วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

สติปัญญา พัฒนาการทางด้านอารมณ์ พัฒนาการทางบุคลิก


ขา จะยาวขึ้นและแข็งแรงขึ้น กล้ามเนื้อมัดใหญ่ตามกล้ามเนื้อแขน ขา จะพัฒนาขึ้น จะเห็นจากการที่เด็กสามารถใช้กำลังที่แขน ขา ในการวิ่ง กระโดด เขย่ง บิน เต้นได้ดีและเร็วขึ้น กล้ามเนื้อมัดเล็กตามข้อนิ้วมือ นิ้วเท้าดีขึ้น สายตาประสานกันดี การทำงานใช้ความระเอียดและความประณีตดีขึ้นกว่าวัยเด็กตอนต้น ฟันเริ่มมีการพัฒนาโดยจะมีฟันแท้ซึ่งเป็นฟันชุดที่ 2 ขึ้นแทนที่ฟันน้ำนม โดยฟันน้ำนมจะเริ่มหักเมื่ออายุ 6 ปี ฟันแท้จะขึ้นครบเมื่ออายุ 12 ปี วัยนี้จะมีการพัฒนาทางร่างกายมากขึ้น เด็กมักจะรับประทานอาหารจุขึ้นและนอนมากขึ้นจนดูว่าเป็นวัยเกียจคร้านและสกปรก วัยนี้ได้รับสมญาว่าเป็นวัย “ซุกซน” , “วัยมอมแมม” หรือ “วัยเริ่มดื้อ”
ส่วนใหญ่จะมีโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่าย โรคภัยไข้เจ็บซึ่งเกิดขึ้นบ่อยในระยะนี้ ได้แก่ โรคหวัด อีสุกอีใส คางทูม หัด ท้องเสีย ปวดฟัน เหา กลาก เกลื้อน ฝี ปอดบวม เป็นต้น อย่างไรก็ดีการเกิดอุบัติเหตุมักเกิดง่ายสำหรับเด็กวัยนี้เพราะเป็นระยะไม่ค่อยระวัง ไม่มีความรอบคอบและชอบใช้พลังในการต่อสู้ ระยะนี้เด็กหญิงละเด็กชายไม่ถูกกัน ทะเลาะกันบ่อยครั้ง เด็กชายชอบทุบตี ต่อย ใช้กำลังกายต่อกัน เด็กหญิงชอบแสดงความก้าวร้าวทางวาจา ได้แก่ การพูดเสียดสี เหน็บแนม ประชดประชัน เป็นต้น
2. สติปัญญา
ตามทฤษฎีของเพียเจต์ ระดับสติปัญญาอยู่ในขั้น Preoperational Thought Period และ Concrete Operation ซึ่งหมายถึงเด็กเข้าใจการใช้เหตูผล รู้จักเปรียบเทียบน้ำหนัก เวลา ประมาตร และความคิดด้านนามธรรม รู้จักการใช้เหตุผล เด็กทั้งสองเพศชอบอ่านเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ นิยาย การผจญภัย เทพนิยายปรัมปรา เป็นต้น
กิจกรรมที่กระทำเด็กวัยนี้ชอบกิจกรรมการแข่งขัน การเล่นตามกติกา การเล่นเกม การออกกำลังกาย การตกแต่ง กิจกรรมทางศิลปะ กิจกรรมโต้วาที กิจกรรมฝึกพูด วัยนี้มีความพร้อมที่จะทำกิจกรรมที่ประณีตและละเอียดได้ดี มีความคิดสร้างสรรค์จากการแสดงความคิดและการแสดงกิจกรรมต่างๆ
3. พัฒนาการทางด้านอารมณ์
เด็กวันนี้เริ่มเข้ากลุ่ม สนใจเพื่อนในวัยเดียวกันและเพศเดียวกับตน มีความสามารถเป็นผู้นำกลุ่ม เรียนรู้การควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดีพอใช้ เข้าใจสิ่งแวดล้อมและการปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ทางสังคม รู้จักการเป็นผู้ชนะ ผู้แพ้ การเสียสละ ฝึกการเรียนแบบ มักจะเลียนแบบพฤติกรรมผู้ที่ตนนิยมและชื่นชม เช่น ดาราภาพยนตร์ นักร้องดังๆ ดาราละครโทรทัศน์ นักกีฬาที่เด่นดังไม่ว่าจะเป็นชาติอะไร เข้าใจบทบาททางสังคม บทบาททางเพศ บทบาทของพ่อแม่ ลดความนิยมในความสำคัญของพ่อแม่และญาติพี่น้องลง สนใจสิ่งแวดล้อมนอกครอบครัวเพิ่มขึ้น มักต่อต้านการบีบบังคับของพ่อแม่ ชอบความยุติธรรม บางครั้งมีอารมณ์น้อยใจอันเกิดจากการขาดคนเอาใจใส่ เช่น พ่อ แม่ เพื่อน เสียใจเมื่อไม่ใครสนใจตนหรือซ้ำเติมตน และจะพัฒนาอารมณ์ริษยา อิจฉาที่ตนไม่มีความทัดเทียมผู้อื่น
4. พัฒนาการทางด้านสังคม
วัยนี้สนใจการมีเพื่อน ยอมทำตามมติของกลุ่มและต้องการเป็นสมาชิกของกลุ่ม เริ่มแสดงพฤติกรรมต่อต้านพ่อแม่ ปรับตัวได้ดีกับกลุ่มเพื่อนและคนนอกสังคมครอบครัว เริ่มเรียนรู้กติกาของสังคมและกติกาของโลกที่ตนเองจำเป็นจะต้องปฏิบัติเพื่อมิให้เป็นที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ที่ผู้อื่นทำกัน รู้จักการปฏิบัติตามคนในสถาบันทางสังคมและครอบครัวกระทำกันเริ่มเข้าใจพ่อแม่แต่ความรักและความกลัวลดลง เพราะรู้ว่าพ่อแม่มีความรับผิดชอบต่อบุตรและรู้ว่าบุตรเองจะต้องเรียนรู้ชีวิตภายนอกครอบครัวมากขึ้น
5. พัฒนาการทางบุคลิก
ตามทฤษฎีของฟรอยด์ วัยนี้อยู่ในขั้นแฝง ( Latency Stage ) มักไม่สนใจเรื่องเพศแต่สนใจสิ่งแวดล้อมแทน ได้แก่ การผจญภัย การเล่น การเข้ากลุ่ม การแข่งขัน การแสดงกิจกรรมของกลุ่ม โดยแยกตามความสนใจ เด็กชายและหญิงจะเป็นศัตรูกัน ทะเลาะกันเป็นประจำ
อีริคสัน ( Erikson ) กล่าวว่า พัฒนาการของเด็กอยู่ในขั้นความคิดริเริ่ม-ความรู้สึกผิด ( Initiative vs. Guilt ) โดยที่เด็กแสดงความคิดริเริ่มโดยการซักถาม แสดงความคิดแปลก ผู้ใหญ่ควรรับฟังและให้ข้อเสนอแนะมากกว่าจะตำนิหรือดุว่าเด็ก เพระจะทำให้เด็กเกิดความหวาดกลัวซึ่งจะพัฒนาเป็นคนมีบุคลิกภาพไม่มีความเชื่อมั่นในตนเองต่อไป นอกจากนี้ปลายวัยจะพัฒนาความรู้สึกขยันหมั่นเพียร ความรู้สึกต่ำต้อย ( Industry Vs. Inferiority ) ผู้ใหญ่จะต้องกระต้นให้กำลังใจมากกว่าจะต่อว่าหรือตำนิ เพราะจะเป็นการสร้างปมด้อยในใจของเด็กให้เป็นคนไม่กล้าตัดสินใจต่อไป
ส่วนโคลเบอร์ก ( Moraliberg ) กล่าวว่าเด็กวัยนี้มีพัฒนาการทางจริยธรรมระดับที่2 การมีจริยธรรมของตนเอง ( Morality of Conventional role Conformity ) ขั้นที่ 3 ขั้นพฤติกรรมเชิงจริยธรรมขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของสังคม ( The Law and Order Orientation ) ขั้นนี้อายุระหว่าง 10-13 ปี เด็กระดับนี้กระทำตนตามกฎระเบียบของสังคมเพื่อให้ผู้อื่นยอมรับ
การปรับตัวระยะวัยเด็กตอนปลายมักจะเป็นประเภทการทดแทน การฝันกลางวัน การสันโดษ การโต้แย้ง การเก็บตัว การมีเหตุผลของตน การปฏิเสธและการก้าวร้าว
8.8.3 พัฒนาการของวัยรุ่น
วัยรุ่นมีพัฒนาการทางร่างกายรวดเร็วมาก เพราะการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ มีการเพิ่มส่วนสูงและน้ำหนัก ผู้ชายจะพัฒนาความสูงจนถึงอายุ 20 ปีจึงจะหยุดสูง ส่วนผู้หญิงจะพัฒนาความสูงอายุ 18 ปี จึงจะหยุดสูง เมื่อเข้าสู่วัยแรกรุ่นผู้หญิงจะเป็นสาวเร็วกว่า 1 ปีครึ่ง โดยจะมีรูปร่างและน้ำหนักมากกว่าชาย พอเข้าระยะปลายวัยรุ่นอายุประมาณ 20 ปี ผู้ชายจะแข็งแรงกว่าและมีกำลังมากกว่าผู้หญิง
วัยรุ่นจะพัฒนาด้าน กล้ามเนื้อ กระดูก ระบบประสาท อวัยวะ ภายในร่างกายใหญ่ขึ้น เส้นโลหิตขยาย หัวใจ ตับ ปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ ฯลฯ ขยายใหญ่ขึ้น ระบบโลหิตแรงขึ้น สมองใหญ่ขึ้น (Warren R. Baller et al. 1969 :213-219)
ต่อมไร้ท่อจะขับฮฮร์โมนต่างๆที่ช่วยพัฒนาร่างกายและมีอิทธิพลต่ออารมณ์และจิตใจ เช่น ฮอร์โมน เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน (Estrogen and Progesterone) สำหรับเพศหญิงและฮอร์โมนแอนโดรเจนและเทสโตสเตอโรล (Androgenand Testosterone) สำหรับเพศชาย ต่อมไร้ท่อที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่น ไดแก่ ต่อมใต้สมองต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ต่อมตับอ่อนและต่อมเพศ
อิทธิพลของฮอร์โมนช่วยพัฒนา ลักษณะที่หนึ่งของเพศ (Primary Characteristic) ได้แก่ การขยายตัวของเพศสัมพันธ์ ส่วนลักษณะที่สองของเพศ (Secondary Chacacteristics) ได้แก่ การมีเสียงห้าว มีขนในที่ลับ รักแร้ ขา เครา หนวด นม มีภาวะไข่สุก มีการผลิตน้ำอสุจิมีขอบเส้นผม (Hair Line) เป็นต้น(Garrison 1972 : 49 )
วัยรุ่นที่เป็นหนุ่มสาวเร็วเกินไปหรือเป็นหนุ่มสาวช้าหรือมีพัฒนาการทางร่างกายไม่เจริญเต็มที่จะสร้างปัญหาให้กับตัวเอง ได้แก่ การเกิดความวิตกกังวลใจ เกรงตนเองจะมีปมด้อยไม่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนหรือทำให้ตนเองมีความผิดปติไม่เทียบเท่าเพื่อนๆในกลุ่ม
2.พัฒนาการทางอารมณ์
คนทั่วไปเรียกวัยรุ่นว่าเป็นคนเจ้าอารมณ์ มีอารมณ์รุนแรง อารมณ์ค้างทำให้หงุดหงิด เพราะตนเอง เกิดความขัดแย้งในใจเมื่อร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสมญานามที่คนอื่นเรียกวัยรุ่น เพราะเกิดความเกลียด ได้แก่ “วัยพายุบุแคม” หรือ “วัยวุ่นวาย” เพราะอารมณ์ปรวนแปรได้ง่าย เกิดความสัมพันธ์ระหว่างหัวเลี้ยวหัวต่อของความเป็นเด็กกับความเป็นผู้ใหญ่ ลักษณะอารมณ์เด่นของวัยรุ่นได้แก่
1.อารมณ์รุนแรง
2.อารมณ์ไม่คงที่
3.อารมณ์ค้าง
4.ควบคุมอารมณ์ไม่คงที่
5.อารมณ์กังวลใจ
6.อารมณ์กลัว
3.พัฒนาการด้านสังคม
วัยนี้ทั้ง 2 เพศเริ่มสนใจกันและกัน (Genital Stage) เริ่มจับคู่และมีความรัก ปลายวัยรุ่นต้องการจะมองหาคู่ครอง วัยรุ่นยังมีความสนใจตัวเอง(Egocentric)ห่วงตังเองและสนใจตัวเอง เช่น สนใจของอิสรภาพของตัวเอง การแต่งกาย การคำนึงถึงความต้องการเฉพาะตน
วัยรุ่นรักเพื่อนและจะยอมปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เพื่อนหรือกลุ่มวางเงื่อนไข เพื่อนมีอิทธิพลต่อวัยรุ่น (พรรณี ชูทัย 2522 : 120) วัยรุ่นชอบแสดงพฤติกรรมเลียนแบบผู้ใหญ่กระทำกัน จึงมักกระทำผิดพลาดง่าย เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์และขาดประสบการณ์ วัยรุ่นมักจะมีปัญหากับพ่อแม่ ไม่ลงรอยกันเพราะต้องการอิสรภาพและไม่ต้องการจะให้พ่อแม่ มองว่าตัวเองเป็นเด็กในความปกครองเหมือนแต่ก่อน ต้องการจะแสดงตนเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว(Henry L. Roediger et al. 1984 : 300)
4.พัฒนาการทางสติปัญญา
สติปัญญาของวัยรุ่นอยู่ชั้นสูงสุดอายุ(19-20ปี) (Warren R.Baller el al. 1968 : 218) วัยรุ่นมักจะทำอะไรผิดพลาดเพราะขาดประสบการณ์และการมองโลกในความเป็นจริง วัยรุ่นมองอะไรเป็นหลักการและอุดมการณ์การณ์ของความเป็นจริงตามหลักทฤษฎีมากกว่าหลักการปฏิบัติ(Roediger et al.1984 : 78)
เพียเจต์กล่าวว่าสติปัญญาอยู่ในขั้นใช้ตรรกศาสตร์(Formal Operations) สามารถคิดวิเคราะห์และปรับตัวได้หลายมุม ขึ้นเป็นพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นสูงสุดวัยรุ่นมีความจำดีมีความสามารถทางภาษาสูง เข้าใจทฤษฎีต่างๆ และกฎเกณฑ์รวมทั้งแนวคิดต่างๆ
5.พัฒนาการทางบุคลิกภาพ
ตามหลักทฤษฎีของอีริคสัน พัฒนาการของวัยรุ่นอยู่ในขั้นความมีเอกลักษณ์ของตนและความสับสนในบทบาท(Sense of Identity Diffusion) ระยะนี้วันรุ่นมีความสับสนว่าตนเองมีบทบาทอย่างไรและควรจะวางตัวอย่างไร
ส่วนพัฒนาการทางจริยธรรมของวัยรุ่นอยู่ในขั้นที่ 3 ระดับ มีวิจารณญาณของตนเอง ขั้นที่5 ขั้นสัญญาสังคม (The Social Contract Legalistic Orientation)โดยปฏิบัติตามระเบียบของสังคม เข้าใจเหตุผลของสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติตามขั้นที่ 6 ขั้นมีคุณธรรมประจำใจ (The Universal Etical Principle Orientation)วัยรุ่นปฏิบัติตามหลักสากล เพื่อสร้างอุดมการณ์ของการมีอุดมการณ์ประจำใจ
การปรับตัวของวัยรุ่นมักจะอยู่ในประเภทการโต้แย้งอย่างมีเหตุผล การรักสันโดษ การเก็บกดความรู้สึก การเนรเทศตนเอง การฝันเฟื่อง การทดแทน และการแสดงพฤติกรรมารก้าวร้าวย้ายที่
8.8.4 พัฒนาการของผู้ใหญ่ตอนต้น
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นระยะมีความสุขุม รอบคอบ ควบคุมอารมณ์ได้และแสดงพฤติกรรมรุนแรงน้อยลง มีพัฒนาการทางสติปัญญาสูงสุด รู้จักสงเคราะห์ วิเคราะห์ แก้ปัญหา และประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิต
ด้านสังคมมีเพื่อนมาก ทั้งในวงการอาชีพของตนและนอกวงการ รู้จักบทบาททางสังคมและการวางตนให้เหมาะสมกับงานและการปรับตัว มีความรับผิดชอบและรู้จักคิด
วัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีความต้องการ
1.การแสวงหาอาชีพ
2.มีความพึงพอใจในการทำงาน
3.ต้องการแต่งงานและมีบุตร
4.มีความมั่นคงทางจิตใจในการสร้างครอบครัวและฐานะ
5.วางแผนเพื่ออนาคต
วัยผู้ใหญ่ตอนต้นอยู่ในขั้น Sense of Intimacy vs. Isolation ซึ่งเป็นระยะการสร้างฐานะความปึกแผ่นโดยมีการรับผิดชอบตนเอง มีความครัวและความสำเร็จถ้าผู้ใหญ่ที่มีความล้มเหลวจะมีความรู้สึกว่าถูกแยกอยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง
มีรายงานการวิจัยพบว่าบุคคลที่มีอายุระหว่าง 35-45 ปีอาจจะมีอาการของโรคประสาทสูงมาก (Henry L. Roediger III et al. 1984 : 315) บางครั้งอาจจะเป็นคนไร้คุณธรรมอย่างมาก วัยผู้ใหญ่ซึ่งแต่งงานระหว่างอายุ 20-24ปี มีลูกถึง24 เปอร์เซ็นต์ ถ้าแต่งงานระหว่างอายุ25-29 ปี อาจไม่มีลูกเลยถึง 13 เปอร์เซ็นต์ ผู้หญิงที่มีบุตรคนแรกเมื่ออายุ30ปี มักจะมีบุตรอีก
8.8.4.1 การรับรู้ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
แชร์ (K. Warner Schaie 1977-1978) กล่าวว่าการรับรู้ของผู้ใหญ่ต่างกับวัยเด็กและวัยรุ่นอยู่ที่ความคิดและแสวงหาความรู้
การรับรู้ของวัยนี้มีดังนี้ (Henry L. Roediger III et al.1984 : 385)

1.แสวงหาความรอบรู้(FreeWheeling Stage)เป็นการศึกษาค้นคว้าด้านต่างๆทั้งความคิดและทักษะในการปฏิบัติ
2.การวางเป้าหมาย(Goal Directed Stage) เป็นการตั้งจุดมุ่งหมาย ในการดำเนินการโดยการนำความรู้ต่างๆมาใช้
3.การดำเนินการ(Responsible Stage) เป็นการนำความรู้ต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับบุคคลต่างๆ รู้จักการอยู่ร่วมกัน รู้จักการแก่ปัญหาของกลุ่มโดยใช้หลักการของมนุษย์สัมพันธ์
4.การบริหาร (Executive Stage) เป็นการนำวิธีการต่างๆ ไปใช้กับหน่วยงานต่างๆเช่น งานอาชีพ เป็นต้น
5.การแยกตน (Reintegrative Stage) เป็นการเลือกคิดหรือเลือกกระทำในสิ่งที่ตนเองสนใจและต้องการ
พัฒนาการในขั้นที่ 1-2 เป็นของผู้ใหญ่วัยต้นๆ ขั้นที่3-4 เป็นขั้นผู้ใหญ่วัยกลาง ส่วนขั้นที่5เป็นผู้ใหญ่วัยปลาย ดูตามภาพที่ 8.1 โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 22ปี วัยผู้ใหญ่แบ่งเป็น 3 ระยะแต่ละระยะจะกินเวลา5ปี














วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย




65
ระยะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย




60
จุดสูงสุดของวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง




55
ช่วงอายุ50
ผู้ใหญ่ตอนกลาง




50
การเข้าสู้วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง




45
ระยะต่อวัยกลางคน






40
สร้างหลักฐาน






33
ช่วงอายุ30






28
ระยะแรกสู้วัยรุ่นผู้ใหญ่





 22
ระยะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น





 17
วัยรุ่น
















ภาพที่8.1การแสดงพัฒนาการของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและตอนกลางตาม Levinson
ที่มา: Henry L. Roediger III et al. Psychology. (Canada : Little,Bown Company Limited, 1984), p. 377
8.8.5วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง
วัยผู้ใหญ่ตอนกลางมีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ดังนี้
1.เกิดการกังวลเกี่ยวกับสมรรถภาพทางร่างกาย เช่น ผิวหนังเริ่มเหี่ยวย่น เป็นโรคต่างๆ ง่าย เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง การป้องกันโดยอาจกระทำโดยการออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร ใช้เครื่องสำอางมากขึ้นและรับประทานอาหารเสริมวิตามินเพื่อชลอความชราและเสริมสร้างสุขภาพ
2.กลัวความตายจากอุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ เช่น หัวใจวาย ผู้ชายมักกลัวตายละความเสื่อมทางสุขภาพ ผู้หญิงกลัวสูญเสียความงาม กลัวเป็นหม้าย (Linda L. Davidoff 1987 : 425-426)
3.ผู้ชายจะเริ่มแสดงพฤติกรรมเจ้าอารมณ์ เอาจริงเอาจังกับชีวิตมักแสดงท่าทางไม่สนใจที่จะพึ่งใคร ผู้หญิงมีความรู้สึกในด้านการแข่งขัน ก้าวร้าวไม่อิสระ
4.อำนาจลดลง ลูกๆ มักจะไม่มีเวลาให้กับพ่อแม่และอยู่ภายในความควบคุมของพ่อแม่น้องลง พ่อแม่กลางคนจะมีความรู้สึกอิสระในด้านการเลี้ยงลูกมากขึ้น แต่กังวลใจว่าตนจะสูญเสียและแยกจากลูกของตน
5.คิดแต่เรื่องเวลาที่เหลือว่ามีอยู่อีกเท่าไรมากกว่าจะคิดว่าเวลาที่เกิดมาจนถึงปัจจุบันนานเท่าไรแล้ว
6.กลัวจะเป็นโรคและตายเหมือนพ่อแม่ของตน รวมทั้งกลัวลูกๆจะได้รับโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากตน เช่น เบาหวาน เป็นต้น
7.มีความรู้สึกว่าตนจะต้องดูแลพ่อแม่ที่แก่ชราแล้ว เพราะมีความเข้าใจความรู้สึกของคนแก่ในขณะที่ตนเองกำลังจะเป็นคนแก่เช่นกัน อีกประการหนึ่ง กลัวว่าถ้าตนถอดทิ้งพ่อแม่ที่แก่ชรา ลูกๆ อาจจะทอดทิ้งตัวเองบ้างและตัวเองจะมีความรู้สึกผิดอยู่ตลอดไป
8.มีความรู้สึกอิสระในการรับภาวะดูแลลูกเหมือนครั้งก่อนๆ ลูกโตขึ้นและจบการศึกษาเป็นส่วนใหญ่ ความรับผิดชอบที่มีต่อลูกๆ ลดลง มีความรู้สึกว่าตนเองมีเวลาว่างมาขึ้น ไม่เคร่งเครียดเหมือนเมื่อลูกยังเล็กๆอยู่
9.เตรียมพร้อมทีจะรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เช่น ลูกจบการศึกษาแล้วจะต้องมีการแต่งงานและแยกครอบครัวออกไปจากพ่อแม่ หรือลูกจะต้องนำสมาชิกใหม่มาอยู่ด้วย เป็นต้น
10.ในผู้หญิงจะเป็นระยะวิกฤต ได้แก่ การเข้าสู่ภาวการณ์หมดประจำเดือน (menopause)ในหญิงอายุระหว่าง 45-55 ปี ต่อมอดรีนาลจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลง ต่อมอดรีนาลและเริ่มสร้างฮอร์โมนเริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปี และจะสิ้นสุดในอายุ 55 ปี ผลที่เกิดขึ้นได้แก่ ประจำเดือนหยุด รังไข่หยุดผลิตไข่ ไม่มีโอกาสจะมีลูกอีกต่อไป อาการทางกายที่ปรากฏมีหลายประการ ได้แก่ การมีความรู้สึกร้อนวูบตามผิวหนังและตามใบหน้า เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ หายใจไม่สะดวก การย่อยอาหารผิดปกติ มีอาการเหมือน ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เป็นลมบ่อย ปวดศรีษะปวดหลัง ขาดแคลเซียมในกระดูก คอแห้ง การถ่ายปัสสาวะผิดปกติ มีความรู้สึกเหมือนมีก้อนในลำคอซึ่งทำให้กลืนน้ำลายลำบาก ช่องคลอดแห้งมีความยุ่งยากในการมีเพสัมพันธ์ ผิวหนังเหี่ยวย่นมีริ้วรอยของความชราปรากฏทั่วไปและหน้าอกเหี่ยวย่นลง อาการทางจิตใจที่เห็นได้ชัด ได้แก่ ความรู้สึกเศร้าสร้อย ซึม มีความเครียดสูง เพราะมีความวิตกว่าตนเองแก่ชราลงหมดหน้าที่ในการมีบุตรซึ่งสามีจะเบื่อหน่ายและทอดทิ้ง ในผู้ชายฮอร์โมนแอนโดรเจนลดลง สมรรถภาพทางกายและจิตใจเริ่มลดลง บทบาทของความเป็นสามีและพ่อเปลี่ยนไปเพราะลูกโตขึ้น สับสนทางอารมณ์แต่สามารถจะปรับตัวได้ ยังคงมีเพศสัมพันธ์ต่อไปได้อีก
11.สูญเสียการรับรู้และมีความเสื่อมของสมอง ความจำระยะสั้นหรือความจำระยะยาวจะเริ่มลดลง เมื่ออายุ 60 ปี คำพูดจะช้าลงกว่าเดิม
3.8.5.1 การปรับตัวในวัยผู้ใหญ่กลางคน
1.เปลี่ยนแปลงความรู้สึกของตนเองต่อสิ่งอื่นๆ ในด้านการควบคุมลดลง ค่านิยมที่ยึดถืออยู่เดิมจะเปลี่ยนแปลงไปตามประสบการณ์
2.ปรับตัวให้เข้ากับบทบาทใหม่ที่ย่างเข้าสู่วัยชราจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อลูกหลานและเพื่อเตรียมชีวิตในปลายวัย
3.ปรับสภาพจิตใจให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและยอมรับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
4.การเตรียมตัววางแผนครอบครัวเมื่อตนเองเกษียณอายุหรือมีความสามารถหาเงินจากรายได้ลดลง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น