วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ปรับตัวทางด้านทางเพศ โรคสมอง Cerebrovascular Disease


5. ปรับตัวทางด้านทางเพศ ยอมรับการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากสูงอายุ และปรับตัวรับสภาวะการเป็นหม้ายหรือหย่าร้าง บุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับความล้มเหลวในการงานและผิดหวังในชีวิตสมรสอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ อายุ 35-45 ปี บางคนเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลประสาทเนื่องจากภาวการณ์ปรับตัวไม่ได้วัยผู้ใหญ่ตอนกลางอยู่ในขั้น Sense of Generativity VS. Sense of Absorption ของทฤษฏี อีริคสัน ที่กล่าวถึงการที่บุคคลมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อครอบครัว รู้จักอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน แต่ผู้ใหญ่ที่มีชีวิตล้มเหลวจะคิดถึงแต่ตนเอง สงสารตนเองและสนใจตนเองมากกว่าคนอื่น
การปรับตัวในวัยผู้ใหญ่ส่วนมากจะใช้กลวิธานในการปรับตัวแบบต่างๆ ตามความสนใจและการใช้เหตุผลของตนเป็นสำคัญ
8.8.6. พัฒนาวัยชรา
วัยชราออกเป็น 2 ระยะดังนี้ (Linda L. Davidoff 19878 : 427)
1.วันชราตอนต้น (Young Old Age) อายุ 65-75 ปี
2.วัยชราตอนปลาย (Old Old Age) อายุ 75 ปีขึ้นไป
8.8.6.1 การเปลี่ยนแปลงในวัยชรามีดังนี้
ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง แคลเซี่ยมในกระดูกเสื่อมลงอายุของกระดูกบางชิ้นจะเสื่อมลงตามระยะเวลาของการใช้งาน กระดูกของคนชรามักจะเปราะบางและโค้งงอ ถ้าล้มกระดูกจะหักง่าย กระดูกเสียรูปร่างโดยคนชราที่นั่งงอตัวเป็นประจำหลังจะโกง
ผิวมีไขมันน้อยลงเพราะต่อมไขมันใต้ผิวหนังเสื่อมลง ผิวหนังจะแห้งละบาง มีจุด กระ ขึ้นอยู่ตามผิวหนังทั่วไป ผิวหนังมีรอยย่น เหี่ยวทั่วไป ซึ่งเป็นสัญญาณของความชราภาพ ผมเริ่มบางลง มีสีเทาหรือขาว การรับสัมผัสทางหู ตา จมูก ลิ้นและ ผิวหนังเสื่อมลง สายตาจะมองเห็นไม่ชัด ลักษณะเป็นสายตายาว คนชราที่เคยมีลักษณะสายตาสั้นมาก่อนจะลดลักษณะของสายตายาวขึ้นไม่สั้นมากเหมือนครั้งก่อน การรับรสทางลิ้นเสื่อมลง คนชราจึงมักปฏิเสธอาหาร ไม่ค่อยรับประทานอาหารให้มากเหมือนก่อนๆ จึงเกิดภาวะการขาดสารอาหารง่าย หูไม่ค่อยได้ยินชัดเจน มีลักษณะของคนหูตึงเป็นส่วนใหญ่ จมูกไม่ค่อยจะได้กลิ่น การปรับตัวของคนชราไม่สามารถจะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้
ระบบหมุนเวียนของโลหิตเสื่อมลง การเต้นของหัวใจลดลงตามอายุ ความดันโลหิตจะลดลง 1 เปอร์เซ็นต์ ทุกๆ ปีหลังจากอายุ 20 ปี (Roediger III et al. 1984 : 390) ความต้องการออกซิเจนที่ส้นเลือดนำไปตามโลหิตสู่ส่วนต่างๆ ลดลง โลหิตไหลช้าลง เส้นโลหิตเปราะแข็งขึ้นตามอายุ บางครั้งมีการสะสมตามไขมัน อันเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลมาก หรือไขมันที่อุดตันเส้นโลหิตโดยเฉพาะที่เส้นโลหิตบริเวณขั้วหัวใจอาจเกิดจากการขับฮอร์โมนของต่อมอดรีนาลินผิดปกติ ภาวะเช่นนี้ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เลือดมาเลี้ยงสมองช้าลง คนชรามักจะตายด้วยโรคหัวใจ มะเร็ง และความดันโลหิตสูง
8.8.6.2 ระบบหายใจของคนชราเปลี่ยนแปลง การหายใจสั้น มีช่วงสั้นมากตามอายุ ทำให้ออกซิเจนไปสู่ถุงลมในปอด หลอดลมน้อย ปอดจึงแฟบเหี่ยวลง
8.8.6.3 ระบบต่อมไร้ท่อทำงานลดลง ต่อมฟิทุยอินทารี ไทรอยด์ พาราไทรอยด์ ในคนชราผลิตฮอร์โมนน้อยลงตามอายุ จากการลดปริมาณของฮอร์โมนทำให้เกิดโรคบางอย่าง รวมทั้งทำให้มีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ คนสูงอายุจึงเป็นโรคง่าย เช่น เบาหวาน มะเร็ง และโรคผิดปกติอื่นๆ
8.8.6.4 ระบบสืบพันธ์ในคนชราเปลี่ยนแปลง ในผู้ชายอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไปจะลดการผลิตอสุจิลง 50 เปอร์เซ็นต์ อายุ 80 ปี จะผลิตเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ผู้ชายจะมีอาการผิดปกติของต่อมลูกหมากซึ่งจะต้องทำการผ่าตัด หญิงจะมีอาการปวดหลัง เอว ช่องคลอด แห้งและหดตัว ไม่สามารถจะร่วมเพศอีกได้เพราะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
ความจำของคนอายุ 60 หรือ 70 ปี จะลดลง การพูดช้าลง การตัดสินใจช้า การสนองตอบในการรับรู้ต่างๆ ลดลง อายุมากไม่ทำให้การเรียนรู้ลดลง แต่คนสูงอายุมีความกังวลสูง จากการวิจัยเรื่องระดับ I.Q. ของคนสูงอายุนั้น อายุ 50-60 ปี อาจจะมีการสูญเสียความสามารถทางสมองลงบ้าง แต่ยังไม่มีหลังฐานบ่งชี้แน่นอน อายุ 70 ปี อาจมีการสูญเสีย I.Q. ลงบ้าง ถ้าคนชราได้ใช้ความคิดให้คล่อง มีสุขภาพดี มีสิ่งแวดล้อมทางส่วนตัวและทางสังคมดี การเสื่อมของสมองอาจไม่มีเพราะใช้สมองอยู่เสมอจึงลดอัตราการเสื่อมของสมองลงได้ สรุปแล้วคนชราที่มีการศึกษาดี รักษาสุขภาพ มีความคล่องแคล่ว และจัดสภาพแวดล้อมแวดล้อมรอบตัวดีไม่มีผลของการเสื่อมของสมองแต่อย่างใด (Lind L. Davidoff 1987 : 427)
8.8.6.5 อาการเจ็บป่วยทางสมองของคนชรา
ในวัยผู้ใหญ่และวัยชรามีการเจ็บป่วยทางสมองดังนี้(Benjamin B. Lahey 1980 : 365-377)
  1. โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
มักจะเกิดหลังอายุ 50 ปี กล้ามเนื้อแขน ขา จะไม่มีแรง มีอาการสั่นและเกร็ง ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกว่า มือ เข่า ขา ศีรษะตั้งเกร็ง แต่ไม่มีผลต่อสติปัญญาและการรับรู้อย่างใด เวลาเดินจะมีอาการสั่นกล้ามเนื้อไม่มีแรง
  1. โรคฮันติงตัน (Huntington’s Disease)
ผู้พบโรคนี้คือ George Huntington ในปี ค.. 1872 มักจะปรากฏในอายุ 30-50 ปี เกิดจากความเสื่อมของ Cerebral cortex และสมองตอนกลางส่วนล่าง ผลที่เกิดได้แก่ เวลาเดินเหมือนมีอาการกระตุก โรคนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยยีนที่มีลักษณะเด่น หญิงและชายมีโอกาสจะได้รับการถ่ายทอดได้เท่าๆกัน มีการสูญเสียความจำ การตั้งใจ อารมณ์ซึมเศร้า กังวล มีความรู้สึกไม่เป็นมิตร
  1. โรคทางสมอง (Alzheimer)
แพทย์ชาวเยอรมันค้นพบโรคนี้ในปี ค.. 1900 ผู้พบชื่อ Alois Alzheimer อาจเกิดขึ้นตั้งแต่อายุ 30-40 ปี หรือ 30-40 ปี หรือ 50-60 ปี ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย เกิดจากการมีโพรงในสมองทำให้เกิดมีของเหลวไปขังในสมอง อาการที่เป็นได้แก่ พูดไม่ชัด ความจำเสื่อม ไม่ค่อยมีสมาธิ มีปัญหาในการใช้ภาษาเป็นสื่อในการพูด อ่านและเขียน
  1. โรคทางสมอง Pick’s Diseanse
ผู้ค้นพบคือ Arnold Pick ในปี ค.. 1800 โรคนี้เกิดจากการถูกทำลายของเนื้อสมองส่วนหน้า มีอาการคล้ายๆ กับโรค Alzheimer ผู้หญิงมักจะมีอาการมากกว่าผู้ชาย
  1. โรคสมอง Senile Dementia
เกิดจากการที่เซลล์สมองถูกทำลายหรือเซลล์สมองตายน้ำหนักของสมองจะเล็กลง มักเกิดเมื่ออายุ 60 ปี และจะแสดงอาการออกมาชัดเจนราวๆ อายุ 70-80 ปี จากการศึกษาซึ่งไม่มีตัวเลขยืนยันแน่นอนพบว่า อายุ 65 ปี การตายของเซลล์สมองมี 5 เปอร์เซ็นต์ อายุ 80 ปี จะมีการตายของเซลล์สมองถึง 20 เปอร์เซ็นต์ และถ้าบุคคลนั้นมีสุขภาพดี และมีสิ่งแวดล้อมทางสังคมดี อาจจะมีการสูญเสียน้อยลง อาการที่แสดงออกได้แก่ การเปลี่ยนแปลงนิสัยประจำตัวลง เสียความจำ สติปัญญาเริ่มสับสนอารมณ์แปรปรวน เศร้าซึมและกังวลใจ
  1. โรคสมอง Cerebrovascular Disease เกิดกับบุคคลอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปเพราะความอ้วนโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เลือดส่งไปเลี้ยงสมองน้อยมากจนถึงระยะขาดเลือดนานถึง 2-3 นาที เซลล์สมองขาดออกซิเจนจะตาย ผู้ที่มีอาการจะสูญการรับรู้และไม่มีสติสัมปชัญญะ
นอกจากนี้ยังมีอาการต่างๆ ที่เกิดจากผู้สูงอายุได้รับอุบัติเหตุ เช่น การหกล้ม ศีรษะฟาดพื้น การขาดอาหาร การสูญเสียบุคคลที่รัก เป็นเนื้องอกในสมองซึ่งเกิดจากเซลล์มะเร็งหลุดเข้าไปในสมอง อาการที่เกิดกับความผิดปกติทางสมองได้แก่ ความผิดปกติทางด้านสติปัญญา อารมณ์ การจำ พฤติกรรมเปลี่ยนไปและปวดศีรษะอย่างรุนแรง เป็นต้น
พัฒนาการของวัยชราอยู่ในชั้น Sense of Integrity vs. Sense of Despair วัยชราจะนึกถึงอดีตอันสวยสดงดงามที่ตนประสบความสำเร็จ
สรุปแล้วการปรับตัวของวัยผู้ใหญ่มักจะใช้กลวิธานของการปรับตัวแบบต่างๆ เช่น การเก็บกด การทดเทิด การเข้าข้างตนเอง การกระทำตรงกันข้าม การปฏิเสธ เป็นต้น
ตารางต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบการนำทฤษฎีต่างๆมาใช้อธิบายการพัฒนาบุคลิกภาพทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของบุคคล ตั้งแต่เกิดจนถึงวัยชรา
ทฤษฎีทางสติปัญญา
ทฤษฏีพัฒนาทางสติปัญญา
เพียเจต์ (Piaget)
Theory of Intellectual
Development

ทฤษฏีบุคลิกภาพ
อีริคสัน (Erikson)
Theory of Development

1.Sensory-motor Intelligence
(0-2 ปี)
-การไขว่คว้า เคลื่อนไหว การมอง การดูด สติปัญญาพัฒนาจากการปะทะกับสิ่งแวดล้อม เป็นระยะดูดซึมพฤติกรรม (Assimilation) ด้วยการหยิบจับ กัด ดูด ดู ภายหลังเปลี่ยนเป็นการปรับความแตกต่าง (Accommdation) เป็นการเปลี่ยนความคิด เติมให้สอดคล้องกับสิ่งใหม่ เช่น เอาเหล็ก พลาสติกมากัดดูพบว่ากินไม่ได้ ความคิดที่ได้เด็กจะนำไปสร้างความสมดุล (Equillbration) ซึ่งทำให้เด็กปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้
2.Preoperational thought
(2-7 ปี)
2.1Preconceptual thought
(2-4 ปี)
ไม่เข้าใจเหตุผล เข้าใจสิ่งที่มองเห็นจากรูปร่าง
2.2 Intuittive thought
(4-7 ปี)
-มีเหตุผลขึ้น เข้าใจปฏิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังคงไม่เข้าใจเรื่องของระยะทาง มวลสาร ความคงที่ และปริมาตร
3.Concrete operations
(7-11ปี)
-รู้จักใช้เหตุผล แก้ปัญญาได้ เข้าใจรูปธรรม รู้เรื่องมวลสาร ปริมาตร เวลา ระยะทาง รวมทั้งรู้จักการคิดย้อนกลับ (reversibity) ได้ เช่นนำน้ำที่มีจำนวนเท่ากัน ใส่ในแก้วมีขนาดต่างกัน เด็กจะบอกได้ว่าปริมาณน้ำเท่ากัน แต่มีความแตกต่างกันเพียงภาวะที่ใส่น้ำ
4.Formal operations
(11-15 ปี)
-พัฒนาความคิด ความเข้าใจถึงขั้นสูงสุด คิดแบบผู้ใหญ่ แก้ปัญหาได้ เข้าใจใส่สิ่งที่เป็นนามธรรม ตั้งสมมุติฐานของความคิดเองได้

1.Trust Vs. Mistrust
ความไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ
  1. ปี)
เด็กพัฒนาความไว้วางใจต่อคนและคนอื่นจากสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่และลูก ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูไม่คงเส้นคงวา เด็กคิดว่าโรคอันตรายและไม่น่าอยู่ ปลอดภัยสำหรับตน
2.Autonomy vs. Doubt
ความเป็นตัวของตัวเอง-ความไม่มั่นใจ
(2-3 ปี )
ถ้าเด็กได้ฝึกการทำกิจกรรมต่างๆเป็นการฝึกความสามารถ เด็กจะพัฒนาความมั่นใจและภูมิใจในตนเอง
3.Initiative vs. Guilt
ความคิดริเริ่ม – ความรู้สึกผิด
(4 – 5 ปี )
เด็กเริ่มสนใจกิจกรรมสำรวจ ตั้งคำถามแปลกๆ ถ้าถูกผู้ใหญ่ตำหนิ ดุว่า จะรู้สึกว่าตนผิด
4. Industry vs. Inferiority
ความขยันหมั่นเพียร-ความรู้สึกต่ำต้อย
(6-11 ปี)
เด็กพยายามจะพัฒนาความขยันขันแข็ง ถ้าถูกต่อว่า ไม่สนใจ เด็กจะรู้สึกว่าตนเองเป็นคนล้มเหลว และน่าเบื่อ
5. Identity vs. Roie confusion
ความเป็นเอกลักษณ์ – ความสับสนในบทบาท
(12-18 ปี)
วัยรุ่นแสวงหาเอกลักษณ์อันได้แก่ ความเด่นความด้อย ความต้องการ ความสนใจของตนและการที่คนอื่นๆ มองตนเองอย่างไร ถ้าวัยรุ่นรู้ว่าตนเองมีความสามารถอย่างไร เท่ากับวางแผนอนาคตได้จะไม่มีความรู้สึกสับสนว่าตนเองเป็นใคร ต้องการอะไร
6.Intimacy vs. Isolation
ความผูกพัน – การแยกตัว
(ผู้ใหญ่ตอนต้น)
วัยนี้ต้องการจะแต่งงานและสร้างความสัมพันธ์กับคู่ครอง ถ้ามีปัญหาจะแยกทางกัน
7.Generativity vs. Self absorption
การทำประโยชน์ให้สังคม – การคิดถึงแต่ตนเอง
(ผู้ใหญ่ตอนกลาง)
เป็นระยะทำตนเป็นประโยชน์แก่บุตรหลาน และมีสัมพันธภาพกับคนอื่นในสังคม ถ้าทำไม่ได้โดยบุคคลไม่พัฒนามาถึงขึ้นนี้จะเบื่อหน่ายชีวิต คิดแต่การสร้างความสุขให้แก่ตนเอง
8.Integrity vs. Despair
บูรณาภาพ – ความสิ้นหวัง
(วัยชรา)
ถ้าบุคคลผ่านพัฒนาการขั้นต่างๆ มาดี จะมีความสุข สมหวัง พอใจชีวิตตนเอง ตรงกันข้าม ถ้าพัฒนาแต่ขั้นไม่ดีจะรู้สึกว่ามีเวลาน้อยเหลือเกิน เสียดายเวลาที่ผ่านมา หาความสงบให้แก่ชีวิตตนเองไม่ได้



ทฤษฏีพัฒนาการทางเพศ
(Psychosexual Development)

ทฤษฏีพัฒนาการทางจริยธรรม
(Kohlbert’s Six Stages of Moral Reasoning)

1.ขั้นปาก (Oral Stage)
(0-1 ปี)
-ต้องการดูดนม มีความต้องการด้านความสัมผัสในการใช้ปาก
-ถ้าได้รับความลำบากในการดูดนมจะเกิดการติดตัน (Fixation) มีผลต่อพัฒนาการทางบุคลิกภาพเป็นคนพูดมาก ด่าเก่ง พูดจาเสียดสี เหน็บแนม กินจุบจิบ สูบบุหรี่ ดื่มสุรา
2.ขั้นทวาร (Anal Stage)
(1-3 ปี)
-เด็กต้องการการฝึกหัดที่นุ่มนวลในด้านการขับถ่าย
-ถ้าเกิดความลำบากจะพัฒนาบุคลิกภาพ เป็นผู้ใหญ่ที่ตระหนี่ ชอบเก็บสะสม สะเพร่า ไม่ประณีตเรียบร้อย หรือ ประณีตมากจนเกินไป
3.ขั้นอวัยวะสืบพันธ์ (Phallic Stagc)
(3-5 ปี)
-เด็กลูบคลำ จับอวัยวะของตน อยากรู้เด็กชายเกิดปมออดิปุส (Oedipus Complex) เด็กจะรักแม่แต่เกลียดพ่อ เด็กหญิงเกิดปมอีเลคตร้า (Electra)
Complex) เด็กหญิงรักพ่อแต่เกลียดแม่
-เด็กทั้ง2เพศจะเลียนแบบบทบาทของพ่อและแม่ เด็กชายจะเลียนแบบบทบาทพ่อเป็นชายชาตรี เด็กหญิงจะเลียนแบบบทบาทแม่เป็นผู้หญิงเต็มตัวและสมบูรณ์
ขั้นแฝง (Latency Stage)
(6-13ปี)
เด็กทั้ง2เพศ จะเก็บกดความรู้สึกทางเพศ จะไม่แสดงความสนใจเรื่องเพศตรงกันข้ามสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น การเล่น การทำกิจกรรมกับกลุ่ม
5.ขั้นพึงพอใจเพศตรงข้าม (Genital Stage)
(วัยรุ่น)
-สนใจเพศตรงข้าม เริ่มออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีเพื่อน2เพศ เป็นจับคู่เพื่อพัฒนาชีวิตคู่ต่อไป


โคลเบอร์ก (Kohlberg)
ระดับที่ 1 ก่อนมีจริยะธรรม (Promoral)
อายุ4-10 ปี
ขั้นที่1 การลงโทษและคำสั่ง (The Punishmont and Obedient Orientation)
(เด็ก 5ปี)
-เด็กกระทำตนเป็นคนเชื่อฟัง เพราะไม่ต้องการถูกทำโทษจากผู้ใหญ่
ขั้นที่2การได้รับสิ่งตอบแทน (The Instrumental relativist Orientation)
(อายุ7-8ปี)
-เด็กกระทำในสิ่งที่เขาหวังว่าจะได้รับสิ่งตอบแทนเป็นการแลกเปลี่ยนแบบยื่นหมูยื่นหมา
ระดับที่2 ระดับมีจริยธรรมเป็นของตนเอง (Morality ot Convertional role Conformity)
ขั้นที่3 การยอมรับจากผู้อื่นเพื่อต้องการเป็นเด็กดี (Good Boy or Nice Girl)
(อายุ10-11ปี)
-ต้องการเป็นคนดีในสายตาผู้ใหญ่แสดงพฤติกรรมเพื่อให้คนอื่นชมเชย
ขั้นที่4ระเบียบของสังคม (The Law and Order Orientation)
(12-13ปี)
-วางตนและปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมเพื่อมิให้สังคมตำหนิอย่างเคร่งครัด
ระดับ3 การมีจริยธรรมที่เป็นวิจารณญาณของตนเอง
ขั้นที่5กระทำตามสัญญาสังคม
ขั้นที่6มีอุดมการณ์หรือคุณธรรมประจำใจ
ระดับ3 เป็นพัฒนาการทางจริยธรรมที่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของบุคคลขั้นนี้บุคคลจะกระทำตามกฎเกณฑ์ที่เป็นประชาธิปไตย เข้าใจเหตุและผล รักษาสิทธิมนุษยชน กระทำตามอุดมการณ์ที่มีคุณธรรม ไม่ต้องการจะได้รับคำกล่าวหาว่าเป็นคนไร้คุณธรรม


จากตารางการเปรียบเทียบทฤษฎีพัฒนาการทางด้านจริยธรรม บุคลิกภาพและสติปัญญาของบุคคลตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยชรา ทำให้เข้าใจลำดับขั้นของพัฒนาการต่างๆ ว่า ดำเนินการอย่างไร ถ้าเกิดปัญหาในด้านในแล้วจะส่งผลต่อบุคลิกภาพด้านใดบ้าง



8.9 ปัญหาในการปรับตัวของวัยต่างๆ
8.9.1 วัยเด็ก
ปัญหาในการปรับตัวมีดังนี้
1.การมีปัญหาด้านสุขภาพ ร่างกายไม่แข็งแรง มีโรคประจำตัว
2.ปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจ การเป็นเด็กเจ้าอารมณ์อันเกิดจากการได้รับการเลี้ยงดูแบบเอาใจมากเกินไป ทนุถนอนมากจนเป็นเด็กเอาแต่ใจตนเอง
เด็กมีปัญหาทางด้านการขาดแคลนเอาใจใส่ การขาดความรักและความอบอุ่นจากครอบครัว การทอดทิ้งและการทารุณกรรม(Child Abuse) ทางจิตใจและร่างกาย
3.ปัญหาจากครอบครัว การขาดพ่อแม่ หรือขาดพ่ออย่างเดียว ขาดแม่อย่างเดียว การไร้ผู้อุปการะ เป็นเด็กในความอุปการะของคนอื่น
4.การเป็นเด็กพิการทางสมองหรือทางกาย บางคนมีความบกพร่องของอวัยวะบางส่วน เช่น ตาบอด หูหนวก แขน ขาพิการ เด็กเรียนช้า เด็กพิการซับซ้อน เด็กออทิซึม เด็กปัญญาอ่อน เป็นต้นเด็กประเภทนี้มักจะมีปัญหาทางอารมณ์ มีความก้าวร้าวทางพฤติกรรมมากกว่าเด็กปกติ
5.ปัญหาทางการพัฒนาระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาทเช่น เด็กมีปัญหาในการใช้สายตา การวิ่ง การเดิน การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กบริเวณมือและนิ้วมือช้าซึ่งสร้างปัญหาในการเรียนและการทำกิจกรรมเด็กบางคนพูดติดอ่า พูดช้า พูดไม่ชัดเป็นต้น
6.การเป็นโรคทางพันธุกรรมเพราะความผิดปกติของโครโมโซมตั้งแต่กำเนิด ปากแหว่ง เท้าปุก ตัวเหลือง ม้ามโต ตาบอดสี ผมหงอกในเด็ก โรคลมชัก เด็กมีอวัยวะผิดปกติเป็นต้น เด็กประเภทนี้จะมีปัญหาทางอารมณ์ และไม่ค่อยเข้าร่วมกลุ่มสังคม กับเพื่อนมักจะเก็บตัวและแยกตัวอยู่โดดเดี่ยว
7.เด็กที่มีปัญหาทางร่างกาย ได้แก่เด็กที่ผอมผิดปกติและเด็กที่อ้วนผิดปกติ อาจเกิดจากพันธุกรรม หรือมีความผิดปกติในการสร้างนิสัยของการมีเจตคติเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารและมีปัญหาทางจิตใจ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น