีฬา การทำงานเกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไก เรื่องเพศ เป็นต้น
4) วัยผู้ใหญ่ (อายุระหว่าง 21-40 ปี)
มักมีความกดดันทางด้านอารมณ์ ปัญหาต่าง ๆ ทั้งในด้านครอบครัวและการงานอาจทำให้ผู้ใหญ่บางคนอาจมีความยุ่งยากในการปรับตัวบ้างพอสมควร ทั้งนี้เพราะบางคนอาจจะยังไม่พร้อมในการที่จะเผชิญปัญหาต่าง ๆ ที่แตกต่างไปจากวัยต้น ๆ ของชีวิต แต่พอย่างเข้าสู่วัย 30-40 ปี อาจลดความตรึงเครียดลงไปได้บ้าง เพราะความเคยชิน และมีความคล่องตัวในการแก้ปัญหาขึ้น นอกจากนี้ การมีประสบการณ์เพิ่มขึ้นทำให้บุคคลมีความสุขุมรอบคอบขึ้นและความตรึงเครียดทางอารมณ์ลดลงไป
5) วัยกลางคน (อายระหว่า 40-60 ปี)
บุคคลวัยกลางคนจะพบความสุขของชีวิต ก้ต่อเมื่อประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ช่วงชีวิตที่ผ่านมาได้สร้าสมสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาก อาจจะเป็นผลงาน ชีวิตครอบครัว การมีบุตร ในช่วงนี้จึงเป็นระยะของความภาคภูมิใจ
6) วัยชรา (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป)
วัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์มาก ชอบบ่น อารมณ์ไม่คงที่ โกรธง่าย แต่บางรายบใจดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแว้ดล้อม สังคม และประสบการณ์ที่ผ่านมา ตลอดจนขึ้อยู่กับสภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวด้วย





























สรุป
บทที่ 1

อาจสรุปได้ว่า สุขภาจิตในโรงเรียน คือ ความสมบูรณ์ทางจิตในของครุและนักเรียน ซึ่งปราศจากอาการผิดปกติต่างๆ ทางจิต เช่น โรคจิต โรคประสาท ฯลฯ และความสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนนั้น ๆ โดยไม่มีข้อขัดแย้งต่างๆ ภายในจิตใจ
งานด้านสุขภาพในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางจิตมักมีขอบเขตอยู่ 3 ประการคือ
  1. การป้องกัน (Prevention) เป็นงานที่เน้นการป้องกันมิให้เกิดอันตรายขึ้นแก่สุขภาพ ใช้ได้ทั้งกับบุคคลที่สุขภาพดีหรือสุขภาพไม่ดีทั้งสออย่าง กล่าวคือป้องกันิมให้คนสุขภาพดีมีสขภาพไม่ดีเกิดขึ้น หรือป้องกันคนสุขภาพเสียมิให้เป็นซ้ำขึ้นมาอีกเมื่อรักาหายดีแล้ว
  2. การส่งเสริม (Promotion) เป็นงานที่เน้นถึงการเสริมสร้างสุขภาพในด้านนันทนาการ (Recreation) ต่างๆ เช่น การเล่นนกีฬา การชมมหรสพ ฯลฯ ใช้ได้กับบุคคลที่มีสุขภาพดีอยู่แล้วให้มีสุขภาพดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกเป็นส่วนใหญ่ และยังใช้ได้กับบุคคลที่มีสุขภาพไม่ค่อยดี ซึ่งคืนสภาพเข้าสู่ปกติใหม่ เป็นการฟื้นฟูให้สุขภาพอยู่ในระดับปกติเร็วขึ้น
  3. การรักษา (Curative) เป็นงานที่เน้นถึงการช่วยเหลือและแก้ไขบุคคลที่สุขภาพเสื่อมให้คืนสภาพสู่ระดับปกติ มักใช้กับบุคคลสุขภาพเสื่อมมากกว่าสุขภาพดี

บทที่ 3
องค์ประกอบที่ มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเกิดจากองค์ประกอบใด ก็มีผลทำให้เสียสุขภาพจิต
3.2 การอบรมเลี้ยงดู
ผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่จะทำให้มีพลเมืองที่ดีได้ก็คือ ‘ผู้อบรมเลี้ยงดู’ ซึ่งอาจจะเป็น บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลอื่น ๆ บุคคลดังกล่าวนี้จะต้องมีสุขภาพจิตที่ดีพอที่จะพร้อมถ่ายทอดความรัก ความอบอุ่น ความเอาใจใส่ดุแลเกื้อหนุน ความอ่อนโยน ความมีเหตุผล
จุดเริ่มต้นจนถึงจุดสุดท้ายของเรื่องการอบรมเลี้ยงดู โดยแบ่งเป็นหัวข้อสำคัย 3 ประการ คือ
1 ) การเลือกคู่สมรส
2 ) ความพร้อมที่จะมีบุตร
3 ) การอบรมเลี้ยงดูบุตร
1 ) การเลือกคู่สมรส
เพื่อให้ชีวิตสมรสมีแต่ความสุขและความราบรื่นตลอดไป ทั้งหญิงและชายที่ต้องการสมรสทั้งหลาย ควรต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
    1. ระยะเวลาที่รู้จักเพื่อศึกษาซึ่งกันและกัน
    2. วุฒิภาวะ
    3. ความสนใจและทัศนคติ
    4. ความเชื่อและศรัทธาทางศาสนา
    5. ระดับการศึกษา
    6. สภาพความเป็นอยู่และวัมนธรรม
    7. ทัศนคติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศ
    8. การมีสัมพันธภาพที่ดีต่อบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง และญาติพี่น้องทั้งสองฝ่าย
2 ) ความพร้อมที่จะมีบุตร
พิจารณาจากองค์ประกอบต่าง ๆ ว่าพร้อมที่จะมีบุตรแล้ว สรุปได้เป็น 4องค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
    1. ระยะเวลาของการสมรส
    2. ความต้องการองพ่อแม่
    3. สุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของพ่อแม่
    4. ความมั่นคงของครอบครัว
3) การอบรมเลี้ยงดู
การอบรมเลี้ยงดูบุตรที่พบเห็นยู่บ่อย ๆ ในสังคมไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
  1. การอบรมเลี้ยงดูบุตรแบบอัตตาธิปไตย (Authoritarian)การเลี้ยงดูอบรมแบบเข้มงวดกวดขัน’
  2. การอบรมแบบตามใจ (Leisser-faire) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1. การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปะละเลยหรือทอดทิ้ง
    2. การอบรมเลี้ยงดุแบบถนุถนอมมากเกินไป
(3) การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย (Democracy) ให้บุตรได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่าง เต็มที่
3.3 สภาพแว้ดล้อม
  1. สภาพแว้ดล้อมทางบ้าน
ในข้อนี้แบ่งสภาพแว้ดล้อมทางบ้านออกเป็น 2 ประเภททสำคัญ คือ
    1. การปะทะสังสรรค์กันระหว่างบุคคลในบ้าน
    2. สภาพของบ้านและสิ่งแวดล้อมในบ้าน
  1. สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน
สภาพแวดล้อมางดรงเรียนแบ่งออกได้ 5 ประการ คือ
    1. สภาพของโรงเรียน
    2. ครู
    3. เพื่อน
    4. ระเบียบวินัยของโรงเรียน
    5. หลักสูตร
  1. สภาพแวดล้อมทางสังคม
สาเหตุ 3 ประการของปัญหาสังคม ดังนี้
ประการที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social change)
ประการที่ 2 ความไม่เป็นระเบียบของสังคม หรือภาวะสังคมพิการ (Social disorganization)
ประการที่ 3 บุคลิกภาพ (Personality)

บทที่ 4
ปัญหาด้านอารมณ์
คำว่า ’ปัญหาด้านอารมณ์’ หมายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วทำให้ความรู้สึกของบุคคลสับสนมปั่นป่วน มักออกมาในรูปความรู้สึกเสียใจ ผิดหวัง ท้อแท้ หวาดกลัว พฤติกรรมที่เกิดขึ้นมักจะรุนแรงเกินความเป็นจริง
  1. วัยทารก (อายุระหว่างแรกเกิด- 1 ขวบ)
2) วัยเด็ก (อายุระหว่าง 2-12 ปี)
3) วัยรุ่น (หญิงอายุระหว่าง 11- 12ปี, ชายอายุระหว่าง 13-21 ปี)
4) วัยผู้ใหญ่ (อายุระหว่าง 21-40 ปี)
5) วัยกลางคน (อายระหว่า 40-60 ปี)
6) วัยชรา (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป)


บทที่ 6
การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิตในโรงเรียน
งานด้านสุขภาพจิตไม่ว่าจะเป้นสุขภาพจิตในโรงเรียนหรือในที่ต่าง ๆ ในสังคม มีขอบเขตของการปฏิบัติงาน อยู่ 3 ประการใหญ่ คือ
  1. งานด้านป้องกัน
การปฏิบัตงานด้านสุขภาพจิตจะได้ผลดีมีประสิธิภาพต้องปฏิบัติให้ครอบคลุมครบทั้ง 3 ด้าน การปฏิบัติงานด้านที่ 3 คืองานด้านรักษาไปแล้ว ในที่นี้ขอกล่าวถึงด้านที่ 1 และด้านที่ 2 คืองานด้านป้องกันและส่งเสริม ซึ่งเป็นงานที่สำคัญและจำเป็นมาก เพราะถ้าขาดงานด้านนี้ จะทำให้มีผู้ป่วยเป็นโรคสุขาพจิตเสียหรือมีจำนวนบุคคลที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต เพิ่มมากขึ้นอีกกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบันจนเป็นที่เดือดร้อนแก่บุคคลทั่วไปในสังคม และเป็นภาระแก่ประเทศชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในฐานะที่เราเป็นพลเมืองของประเทศไทย จึงเป้นหน้าที่ของพลเมืองที่ดีจะต้องช่วยกันลดภาระดังกล่าวของประเทศ โดยการช่วยกันป้องกันและส่งเสริมให้พลเมืองของชาติทุกคนเป็นบุคคลที่มีสุขภาพจิตดี เพื่อเป็นกำลังในการช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
ในที่นี้ ขอกล่าวถึงเฉพาะด้านการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิตในโรงเรียน ดังนี้
การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิตในโรงเรียน สามารถกระทำได้โดยแยกกล่าวออก เป็น 2 ประเด็นสำคัญ คือ
  1. การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิตของบุคลากรในโรงเรียน
  2. การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิตของนักเรียน

1) การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิตของบุคลากรในโรงเรียน
สุขภาพจิตของบุคลากรในโรงเรียนโดยพาะครูเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะครูนั้นรับสมญาว่าเป็น “แม่พิมพ์ของชาติ” เป็นผู้ที่ใกล้ชิดเด็กนอกจากผู้ปกครอง เป็นผู้อบรมสั่งสอนเด็กในทุก ๆ ด้าน ครูจึงมีอิทธิพลต่อการส่งเสริมความเจริญงอกงามของเด็กให้บรรลุผลดังความมุ่งหมายของการศึกษา เป็นที่ยอมรับการทั่วไปว่า ครูที่มีสุขภาพจิตไม่ดีมีส่วนทำให้สุขภาพจิตของเด็กเสียได้ จึงควรป้องกันและส่งเสริมทุกวิธีทางเพื่อให้สุขภาพจิตของครูดี
สาเหตุ
สาเหตุต่างๆที่ทำสุขภาพจิตของครูไม่ดี มีหลายประการดังนี้
  1. ลักษณะของงานทำให้เบื่อหน่าย เพราะเป็นงานที่ซ้ำซาก จำเจ
  2. ครูมักเกิดความเครียดทางอารมณ์อยู่เสมอ เนื่องจาก
(2.1) งานสอนมากเกินไป เช่น การสอนสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง
(2.2) งานธุรการรบกวนการสอนของครู เช่นงานทะเบียน การประชุม
(2.3) ขาดอุปกรณ์การศึกษา และสถานที่อย่างเพียงพอ
(2.4) ผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน เช่นไม่ยอมให้ครูไปเยี่ยมบ้าน
(2.5) ครูไม่สามารถสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก เช่นเด็กบางคนชอบเล่นกีฬา บางคนชอบอ่านหนังสือ ฯลฯ
(3) ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ได้แก่
(3.1) ความขัดแย้งระหว่างเพื่อนร่วมงาน
(3.2) ความขัดแย้งกับผู้บริหารโรงเรียน
(3.3) ความขัดแย้งกับนักเรียนเนื่องจากการวางระเบียบวินัยบางอย่างที่นักเรียนไม่พอใจ เช่นการตัดผมสั้น
(4) การรักษาคตินิยมที่ว่า “ครูต้องเป็นแบบฉบับอันดีงามของศิษย์” มากเกินไปจึงต้องประพฤติแบบอย่างขัดกับความต้องการที่แท้จริงของตนเอง
(5) ทำงานแล้วได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มค่า ทั้งด้านเงินทอง การยอมรับนับถือ และเกียรติยศชื่อเสียง และบางครั้งอาจถูกมองกลับเป้นด้านลบคือด้านไม่ดีอีกด้วย

การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิต
ย่อมเป็นที่ตระหนักดีว่า การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดก็คือการแก้ที่ตนเอง แม้ว่าเป็นปัญหาต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น จะมีทั้งปัญหาที่เกิดจากตนเองและบุคคลอื่น ดังนั้ครูจึงควรแก้ไขตนเอง เพื่อรักษา ป้องกัน ส่งเสริมให้สุขภาพตนเองดีอยู่เสมอดังนี้
  1. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และนำคำวิจารณ์เหล่านั้นมาพิจารณาหาวิธีดำเนินการให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุด
  2. พยายามเป้นตัวของตัวเองให้มากที่สุด แม้ว่าเราอาจจะมีข้อบกพร่องที่ควรแก้ไขปรับปรุงบางอย่าง ก็ยังไม่เลวร้ายจนเกินไปนัก เพราะไม่มีใครจะดีพร้อมและสมบูรณ์ไปหมดทุกด้าน
  3. เมื่อรู้สึกว่าไม่สบาย ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
  4. พยายามทำงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาเสมอ ไม่ควรใช้วันสุดสัปดาห์หรือวันหยุดราชการมาสะสางงานที่คั่งค้าง เพราะจะทำให้มีความตึงเครียดตลอดเวลาซึ่งมีมาตลอดทุกวันอยู่แล้ว วันเหล่านี้ควรจะเป็นวันที่ผ่อนคลายความตึงเครียดเพื่อป้องกันและส่งเสริมให้มีสุขภาพจิตดียิ่งๆ ขึ้น เพื่อพร้อมที่จะพบกับความตึงเครียดในการทำงานในวันธรรมดาอีกต่อไป
  5. ทำงานด้วยความมานะ พากเพียรอย่างเต็มที่ เพื่อช่วยส่งเสริมให้อาชีพครูได้รับการยกย่องยิ่งขึ้น อันเป็นผลสะท้อนให้ครูได้รับการยกย่องจากสังคมว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติ เสียสละ มีคนยกย่องนับถือมากมายในสังคม
  6. พยายามทำความเข้าใจและให้อภัยกับพฤติกรรมอันไม่พึงปรารถนาของเด้กนักเรียน เช่น พฤติกรรมก้าวร้าว เรียกร้องความสนใจ ฯลฯ โดยใช้หลักจิตวิทยาต่าง ๆ และมุ่งความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นหลัก
  7. พยายามใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เช่นการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนนั้น ๆ บ้างแล้วแต่โอกาส ซึ่งจะทำให้ได้รับประสบการณืใหม่ๆ กระปรี้กระเปร่า และมีเวาลสนใจเรื่องยุ่งยากวุ่นวายต่างๆ น้อยลง
ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ได้กล่าวถึงแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพจิตของครุ ไว้ดังนี้
สุขภาพจิตที่ดีเกิดขึ้นได้เมื่อครูกับครูรักกัน และเขาใจกันเอง ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน เห็นใจกันเอง การอยู่ร่วมกันนั้นต้องเข้าใจถึงลักษณะของความต้องการในรูปของความรู้สึก 4 ประการคือ
  1. ความรู้สึกอยากเป็นเจ้าของ
  2. ความรู้สึกอยากให้ยกย่อง
  3. ความรู้สึกต้องการดอกาส
  4. ความรู้สึกต้องการความมั่นคง
ถ้าบุคคลเข้าใจถึงความต้องการของแต่ละคน มีการเอาใจเขามาใส่ใจเรา และรู้จักให้เขาบ้างตามควรที่จะให้ได้ ทุกคนก็จะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
  1. ความรู้สึกอยากเป็นเจ้าของ (Sense of belonging)
คือความรู้สึกว่าโรงเรียนนี้เป็นของเรา เพื่อนร่วมงานทุกคนเป็นเพื่อนของเรา เราควรมีส่วนในการสร้างความเจริยงอกงาม ดังนั้นเมื่อมีงานใด ต้องพยายามให้ทุกคนได้มีส่วนช่วย อย่าพึงทำอะไรคนเดียว ให้คำนึงว่าทุกคนเป็นคนมีฝีมือ มีความสามารถด้วยกันทั้งนั้น มิใช่เรามีความสามารถคนเดียว ถ้าทุกคนได้มีส่วนในการกระทำงานต่าง ๆ เขาจะเกิดความรู้สึกในความเป้นเจ้าของขึ้นมาเอง เช่น การช่วยกันตกแต่งสถานที่ หรือห้องทำงานให้สวยงาม ทุกคนช่วยกันคนละไม้คนละมือ ทุกคนก็จะช่วยกันดูแลรักษาเพราะมีความรู้สึกว่าได้มีส่วนร่วนในการเป้นเจ้าของต่อสถานที่นั้น ๆ
  1. ความรู้สึกอยากให้ยกย่อง (Sense of Recognition)
บุคคลทุกคนเมื่อได้กระทำสิ่งใดไปแล้ว มักต้องการให้บุคคลอื่นได้มองเห็น ได้รับทราบและยกย่องสรรเสริญ ตามหลักจิตวิทยาที่ว่าควรรู้จักใช้คำว่า ‘ขอบใจ ดีใจ และยินดีด้วย’ จึงได้เกิดเป็นมารยาทสากลว่า ถ้าใครทำดีก็แสดงมุทิตา เชีบยร์เขา แสดงความยินดีกับเขา และขอบใจเขา ซึ่งเท่ากับเป็นการให้คนในสิ่งที่เขาต้องการ
  1. ความรู้สึกต้องการโอกาส (sense of Opportunity)
ครูทุกคนต้องการโอกาสในการก้าวหน้า เมื่อมีโอกาสมากเท่าใดบุคคลก็จะก้าวไปให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น เสมียนอยากเป็นเจ้าหน้าที่ประจำแผนก เจ้าหน้าที่ประจำแผนกก็ อยากเป็นหัวหน้าแผนก ครน้อยก็อยากเป็นครูใหญ่ เป็นต้น ดังนั้นถ้าต้องการอยู่ร่วมกันอยางมีความสุขและมีสุขภาพจิตดี ก็ไม่ควรไปกีดกันโอกาสดีของบุคคลอื่น
  1. ความรู้สึกต้องการความมั่นคง (Sense of Security)
งานใดที่มีความสุข มีความมั่นคง มนุษย์ทุกคนย่อมต้องการความมั่นคงนี้รวมไปถึงสวัสดิภาพในการงานและครอบครัว ตลอดจนหลักประกันของสังคมในอนาคต เช่น งานที่ทำมั่นคงเพียงใด งานนี้จะถูกโยกย้ายบ่อยหรือไม่ ถ้าออกจากงานแล้วจะมีเงินค่าตอบแทนหรือไม่ เป็นต้น ถ้ามีความมั่นคงดังกล่าวข้างต้น และมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตแก่ทุกคนที่อยู่หรือทำงานร่วมกัน
ดังนั้น ถ้าทราบว่าทุกคนมีความต้องการเป็นสิ่งใด โดยเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ก็จะทำให้เกิดความเห็นใจรักใคร่กันขึ้นเอง ความรักกันในหมู่คณะก็เกิดขึ้น ความสุขและความมีสุขภาพจิตดีนั้น ๆ ก็จะถ่ายทอดไปยังนักเรียนหรือลูกศิษย์ต่อไป ทำให้นักเรียนมีความสุข สบายใจมีความรักโรงเรียน ทั้งครูและนักเรียนก็มีสุขภาพจิตดี นั้นคือสุขภาพจิตในโรงเรียนก็จะดีไปด้วย

การปรัปตัว (Adjustment)
  1. คำจำกัดความ
คำว่า ‘การปรับตัว’ หมายถึงกระบวนการที่บุคคลพยายาม ปรับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ตนเอง ไมว่าจะเป็นปัญหาด้านอารมณ์ ปัญหาด้านบุคลิกภาพ และปัญหาด้านความต้องการให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม จนเป็นสภาพการณ์ที่ตนสามารถทนอยุ่ในสังคมหรือสภาพแวดล้อมนั้น ๆ
ถ้าบุคคลปรับตัวแล้วสามารถทนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขไม่มีข้อขัดแย้งในใจ ก็แสดงว่าบุคคลนั้นยังมีสุขภาพจิตดี ไม่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ตนเองและสังคม
แต่ถ้าบุคคลปรับตัวแล้ว ก็ยังไม่สามารถทนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีการกล้ำกลืนหรือเก็บตกความทุกข์หรือความไม่สบายใจนั้นไว้ในใจ ปราศจากความสุขที่แท้จริง เพราะยังมีข้อขัดแย้งต่าง ๆ อยุ่ภายในใจอีกมาก ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บุคคลนั้นมีสุขภาพจิตเสื่อมลง ๆ กลายเป็นบุคคลที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต ซึ่งนำความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและสังคมต่อไป
ในการปรับตัว โดยใช้กระบวนการต่า ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่สภาพปัญหาและประสบการณ์ของแต่ละบุคคลนั้น ในทางจิตวิทยาเรียกว่า ‘กลวิธานในการปรับตัว’ (Defense mechanism)
  1. กลวิธานในการปรับตัว (Defense mechanism)
คำว่า ‘กลวิธานในการปรับตัว’ เป็นคำศัพท์ที่นักจิตวิทยาบัญญัติขึ้น เพื่อใช้อธิบายถึงกลไกต่าง ๆ ทีบุคคลใช้ในการปรับตัว เมื่อเกิดความขัดข้องใจ ความขดแย้งในใจ และความวิตกกังวล โดยช่วยรักษาไว้ซึ่งความภาคภูมิใจของบุคคลแม้ว่าจะประสบความล้มเหลวในชีวิตนอกจากนั้น ยังช่วยลดความไม่สบายใจอันเกิดจากความกลัว หรือความสำนึกผิดต่าง ๆ ได้ การใช้กลวิธานในการปรับตัวนี้มักใช้ในบุคคลทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเกิดความไม่สบายใจดังกล่าว แต่บางครั้งไม่ช่วยแก้ปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ เพียงแต่ลดความไม่สบายใจจนจิตใจอยู่ในสภาพที่พร้อมจะแก้ปัญหาต่อไป ซึ่งมีหลายวิธี ในที่นี้ขอแบ่งเป้น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
  1. ประเภทที่สู้หรือเผชิญหน้ากับปัญหา (Fight)
  2. ประเภทที่หลีกเลี่ยงหรือหนีปัญหา (Flight)
(1) ประเภทที่สู้หรือเผชิญหน้ากับปัญหา (Fight)
กล่าวคือ เมื่อบุคคลประสบปัญหาใด ๆ แล้วเกิดความไม่สบายใจต่าง ๆ เขาจะเผชิญหน้ากับปัญหาโดยใช้กลไกต่าง ๆ ในการปรับตัวต่อปัญหานั้น ๆ เพื่อลดความไม่สบายใจ ได้แก่
  1. การหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง (Rationalization) เป็นการหาเหตุผลที่รู้สึกว่าดีและเป็นที่ยอมรับของสังคมอิบายแทนเหตุผลที่แท้จริง เพื่อเข้าข้างตนเอง หลอกตนเองและบุคคลอื่น เพื่อรักษาหน้าหรือชื่อเสียงของตนไว้และเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคม เข้าทำนอง องุ่นเปรี้ยว มะนาวห้าว เช่น หนุ่มที่จีบสาวไม่สำเร็จ ก็อ้างเหตุผลว่าเพราะรสนิยมไม่ตรงกัน
  2. การโยนความผิดให้ผู้อื่น (Projection) หมายถึงการวักทอดความผิดให้ผู้อื่น เป็นการกล่าวโทษผู้อื่น มองผู้อื่นในแง่ร้ายโดยไม่ยอมสำรวจความผิดหรือความบกพร่องของตนเอง เข้าทำนองรำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง เช่น นิสิตที่สอบตกก็อ้างว่าอาจารย์ออกข้อสอบไม่ดีไม่ตรงกับเนื้อหา
  3. การย้ายอารมณ์ (Displacement) เป็นการย้ายหรือระบายอารมณ์จากบุคคล(สิ่งของ)หนึ่ง ไปอีกยังบุคคล (สิ่งของ) หนึ่ง เพื่อลดความไม่พอใจหรือความโกรธลง เข้าทำนองตีวัวกระทบคาด เช่น นิสิตโกรธอาจารย์ก็หันไปชกผนังห้องแทน
  4. การชดเชย (Compensation) เป็นการหาสิ่งอื่นมาชดเชยสิ่งที่ตนขาดไป หรือหาปมเด่นมาลบปมด้อย เป็นการรักษาหน้า รักษาชื่อเสียง และเอาชนะความล้มเหลวต่าง ๆ ที่ได้ประสบ เข้าทำนองตัวเล็กเสียงดัง เช่น คนที่เรียนหนังสือไม่เก่งแต่เล่นกีฬาเก่ง
  5. การระบาย (Sublimation) เป็นการแปลงรูปความกดดันของอารมณ์ออกมาในรูปที่สังคมยอมรับ เช่น หนุ่มจีบสาวไม่ได้กลับไปเขียนภาพไว้ดูตางหน้า หรือเขียนกาพย์กลอนบรรยายความรู้สึกต่างๆ เหล่านั้นออกมา ฯลฯ จากกลวิธานในการปรับตัววิธีนี้นี่เองทำให้เชื่อกันว่า เป้นสาเหตุที่ทำให้เกิดศิลปะวรรณกรรมต่าง ๆ ที่มีความงมาและความไพเราะยิ่งนักเพราะเกิดจากอารมณ์ที่กดดันอยู่ในส่วนลึก
  6. การทดแทน (Substitution) หมายถึงการทดแทนกิจกรรที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมด้วยกิจกรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับเด็กวัย
  7. การกระทำที่ตรงกนข้ามกับใจ (Reaction formation) เป็นการแสดงพฤติกรรมที่ตรงกันข้ามกับความรู้สึกที่แท้จริงของบุคคลที่กลบเกลื่อนควอับอาย ควารู้สึกผิด ซึ่งไม่ปรารถนาให้คนอื่นทราบ เข้าทำนองปากว่าตาขยิบ หรือหน้าเนื้อใจเสือ
  8. การเรียนแบบผู้อื่น (Identification) เป็นการแสดงการยอมรับเอาค่านิยมทันคติ ตลอดจนบุคลิกภาพของบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคม โดยการเลียนแบบเพื่อให้รู้สึกว่าตนเองมีค่ามากขึ้น อันเป็นการลดความขับข้องใจ เนื่องจากไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม หรือต้องการมีชื่อเสียงมากนืสังคม เช่น เด้กวัยรุ่นชาวอเมริกันเลียนแบบประธานาธิบดี
  9. การเอาเข้ามาในตัว (Introjections) เป็การยอมรับเอาค่านิยมของบุคคลที่มีอำนาจเหนือกว่ามาไว้กับตนเอง เพื่อลดความไม่สบายใจที่ไม่สามารถเอาชนะบุคคลนั้น ๆ ได้ เช่น ในครอบครัวชาวไทย ลูกเกรงใจพ่อแม่ จึงยอมรับความคิดเห็น หรือค่านิยมต่าง ๆ ของพ่อแม่ ฯลฯ
  10. การเมินเฉย (Emotional Insulation) เป็นการเครียดของอารมณ์โดยการลดความต้องการ ความหวังต่าง ๆ ลง ด้วยการแสดงความไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งนั้น ๆ เช่น คำพูดที่ว่า ต่อไปนี้ฉันเลิกคิดที่อยากจะได้บ้าน รถยนต์เสียแล้ว คล้าย ๆ กับการปลงตก
  11. การล้างบาป (Undoing) การกระทำบางอย่างที่เป็นสัญลักษณ์ เพื่อลบล้างการกระเดิมซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับโดยตนเองหรือสังคม เป็นกลไกแบบเด็ก ๆ ในระยะแรก (Primitive) มีลักษณะคล้ายกับ “การทำบุญล้างบาป”
  12. การทำให้เป็นสัญลักษณ์ (Symbolization) หมายถึงการใช้วัตถุสิ่งของหรือการกระทำบางอย่างเป้นสัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของ หรือการกระทำซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับโดยตนเองหรือสังคม สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ (Symbol object) มักเป็นแบบเดียวกันภายในจิตไร้สำนึกของหลาย ๆ คน กล่าวคือเป็นสัญลักษณ์สากล (Universal symbol)
  13. การเก็บกด (Repression) หมายถึงการเก็บกดคามคิด (Thought) แรงผลักดัน (Impulse) แรงชขับ (Drive) หรือความจำ (Memory) ที่ขัดแย้งและก่อให้เกิดความปวดร้าวทางใจอย่างรุนแรงไม่ให้ผุดขึ้นมาในระดับจิตสำนึก เป็นการเก้บกดชนิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจหรือเป้นกระบวนการของจิตไร้สำนึก เป็นกลไกป้องกันปฐมภูมิ (Primary ego defense) ส่วนกลไกป้องกันอื่น ๆ มีส่วนช่วยส่งเสริมกลไกนี้ให้แข็งแรงขึ้น นอกจากนั้นยังจัดว่าเป็นกลไกการปรับตัวที่สำคัญยิ่งในผู้ป่วยโรคปะสาท
  14. การดระงับ (Suppression) มีลักษณะคล้ายกับการเก็บกด ต่างกันที่ว่าการระงับเป้นกระบวนการของจิตสำนึกและเกิดขึ้นโดยตั้งใจ (Conscious and intentional) บางครั้งการกดระงับอาจนำไปสู่การเก็บกดได้
  1. ประเภทที่หลีกเลี่ยงหรือหนีปัญหา (Flight)
กล่าวคือ เมื่อบุคคลเผชิญกับปัญหาแล้วไม่สบายใจ เขาจะไม่เผชิญหน้ากับปัญหา แต่จะหลีกหนีเสียเพื่อลดความไม่สบายใจต่าง ๆ ลง ได้แก่
  1. การแยกจากกัน (Isolation) หมายถึงการแบ่งแยกส่วนประกอบของอารมณ์ (Emotional components) ออกจากความคิด (thoughts) เช่น นักเรียนแพทย์ชำแหละศพในห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ โดยไม่มีความคิดเกี่ยวกับความตายมารบกวนเลยคนบางคนสามารถระลึกถึงเหตุการณ์ หรือความคิดอันแสนปวดร้าวได้ โดยไม่มีเรื่องของอารมณ์ไปเกี่ยวข้อง เป็นกลไกที่พบได้บ่อยในโรคประสาทชนิดย้ำคิดย้ำทำ
  2. การปฏิเสธ (Denial) หมายถึงการไม่ยอมรับรู้อารมณ์ ความคิด แรงขับพฤติกรรมหรือสถานการณ์บางอย่างที่ก่อให้เกิดความกระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรง ดูเผิน ๆ แล้วมีความสัมพันธ์กับการหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง เช่น คนหูตึงไม่ยอมรับว่าตนเป็นเช่นนั้น
  3. การแตกกระจาย (Dissociation) หมายถึงการแตกแยกของกลุ่ม ความคิดหรืกิจกรรมต่าง ๆ จากส่วนสำคัญของบุคลิกภาพ ส่วนที่แตกแยกออกมานี้จะทำหน้าที่เป็นอิสระอาจหายถึงการแกตัว (Detachment) ของบุคลิกภาพส่วนหนึ่งออกมาจากบุคิกภาพเดิม
  4. การถดถอย (Regression) หมายถึงการถอยกลับของ Ego ไปสู่ระยะแรกของการพัฒนาบุคลิกภาพ เมื่อเผชิญความขัดแย้งหรือความขัดข้องใจ เช่นคนที่มีพัฒนาการของบุคลิกภาพมาถึงระยะเพศตอนปลาย (Genital stage) พอเกิดมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเพสอย่างรุนแรง อาจถอยกลับไปสู่ระยะปากอีกครั้งหนึ่งด้วยการกินจุ การถดถอยนี้มักจะดำเนินกับสู่จุดตรึงแน่น (Fixation point) ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป เป็นกลไกที่สำคัญในผู้ป่วยโรคจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคจิตเภท เป็นการถอยหนีจากโลกของความจริงไปสู่โลกของความฝัน
  5. การใช้เชาว์ปัญญา (Intellectualization) หมายถึงการใช้แนวความคิดเกี่ยวกับเชาว์ปัญญามากเกินไป เพื่อหลีกหนีประสบการณ์ทางอารมณ์ หรือการแสดงออกถึงความรู้สึกบางอย่างที่ทำให้ไม่สบายใจ กลไกนี้มีความสัมพันธ์กับการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง พบในเด็กวัยรุ่นที่ต้องการจะหลีกหนีแรงขับทางเพศจากภายใน ผู้ป่วยโรคประสาทชนิดย้ำคิดย้ำทำ ผู้ป่วยใกล้จะเป็นโรคจิตเภท (Borderline Schizophrenia)
  6. ความเพ้อฝัน (Fantasy) เป็นกระบวนการที่บุคคลที่ผูกเรื่องขึ้นมาในจิตใจเพื่อสนองความต้องการ คามเพ้อฝันหรือความฝันกลางวัน (Daydreams) มักเป็นตัวแทนของความต้องการหรือความปรารถนา แต่ไม่ขึ้นอยู่กับหลักแห่งการเป็นจริง(Reality principle) สิ่งนี้อาจก่อให้เกิความสุข ความพอใจ ความชื่อนชม ลดความตรึงเครียดในชีวิตประจำวัน และในบางดอกาสจะนำไปสู่กิจกรรมที่สร้างสรรค์ได้ อยางไรก็ตามถ้าหมกมุ่นครุ่นคิดไปตามความเพ้อฝันจนเกินขอบเขตก็อาจเกิดผลเสียได้ เป็นการสิ่นเปลืองเวลาโดยเปล่าประโยชน์
  7. ความฝัน (dreams) เป้นกระบวนการซึ่ความต้องการที่ถูกเก็บกดไว้ หรือความขัดแย้งภายในจิตใจบางอย่างปรากฏออกมาในลักษณะของความฝันขณะหลับ การฝันดีจะทำให้บุคคลผู้นั้นหลับต่อไปได้อย่างสบาย แต่การฝันร้าย (Night-mare) จะก่อให้เกิดความกลัวและความวิตกกังวล กระบวนการของความฝันจะต้องใช้กลไกอย่างอื่นประกอบด้วย เช่น การย้ายอารมณ์ การหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง และการชดเชย เป็นต้น
  8. การตรึงแน่น (Fixation) เราทราบแล้วว่าพัฒนาการทางบุคลิกภาพจะต้องดำเนินก้าวหน้า (Progression) เรื่อยไปเป็นขั้น ๆ ตั้งแต่ระยะปากจนถึงระยะเพศตอนปลาย ในบางครั้งอาจเกิดความตรึงแน่นที่ระยะหนึ่งระยะใดของพัฒนาการทางบุคลิกภาพได้ เมื่อประสบความยุ่งยากและความขัแย้งที่รุนแรง หรืออีกในหนึ่งเกิดการหยุดชะงักของพัฒนาการทางบุคลิกภาพขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้พลังงานทางจิตจำนวนหนึ่งจะถูกใช้สำหรับความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในระยะนั้นทำให้พลังงานที่เหลือสำหรับพันาการในขั้นต่อ ๆ ไปลดลง ความ
ในการใช้กลวิธานในการปรับตัวนี้ ส่นใหญ่นักจิตวิเคราะห์เชื่อว่าเป็นกระบวนการทำงานของจิตไร้สำนึก (Unconscious) แต่บางครั้งบุคคลอาจใช้กิจกรรมในระดับจิตสำนึก (conscious) ซึ่งรู้ตัว รู้กาลเทศะด้วยเพื่อช่วยลดความไม่สบายใจ อย่างไรก็ตามความพยายามของมนุษย์ที่ไม่สัมฤทธิ์ผลในการตอบสนองความต้องการ เพื่อลดความวิตกกังวล ความขัดแย้งในใจ ซึ่งเป็นความไม่สบาใจต่าง ๆ ตลอดจนการใช้กลไกต่าง ๆ ที่ป้องกันการนำไปสู่ความล้มเหลวได้ ซึ่งล้วนแต่เป้นปัจจัยอันสำคัญที่ทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ ทางจิตใจ
อ้างอิง
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์.(2524).สุขภาพจิตในโรงเรียน.กรุมเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สุชา จันทน์เอม.(2531).สุขภาพจิต.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แพร่พิทยา
ดวงมาลย์ เริกสำราญ.(2519).สุขภาพจิตศึกษา.กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น