วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

จิตวิทยาการปรับตัว


บทที่ ๑
บทนำ

ปัจจุบัน สุขภาพจิตเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตมนุษย์มาก ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความเจ็บไข้ได้ป่วยทางร่างกายเลย อันจะเห็นได้จากการที่โรงพยาบาลโรคจิตต้องรับคนไข้มากขึ้น นอกจากนี้ศูนย์สุขวิทยาหลายแห่งก็มีงานล้นหลามเช่นกัน ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันเป็นความสับสนวุ่นวาย ความสลับซับซ้อน และความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ความสุข ในการดำเนินชีวิตลดน้อยลงไปกว่าสมัยก่อนมาก ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาทางอาชญากรรมที่สูงมีอัตราการเกิดสูงมาก ปัญหาทางการครองชีพที่ต้องสู้ แย่งชิง และฉวยโอกาส ปัญหาครอบครัว ที่ขาดความสุข ก่อให้เกิดการหย่าร้าง การทอดทิ้งบุตร การทะเลาะวิวาท การมีอารมณ์รุนแรง การฉุดคร่าข่มขืน ซึ่งเกิดขึ้นในอัตราสูง และเกิดแทบทุกวัน บุคคลหันไปนิยมวัตถุธรรมยิ่งขึ้น เพราะความเจริญทางด้านวัตถุในปัจจุบันนี้ก้าวหน้ามากกว่าสมัยก่อนอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ
สังคมพลุกพล่านเต็มไปด้วยผู้คนที่ไม่อาจจะวางใจได้ ภาวะดังกล่าวนี้เนื่องจากการทวีของจำนวนประชากรในอัตราที่สูงมากจนทำให้มนุษย์ มีการขัดแย้งในการดำรงชีวิตร่วมกันมากขึ้นมีความกระทบกระเทือนจิตใจต่อกัน เกิดความพิการทางจิตใจ ที่เรียกว่า สุขภาพจิตเสื่อมสามารถทำร้ายคน หรืออาจจะร้ายแรงถึงขนาดฆ่าคนได้ ต้นเหตุของการเป็นเช่นนี้เกิดขึ้นทั่วไปทุกมุมโลก และผู้ที่มีสุขภาพจิตดีเท่านั้น ที่สามารถจะต่อสู้กับภาวะการณที่เกิดขึ้นได้ด้วยเหตุนี้เองเราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพจิต เพื่อศึกษาถึงสาเหตุของการที่จะทำให้บุคคลสุขภาพจิตเสื่อม และการฝึกฝนตนเองให้มีสุขภาพจิตที่ดี ตลอดจนการบำบัดอาการป่วยทางจิต เพื่อช่วยให้บุคคลสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน


ความหมายของสุขภาพจิต
สุขภาพจิต มีความหมาย 2 ประการ ดังนี้
. สุขภาพจิต (Mental Health) คือสุขภาพจิตใจที่ดีของมนุษย์ หรือการมีสภาพจิตที่ดี เช่นมีจิตใจที่เบิกบานแจ่มใสอยู่เสมอ ไม่มีความวิตกกังวลใดๆทั้งสิ้น ส่วนบุคคลที่มีสุขภาพจิตเสื่อมย่อมหมายถึง บุคคลที่มีสุขภาพจิตผิดปกติมีความกังวลทุกข์ร้อนอยู่เสมอ ตลอดจนมีพฤติกรรมผิดไปจากปกติธรรมดา
นอกจากนี้ เอลลี่ โบว์เออร์ (Eli Bower) นักจิตวิทยา ไดให้ความหมายของสุขภาพจิตว่า “สุขภาพจิต คือ ความสามารถของบุคคลในการแก้ปัญหาต่างๆ ให้หลุดพ้นจากความกดดันและความบีบคั้นของชีวิต ผู้ที่มีสุขภาพจิตดี คือผู้ที่แก้ไขปัญหาชีวิตได้เหมาะสมตามสภาพแวดล้อมของตน”
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ให้ความหมายของสุขภาพจิตว่า “สุขภาพจิต หมายถึง สภาพชีวิตที่เป็นสุข ผู้มีสุขภาพจิตดีไม่เพียงแต่จะปราศจากโรคจิตและโรคประสาทเท่านั้น แต่ยังสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมและสิ่งแวดล้อมของตนได้อย่างมีความสุขอีกด้วย สามารถตอบสนองความต้องการของคนในโลกได้โดยไม่มีข้อขัดแย้งใดๆ ภายในจิตใจตนเอง”
จากความหมายของสุขภาพจิตที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่าสุขภาพจิตคือ สมรรถภาพในการปรับปรุงตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี มีความสนุกสนาน ร่าเริง สามารถทำประโยชน์ให้แก่ตน และสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
. สุขวิทยาจิต (Mental Hygine) คือศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำจิตใจให้สมบูรณ์ เป็นแขนงหนึ่งของจิตวิทยาคลินิก หรือจิตวิทยาปกติซึ่งส่งเสริมให้คนมีสุขภาพจิตสมบูรณ์ การป้องกันความพิการทางจิต และการบำบัดรักษาความพิการทางจิตของมนุษย์


ความแตกต่างของสุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิต
สุขภาพของคนเราแบ่งออกเป็น สุขภาพทางกาย และสุขภาพทางจิต
. สุขภาพทางกาย (Physical Health) หมายถึงสุขภาพของร่างกายที่มีการพัฒนาเหมาะสมกับวัย ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและทุพพลภาพ มีความต้านทานโรคได้ดี ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ เรียกว่าเป็นคนมีสุขภาพสมบูรณ์
.สุขภาพจิต (Mental Health) หมายถึงสภาพสมบูรณ์ทางจิตใจของมนุษย์ หรือสมรรถภาพในการปรับปรุงตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นสุข ไม่มีอาการของ โรคจิต โรคประสาท หรือพฤติกรรมที่ผิดปกติอย่างหนึ่งอย่างใด


ประวิติเกี่ยวกับจิตเวชในประเทศไทย
บริการทางจิตเวชในประเทศไทย เริ่มขึ้นในปี พ.. ๒๔๓๒ เมื่อเริ่มก่อตั้งศิริราชพยาบาล โดยเริ่มเปิดสถานพยาบาลเพื่อรับคนไข้ทางโรคจิตขึ้นที่ ตำบลปากคลองสาน จังหวัดธนบุรี การรักษาพยาบาลในสมัยนั้นยังคงเป็นวิธีรักษาแผนโบราณ มีการกักขัง เฆี่ยนตี และใช้เวทย์มนต์ในการรักษาคนไข้รุ่นแรกนั้นมีประมาณ ๓๐ คน
ต่อมาประมาณปี พ.. ๒๔๕๓ คนไข้โรคจิตได้ทวีจำนวนมากขึ้น ทำให้สถานที่เดิมไม่เพียงพอสำหรับคนไข้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงพยาบาลขึ้นใหม่ โดยสร้างเสร็จเรียบร้อยและรับคนไข้ได้เมื่อปี พ.. ๒๔๕๕
หลังจากนั้นเป็นต้นมา จึงมีการรักษาคนไข้โรคจิตดีขึ้น ตามแบบแผนปัจจุบันคือให้มีการกินอยู่หลับนอนดีขึ้น ผู้ให้การดูแลคนไข้และโรงพยาบาลแห่งนี้ คือ นายแพทย์ เอ็ม คาธิว ชาวอังกฤษ ในสมัยต่อมาได้เปลี่ยนผู้อำนวยการโรงพยาบาลโรคจิตอีกหลายคน จนกระทั่งเมื่อ พ.. ๒๔๖๘ โรงพยาบาลโรคจิตจึงมีแพทย์ไทยเป็นผู้อำนวยการเป็นคนแรก ทานผู้นั้นคือ หลวงวิเชียร แพทยาคม ผู้สำเร็จวิชาโรคจิตมาจากสหรัฐอเมริกา
ต่อมาโรงพยาบาลโรคจิต ได้ขยายอออกไปตามจังหวัดต่างๆ หลายจังหวัดดังนี้คือ
. โรงพยาบาลโรคจิต อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเมื่อปี พ.. ๒๔๘๐ นับเป็นแห่งที่ ๒ ในประเทศไทย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลสวนสราญรมย์
. โรงพยาบาลโรคจิต จังหวัดลำปาง เปิดเมื่อปี พ.. ๒๔๘๑
. โรงพยาบาลโรคจิต จังหวัดนนทบุรี เปิดเมื่อปี พ.. ๒๔๘๔ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลศรีธัญญา
. โรงพยาบาลโรคจิต จังหวัดอุบลราชธานี เปิดเมื่อปี พ.. ๒๔๙๐ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลศรมหาโพธิ์
. โรงพยาบาลโรคจิต ธนบุรี ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
. โรงพยาบาลโรคจิต จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลสวนปรุง
สำหรับสถาบันอื่นๆ มีดังนี้
  1. สถานสงเคราะห์แม่และเด็ก ถนนสาธร เปิดในปี พ.. ๒๕๐๐
  2. โรงพยาบาลปัญญาอ่อน เปิดปี พ.. ๒๕๐๓
  3. คลินิกสุขวิทยาจิต ถนนราชดำเนิน เปิดปี พ.. ๒๕๐๕
  4. โรงพยาบาลประสาท สงขลา เปิดปี พ.. ๒๕๐๘
  5. โรงพยาบาลจิตเวชเด็ก สำโรง เปิดปี พ.. ๒๕๐๙
  6. ศูนย์วิจัยประสาท เชียงใหม่ เปิดปี พ.. ๒๕๑๑
  7. โรงพยาบาลนิติเวช ธนบุรี ซึ่งเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.. ๒๕๑๒


ความสำคัญของสุขภาพจิต
สุขภาพจิตมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนเราทุกคน สุขภาพจิตมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสุขสุขภาพร่างกายเลย ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าโรงพยาบาลโรคจิตในปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้น และแต่ละแห่งต้องรับคนไข้มากขึ้น ปัญหาทางสุขภาพจิตเสื่อมในปัจจุบันทวีจำนวนยิ่งขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากซับซ้อนในสังคม เช่น ปัญหาทางอาชญากรรมทั้งผู้ใหญ่และเด็กวัยรุ่น ปัญหาชีวิตครอบครัวที่ขาดความสุข ก่อให้เกิดการหย่าร้าง ปัญหาของเด็กที่ถูกทอดทิ้ง สาเหตุเหล่านี้เกิดจากสภาพของจิตใจที่ผิดปกตินั่นเอง
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า มนุษย์ในปัจจุบันต้องพบกับภาวะตึงเครียดมากมาย ภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ความรับผิดชอบที่ต้องมีต่อครอบครัวและสังคม ความวิตกกังวลที่เกิดจากความไม่ปลอดภัยต่างๆในสังคม เช่น โจรผู้ร้าย การจี้ปล้น การฉุดคร่า และข่มขืน การแพร่หลายของยาเสพติดต่างๆ ทำให้เกิดความห่วงใยบุตรหลาน กลัวว่าจะไปติดยาเสพติดหรือถูกยุยงให้กลายเป็นผู้ประกอบอาชญากรรมต่างเมื่อใดก็ได้
ภาวะดังกล่าวข้างต้นนี้ ผู้ที่มีร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็งเท่านั้นที่จะต่อสู้ได้ นั่นคือผู้ที่มีสุขภาพจิตดีเท่านั้น จะผ่านพ้นสถานการณ์เหล่านั้นไปได้ด้วยดี สุขภาพจิตสามารถที่จะบำรุงได้เช่นเดียวกับสุขภาพของร่างกาย และสุขภาพจิต มีความสัมพันธ์กับสุขภาพทางกายอย่างแยกไม่ออก ผู้ที่มีสุขภาพดีย่อมไม่ใช่ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เจ็บออดๆแอดๆ และมีความหวั่นไหวทางอารมณ์ง่ายๆ
ผู้ที่มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ จะเป็นผู้ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมีประสิทธิภาพคือทำประโยชน์ให้แก่ตนเอง และส่วนรวมได้ดียิ่ง มีความกระตือรือร้นและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน รู้จักพักผ่อนหย่อนใจ มีความอดกลั้น มีความบากบั้น อันเป็นสัญลักษณ์แห่งสภาพจิตที่สมบูรณ์เยี่ยม เป็นความสามารถในการต่อสู้และเผชิญกับชีวิตอย่างมีความสุข
ผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดี ย่อมจะช่วยให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดพลอยมีความสุข คือมีสุขภาพจิตดีไปด้วย การมีหน้าตายิ้มแย้ม จิตใจชื่นบานย่อมมีแต่มิตร ด้วยเหตุนี้เองทุกคนจึงควรหันมาสนใจสุขภาพของตน เพื่อการดำรงชีวิตีที่เต็มไปด้วยประโยชน์สุขทั้งตนเองและส่วนรวม สามารถแก้ปัญหาของตนเองได้และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข













ความสำคัญของสุขภาพจิตต่อชีวิตประจำวัน
ในการดำรงชีวิตในสังคม คนเราจำเป็นจะต้องเกี่ยงข้อง พึ่งพาอาศัยกันอยู่ตลอดเวลา ถ้าหากเรามีสุขภาพจิตดี เราย่อมจะเป็นที่พึ่งพาแก่ผู้อื่นได้ดี และถ้ามีความจำเป็นเราก็จะไปพึ่งผู้อื่น หรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้ดีด้วย ถ้าหากสุขภาพจิตเราเสื่อมเราจะกลายเป็นภาระแก่ผู้อื่นต้องดูแล และต้องพึ่งผู้อื่นตลอดเวลา หากสุขภาพจิตเสื่อมอย่างรุนแรง อาจจะเป็นภัยแก่สังคมได้ด้วย เช่น อาจจะก่อการทะเลาะวิวาท การมีอารมณ์พลุ่งพล่านโดยไม่มีสาเหตุ ถ้ารายที่รุนแรงมากอาจจะก่ออาชญากรรมต่างๆขึ้นได้ นับเป็นการสูบเสียทางสังคมอย่างยิ่ง
ฉะนั้นประโยชน์ที่ได้จากการมีสุขภาพจิตดี ในการดำรงชีวิตจึงมีนานาประการทุกคนจึงควรบำรุงรักษาสุขภาพจิตของตนเองให้ดีอยู่เสมอ การรู้จักพักผ่อนคลายอารมณ์ต่างๆเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้ชีวิตเป็นระเบียบแบบแผนขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่โกรธ กลัดกลุ้ม ก็พักผ่อนใจให้ คลายความตึงเครียดลงเสียบ้าง จะช่วยให้ชีวิตของคนเรามีความสุขขึ้น มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
























บทที่ ๓
สุขภาพจิตกับการพัฒนาบุคลิกภาพ

          เราทราบแล้วว่า ผู้มีสุขภาพจิตดี คือ ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและจิตใจเป็นสุข ส่วนผู้ที่มีสุขภาพจิตไม่ดี คือผู้ที่มีลักษณะตรงกันข้าม และผู้ที่มีสุขภาพจิตดี คือผู้ที่มีบุคลิกภาพดีนั่นเอง ผู้ที่มีสุขภาพจิตดี เกิดจากได้รับความความรักความอบอุ่นจากครอบครัวเป็นอย่างดี ฉะนั้นเด็กทุกคนควรจะได้รับการเอาใจใส่เป็นอย่างดี นับตั้งแต่วัยก่อนเกิดทีเดียว
                ถ้าท่านต้องการให้เด็กของท่านมีสุขภาพจิตดี เป็นเด็กน่ารัก เติบโตขึ้นพร้อมด้วยศีลธรรมที่ดีงาม มีสมรรถภาพดี เด็กจะต้องได้รับความเอาใจใส่ดี พ่อแม่มีความรักใคร่ต่อกัน และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก จะต้องพิจารณาถึงความผูกพันในครอบครัวก่อนอื่นทีเดียว
          การพัฒนาสุขภาพจิต คือ การศึกษาให้เข้าใจธรรมชาติของคนทุกรุ่นทุกวัย เช่น ศึกษาวัยเด็ก เพื่อช่วยให้เข้าใจเด็ก และส่งเสริมให้เด็กพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกดี ศึกษาผู้ที่อยู่ในวัยชรา ก็คือส่งเสริมให้คนในวัยชรามีชีวิตอย่างมีความสุข และเป็นที่ต้องการของสังคม
              
  ปัญหาทางจิตกับวัยรุ่นปัจจุบัน
ปัจจุบันนี้เราจะพบว่าเด็กไทยของซึ่งอยู่ในวัยหนุ่มสาวมีความประพฤติ ตลอดจนการแต่งกายที่ผิดแปลกไปจากแต่ก่อนมาก พูดจากับผู้ใหญ่โดยไม่มีสัมมาคารวะ ไม่เคารพในวุฒิ พูดจาหยาบคาย ตลอดจนชอบเสพของมึนเมาและยาเสพติดต่างๆ นอกจากนี้ยังแสงดพฤติกรรมทางเพศอย่างเปิดเผย เช่น จับมือถือแขน นั่งเบียดกัน กอดจูบกันในที่สาธารณะ และร้ายที่สุดก็คือการร่วมกันประกอบอาชญากรรมฉุดคร่าข่มขืน ทำความยุ่งยากใจให้แก่บิดามารดาและสังคมอย่างใหญ่หลวงทีเดียวในขณะนี้
                ถ้าจะวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการกระทำที่กล่าวมานี้ก็น่าจะเริ่มด้วยการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของเด็กวัยรุ่น คือ เด็กในระยะนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายขนานใหญ่โดยต่อมไร้ท่อเริ่มการผลิตฮอร์โมนเพิ่มขึ้น อันเป็นต้นเหตุที่ทำให้ร่างกายเติบโตรวดเร็วทั้งเพศชายและหญิง เมื่อร่างกายเปลี่ยนแปลง ทั้งสองเพศก็จะมีจิตใจเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
                ความรู้สึกต่างๆในวัยนี้เป็นไปอย่างขัดสนและสับสน ความขัดแย้งในใจที่เกิดขึ้นได้แก่ความเห็นแก่ตัวกับการคิดถึงประโยชน์ส่วนรวม ความใจแคบกับความใจกว้าง ความตลกครึกครื้นกับการเอาจริงเอาจัง ความนอบน้อมกับความเอะอะตึงตัง การชอบสมาคมกับความอยากอยู่คนเดียว ความคิดตรงกันดังกล่าวนี้เกิดจากความเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากการกลัวเกี่ยวกับกามารมณ์ที่เคยได้รับการแนะนำสั่งสอนมาผิดๆ เช่นได้รับการสั่งสอนว่ากามารมณ์เป็นสิ่งที่เป็นอันตราย เด็กชายกลัวการมีอสุจิ และเด็กหญิงกลัวการมีประจำเดือน
                ในระยะวัยรุ่น ความรู้สึกทางเพศทั้งชายและหญิง มีความรุนแรงขึ้นมาก เพราะเด็กได้รับเก็บกดไว้หลายปี (ระหว่าง ๖ ขวบ ถึง ๑๕ ปีโดยประมาณ) ในระยะวัยรุ่นปมโอดิปัส จะเริ่มคลี่คลายหรือละลายไป ทำให้เด็กเกิดการขัดแย้งภายในจิตใจของเด็กเอง ทำให้เกิดความกลัวและรู้สึกว่าผิด ซึ่งมีสาเหตุลึกซึ้งมาจากปมโอดิปัส นั่นคือความรู้สึกสัมพันธ์ทางเพศหรืออินเซสต์กับแม่ในลูกชาย และกับพ่อในลูก สาว ความรู้สึกในเรื่องกามารมณ์ดังกล่าวแล้วนั้นเป็นไปรุนแรงมาก เพราะเป็นข้อห้ามทางสังคม และถ้าเป็นไปในทางที่เด็กคิดแล้วก็ถือว่าเป็นความผิดทางศีลธรรมอย่างรุนแรง ลักษณะนี้อาจถึงขั้นวิกลจริต แต่เราก็พบน้อยมากที่จะมีข่าวว่าพ่อได้กับลูกสาวหรือลูกชายกับแม่ของตนเอง ด้วยเหตุนี้เองถ้าเด็กวัยรุ่นสามารถละลายปมโอดิปัสโดยมีประสบการณ์ทางเพศกับผู้อื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่หรือพี่น้องของตนเองแล้ว เด็กเหล่านี้จะมีความปลอดภัยจากความรู้สึกที่ว่าตนผิด และมีการปรับตัวดีขึ้น  ดังนั้น เด็กหนุ่มสาวส่วนมากจึงชอบ ออกนอกบ้านเที่ยวเตร่กันเป็นหมู่เป็นพวก นับเป็นการหนี้อินเซสต์ เราจะพบว่าเด็กชายวัยรุ่นมักจะไม่ชอบไปเที่ยวกับพ่อแม่พี่น้องนักถ้าไม่จำเป็น
                ปัจจุบันเราจึงพบว่าได้มีองค์การหรือสมาคมต่างๆ พยายามขจัดปัญหาของเยาวชนเหล่านี้ด้วยการตั้งศูนย์ต่อต้านยาเสพติด ส่งเสริมการศึกษา มีกิจกรรมต่างๆที่จะช่วยระบายอารมณ์ตึงเครียดของเยาวชนให้เป็นไปในทางที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กและสังคม ช่วยเศรษฐกิจของครอบครัว อันจะเป็นหนทางช่วยให้เยาวชนมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ อันจะส่งเสริมให้กำลังของประเทศในภายหน้าเข้มแข็งขึ้นอีกด้วย











บทที่ ๖
โรคจิตในวัยรุ่น

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า เด็กวัยรุ่นมีความสำคัญต่ออนาคตของประเทศเป็นอย่างดี ทุกคนจึงควรให้ความสนใจต่อเด็กวัยรุ่นเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยให้เด็กวัยรุ่นมีสุขภาพจิตสมบูรณ์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
สังคมเพิ่งจะให้ความสนใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตของเด็กวัยรุ่นเมื่อเร็วๆนี้เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาในด้านอาชญากรรม การติดยาเสพติดให้โทษและการกระทำความผิดทางเพศ
ปัญหาต่างๆเหล่านี้มีมานานแล้ว แต่ในปัจจุบันนี้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และการที่เกิดมีปัญหาทางด้านนี้เพิ่มขึ้นนั้น เกิดสุขภาพจิตเสื่อมนั้นเอง


สาเหตุของพฤติกรรมที่ผิดปกติในเด็กวัยรุ่น
สาเหตุของพฤติกรรมที่ผิดปกติแบ่งออกเป็น ๓ ประการดังนี้
  1. สาเหตุทางร่างกาย เกิดจากความพิการและโรคทางสมอง
  2. สาเหตุทางสังคม เกิดจากการที่เศรษฐกิจตกต่ำ
  3. สาเหตุทางจิตใจ เกิดจากการขาดความรักและความอบอุ่นจากพ่อแม่
นอกจากนี้ปัญหาทางสุขภาพจิตของเด็กวัยรุ่น กล่าวได้ว่าเกิดจากการขาดบิดามารดาในวัยเด็ก การขาดความรักจากบิดามารดาเท่าที่ควร บิดามารดาประพฤติไม่ดี
การช่วยให้เด็กวัยรุ่นมีสุขภาพจิตดีนั้นทำได้โดยวิธีการต่อไปนี้คือ
  1. พ่อแม่จะต้องให้ความรักความอบอุ่นและเข้าใจลูกของตนอย่างแท้จริง
  2. ครูอาจารย์ควรปฏิบัติต่อเด็กด้วยดี ให้เด็กเกิดความอบอุ่นและความรู้สึกปลอดภัยในขณะอยู่โรงเรียน
  3. ผู้ใหญ่ในสังคมควรให้ความช่วยเหลือและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กวัยรุ่น







พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กวัยรุ่น
  1. ประพฤติตนเกเรบ่อยๆ เช่นลักขโมย ดื่มจัด ไร้ที่อยู่ ติดยาเสพติด
  2. ประพฤติผิดปกติทางเพศ เช่น การตั้งครรภ์ การข่มขืน การชอบเพศเดียวกัน
  3. สติปัญญาดีแต่ผลการเรียนตกต่ำกว่าความสามารถเป็นเวลานาน
  4. มีอารมณ์ผิดปกติบ่อยๆ เช่น ซึมเศร้า นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด มีความรู้สึกสิ้นหวัง
  5. พยายามหนีจากสังคมทั้งๆที่ไม่เคยทำมาก่อน
  6. มีอาการผิดปกติทางจิต เช่น หลงผิด ประสาทหลอน เห็นภาพแปลกๆ ได้ยินเสียงแปลกๆ
ถ้าเด็กมีอาการเหล่านี้จะต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญหรือนักจิตวิทยาของโรงเรียนก็ได้ ถ้าช่วยเหลือแล้วไร้ผลก็ขอให้นำส่งจิตแพทย์ทันที

สุขภาพจิตของเด็กวัยรุ่น
เด็กวัยรุ่นหนุ่มสาวคือผู้ที่อยู่ในวัยระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Adolescence เด็กเหล่านี้อยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้มีปัญหาต่างๆเกิดขึ้นมาก เป็นต้นว่าขาดโรงเรียน ก่อการทะเลาะวิวาท รวมตัวกันต่อต้านกฎเกณฑ์ของโรงเรียนและสังคม เป็นต้น ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นนี้ผู้ใหญ่ทุกฝ่ายจะไม่ลำบากเลยถ้าได้ทำความเข้าใจปัญหา และศึกษาถึงธรรมชาติของเด็กวัยรุ่นตั้งแต่แรก จะช่วยลดปัญหาต่างๆได้มาก
วัยรุ่นเราถือว่าเป็นวัยที่สำคัญเป็นวัยที่ร่างกายเจริญรวดเร็ว ร่างกายเปลี่ยนแปลงเร็วจนเจ้าตัวก็แทบจะรับไม่ทัน ในวัยนี้การวางตัวของเด็กลำบากมาก เพราะจะเป็นผู้ใหญ่ก็ยังเป็นไม่ได้ ยังขาดประสบการณ์ เป็นเด็กไม่ใช่เสียแล้ว จึงทำให้เกิดการวางตัวลำบาก เคอะเขิน อะไรมักไม่ถูกต้อง เด็กในวัยนี้จึงมักจะถูกผู้ใหญ่ติเตียนและอาจจะถูกลงโทษก็ได้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้เด็กเสียใจ และการเสียใจอาจจะทำสิ่งต่างๆผิดพลาดลงไปอีกได้
เราจะพบว่าตามสถานพยาบาลโรคจิตนั้น มีเด็กที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตที่เป็นเด็กวัยรุ่นจำนวนมากมาขอคำปรึกษาแนะนำ จากจำนวนคนไข้เหล้านี้ แพทย์พบว่ามีสาเหตุของความผิดปกติต่างๆกัน เช่นสาเหตุเกิดจากปัญญาอ่อน สมองพิการ ลมบ้าหมู โรคจิต ร่างกายพิการ ปัญหาเกิดจาดอารมณ์และไม่พบความผิดปกติใดๆเลยก็มี จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูและผู้ปกครองควรจะได้ทราบถึงสาเหตุของความผิดปกติ ที่แน่ชัดของเด็กของตน เพื่อจะได้รับการรักษาพยาบาล
ปัญหาของเด็กวัยรุ่นจึงจำเป็นต้องพิจารณาเป็นรายๆไป และต้องศึกษาต้นตอหรือสาเหตุของปัญหาอย่างลึกซึ้ง ไม่ควรประณามหรือลงโทษการกระทำของเขา นอกจากนี้อาจจะมีสาเหตุอื่น เช่นปัญหาทางครอบครัวหรือสังคมของเด็กเอง การทราบสาเหตุจะช่วยให้ผู้ใหญ่รู้สึกเห็นใจ เมตตาสงสารเด็กมากขึ้นและช่วยเด็กได้อย่างถูกทางขึ้น เป็นการช่วยให้เด็กในสังคมของเรามีความสุขขึ้นเมื่อเด็กมีความสุขปัญหาต่างๆที่มีก็มองเห็นทางแก้ได้ ปัญหาของสังคมก็จะลดน้อยลงไปด้วย นับว่าช่วยเหลือเด็กวัยรุ่นของเรานั้นคือการช่วยสังคมของเราให้สงบสุขนั่นเอง

































บทที่ ๘
ครูกับการส่งเสริมสุขภาพจิตของนักเรียน

                โรงเรียนเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยสร้างสุขภาพจิตที่ดีให้แก่เด็ก ในวันหนึ่งๆเราจะพบว่าเด็กใช้เวลาอยู่ในโรงเรียนเป็นเวลานาน ชีวิตในโรงเรียนของเด็กจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับครูทุกๆคน ในโรงเรียน ครูควรมีวิธีการที่จะปฏิบัติต่อเด็กด้วยดี มีใบหน้ายิ้มแย้ม พูดจากับเด็กด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน ให้ความช่วยเหลือเด็ก หากพบว่าเด็กคนใดยังปรับตัวยากก็ต้องรีบช่วยเหลือ ครูจะต้องถือเป็นหน้าที่ของตนในการที่จะสร้างความรักความอบอุ่น และความรู้สึกดีให้แก่เด็ก
                สุขภาพจิตกับการเรียนของเด็ก  ได้กล่าวไปแล้วว่าเด็กที่มีสุขภาพจิตดีจะเป็นเด็กที่มีความสุข และเด็กที่มีความสุขจะเป็นเด็กที่สร้างปัญหาให้สังคมน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีเลย ด้วยเหตุนี้ครูทุกคนจะต้องอบรมและสอนเด็กจะต้องปรับปรุงตัวเองให้พร้อมอยู่เสมอ พร้อมที่จะเรียน ทำงาน สอนเด็กด้วยการใช้เหตุผล ส่งเสริมให้เด็กปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การเรียนการสอนได้ อนึ่งครูจะต้องทำตัวเป็นตัวอย่างให้แก่เด็ก ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของคำพูด การแต่งกาย และการประพฤติ ปฏิบัติตัว และอย่าลืมว่าครูที่สุขภาพจิตเสื่อมจะทำให้เด็กอีกนับจำนวนเป็นร้อยๆฟันๆคนมีลักษณะเหมือนครูไปด้วย ในการสอนเด็กครูจึงควรปรับปรุงตัวเองทุกขณะให้เป็นผู้มีอารมณ์มั่งคง มีเหตุผล ปรับตัวเข้ากับคณะครูในโรงเรียนได้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้สุขภาพจิตของครูสมบูรณ์
           






บทที่ ๙
สาเหตุการป่วยเป็นโรคจิตของเด็กวัยเรียน

ประวัติต่างๆที่ได้มาเป็นข้อมูลในการศึกษาหาสาเหตุการป่วยเป็นโรคจิตของเด็กวัยเรียน ได้รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ป่วยโดยให้ประวัติเป็นบิดามารดาของผู้ป่วยร้อยละ ๗๑ อีกร้อยละ ๒๙ เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา ซึ่งนักสังคมสงเคราะห์พิจารณาว่าบุคคลว่าเป็นบุคคลที่เชื่อถือได้

สภาพโดยทั่วๆไปของเด็กวัยเรียนที่ป่วยเป็นโรคจิต
เด็กวัยเรียนที่ป่วยในขอบเขตการวิจัยมีร้อยละ ๙๐ ยังไม่มีคู่ครอง ที่มีคู่ครองและยังอยู่ด้วยกันมีร้อยละ ๒ เท่านั้น ที่เหลือร้อยละ๘ เคยผ่านการแต่งงานแต่แยกกันอยู่ อาการป่วยทางจิตแสงดออกเมื่ออายุ ๑๘ ปีมีจำนวนสูงสุดร้อยละ ๓๒.๕ และจำนวนรองลงมาคืออายุ ๑๗ปีถึง ๑๖ ปีคิดเป็นร้อยละ ๒๗.๕ อันเป็นช่วงระยะวัยรุ่นตอนปลาย เรียกว่า ช่วงระยะเวลาสำคัญ Hurlock กล่าวไว้ว่า “เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ เป็นวัยแห่งการปรับตัว เป็นวัยแห่งปัญหา และเป็นวัยที่มีความแต่เคร่งเครียดทางอารมณ์สูง”
เกี่ยวกับการเป็นบุตรอันดับที่ในครอบครัว และสาเหตุที่เป็นโรคจิตจะพบว่า บุตรคนแรกและคนที่สองเมื่อประสบกับความยุ่งยากในครอบครัวจะมีโอกาสเป็นโรคจิตมาก ซึ่งในสังคมไทยมุ่งหวังให้บุตรโตรับผิดชอบในครอบครัว จะต้องดูแลน้องๆแทนบิดามารดาโดยเฉพาะผู้ชาย ขณะเดียวกันน้องคนรองลงมาก็รับภาระแทนคนโต จึงปรากฏว่าในอายุ ๑๘ ปีนี้ชายผู้ป่วยเป็นโรคจิตมากกว่าผู้หญิงในอัตราส่วน ๔:๓ นอกจากจะประสบปัญหาด้านร่างกายและจิตใจอันเนื่องมาจากการเจริญเติบโตของตนเองแล้ว ยังต้องประสบปัญหาทางด้านการรับผิดชอบเพิ่มขึ้น บวกกับความยุ่งยากในครอบครัวอีก ทำให้มีความตึงเครียดทางจิตใจสูงและความลำบากในการปรับตัว โอกาสที่จะป่วยเป็นโรคจิตในอายุ ๑๘ ปีหรือวัยรุ่นตอนปลายจึงมีมาก
ระดับการศึกษาสูงสุดของผู้ป่วยจิตเวช มีดการศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นร้อยละ ๖๖.๕ โดยเฉพาะชั้นประถมปีที่ ๔ มีจำนวนมากถึงร้อยละ ๔๕.๕ ที่ไม่ได้รับการศึกษาเลยมี ๗.๕ ภูมิลำเนาเดิมผู้ป่วย อาชีพบิดามารดา ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาในชนบทภาคกลาง และมีอาชีพเกษตรกรรม การศึกษาอยู่ในระดับต่ำ เมื่อศึกษาถึงเหตุผลที่ออกจากโรงเรียนก่อนวัยอันสมควร เหตุผลสูงสุดคือผู้ปกครองต้องการให้ออกมาประกอบอาชีพและขาดทุนทรัพย์





การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน

การที่มีระดับการศึกษาต่ำทำให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่นด้านสุขภาพอนามัยไม่มีความรู้ด้านสุขศึกษาและอนามัยพอ ด้านอาหารที่ได้รับไม่ได้คำนึงถึงว่าจะได้ประโยชน์ครบถ้วนหรือไม่ ภาวะโภชนาการต่ำ ตลอดจนการสุขาภิบาลในบริเวณที่อยู่อาศัยไม่ดี สภาวะแวดล้อมที่ผิดสุขลักษณะนี้เป็นสาเหตุสำคัญทำให้สุขภาพไม่ดี เจ็บป่วยบ่อย อันเป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ การรักษาและการป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาที่เอาใจใส่อย่างดี ทำให้เป็นเรื้อรังเป็นผลให้มีความยุ่งยากในครอบครัว เพิ่มความเครียดมากขึ้น
Kolb กล่าวว่า “การศึกษาต่ำเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคจิต” ทั้งนี้เนื่องจากผู้ที่มีการศึกษาต่ำมีประสบการณ์การเรียนรู้ในการตัดสินปัญหาต่างๆได้น้อย และเพราะความจำกัดในความรู้จึงต้องทำงานใช้แรงงานซึ่งรายได้น้อย อาจเผชิญภาวะว่างงานในบางเวลา จึงต้องดิ้นรนขวนขวายมากขึ้น ปัญหานี้มีผลต่อสมาชิกในครอบครัวและในแง่ของสุขภาพจิต
เมื่อพิจารณาฐานะเศรษฐกิจของครอบครัวจำนวนมาก มีฐานะเศรษฐกิจปานกลางรองลงมาเศรษฐกิจต่ำ เกี่ยวกับสมาชิกส่วนมากมีตั้งแต่ ๖ คนขึ้นไป เมื่อจำนวนคนมากฐานะยากจนบุคคลอาศัยย่อมเกิดปัญหา มีความวิตกกังวล
สภาพภูมิลำเนาเดิมของผู้ป่วยจิตเวชมี ๒ สภาพ
  1. อยู่ในชนบทห่างไกลความเจริญ
  2. อยู่ในเมืองหลวง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ มีสภาพความเป็นอยู่แออัดประสบปัญหาด้านการครองชีพ
เกี่ยวกับความแตกต่างทางด้านสังคมตัวเมืองและสังคมชนบทในเมืองไทย จะพบว่าสภาพที่แท้จริงของชนบทความเป็นอยู่ลำบากยากจน มีความกดดันทางจิตใจมากว่าในเมืองหลวง
บุคลิกลักษณะส่วนบุคคลก่อนการป่วยเป็นโรคจิต พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีบุคลิกลักษณะแบบ Schizoid Personality ถึงร้อยละ ๖๗.๕ คือเงียบเฉยเก็บตัว ไม่สู้จะมีความสัมพันธ์แบบสนิทสนมใกล้ชิดจริงๆกับใคร พอใจในคุณสมบัติของตัวเอง
บุคลิกภาพรองลงมาคือแบบ Immature Personality มีร้อยละ ๑๓.๕ มีลักษณะเจ้าอารมณ์ ควบคุมอารมณ์ตนเองได้น้อย อารมณ์ไม่มั่นคงใช้พฤติกรรมที่ถดถอยไปสู่วัยทารกและเด็ก
บุคลิกลักษณะแบบ Cyclothymic Personality พบว่ามีร้อยละ ๑๐.๕ มีลักษณะชอบสนุก ชอบเข้าสังคม ชอบการแสงดออกเป็นกันเองกับผู้ใกล้ชิด
Independent Personality ร้อยละ ๖.๕ ลักษณะหวาดกลัวง่ายไมเป็นตัวของตัวเอง คล้ายเด็กต้องมีคนคอยช่วยเหลือ ตัดสินใจยาก บุคลิกภาพแบบนี้มักจะได้รับการเลี้ยงดูจากบิดามารดาแบบปกป้องมากเกินไป และออกคำสั่งให้ทำตามทุกๆเรื่อง จนเด็กเกิดความเคยชินและ เกิดการเรียนรู้ว่าถ้าจะให้ใครรักชอบตัวก็ยอมผู้อื่น ไม่ขัดใจหรือขัดต่อกฎเกณฑ์ต่างๆ
อีกลักษณะหนึ่ง Inadequate Personality คนที่ปรับตัวเข้ากับสภาพต่างๆได้ยาก ตัดสินใจลำบาก เข้ากับเพื่อนและสังคมได้ยาก เป็นพวกที่รอคอยโชคชะตา มากกว่าที่จะต่อสู้ด้วยตัวเอง
บุคลิกแบบ Schizoid Personality ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจิตเวชมีนิสัยเงียบเฉย เก็บตัว ตกใจง่าย ขี้อาย ในบุคลิกภาพเช่นนี้ทำให้ผู้ป่วยปรับตัวเข้ากับสังคมได้ยาก จึงแยกตัวเป็นอาการหนึ่งที่เริ่มผิดปกติทางจิต ซัลลิแวน เคยกล่าวไว้ในทฤษฎี Interpersonal Relationship ว่า “ตราบใดที่มีชีวิตอยู่ต้องมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นๆ” เพราะเก็บกดอารมณ์ต่างๆไว้เป็นผลให้ตึงเครียด
Immature Personality คนเจ้าอารมณ์ ฉุนเฉียว อารมณ์เปลี่ยนง่าย คบเพื่อนยาก จะขาดเพื่อนและเข้ากลุ่มไม่ได้ ในวัยรุร่นปกติมักจะยึดถือเพื่อนเป็นหลักมากกว่าครอบครัว เมื่อเข้ากับเพื่อนไม่ได้จึงมีปมด้อยมีปัญหาข้องคับใจ เพิ่มความตึงเครียดต่างๆ อาจแยกตัวหรือหาทางออกด้วยวิธีอื่นๆ ซึ่งเป็นปัญหาทำให้เป็นโรคจิต
จากการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างนิสัยบิดามารดากับบุคลิกภาพของผู้ป่วยแสดงให้เห็นบิดามารดาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้ป่วยหรือบุตร เมื่อบุคลิกภาพผิดปกติสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กป่วยเป็นโรคจิต


บทสรุป
กล่าวโดยสรุป สาเหตุการป่วยเป็นโรคจิตของเด็กวัยเรียนมีดังนี้
  1. มักมีการศึกษาในระดับต่ำ
  2. ภูมิลำเนาส่วนใหญ่เป็นผู้อาศัยอยู่ในภาคกลาง
  3. อาชีพ เป็นผู้อยู่ในปกครองและผู้อาศัยไม่มีอาชีพ รองลงมานักเรียน
  4. อาชีพบิดามารดา เกษตรกรรมสูงสุด
  5. บุคลิกลักษณะ มักเป็นคนเงียบเฉย รองลงมาคนเจ้าอารมณ์
  6. ฐานะทางเศรษฐกิจ ปานกลางเป็นมากที่สุด
  7. สมาชิกในครอบครัว ๖-๗ คน ผู้ป่วยมักเป็นคนแรก รองลงมาคนที่สอง





มองแต่แง่ดีเถิด

เขามีส่วน                            เลวบ้าง                                  ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา                          ส่วนที่ดี                                  เขามีอยู่
เป็นประโยชน์                                  โลกบ้าง                                 ยังน่าดู
ส่วนที่ชั่ว                                           อย่าไปรู้                                ของเขาเลย




จะหาคน                               มีดี                                      โดยส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยว                                       ค้นหา                                     สหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหา                                 หนวดเต่า                              ตายเปล่าเลย
ฝึกให้เคย                                           มองแต่ดี                                มีคุณจริง


พุทธทาส อินทปัญญา









การปรับตัวผิดปกติของเด็กวัยรุ่น
(Personality Disorders)

การปรับตัวที่ผิดปกติของเด็กวัยรุ่นที่มักพบอยู่เสมอ ในระยะนี้หรือระยะวัยเด็กมีมากมายหลายชนิดด้วยกัน อาการเหล่านี้ไม่เหมือนกับโรคจิตหรือโรคประสาท เป็นเพียงการปรับตัวที่ผิดปกติที่ควรจะได้แก้ไขเสียแต่เนิ่นๆ อาการดังกล่าวมีดังต่อไปนี้
. Paranoid Personality ประเภทนี้มีความรู้สึกไวมาก เป็นพวกช่างสงสัย มีความอิจฉาริษยาและรู้สึกว่าตนเป็นคนสำคัญมากเกินไป ชอบติเตียนผู้อื่น ทำให้ลำบากในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น
. Cychothynic Personality บุคลิกภาพแบบนี้บางครั้งก็ซึมเศร้าบางครั้งก็ร่าเริง ในระยะที่มีความร่าเริงจะมีความรู้สึกอบอุ่น มีควมาทะเยอทะยาน มองโลกในแง่ดี แต่พอถึงระยะซึมเศร้าก็จะมีความวิตกกังวลมองโลกในแง่ร้าย และขาดดพลังงาน
. Schizoid Personality เป็นบุคลิกภาพประเภทขี้อาย มีความรู้สึกไว ไม่ชอบการแข่งขัน และสร้างความสัมพันธ์กับใคร สนใจแต่เฉพาะตนเอง ชอบฝันกลางวัน ไม่สามารถแสดงความไม่พอใจหรือรู้สึกก้าวร้าวอย่างปกติได้
. Explosive Personality เป็นบุคลิกภาพแบบก้าวร้าวทางวาจาหรือร่างกาย มักแสดงพฤติกรรมที่ผิดปกติและมัดเสียใจต่อพฤติกรรมของตน มักจะโต้ตอบต่อความกดดันในสิ่งแวดล้อมเกินกว่าเหตุ
. Obsessive Compulsive Personality เป็นกลุ่มที่ยึดมั่นกับมาตรฐานที่ดีมากเกินไป มีคุณธรรมสูง ยับยั้งตัวเองมมากเกินไปหมกมุ่นกับงานมากเกินไป ไม่รู้จักพักผ่อน ลักษณะนี้จะนำไปสู่โรคประสาทได้
. Hysterical Personality เป็นลักษณะของบุคลิกที่ตื่นเต้นง่าย อารมณ์ไม่คงที่ มีปฏิกิริยาต่างๆมากเกินไป เพื่อเรียกร้องความสนใจ มีลักษณะแบบยั่วยวน เป็นบุคลิกที่ยังขาดวุฒิภาระ ชอบพึ่งผู้อื่น ถือตนเองเป็นใหญ่ อาจจะนำไปสู่โรคประสาทฮิสทีเรียได้
. Asthenic Personality เป็นบุคลิกภาพแบบเหนื่อยง่าย มีพลังงานต่ำไม่รู้สึกสนุก ขาดความกระตือรือร้น มีควมารู้สึกไวต่อความกดดันทางร่างกายและอารมณ์
. Antisocial Personality เป็นพวกที่ขาดการสมาคมที่ดีมาก่อน มักมีพฤติกรรมที่ขัดแย้งกับสังคม มีความเห็นแก่ตัว ขาดความซื่อสัตย์ ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่รู้สำนึกผิดหรือเข็ดหลาบในการถูกลงโทษ ชอบโทษและติเตียนผู้อื่น ขาดความอดทนเท่าที่ควร
. Passive-Aggressive Personality กลุ่มนี้มีทั้งลักษณะสมยอมและก้าวร้าวออกมาเงียบๆ เช่นขัดขืน ทำหน้าบึ้ง ชอบผัดวันประกันพรุ่ง แกล้งทำเป็นไม่มีความสามารถ ดื้อรั้น เป็นพฤติกรรมที่แสงดถึงความไม่พอใจแต่ไม่กล้าที่จะแสดงออกอย่างเปิดเผย
๑๐. Inadeouate Personality เป็นพวกที่ปรับตัวยาก ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจของตนได้ ทั้งๆที่ดูเหมือนว่าไม่มีความบกพร่องทางร่างกายและจิตใจ การตัดสินใจไม่ดี ไม่มีความมั่นคงในการเข้าสังคม ขาดความอดทน


วิธีแก้ไขเด็กที่ปรับตัวไม่ดีในห้องเรียน

ครูจะต้องทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องของเด็กเสียก่อน สิ่งนี้เป็นก้าวสำคัญของการแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆ ของเด็ก ความรู้สึกและทัศนคติของเด็กจะถูกต้องเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ทางครอบครัวและสิ่งแวดล้อมของเด็กแต่ละคน โรงเรียนเป็นสิ่งแวดล้อมใหม่ของเด็กและครูสามารถจะจัดหาสิ่งแวดล้อมดีๆ ให้แก่เด็กได้ เพื่อช่วยให้เด็กแก้ไขความรู้สึกและทัศนคติใหม่ให้ถูกต้อง เพื่อช่วยให้เด็กปรับตัวดีขึ้น เด็กที่รู้สึกว่าขาดความรักขาดความอบอุ่นทางจิตใจนั้นครูควรจะช่วยเด็กโดยให้ความรักความอบอุ่นแก่เด็ก ให้เด็กรู้สึกว่าโรงเรียนเป็นสถานที่ที่ให้ความสุขแก่เขา ทำให้มีอารมณ์มั่นคงขึ้น
เด็กที่มีปมด้อยครูควรแสดงให้เด็กเห็นว่าครูยอมรับในความเป็นอยู่ของเด็กและหาโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถในด้านอื่นๆ ที่เด็กทำได้ดี เพื่อช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จ ให้คนอื่นหันมายกย่องชมเชยเด็กบ้าง สำหรับเด็กที่ไม่ชอบคบหาสมาคมกับเด็กอื่นๆ นั้นอาจจะเนื่องจากเด็กมักจะได้รับความอยุติธรรมจากเพื่อน จึงทำตัวเป็นศัตรูกับคนอื่น ไม่ยอมคบหากับใคร ในกรณีนี้ครูควรแสดงความเป็นมิตรอย่างจริงใจกับเด็กเพื่อให้เด็กเห็นว่าครูเป็นกันเองและรับฟังความรู้สึกต่างๆของเขา นอกจากนี้ครูอาจจะช่วยให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมของโรงเรียน เมื่อเขาทำได้ควรชมและให้กำลังใจ ให้เขาได้รู้ว่าเขาเองมีความสามารถอย่างไร เพื่อช่วยให้เด็กยอมรับความเป็นจริงและรู้จักตัวเองดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เด็กปรับตัวได้ดีขึ้น
จึงกล่าวได้ว่าครูเท่านั้นที่จะช่วยเหลือให้เด็กปรับตัวได้ดีขึ้น เพราะเด็กส่วนมากรัดครูและเชื่อฟังครู คำพูดต่างๆของครูมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของเด็กมาก ความรักความเมตตา ตลอดจนความเข้าใจที่ครูมีต่อเด็กนั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างยิ่งที่จะแก้ไขความรู้สึกและทัศนคติไม่ดีออกไปจากจิตใจเด็กได้ ยอมรับและกระตุ้นให้เด็กมีความเจริญงอกงามในทุกๆด้านให้มากที่สุด โดนการพยายามสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้อบอุ่น มีอิสระและมีโอกาสให้เด็กแสดงความสามารถของตนตามความถนัด และอาการปรับตัวไม่ดีต่างๆ ก็จะค่อยๆหายไป นับว่าครูเป็นผู้หยิบยื่นความสำเร็จให้แก่ตัวเด็กด้วยการช่วยส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพจิตดีด้วย
พฤติกรรมที่เกิดจากการปรับตัวผิดของเด็ก

พฤติกรรมที่เกิดจากการปรับตัวผิดมี 6 ประเภท ด้วยกัน ดังนี้
  1. พวกที่ชอบกระพิบตาบ่อยๆ ลียริมฝีปาก ดึงผม กัดเล็บ กระดิกขาบ่อยพวกนี้เกิดจากประเภทที่ผิดปกติ ( Nervous behavior )
  2. พวกหมกมุ่นอยู่กับความเศร้าโศกสียใจ วิตกกังวล ชอบนั่งใจลอย หัวเราะเสียงดัง ไม่รับผิดชอบงานพวกนี้เกิดจากอารมณ์รุนแรงเกินไป ( Emotional ovvereaction )
  3. พวกนี้ต้องพึ่งผู้อื่นทำงานคนเดียวไม่ได้ ขี้ระแวงสงสัย ตัดสินใจเองไม่ได้ รู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย พฤติกรรมเหล่านี้เกิดจากขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ ( Emotional immaturity )
  4. พวกที่ชอบแสดงอาร ก้าวร้าวผู้อื่น พูดจาขวานผ่าซาก ชอบติเตียน เกิดจากการชอบอวดตัว ( Exhiditionistic Behavior )
  5. พวกที่ชอบพูดจาหยาบคาย ชอบขัดคำสั่ง ชอบรังแกทารุณสัตว์ พวกนี้เกิดจากการต่อต้านสังคม ( Antisocial Behavior )
  6. พวกที่เจ็บป่วยโดยขาดเหตุผล กินจุหิวเก่ง บางครั้งอาเจียนและอุจจาระไม่เป็นเวลา ( Psychosomatic disturbances )


การแก้ไขและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของนักเรียน
การมีสุขภาพจิตที่ไม่ดี จะทำให้สุขภาพจิตของเด็กพลอยเสียไปด้วย ดังนั้นสุขภาพจิตของครูจึงควรได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ และครูที่มีสุขภาพจิตที่เสื่อมไม่ควรมีบทบาทกับเด็กเลย เช่น ครูที่ชอบแสดงอาการโกรธ ฉุนเฉียวง่าย มิฉะนั้นแล้วจะทำความยุ่งยากให้แก่เด็กอีกมาก


สาเหตุที่มีผลกระทบกระเทือนต่อ สุขภาพจิตของเด็ก มีดังต่อไปนี้
  1. สภาพทางบ้าน เช่น ผู้ปากครองที่แตกแยกกัน พ่อแม่อย่าร้าง เด็ดขาด ไม่ยอมให้เด็กทำอะไรด้วยตนเอง ทำให้เด็กหาความสุขไม่ได้เลย อาจทำให้สุขภาพจิตเด็กเสื่อมได้
  2. นักเรียนในชั้นหนึ่งๆ มากเกินไป ทำให้ครูเอาใจใส่ดูแลเด็กไม่ทั่วถึง เด็กจึงเกเร และไม่สนใจในการเรียน ดังนั้น โรงเรียนจึงควรจัดชั้นเรียนให้พอเหมาะกับจำนวนของนักเรียน ที่จะทำให้ครูสามารถดูแลได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง
  3. ความรู้สึกไม่ปลอดภัย เช่น เด็กกลัวครู กลัวพ่อแม่จนเกินไป กลัวสอบตก กลัวเพื่อนรังแก สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กขาดความสุข อาจทำให้ขาดความสมบูรณ์ทางด้านจิตใจได้
  4. ความยากจน เด็กต้องเผชิญปัญหากับความขาดแคลนมาตั้งแต่เล็ก ไม่ได้อะไรอย่างเช่นเด็กคนอื่นเขา สิ่งนี้อาจทำให้เด็กรู้สึกผิดหวังอยู่เสมอ
  5. พ่อแม่ชอบทะเลาะกันเสมอ เด็กทุกคนต้องการให้พ่อแม่ปรองดองกัน ถ้าพ่อแม่รักกันเด็กก็จะมีความสุข ฉะนั้นความสามัคคีของพ่อแม่ย่อมสร้างความสุขให้แก่ลูกได้เป็นอย่างดี
  6. การที่ครูชอบทำโทษเด็กต่อหน้าคนอื่น เช่น การประจานความผิด การกระทำเช่นนี้ไม่สามารถทำให้เด็กกลับตัวได้เลย แต่จะเป็นการสร้างให้เด็กอับอาย ทำให้เด็กไม่อยากมาโรงเรียน ขาความสุขที่ควรจะได้รับ ทำให้อารมณ์ตึงเครียด เป็นบ่อเกิดแห่งความเสื่อมทางจิต


การป้องกันปัญหาทางสุขภาพจิตของนักเรียน
ฉะนั้นสถาบันที่ทำได้มากที่สุดมีอยู่เพียงสองแห่งเท่านั้น คือ ๑) โรงเรียน และ ๒) บ้าน
ทั้งทาบ้านและทางโรงเรียนควรร่วมมือกันช่วยเหลือเด็ก เช่น การอบรมสั่งสอน ให้ความรัก ความเมตตา ตลอดจนให้วัตถุสิ่งของแก่เด็กบ้าง ตามโอกาสที่สมควร
ส่วนทางโรงเรียน ครูก็ควรทราบว่าเด็กทุกคนต้องการความสำเร็จ และสิ่งที่เด็กกลัวมากที่สุดคือ การสอบตก ดังนั้น ครูจึงควรช่วยแนะแนวทางให้แก่เด็ก ตลอดจนส่งเสริมในเรื่องของกิจกรรมให้แก่เด็ก


การสอนของครู ควรคำนึงถึงสิ่งดังต่อไปนี้
.กำหนดเวลาเรียนให้เหมาะแก่เด็ก
.มีการหยุดพักพอควร
.เวลาพักกลางวันไม่ควรให้เด็กเล่นกีฬา หรือวิ่งเล่นจนเหนื่อยเกินไป
.กะเวลาบทเรียนให้เหมาะแก่เด็ก
.วิชาพลศึกษาควรจัดไว้เป็นวิชาสุดท้าย
.ไม่ควรให้การบ้านมากจนเกินไป
.ควบคุมดูแลเด็กให้เด็กได้พักผ่อนจริงๆ ( สำหรับเด็กอนุบาล )
สุขภาพจิตของเด็กที่ควรคำนึงถึง มีหลักการดังต่อไปนี้
ความแข็งแรงทางด้านร่างกาย ถ้ามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ก็จะทำให้เด็กมีความสุข ส่งผลต่อสุขภาพทางจิตใจ เชาว์ปัญญา เด็กแต่ละคนมีความรู้ความสามารถที่แตกต่างกัน ดังนั้นถ้าเด็กที่มีเชาว์ปัญญาสูงก็จะสามารถเรียนรู้ได้เร็วก็จะมีสุขภาพจิตใจที่สมบูรณ์กว่าพวกที่มีเชาว์ปัญญาต่ำ อารมณ์ เด็กที่มีความสมบูรณ์ทางอารมณ์ เช่น ได้รับความรัก ความอบอุ่น จะมีความรู้สึกที่มั่นคง การแก้ไขปัญหาทางสุขภาพจิต การแก้ความตึงเครียดทางด้านอารมณ์ ความตึงเครียดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้สุขภาพจิตเสื่อมได้มาก
ฉะนั้นการรู้จักวิธีการผ่อนคลายความเครียดจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งมีวิธีการ ดังนี้
.รู้จักควบคุมและดัดแปลงอารมณ์ของตน
.การหางานอดิเรกที่ตนเองสนใจเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน


วิธีแก้ตามหลักของจิตแพทย์หรือ นักจิตวิทยา
.หาที่ปรึกษา อาจจะปรึกษาพ่อกับแม่ ครู อาจารย์ ตลอดจนเพื่อนที่ไว้วางใจได้ จะช่วยให้ทุกข์เบาบางลง
.หลีกเลี่ยงไปสักระยะ ไม่ควรหมกมุ่นอยู่กับปัญหานั้นจนเกินไป
.หางานทำเพื่อระงับความโกรธ เช่น ทำงานบ้าน หรือทำงานที่ตนชอบ
ในบางโอกาสควรฝึกตนให้รู้จักยอมเป็นผู้แพ้เสียบ้าง เพื่อระงับเรื่องวุ่นวายลงบ้าง
.ไม่ควรหวังในสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากจนเกินไป ควรตั้งความหวังที่พอประมาณ และพยายามก้าวไปสู่ความหวังอย่างถูกทาง จะช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น
.ปรับปรุงทักษะในเรื่องของมนุษยสัมพันธ์ให้ดีขึ้น เพราะคนเราต้องติดต่อสื่อสารกับผู้คนอยู่เสมอ ดังนั้นการติดต่อกันใน สังคมที่ดีต่อกัน จะช่วยเสริมสร้างความสุขให้แก่กันได้ดียิ่งขึ้น
.หาเวลาพักผ่อนบ้าง ไม่ควรเคร่งเครียดอยู่กับงานทั้งวัน
.หาความสุขเสียบ้าง และการมีอารมณ์ขัน จะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดได้










บทบาทของโรงเรียนในการส่งเสริมสุขภาพจิตของนักเรียน
ครูเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตของเด็ก ซึ่งครูจะต้องปรับตัวให้ดี ครูจะต้องส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการเต็มที่ในทุกๆด้าน ครูจะต้องเข้าใจถึงความต้องการของเด็กและยอมรับในความแตกต่างของเด็กแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน และการที่ครูรู้จักพ่อกับแม่ของเด็กจะช่วยให้เด็กเกรงกลัวครูยิ่งขึ้น ไม่กล้าเกเร หรือ ทำความผิด
การเข้าใจเด็กคือการเข้าใจและรู้ถึงความต้องการของเด็ก ตลอดจนพฤติกรรมต่างๆในวัยของเด็ก และครูไม่ควรนำความทุกข์ของครูมาปลดปล่อยกับเด็ก ควรสลัดมันทิ้งก่อนที่จะเข้าห้องเรียน ตลอดจนให้ความช่วยเหลือเด็กทุกครั้งด้วยความเต็มใจ


สถานการณ์ที่ครูควรคำนึงถึง ในการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้แก่เด็ก คือ
.ไม่ควรจัดชั้นเรียนแออัดจนเกินไป
.ไม่ควรพูดจาเยาะเย้ย หรือ ถากถางเด็กในชั้นเรียน หรือ เข้มงวดกับเด็กจนเกินไป
.จัดกิจกรรมให้เหมาะสม และตรงตามความต้องการและความสนใจของเด็ก
.ครูควรเป็นที่ปรึกษาที่ดีให้กับเด็ก ตลอดจน การหาวิธีการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเรียน ให้แก่เด็ก รวมทั้ง แนะนำวิธีการเรียนที่ดีให้แก่เด็ก ทั้งการให้กำลังใจแก่เด็กอย่างสม่ำเสมอ
ในการทำงานร่วมกับเด็ก ครูควรปฏิบัติตนดังต่อไปนี้ คือ
.ท่าทีของครูควรเป็นไปอย่างจริงใจ และยอมรับเด็ก
.ควรปล่อย และ เข้มงวด กับเด็กให้ถูกกาลเทศะ
.อย่าทำให้เด็กรู้สึกอับอาย หรือ เสียหน้า
.ไม่ควรตื่นเต้นเกี่ยวกับปัญหาของเด็กมากจนเกินไป ควรปล่อยตามสบายบ้าง
.ไม่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อเกิดปัญหา
.ไม่ควรมีกฎเกณฑ์หรือ ข้อห้ามมากจนเกินไป
.ควรปล่อยเด็กให้เป็นอิสระบ้างตามสถานการณ์
.ครูควรมีความเชื่อมั่นในตนเองเมื่อต้องปฏิบัติหน้าที่
.ควรทำความรู้จักกับเด็กทุกคนโดยไม่เลือกฐานะ
๑๐.ไม่ควรแสดงอารมณ์โกรธ หรือ แสดงความไม่พอใจต่อหน้าเด็ก





























บทที่ 1
จิตวิทยาการปรับตัว


ความหมาย
จิตวิยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับจิต (Mind) วิญญาณและศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ความคิด ความรู้สึก หรือจิตใจจะควบคุมพฤติกรรมการแสดงออกของมนุษย์ ในเรื่องเกี่ยวกับจิตวิญญาณยังเป็นเรื่องลึกลับที่ยังเป็นที่สนใจ ใจหมู่ของนักวิชาการในปัจจุบัน ซึ่งพยายามจะหาทางพิสูจน์ให้เห็นจริงถึงพลังหรืออำนาจพิเศษของจิตวิญญาณ
อาจกล่าวได้ว่า จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นในแง่ความคิด ความรู้สึก การกระทำ ความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
พฤติกรรมของมนุษย์” เป็นคำที่มีความหมายกว้างมาก พฤติกรรมมนุษย์สามารถแบ่งได้เป็น
1.พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากสัญชาตญาณเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเอง ไม่ต้องมีการสอน ไม่ได้เกิดจาการเรียนรู้ เช่น พฤติกรรมการดูด ดื่ม กลืนน้ำหรืออาหารเมื่อมนุษย์รู้สึกหิว พฤติกรรมการชักเท้าหนีเมื่อเหยียบตะปู หรือของแหลมคม ฯลฯ
2. พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรุ้ หมายถึง การกระทำของมนุษย์ที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น ถูกวางเงื่อนไข มีสิ่งเร้า การตอบสนอง ได้รับการเสริมแรง หรืออาจจะเกิดจาก การลองผิดลองถูก ฯลฯ ทำให้คนมีพฤติกรรมเกิดขึ้น เช่น การติดต่อสื่อสาร การแต่งกายด้วยชุดสีดำเพื่อไปงานศพ การยกมือไหว้ครูอาจารย์ที่เคารพ เป็นต้น
พฤติกรรมของมนุษย์ย่อมมีสาเหตุ (Caused Behavior) หมายถึงว่า ทุกๆการกระทำ ทุกๆพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมาล้วนมีความหมายมีที่มาละมีที่ไป เพียงแต่ว่าบางครั้งมนุษย์อาจแสดงพฤติกรรมออกมาที่เจ้าตัวไม่ทราบสาเหตุหรือเหตุผลของการกระทำ เนื่องจากพฤติกรรมการกระทำนั้น เกิดขึ้นในระดับจิตใต้สำนึก หรือจิตไร้สำนึก นั่นคือ กระทำหรือพฤติกรรมไม่อยู่ในจิตสำนึกของบุคคล อาจกล่าวได้ว่าพฤติกรรมที่มนุษย์แต่ละคนแสดงออกมี 3 ระดับ สอดคล้องกับระดับความรู้สึกตัวหรือโครงสร้างตามจิตตามแนวคิดของฟรอยด์ กล่าวคือ


1. พฤติกรรมที่ผู้กระทำรู้สึกตัวดีตลอด คือ การกระทำที่เจ้าตัวระลึกได้ว่า กำลังทำอะไร ทำสิ่งนั้นเพราะเหตุใด เป็นการทำงานของจิตอยู่ในระดับสำนึก ( Conciousness)
2. พฤติกรรมที่ผู้กระทำกระทำไปโดย ไม่รู้สึกตัว ใครมาบอกใครมาถามก็ไม่รู้เหตุผล ไม่รู้ตัวว่าตนทำสิ่งใดลงไปด้วยเหตุใด พฤติกรรมเช่นนี้เป็นการทำงานของจิตที่อยู่ในระดับลึกที่สุด ยากจะตระหนักรู้หรือทบทวน ซึ่งเรียก “จิตไร้สำนึก” (Rnconsciousness)
การปรับตัว ( Adjustment) หมายถึงกระบวนการที่บุคคลใช้ความพยายามในการปรับตนเอง เมื่อต้องเผชิญกับสภาพปัญหา ความอึดอัดใจ ความคับข้องใจ ความเครียด ความทุกข์ใจ
ความวิตกกังวลต่างๆ ฯลฯ จนเป็นสภาพการณ์ที่บุคคลนั้นๆได้ ถ้าบุคคลปรับตัวแล้วสามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมได้อย่างมีความสุขนั้น แสดงว่าบุคคลนั้นมีสุขภาพจิตดี แต่หากว่าบุคคลปรับตัวแล้วยังมีความทุกข์ใจ ว้าวุ่นใจไม่สบายใจอยู่ ความรู้สึกดังกล่าวย่อมจะทำให้บุคคลนั้นเป็นบุคคลที่สุขภาพจิตไม่ดี และหากเรื้อรังรุนแรงมากขึ้น อาจจะเจ็บป่วยเป็นโรคประสาทหรือโรคจิตได้
ดังนั้น “จิตวิยาการปรับตัว” จึงหมายถึง ศาสตร์ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ในแง่ของความสามารถของบุคคลในการที่พยายามจะปรับตนเองให้อยู่ในสภาพแวดล้อมได้อย่างดีและความสุขไม่ว่าจะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงทั้งจากตนเองและสิ่งแวดล้อม อย่างไรบุคคลที่ศึกษาเกี่ยวจิตวิทยาการปรับตัวมาพอดีจนสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม ย่อมสามารถมีชีวิตที่เป็นสุขไม่สร้างปัญหาให้แก่ตนเอง ผู้อื่น และสังคม
สาเหตุของการปรับตัว
ทำไมมนุษย์ต้องมีการปรับตัว มีเหตุผลสำคัญดังนี้เพื่อความอยู่รอดของชีวิตและเพื่อความสุขและราบรื่นในชีวิตมนุษย์
1. เพื่อความอยู่รอดของชีวิต
ตลอดชั่วชีวิตของบุคคลหนึ่งๆ ย่อมผ่านช่วงชีวิตมามากมาย พบกับความเปลี่ยนแปลงทั้งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เริ่มตั้งแต่ปฎิสนธิ เป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดา ต่อมาจนคลอดเป็นทารกแรกเกิดและเติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ เราทุกคนต้องพบกับสภาพการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดซึ่งทุกคนจะต้องปรับตัวเพื่อจะอยู่รอดได้ในแต่ละช่วงชีวิต เช่น เมื่อเป็นทารกแรกเกิดก็ดูดดื่มกินนมมารดาเพียงอย่างเดียว เมื่อโตขึ้นสักหน่อยราวๆ 3 เดือน มารดาก็จะเริ่มให้อาหารอื่นทดแทน เริ่มป้อนข้าว กล้วย น้ำ และอื่นๆ ทีนี้ถ้าเราบอกไม่เอา...เราไม่กิน...เราไม่ยอมกลืน...เราอยากจะดูดนมแม่เพียงอย่างเดียว...เราคงจะไม่เติบโตมาได้ เพราะอะไร เหตุเพราะว่า “น้ำนมแม่นั้นมีคุณค่า อาหารน้อยลงจนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายซึ่งเจริญเติบโตขึ้นทุกวันๆ” เราจะคงยืนยันว่า “เด็กคนนั้นคงไม่เติบโตมาอย่างสมบูรณ์และแข็งแรงได้เป็นแน่” เพราะเขาคงจะขาดสารอาหาร ผอมแห้งไม่มีแรง อ่อนแอ เจ็บป่วยง่าย และอาจจะตายเสียก่อนโต ลักษณะการปรับตัวเช่นนี้เหตุผลคือ ความจำเป็นต้องปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวเรา “เพื่อความอยู่รอดของชีวิต”
2. เพื่อความสุข หากมีคำถามว่า “ความสุขคืออะไร”
ความสุข คือ การไม่มีความทุกข์
ความทุกข์ คือ การไม่มีความสุข
การปรับตัวช่วยให้เรามีความสุขได้อย่างไร? การปรับตัวช่วยให้เรายอมรับสภาพการณ์ สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วพยายามหาวิธีการแก้ไข ขจัดปัดเป่าปัญหาหรือสภาพการณ์ที่ค่อนข้างเลวร้าย หรือสภาพการณ์ที่เลวร้ายมากๆที่เกิดขึ้นกับตัวเราให้บรรเทาเบาบางลง ซึ่งอาจจะพยายามแก้ไขได้ด้วยตนเอง หรือมีการแสวงหาบุคคลอื่นมาช่วยแก้ปัญหา สุดท้ายเมื่อปัญหาคลี่คลายมีการแก้ปัญหาแล้ว ความคิด ความรู้สึก ของเราก็จะดีขึ้น ผ่อนคลายความตึงเครียดลงไป เมื่อความทุกข์หาย ความสุขสบายใจย่อมเกิดขึ้น
ลักษณะของกระบวนการปรับตัว
1. การปรับตัวที่สมบูรณ์หรือการปรับตัวแบบบูรณาการ ( Integrating Adjustment) เป็นลักษณะการปรับตัวของบุคคลเมื่อเผชิญกับสภาพปัญหาหรืออุปสรรคแล้วสามารถแก้ไขปัญหาหรือขจัดอุปสรรคนั้นได้ โดยที่ตนเองเกิดความสุขสบายใจไม่มีข้อขุ่นข้องหมองใจเหลืออยู่เลย การปรับตัวลักษณะนี้ถือว่าเป็นการปรับตัวแบบบูรณาการแบบผสมผสานหรือที่เรียกว่า การปรับตัวที่สมบูรณ์ การปรับตัวแบบนี้มิได้หมายถึงว่า การแก้ปัญหาของบุคคลนั้นสามารถแก้ได้ บางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้รับการแก้ไขจนเสร็จสิ้น หากแต่บุคคลที่เผชิญปัญหานั้นเองสามารถยอมรับสภาพปัญหาที่เขาพยายามแก้ไขแล้วแต่ไม่สำเร็จ และหากว่าเจ้าของปัญหายอมรับทำใจได้ ปรับสภาพความคิดความรู้สึกได้ ก็ถือว่าเป็นการปรับตัวที่สมบูรณ์แบบเช่นเดียวกัน
2. การปรับตัวแบบไม่สมบูรณ์หรือการปรับตัวแบบไม่บูรณาการ (Non- Integrating Adjustment) เป็นการปรับตัวที่บุคคลไม่สามารถเผชิญกับปัญหาได้ รวมทั้งไม่สามารถแก้ปัญหานั้นๆได้ ซึ่งบุคคลพอจะมีวิธีคลายความตึงเครียดลงได้บ้าง แต่ยังคงมีความเครียด ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจเหลืออยู่ การปรับตัวแบบนี้ยังมีความทุกข์ค้างคาใจอยู่ จึงเป็นการปรับตัวที่ไม่สมบูรณ์แบบ และจำเป็นต้องอาศัยกลไกทางจิตหรือกลไกการป้องกันตนเองมาใช้เพื่อช่วยผ่อนคลาย หรือลดความตึงเครียดลงไป(ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์, 2533)
กลไกทางจิต หรือ กลวิธานทางจิต(Defense Mechanism or Self-defense mechanism)
กลไกทางจิต หรือ กลวิธานทางจิต เป็นกลไกการป้องกันตนเองของบุคคล เป็นวิธีซึ่งช่วยลดความเครียด ความกังวลใจ ความคับข้องใจ ความขัดแย้งในใจ เพื่อการปรับตนเองหรือปกป้องตนเอง เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดและอยู่ได้อย่างดีและมีความสุข
กลไกทางจิตนี้ เกิดขึ้นจากการเรียนรู้และประสบการณ์ของบุคคล การนำกลไกทางจิตไปใช้นั้นมีทั้งข้อดีและข้อสีย ข้อดีกล่าวคือ ช่วยให้สบายาใจ คลายทุกขใจ คลายความกังวลใจ ฯลฯ หากแต่ข้อเสียจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลเกิดการเรียนรู้แล้วนำกลไกทางจิตไปใช้อยู่บ่อยๆจนเคยชินเป็นนิสัย ทำให้บุคคลนั้นมีแนวโน้มจะหลอกตนเอง ไม่ยอมรับความเป็นจริง และบางครั้งหากใช้กลวิธานทางจิตหรือกลไกทางจิตบางประการมากๆ ก็มีแนวโน้มที่บุคคลนั้นจะไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง ( Out of reality ) อาจถึงขั้นป่วยเป็นโรคจิต โรคประสาทได้ อาจสรุปถึงข้อดีของการใช้กลไกทางจิต ได้ดังนี้
ข้อดีหรือประโยชน์การใช้กลไกทางจิต
1. ช่วยลดความวิตกกังวล คลายความทุกข์ ลดความเครียด
2. ช่วยให้บุคคลสามารถยืนหยัด และเห็นคุณค่าในตนเอง
3. ช่วยให้ตนเองเข้มแข็งมากขึ้น รู้จักป้องกันตนเองจากสิ่งคุกคามภายนอก
กลไกทางจิตที่นำมาใช้กันบ่อยๆในปัจจุบันได้แก่
1. การปฎิเสธไม่ยอมรับความจริง( Denial lf Reality ) เป็นวิธีการที่บุคคลไม่ยอมรับรู้ไม่ยอมเข้าใจ ไม่ยอมเผชิญปัญหากับสภาพเป็นจริงที่เกิดขึ้นเองเพราะความเป็นจริงที่เกิดกับตนเองเป็นสภาพที่ก่อให้เกิดความทุกข์ ความเสียใจ ความเจ็บปวด ฯลฯ เขาจึงพยายามหลบหลีกหนีจากปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการไม่สนใจ หรือปฎิเสธต่อเรื่องอื่นๆ เช่น เมื่อทราบว่าบิดาเสียชีวิต ก็ปฎิเสธว่าไม่ใช่บิดาของตนที่เสียชีวิต
2. การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง ( Rationalization) การใช้วิธีการป้องกันตนเองแบบนี้ คล้ายๆกับการ “แก้ตัว” กล่าวคือ บุคคลจะหาเหตุผลอ้างข้อมูลต่างๆเพื่อสนับสนุนการกระทำหรือพฤติกรรมของตนที่ทำลงไป รวมทั้งการหาเหตุผลเพื่อสนับสนุนการทำหรือไม่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งของตนเอง การที่ต้องอ้างเหตุผลต่างๆมาอธิบายดังกล่าวนี้ เพื่อลดความเครียด ความวิตกกังวล ความไม่สบายใจและช่วยรักษา “หน้า” และ เกียรติยศ หรือ “ศักดิ์ศรี” ของตนเองไว้ โอยเหตุผลที่นำมาใช้นั้นมักจะเป็นค่านิยมของสังคมและเป็นที่ยอมรับของสังคมได้ กล่าวคือ บุคคลก็จะพยายามหาเหตุผลมาใช้เพื่อรักษา “หน้าตาและความรู้สึกของตนเอง”
การอ้างเหตุผลมี 2 แบบใหญ่ๆ ได้แก่
2.1 แบบองุ่นเปรี้ยว ( Sour Grape ) เป็นการอ้างเหตุผลเมื่อบุคคลพลาดหวังมิได้ในสิ่งที่ต้องการจึงหาเหตุหรือข้ออ้างที่ว่า สิ่งนั้นหรือการกระทำนั้นๆเป็นสิ่งของหรือการกระทำที่ไม่ดี ดังนั้นเขาจึงไม่ต้องการหรือกระทำสิ่งนั้นๆเสมือน “องุ่นเปรี้ยว” ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการ เช่น
เมื่อสอบเข้าเรียนพยาบาลไม่ได้ ก็อ้างว่า “การเป็นพยาบาลต้องคอยรับใช้คนอื่นและต้องทำงานกับของสกปรกจึงไม่อยากเรียน ดังนั้น เมื่อสอบไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ไม่รู้สึกเสียหน้าหรือเสียศักดิ์ศรีมากนัก เหตุเป็นเพราะที่ กล่าวอ้างมาแล้วว่า “มันไม่ดี...เป็นงานต้อยต่ำ สกปรก...”
2.2 มะนาวหวาน (Sweet Lemon) เป็นการอ้างเหตุผล เมื่อบุคคลต้องเผชิญกับภาวะที่ตนเองไม่อยากพบไม่อยากกระทำ หรือไม่อยากจะได้ แต่ตนเองหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นคือ จะต้องพบสิ่งนั้น รวมทั้ง “จะต้องได้สิ่งนั้น” จะปรับโดยใช้วิธีการที่เรียกว่า “มะนาวหวาน” อธิบายตรงความหมายว่า มะนาวย่อมมีธรรมชาติคือมีรสเปรี้ยว แต่บุคคลก็จะพยายามหาเหตุผลข้อมูลมาเพื่อจะบอกและอธิบายกับผู้อื่นว่า “จริงๆแล้วมะนาวมันหวานนะ” นั่นคือ บุคคลจะพยายามแสวงหาข้อมูลมาเพื่อให้ทราบว่า การได้พบ ได้กระทำสิ่งต่างๆที่ตนจำต้องพบหรือกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ดีสำหรับตนเอง เช่น เมื่อสอบตก ก็จะพบกับใครๆว่า “ดีเหมือนกันนะจะได้รู้รสชาติของชีวิต” หรือ เมื่อมีแฟนหน้าตาขี้เหร่ ก็จะพยายามอ้างให้ผู้อื่นเห็นว่า “เธอนิสัยดีมาก เป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดี...” หากแต่ในความจริงการหาเหตุผลข้อมูลต่างๆมาอ้างนั้นขัดกับเหตุผลความรู้สึกที่แท้จริงของบุคคลนั้น โดยที่การนำเหตุผล ข้อมูลนั้นมาอ้าง เพื่อทำให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึกมั่นใจ สบายใจ รู้สึกดีแก่ตนเอง ไม่เสียหน้ามากนัก
2.3 การกล่าวโทษผู้อื่นหรือการโยนความผิดให้ผู้อื่น (Projection) เป็นการย้ายหรือโยนความผิดความไม่ดีงามของตนเอง หรือความรับผิดชอบจากผลการกระทำของตนเอง หรือผลจากความคิดที่ไม่เหมาะสมของตนไปให้บุคคลอื่น “เป็นการไม่ยอมรับความผิดของตนนั่นเอง” ลักษณะนี้ตรงกับสุภาษิตของไทยที่ว่า “รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง” คือ “แทนที่จะโทษตัวเองกลับไปโทษว่าเพราะปี่เพราะกลองทำให้ตนเองรำได้ไม่สวย” ตัวอย่างเช่น นักเรียนสอบตกก็อ้างว่าครูสอนไม่ดี สอนไม่รู้เรื่อง
2.4 การแสดงความก้าวร้าว ( Aggression) เป็นการกระทำของบุคคลเมื่อถูกขัดขวางความคิด ความต้องการของตน จึงแสดงการต่อสู้ด้วยความก้าวร้าวเพื่อทำลายผุ้อื่น การแสดงความก้าวร้าวของบุคคล สามารถแบ่งเป็น
การก้าวร้าวทางกาย เป็นลักษณะของการใช้กำลังทำร้ายทุบตี หรือทำให้ฝ่ายตรงข้ามได้รับความบาดเจ็บทางร่างกาย เช่น การทุบ การตี การใช้อาวุธทำร้ายกัน
การก้าวร้าวทางวาจา เป็นลักษณะของการใช้คำพูด ด้วยถ้อยคำที่เสียดสี ดูถูก ดูหมิ่น ดูแคลน หรือคำพูดที่ฟังแล้วทำให้อีกฝ่าย “แสลงใจ” คือฟังแล้วเกิดความรู้สึกไม่ดี ท้อแท้ หมดความหวัง หมดกำลังใจ หมดคุณค่าในตนเอง
2.5 การเก็บกด ( Repression) หมายถึง การเก็บกดความรู้สึกไม่สบายใจ หรือความรู้สึกผิดหวัง ความคับข้องใจไว้ในจิตใต้สำนึกจนกระทั่งเจ้าตัวลืมเรื่องราว หรือเหตุการณ์นั้นๆไป กลไกป้องกันตัวประเภทนี้มีอันตราย เพราะถ้าบุคคลเก็บความรู้สึกไว้มากจะส่งผลให้บุคคลมีความเครียดและวิตกกังวลใจมาก และอาจทำให้เป็นโรคประสาทหรือโรคจิตได้
2.6 การถดถอย ( Regression) หมายถึง การแสดงพฤติกรรมการถดถอยไปเป็นการหนีกลับไปอยู่ในสภาพอดีตที่ทำให้ตนมีความสุข ตัวอย่างเช่น เด็ก 2-3 ขวบ ที่เคยช่วยเหลือตนเองได้ แต่เมื่อแม่มีน้องใหม่เห็นพ่อแม่ให้ความรักดูแลเอาใจใส่กับน้อง ทำให้มีความรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่รักและไม่สนใจตนเหมือนเดิม ส่งผลทำให้เด็กจึงมีพฤติกรรมถดถอยไปอยู่ในวัยทารกที่ช่วยตนเองไม่ได้ เช่น ไม่ยอมช่วยเหลือตนเอง ต้องให้แม่ทำทุกอย่างให้ เรียกร้องและต้องการความสนใจเหมือนตนเองเป็นเด็กเล็กๆอยู่
2.7 การแสดงปฎิกิริยาตรงกันข้าม กับความปรารถนาที่แท้จริง ( Reactiion Formation) หมายถึง กลไกป้องกันตน โดยการทุ่มเทในการแสดงพฤติกรรมตรงข้ามกับความรู้สึกของตนที่ตนเองคิดว่าเป็นสิ่งที่สังคมอาจจะไม่ยอมรับ เช่น เกลียดเพื่อนคนหนึ่งมากแต่รู้ว่าเพื่อนมีอิทธิพลมากจึวแสร้งทำดีกับเขาทั้งที่ใจจริงไม่ต้องการทำเช่นนั้นโดยการแสดงพฤติกรรมตรงกันข้าม คือทำตนเป็นเพื่อนที่ดีต่อเพื่อนคนนั้น โดยทำตนเป็นเพื่อนสนิท เป็นต้น ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า “เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลกไหลกินน้ำแกง”
2.8 การสร้างวิมานในอากาศ หรือการฝันกลางวัน (Fantasy หรือ Day dreaming) กลไกป้องกันตัวประเภทนี้เป็นการสร้างจินตนาการ วาดฝัน หรือสร้างมโนภาพ เกี่ยวกับสิ่งที่ตนต้องการแต่เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นจึงคิดฝันหรือสร้างวิมานในอากาศขึ้นเพื่อสนองความต้องการ กลไกแบบนี้หากใช้มากเกินไปอาจทำให้บุคคลนั้นไม่ยอมรับความจริง ( Out of Reality ) เพราะได้แต่คิดเพ้อฝันในสิ่งต่างๆที่ตนเองต้องการจนตนเองอาจจะเชื่ออย่างจริงจังว่าเป็นความจริง ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตได้
2.9 การแยกตัว( Isolation) หมายถึง การแยกตนให้พ้นจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความคับข้องใจ ความเครียด โดยการแยกตนออกไปอยู่ตามลำพัง หนีจากสถานการณ์ดังกล่าว
2.10 การหาสิ่งมาทดแทนที่ (Displacement) เป็นการระบายอารมณ์โกรธ หรือคับข้องใจต่อตนหรือสิ่งของที่ไม่ได้เป็นต้นเหตุของความคับข้องใจ เช่น ตีวัวกระทบคราด แพะรับบาป กล่าวคือ การทำสิ่งหนึ่งให้ผลกระทบถึงอีกสิ่งหนึ่ง เช่น การตีลูกเพื่อประชดพ่อ
2.11 การเลียนแบบ ( Identification) หมายถึง การปรับตัวโดยการเลียนแบบพฤติกรรม ค่านิยมผู้อื่น โดยการสร้างให้มีความรู้สึกร่วมกับผู้ที่เราเรียนแบบในความสำเร็จหรือความล้มเหลวจากบุคคลที่ตนนิยมยกย่อง การเลียนแบบไม่จำเป็นต้องเลียนแบบจากบุคคลจริงๆ แต่อาจจะเลียนแบบจากสิ่งที่อยู่แวดล้อม เช่น ตัวเอกในบทละครโทรทัศน์หรือภาพยนตร์
สุขภาพจิตและการปรับตัว
คำว่า “สุขภาพจิต” องค์การอนามัยโลก ให้ความหมายว่า หมายถึง สภาพจิตใจที่เป็นสุข สามารถมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้อย่างดี ตลอดจนสามารถปฎิบัติได้อย่างเหมาะสม ดำรงชีพอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยปราศจากอาการของโรคทางจิต
จากการที่กรมสุขภาพจิตได้จัดประชุม นักวิชาการด้านสุขภาพจิตและจิตเวชครั้งใหญ่ เมื่อปี พ.. 2537 ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับความหมายของสุขภาพจิตไว้ดังนี้
สุขภาพจิต หมายถึง สภาพชีวิตที่เป็นสุขอันเป็นผลมาจากวิธีการมองคน มองโลก รวมทั้งสามารถจัดการกับความคิด อารมณ์ การแสดงออกของตนเองต่อผู้อื่นและสังคมอย่างเหมาะสมและภายใต้สภาพแวดล้อมและเวลาที่เปลี่ยนแปลง ( http://www.thaimental.com)
สรุปได้ว่า สุขภาพจิต หมายถึง สภาพชีวิตที่เป็นสุข กล่าวคือ เป็นผู้ที่มีสุขภาพ ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ที่สมบูรณ์ มั่นคง แข็งแรง สามารถเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับชีวิตได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้บุคคลนั้นอยู่สังคมได้อย่างมีความสุขตามสมควรตามอัตภาพของตน
ปัญหาสุขภาพจิต เกิดจากสาเหตุปัจจัยด้านชีวภาพ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และปัจจัยด้านจิตใจ อารมณ์ ทำให้เกิดความผิดปกติทางจิต หรือโรคทางจิตเวช นอกจากนั้นแล้วปัญหาสุขภาพจิตยังทำให้เกิดปัญหาทางพฤติกรรมที่มีความเกี่ยวพันระหว่างสุขภาพจิตและสภาพสังคมสิ่งแวดล้อม เช่น การฆ่าตัวตาย และการฆ่าผู้อื่น การข่มขืน การทารุฤณกรรมทางเพศ หรือการใช้ความรุนแรงต่างๆในสังคม ซึ่งปัญหาพวกนี้จะมีผลกระทบต่อสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม
องค์การอนามัยโลก กล่าวถึง ความสูญเสียหรือภาระของปัญหาทางสุขภาพปัญหามีหลายด้าน ได้แก่ ความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย บุคคลในครอบครัว รวมทั้งค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อมของครอบครัว และคุณภาพชีวิตที่ต้องเสียไป ซึ่งความสูญเสียนี้ถูกประเมินไว้ต่ำมากเมื่อเทียบกับโรคทางกาย กล่าวคือ ครอบครัว หรือผู้ที่ต้องดูแลผู้มีปัญหาทางจิต เมื่อเปรียบเทียบความหนักในการดูแลผู้ป่วย พบว่าการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเทียบเท่ากับการดูแลคนตาบอด และการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทเทียบเท่ากับการดูแลผู้ป่วยอัมพาตซึ่งต้องการการดูแลและเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดมาก
ความสัมพันธ์ของสุขภาพจิตและการปรับตัว
ในภาวะสังคมโลกปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ได้แก่ สังคม วัฒนธรรม การเมือง การศึกษา การคมนาคม การแพทย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร และพาณิชกรรม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต การใช้ชีวิตประจำวันของคนในสังคม กล่าวคือ มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น แย่งชิงทรัพยากรที่มีจำกัด มีการลดจ้างงานลง โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆมาแทนคน ทำให้เกิดภาวะว่างงาน เกิดความตรึงเครียด เกิดความวิตกกังวลจากการต่อสู้ดิ้นรน แข่งขัน ซึ่งธรรมชาติมนุษย์ทุกคนมีความต้องการจะหลีกเลี่ยงสภาพความตรึงเครียด ต้องการพบแต่ความสุข ดังนั้น บุคคลต้องมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปเหล่านี้ให้ได้ หากแต่ความสามารถของมนุษย์มีขอบเขตจำกัด บางคนเมื่อประสบปัญหาทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล หวาดกลัว ท้อแท้ เหนื่อยหน่าย และสิ้นหวังหมดทางออกในชีวิต ไม่สามารถปรับตัวได้ จึงมีปัญหาสุขภาพจิต บางคนหาทางออกโดยการอำลาโลกที่โหดร้ายทารุณ โลกที่สร้างความทุกข์ทรมานใจอย่างแสนสาหัสแก่ตนเองด้วยทำอัตวินิบาตกรรมคือฆ่าตัวตายแบบต่างๆ เช่น กินยาฆ่าแมลง การใช้อาวุธปืนยินตนเอง การผูกคอตาย หรือการกระโดดลงมาจากที่สูง ดังเป็นข่าวที่เห็นกันตามหนังสือพิมพ์ ซึ่งนับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ทำให้สามารถเชื่อมโยงและวิเคราะห์ได้ว่า “ขณะนี้ปัญหาสุขภาพจิตของคนในสังคมนี้กำลังมีปัญหาเพิ่มมากขึ้น” ซึ่งเป็นสาเหตุที่ต้องหาทางแก้ไขโดยเร็ว แนวทางทำได้โดยช่วยให้บุคคลมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตและการปรับตัวอย่างถูกต้อง รู้จักวิธีผ่อนคลายความเครียด ความทุกข์ใจ ความวิตกกังวลใจ จากปัญหาที่เผชิญอยู่อย่างมีสติ และมีความรอบคอบอย่างเท่าทันสภาพที่เกิดขึ้น
สรุปได้ว่า สุขภาพจิตและการปรับตัว จะมีความสัมพันธ์กันกล่าวคือ บุคคลที่มีสุขภาพจิตดีย่อมมีความสามารถในการปรับตัวได้ดี และบุคคลที่มีการปรับตัวที่ดีย่อมส่งผลทำให้บุคคลนั้นมีสุขภาพจิตที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข




ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี มีลักษณะดังนี้
  1. มีเจตคติที่ดีต่อตนเอง พอใจใจตนเองและเป็นผู้ที่รู้จักและเข้าใจตนเองได้ดีว่าตนเองเป็นอย่างไร มีความรู้ความสามารถเพียงใด กล่าวคือ ยอมรับตนเองใจความรู้ความสามารถ ความคิดความรู้สึก และทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับตนเอง และเห็นคุณค่าใจตนเอง มีความเคารพตนเอง
  2. มีใจกว้าง สามารถยอมรับและเผชิญกับความจริง มีสติ สามารถยอมรับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นแก่ตนเองได้ ไม่คิดเพ้อฝันอยู่กับความคิดและความปรารถนาของตนเองที่ไม่อาจเป็นไปได้
  3. มีความสามารถที่จะเอาชนะอุปสรรค และปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ตนเองได้ สามารถเผชิญกับปัญหาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ มีความรับผิดชอบต่อการคิดการตัดสินใจ และการกระทำของตนเอง
  4. มีความเป็นตัวของตัวเอง มีอิสระในการกระทำของตนเอง กล่าวคือ บุคคลที่ไม่ถูกครอบงำจากอิทธิพลของผู้อื่นและสังคม สามารถตัดสินใจทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยยึดมาตรฐานที่เป็นหลักประจำใจของตนที่เรียกว่า มีจุดยืนของตนเองมากกว่าจะทำสิ่งใดโดยขึ้นอยู่กับการบีบคั้นของบุคคลอื่นและอิทธิพลภายนอก
  5. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ คือ บุคคลที่มีความสามารถควบคุมอารมณ์ ความคิดของตนเองได้ จึงมีพฤติกรรมการแสดงออกเหมาะสมกับสถานการณ์ ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ เช่น เกลียด กลัว วิตกกังวล โกรธ อิจฉาริษยา รัก นั่นคือ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ คือ เป็นผู้ที่สามารถควบคุมและแสดงอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม รู้จักอดทนและรู้จักการรอคอย
  6. เป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข มีความเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น และยอมรับความแตกต่างของบุคคลได้
  7. เป็นคนที่ทนต่อความกดดัน ความผิดหวัง ความสูญเสีย ความพ่ายแพ้ได้ กล่าวคือ มีความอดทนอดกลั้น เข้มแข็งและเป็นผู้ที่เรียนรู้จากความล้มเหลวของตนเอง แทนที่จะหาข้อแก้ตัวด้วยการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง หรือโยนความผิดให้ผู้อื่น






บทที่ 8
การปรับตัวในวัยรุ่น
มีคำกล่าวว่าวัยรุ่นเป็นวัยจะเริ่มเป็นหนุ่มสาวเป็นช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต เป็นวัยพายุบุแคม เนื่องจากว่าวัยนี้จะมีร่างกายเปลี่ยนแปลงมีการพัฒนาจากวัยเด็กเป็นวัยผู้ใหญ่ นอกจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายแล้ว ในด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญาก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนบางครั้งอาจทำให้วัยรุ่นมีปัญหาในการปรับตัวได้
วัยรุ่นเป็นวัยที่สภาพร่างกาย สภาพอารมณ์วุ่นวายไม่คงที่ คือ อยู่ระหว่างความเป็นเด็กและผู้ใหญ่ วัยรุ่นจึงต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆเหล่านี้ บางคนก็สามารถผ่านวัยรุ่นไปได้โดยไม่มีปัญหา แต่อีกหลายคนอาจประสบปัญหาในการดำเนินชีวิตและไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้นวัยรุ่นนี้จึงเป็นวัยที่ผู้ใหญ่ควรให้ความสนใจและช่วยเหลือประคับประคองให้เขาดำเนินชีวิตผ่านไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งร่างกายและจิตใจ
ความหมายของคำว่า ”วัยรุ่น”
คำว่า “วัยรุ่น” ในภาษาอังกฤษว่า Adolescence ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า Adolescere หมายถึง เจริญสู่วุฒิภาวะ ( Grow into Maturity )
วุฒิภาวะ ( Maturation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงซึ่งเนื่องมาจากความเจริญงอกงามทางด้านร่างกาย ซึ่งรวมถึงสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมด้วย โดยมีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวเสริม
ความหมายของวัยรุ่นยังใช้คำในภาษาอังกฤษอีกหลายคำ เช่น Teenago หรือ Puberty หมายถึง
วัยที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 20 ปี
วัยรุ่นจะมีพัฒนาการ ทางร่างกายและด้านเพศ เช่น เสี่ยงเปลี่ยน สัดส่วน ร่างกายเปลี่ยนแปลง มีลักษณะเป็นหญิงและชายชัดเจนขึ้น
ประโยชน์ของการศึกษาเรื่องของวัยรุ่น
1.วัยรุ่นเป็นวัยกำลังเจริญเติบโตมีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายหลายๆด้าน ล้วนเป็นสิ่งที่เขาไม่คาดฝันมาก่อน เด็กจะเกิดความว้าวุ่นใจไม่รู้จะปรึกษาใคร โดยเฉพาะเด็กที่โตช้าหรือโตเร็วกว่าคนอื่นๆ ทำให้เกิดความวิตกกังวลเป็นปมด้อย ดังนั้นต้องหาทางส่งเสริมให้เขาได้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของตนเองและเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและขจัดปัญหาความกังวลใจของเด็ก
2.เพื่อหาทางช่วยเหลือเพราะเด็กวัยรุ่นมีปัญหาหลายด้าน และเกิดความขัดแย้งภายในใจเสมอ เช่น ควรทำตามเพื่อนหรือทำตามผู้ใหญ่ดี
3.เป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อก่อนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เด็กวัยนี้จะเริ่มสร้างปรัชญา อุดมคติของตนเอง แต่เนื่องจากเด็กขาดประสบการณ์ขาดความรู้ทำให้ผิดหวังง่าย วัยนี้จึงเป็นวัยที่สำคัญและควรให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ เพื่อจะได้ให้แนวทางให้วัยรุ่นมีทัศนคติที่ดีมีวิจารญาณในการตัดสินใจ เพื่อสร้างปรัชญาในชีวิตที่ถูกต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคม
4.ช่วยลดปัญหาสังคม เช่น อาชญากรรม ความเสื่อมเสียจากการกระทำของเด็กซึ่งมีปัญหาอันเนื่องมาจากการปรับตัวในช่วงวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงมากในหลายด้าน
5.วัยรุ่นเป็นวัยที่มีความคิดเพ้อฝัน คิดฟุ้งซ่าน ซึ่งอาจมีวิธีการแก้ปัญหา ด้วยการถอยเข้าสู่โลกของตนเอง ถ้ามากเกินไปจะเกิดอันตราย เพราะเด็กไม่สามารถจะอยู่ในโลกของความเป็นจริงได้จะมีอาการของโลกจิตประสาทได้ จึงจำเป็นที่ผู้ใหญ่จะต้องคอยประคับประคองความคิดของเขาให้เป็นไปในทางที่เหมาะที่ควร โดยการแนะนำให้เขาคิดฝันสิ่งที่เป็นไปได้และมีความพยายามทำให้สำเร็จ ถ้าเขาฝันในสิ่งที่เป็นจริงค่อนข้างยาก ผู้ใหญ่ควรพยายามชี้แนะให้ข้อมูลแก่เด็ก
6.ช่วยให้ผู้ใหญ่ทั้งพ่อ แม่ ครู ผู้ปกครองเข้าใจวัยรุ่นและช่วยขจัดแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจกันในครอบครัว อันจะส่งเสริมให้การช่วยกันแก้ปัญหาเด็กวัยรุ่น
การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยรุ่น
การแบ่งช่วงอายุของวัยรุ่นไม่ได้ถือเป็นหลักตายตัวเสมอไป นักจิตวิทยาแบ่งไว้เพื่อสะดวกแก่การศึกษาเท่านั้น เพราะจริงๆแล้วพัฒนาการของมนุษย์เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมิได้ต่อเป็นช่วงๆ ทำให้เกณฑ์การแบ่งอายุแตกต่างกัน เช่น ในความเห็นของ เฮอร์ล็อค (Hurlock) แบ่งดังนี้
วัยก่อนวัยรุ่น (Preadolescence) อายุ 10-20 ปี
วัยรุ่นตอนต้น (Early Adoescence) อายุ 13-16 ปี
วัยรุ่นตอนปลาย (Late Adoescence) อายุ 17-21 ปี
การพิจารณาความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของเด็กวัยรุ่นนี้มีความเกี่ยวข้องกับการประสาทงานกันของต่อมต่างๆ ภายในร่างกายเป็นสำคัญ โดยเฉพาะต่อมไร้ท่อ (Ductless Glands) สิ่งที่เห็นเด่นชัดที่สุดของการเปลี่ยนแปลงคือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระและการเปลี่ยนแปลงของต่อมเพศ ซึ่งทำให้วัยรุ่นแตกต่างจากวัยเด็กเป็นอย่างมาก ฮอร์โมนจากต่อมเพศจะเจริญขึ้นถึงวุฒิภาวะที่จะสืบพันธุ์ไดนั่นคือ การที่เพศหญิงมีประจำเดือนเป็นครั้งแรก และการหลั่งน้ำกามเป็นครั้งแรกของเพศชาย ซึ่งระยะเป็นสัญลักษณ์หรือเป็นเครื่องหมายของการเป็นหนุ่มเป็นสาว
เมื่ออายุประมาณ 9 ปี ลักษณะของความเจริญเติบโตจะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่สม่ำเสมอ อายุ 10 ปี ในชายที่ยังไม่ย่างเข้าสู่วัยรุ่นการเจริญเติบโตร่างกายคงเหมือนเดิมเมื่อจะย่างเข้าสู่วัยรุ่น ร่างกายจะมีระยะพักตัวคือ ไม่มีการเพิ่มของน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ช่วงระยะหนึ่ง หลังจากระยะนี้แล้วร่างกายก็จะเติบโตไปอย่างรวดเร็ว โดยมีการเพิ่มน้ำหนักและส่วนสูงในอัตราส่วนที่ค่อนข้างสูงมาก และในระยะนี้ลักษณะเพศขั้นที่ 2 (Secondary Sex Charactertstic) เริ่มปรากฏ คือ
เพศหญิง สะโพกจะขยายออก ทรวงอกเจริญเติบโตขยายใหญ่ขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงของเต้านมและบริเวณหัวนมมีขนขึ้น ที่อวัยวะเพศมีความเจริญเติบโตทางเพศเต็มที่และเริ่มมีประจำเดือน การมีประจำเดือนคือ การมีวุฒิภาวะทางเพศ
เพศชาย จะมีหนวดและมีขนขึ้นตามร่างกาย เช่น หน้าแข้ง แขน และขนขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ลิ้นไก่เติบโตเต็มที่ทำให้เสียงแตกมีลูกกระเดือกนูนเห็นชัด เซลล์สืบพันธ์เพศชายที่เตรียมตัวไว้แล้วตั้งแต่เริ่มเกิดแต่ยังไม่เจริญเติบโต เริ่มเจริญเติบโตเต็มที่และทำให้เริ่มมีการหลั่งน้ำอสุจิ หรือที่เรียกว่า “ฝันเปียก”
การเปลี่ยนแปลงในวัยรุ่น
1.ด้านร่างกาย
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่นถือว่าจะมีการเปลี่ยนจากเด็กมาสู่วันรุ่นอย่างเด่นชัด ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่หลายด้าน เช่น เสียงเปลี่ยน เด็กชายเสียงจะห้าวขึ้น เด็กหญิงเสียงจะแหลมขึ้น มีขนเกิดขึ้นตามที่ต่างๆโดยเฉพาะขนในที่ลับ (Pubic hair) สัดส่วนขอร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ลำตัว อก สะโพก ต่อมเพศเริ่มทำงานทำให้เด็กผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือนเป็นครั้งแรก ส่วนเด็กชายจะมีการหลั่งน้ำกามเป็นครั้งแรก การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ชัดเจน ได้แก่
1.1ส่วนสูง ความเจริญเติบโตทางด้านความสูงของเด็กวัยรุ่นจะมีอย่างต่อเนื่อง แต่จะมีบางช่วงที่มีอัตราการเจริญเติบโตมากเรียกว่า ระยะพุ่งพรวด ซึ่งเกิดจากอิทธิพลต่อมไร้ท่อ ในเพศหญิงจะมีระยะพุ่งพวดเร็วมาก อายุ 10-14 ปี ซึ่งจะเป็นระยะก่อนการมีประจำเดือนครั้งแรก และเมื่อมีประจำเดือนครั้งแรก ความสูงของเด็กผู้หญิงใกล้ถึงขีดสุดแล้ว ( เนื่องจากผลของ Gonadotropic hormone ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของอัณฑะและรังไข่จะทำให้การหลั่งของ Growth hormoneลดน้อยลงกว่าเดิม ) ในเพศชายจะมีอายุพุ่งพรวด เมื่ออายุ 14 ปี และจะสูงอีกเรื่อยๆ ประมาณ 2-5ปี นอกนั้นอัตราการเพิ่มของความสูงจะค่อยๆลดน้อยลง และหยุดลงในที่สุด เมื่อเปรียบเทียบเด็กผู้หญิงกับเด็กชายที่อายุวัยเดียวกัน เด็กผู้หญิงจะสูงกว่าเด็กชาย เพราะเด็กหญิงเข้าสู่วัยรุ่นก่อนเด็กชาย แต่เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วผู้ชายจะสูงกว่าผู้หญิงโดยทั่วไป
1.2น้ำหนัก น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากกล้ามเนื้อ ไขมัน กระดูกได้เพิ่มขึ้นและขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะมีการเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับส่วนสูง
1.3โครงกระดูกและสัดส่วนของร่างกาย รูปร่างและสัดส่วนของร่างกายวัยรุ่นตอนต้นสัดส่วนและร่างกายไม่ค่อยสัมพันธ์กัน เนื่องจากส่วนขายาวกว่าลำตัวมากให้แลดูเก้งก้าง แต่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นตอนปลายสัดส่วนร่างกายจะดูดีสมส่วนขึ้น
1.4การเปลี่ยนแปลงของเสียง โดยทั่วไปในวัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงของเสียงทั้งสองเพศ ในเด็กหญิงเสียงที่เคยเล็กและแหลมจะเปลี่ยนเป็นเสียงที่กังวานขึ้น แต่ไม่ชัดเจนเหมือนในเพศชาย ส่วนในเด็กชายเสียงของเด็กชายจะห้าวใหญ่ขึ้นและเสียงจะต่ำ ซึ่งเป็นผลมาจากลูกกระเดือก (Larynx) เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้สายเสียง (Vocal cord) ยาวกว่าเดิมทำให้เสียงเปลี่ยน
1.5การเปลี่ยนแปลงของช่วงอกและสะโพก ในวัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ทรวงอกของหญิงจะเจริญก่อนส่วนอื่นที่จะเปลี่ยนแปลง เริ่มจากอายุ 10-14 ปี และขยายออกตามพันธุกรรมและต่อมไร้ท่อ ในเด็กหญิงมักจะเดินห่อตัว เพื่อปิดบังทรวงอกที่กำลังขยายออกสะโพกก็ขยายออกเช่นเดียวกัน เนื่องจากกระดูกเชิงกรานและไขมันใต้ผิวหนังมีเจริญเติบโตขึ้น ในเด็กชายจะมีปุ่มนูนขึ้นที่หน้าอก เรียกว่า “ขึ้นพาน” หรือ “นมแตกพาน” และลานนมจะสีเข้มขึ้นและกว้างขึ้น
1.6การเปลี่ยนแปลงกำลังกล้ามเนื้อ (Muscular) ในวัยรุ่นกล้ามเนื้อมีการเจริญเติบโตเร็วที่สุดทำให้กำลังกล้ามเนื้อเพิ่มตามด้วย ความแตกต่างของกำลังกล้ามเนื้อขึ้นอยู่กับการมีวุฒิทางเพศช้าหรือเร็ว ในเด็กที่มีวุฒิภาวะทางเพศเร็วจะมีกำลังกล้ามเนื้อแข็งแรงมากกว่าเด็กที่มีวุฒิภาวะทางเพศช้าอย่างชัดเจน และจะมีกำลังกล้ามเนื้อมากกว่าไปเรื่อยๆจนอายุ 17-18 ปี กำลังของกล้มเนื้อของเด็กทั้งสองพวกจึงจะมีพอๆกัน
1.7การเปลี่ยนแปลงของขน ขนในวัยทางรกซึ่งเริ่มเกิดขึ้นในระยะตั้งครรภ์ 5-6 เดือนเป็นขนที่ละเอียดอ่อนมาก เรียกว่า เวลลัส (Vellus) ส่วนขนที่เกิดขึ้นช่วงวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ เรียกว่า เทอมินัล (Terminal) การเปลี่ยนแปลงของขนในวัยรุ่นคือการเปลี่ยนแปลงของขนเวลลัสเป็นขนเทอมินัล ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเด่นชัด 3 ประเภท คือ
(1) Facial hail ขึ้นบริเวณใบหน้า ในเด็กหญิงมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก แต่ในเด็กชายมีการเปลี่ยนแปลงชัดเจนคือ จะมีการเปลี่ยนแปลงที่มุมริมฝีปาก 2 ข้าง ก่อจากนั้นขยายเกิดขึ้นเหนือริมฝีปากไปสู่ตรงกลางกลายเป็นหนวดขึ้นมา แล้วค่อยๆเพิ่มความหยาบและสีเข้มขึ้น เมื่อมีหนวดแล้วขนเหนือแก้มและเคราจะเริ่มเจริญขึ้นมา
(2) Pubic hail ได้แก่ขนบริเวณแถวหน้าอก ท้อง แขน ขา และขนในที่ลับ ในเด็กหญิงจะเกิดขนในที่ลับในระยะที่มีประจำเดือนครั้งแรก ส่วนในเด็กชายจะเกิดในระยะ Puberty ราวอายุ 14 ปี ส่วนขนตามแขนและขานั้นจะเกิดตามแขนขาท่อนล่างก่อนแล้วค่อยขึ้นไปที่แขนขาท่อนบน
(3) Axillary hail คือขนที่เกิดตามบริเวณรักแร้ในเด็กหญิงจะเกิดขึ้นภายหลังมีประจำเดือนครั้งแรก ส่วนเด็กชายจะเกิดขึ้นภายหลังที่ Pubic hail เจริญขึ้นเกือบเต็มที่แล้ว
1.8การเปลี่ยนแปลงของกระเพาะอาหาร วัยรุ่นจะมีกระเพาะอาหารที่มีขนาดขยายขึ้นมาก วัยรุ่นจึงรับประทานอาหารได้มากทำให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
1.9การมีประจำเดือน (Menstruation) เกิดจากต่อมเพศเริ่มมีการทำงานมากขึ้นโดยขับฮอร์โมนออกมาเพื่อการเจริญเติบโตของรังไข่ รังไข่นั้นเป็นอวัยวะเล็กๆอยู่สองข้างของช่องท้องมีท่อต่อไปยังมดลูก ซึ่งกโดยการเพิ่มของผนังมดลูก เป็นเยื่อบุมดลูกซึ่งจะพอกหนาและนุ่มขึ้น หากไข่ได้รับการผสมจากอสุจิก็จะมาฝังตัวอยู่ในมดลูกและเจริญเติบโตต่อไป แต่ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสมไข่ก็จะฝ่อและเยื่อบุมดลูกก็จะสลายออกมาเป็นประจำเดือน
2.ด้านอารมณ์
อารมณ์ของคนเริ่มมีตั้งแต่แรกเกิด อารมณ์ของวัยรุ่นมักมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ อารมณ์ยังไม่มั่นคง เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย อารมณ์ของเด็กวัยรุ่นเริ่มมีพัฒนาการมาตั้งแต่เกิด มีการศึกษาเกี่ยวกับเด็กแรกเกิดพบว่า แรกเกิดเด็กมีอารมณ์ตื่นตัว (Excitement) อายุ 3 เดือน มีความรู้สึกพอใจ (Delight) และความไม่พอใจ (Distress) อายุ 6 เดือน อารมณ์ไม่พอใจแตกแขนงเป็นอารมณ์กลัว อารมณ์เกลียด (Disgust) และความโกรธ (Anger) เมื่ออายุ 12 เดือน
2.1อารมณ์ของเด็กวัยรุ่นตอนต้น จะมีอารมณ์รุ่นแรงแสดงความรู้สึกเปิดเผยตรงไปตรงมาเกินไปมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย มีความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบรุ่นแรงมากไม่ยอมใครง่ายๆ บางครั้งอาจเป็นคนโอบอ้อมอารี และบางครั้งก็เห็นแก่ตัวชอบอยู่ตามลำพังไม่ต้องการให้ใครรบกวนติดเพื่อนชอบอยู่เป็นกลุ่มไม่ชอบการบังคับอยากรู้อยากเห็นต้องการพึ่งตนเองเชื่อมั่นในตนเอง ดังนั้นเด็กจึงมักจะคบเพื่อนวัยเดียวกันเพื่อพึ่งผู้ใหญ่ให้น้อยลง ต้องการการยอมรับจากผู้อื่นทำให้เด็กมักเอาใจใส่กับรูปร่างของตนเองมากขึ้นจะนึกถึงความเปลี่ยนแปลงของตนอยู่ตลอดเวลา และกังวลใจในเรื่องของรูปร่างหน้าตา
2.2อารมณ์ของเด็กวัยรุ่นตอนปลาย ระยะนี้อารมณ์ที่เกิดขึ้นมักมีสาเหตุเกิดมาจากความเข้มงวดในการคบเพื่อนต่างเพศหากความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างๆเป็นไปอย่างราบรื่นเขาก็จะรู้สึกเป็นสุขแต่เมื่อบางสิ่งบางอย่างผิดปกติไปก็จะเกิดความเศร้าโศกอย่างรุนแรง นอกจากนั้นยังมีความกังวลเกี่ยวกับอนาคตอารมณ์ของเด็กวัยนี้ เช่นเดียวกันกับอารมณ์ในวัยอื่นๆ แตกต่างในเรื่องความรุนแรง ปฏิกิริยาตอบสนองและชนิดของสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดอารมณ์

สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
1.ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย การมีสัดส่วน รูปร่างของตนเองเปลี่ยนแปลงไปเมื่อผู้ใหญ่ทำให้เด็กสนใจตนเองมากขึ้นและสนใจจะทำตามแบบผู้ใหญ่ทั้งพฤติกรรมการแต่งกาย แต่เด็กยังไม่เข้าใจดีพอที่จะทำให้เหมาะสมได้เสมอไปและผู้ใหญ่ก็เห็นว่าเด็กวัยรุ่นยังเป็นเด็กอยู่ยังมิใช่วัยรุ่นที่แท้จริงทำให้เกิดความขัดแย้งกันเสมอเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อารมณ์ของเด็กไม่มั่นคง
2.การเปลี่ยนแปลงของอวัยวะภายใน โดยเฉพาะฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน เช่น กระเพาะอาหารขยายขึ้นทำให้กินจิ เมื่อมีพลังงานมากก็สามารถทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงให้มากขึ้นทำให้เหนื่อยง่าย ต้องการพักผ่อน ผู้ใหญ่เข้าใจว่าเกียจคร้าน เมื่อถูกดุบ่อยๆเด็กก็หงุดหงิดหรือบางคนเติบโตเร็วผิดจากเพื่อนวัยเดียวกันก็จะเกิดความวิตกกังวลในความเปลี่ยนแปลงของตน
3.การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ เด็กวัยรุ่นจะมีประสบการณ์ใหม่ๆมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เด็กพยายามหามาด้วยตนเองและมักจะขัดแย้งกับผู้ใหญ่ เด็กวัยนี้จึงมักมีความคิดการกระทำที่อาจแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างสิ้นเชิง
3.ด้านสังคม
เด็กอายุวัยรุ่น มักชอบอยู่ตามลำพัง อยากมีอิสระในการคิดละการกระทำซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจและความรู้สึก โดยเด็กบางคนอาจจะอายที่แขนขาเก้งก้างเสียงเปลี่ยนไป พ่อแม่ควรหารสถานที่เพื่อให้เด็กได้อยู่เป็นส่วนตัว สามารถใช้ความคิดอย่างเป็นอิสระได้และเด็กบางคนอาจไม่ชอบให้พ่อแม่แสดงความรักและห่วงใยจนเกินไป เพราะความกระดากอายและรู้สึกว่าตัวเองยังเป็นเด็กเล็กๆ
การคบเพื่อนต่างเพศในวัยรุ่น
ตามขั้นพัฒนาการอย่างหนึ่งของวัยรุ่นคือ ความรู้สึกต้องการคบเพื่อนต่างเพศซึ่งเป็นการเรียนรู้ของวัยรุ่นที่จะมีโอกาสพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดความเห็นซึ่งกันและกันเรียนรุ้อุปนิสัยใจคอรวมทั้งการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อเพศตรงข้ามอันจะนำไปสู่การประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่การคบเพื่อนต่างเพศ มีประโยชน์ดังนี้

ประโยชน์ของการคบเพื่อนต่างเพศ
1.เรียนรู้การเข้าสังคมกับเพื่อนต่างเพศ ทำให้เกิดพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่เหมาะสม
2.ตอบสองความต้องการตามธรรมชาติของมนุษย์
3.เปิดโอกาสให้หญิง ชาย เลือกคู่ที่จะแต่งงานกันได้เรียนรู้นิสัยใจคอและเข้าใจธรรมชาติของเพศตรงข้ามได้

ข้อควรระวังในการคบเพื่อนต่างเพศ
1.มีการปฏิบัติต่อกันอย่างเปิดเผยในฐานะเพื่อน แม้จะไปไหนมาไหนด้วยกันเป็นครั้งคราว แต่ยังคงรักษาไวซึ่งมารยาทและขอบเขตของความเป็นมิตร
2.การคบหาสมาคมของหนุ่มสาวบางคนที่นิยมวัฒนธรรมตะวันตก เช่น การจับมือถือแขน การนั่งชิดกันเกินไป ถึงแม้ชายหญิงจะชอบพอในฐานะเพื่อนก็ตาม แต่ในสายตาของคนอื่นมักมองดูด้วยสายตาตำหนิหรือมักมองว่าเป็นคู่รัก ซึ่งกรณีนี้ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากกว่าฝ่ายชายโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ยังเป็นการตัดโอกาสที่จะมีชายอื่นมาสนิทสนมเพราะเขานึกว่าเป็นคู่รักอยู่แล้วเขาไม่อยากมีคู่แข่ง



วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ, จิตวิทยาการปรับตัว. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, 2545









บทที่ 1
สุขภาพจิต : บทนำ (Mental Health : General Introduction)

1.1ความหมายของสุขภาพจิต
สุภาพ หมายถึงสภาวะที่สมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ ไม่มีความเจ็บป่วยใดๆ และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี โดยไม่มีความหวาดหวั่นพรั่นพรึง
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว จิตแพทย์ผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทยกล่าวว่า
สุขภาพจิต คือสภาพชีวิตที่เป็นสุข หรือสภาพที่สมบูรณ์ของกายและจิต ซึ่งทั้งสององค์ประกอบนี้แยกออกจากกันไม่ได้ แต่ละส่วนมีการทำงานประสานกลมกลืนกันเป็นอย่างดี ถ้ากายบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์ จะทำให้จิตผิดปกติตามไปด้วย ในทำนองเดียวกันถ้าจิตบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์ก็จะมีผลกระทบต่อปฏิกิริยาต่างๆของร่างกายในทางเสื่อม
จิต เกิดจากการทำงานของร่างกายอันเป็นส่วนที่เรียกว่า “ระบบประสาท” ซึ่งมีสมองเป็นองค์ประกอบสำคัญ อำนาจของจิตทำให้มนุษย์มีความสามารถในการรับรู้ การเรียนรู้ การจำ การลืม การคิด การเกิดอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ดังคำกล่าวว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว”
สรุปได้ว่า สุขภาพไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต เป็นสิ่
สำคัญและจำเป็นสำหรับทุกชีวิตในการดำรงอยู่อย่างปกติ เป้าหมายของการเรียนรู้วิชาสุขภาพจิต ก็คือการทำให้ชีวิตมีความสุข ความพอใจ ความสมหวัง ทั้งของตนเองและของผู้อื่น
1.2ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี
1.เป็นผู้ที่มีความสามารถ และความเต็มใจที่จะรับผิดชอบอย่างเหมาะสมกับระดับอายุ
2.เป็นผู้ที่มีความพอใจในความสำเร็จจากการได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของกลุ่ม
3.เป็นผู้เต็มใจที่จะทำงานและรับผิดชอบอย่างเหมาะสมกับบทบาทและตำแหน่งในชีวิตของเขา
4.เมื่อเผชิญกับปัญหาที่จะต้อแก้ไข เขาก็ไม่หาทางหลบเลี่ยง
5.จะรู้สึกสนุกต่อการขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางต่อความสุขและพัฒนาการ
6.เป็นผู้ที่สามารถตัดสินใจด้วยความกังวลน้อยที่สุด
7.เป็นผู้ที่สามารถถอดได้ รอได้ จนกว่าจะพบสิ่งใหม่
8.เป็นผู้ที่ประสบผู้สำเร็จด้วยความสามารถที่แท้จริง
9.เป็นผู้ที่คิดก่อนทำ
10.เป็นผู้ที่เรียนรู้จากความล้มเหลวของตนเอง
11.เมื่อประสบผลสำเร็จ ก็ไม่ชอบคุยโอ้อวดจนเกินความเป็นจริง
12.เป็นผู้ที่ปฏิบัติตนได้สมบทบาท
13.เป็นผู้ที่สามารถจะปฏิเสธต่อการเข้าร่วมกิจกรรมที่ใช้เวลามากเกินไป
14.เป็นผู้ที่สามารถตอบรับที่จะเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์สำหรับเขา แม้ว่ากิจกรรมนั้นจะไม่ทำให้เขาพึ่งพอใจก็ตาม
15.เป็นผู้ที่จะแสดงความโกรธออกมาโดยตรง
16.เป็นผู้ที่สามารถแสดงความพอใจออกมาโดยตรง
17.เป็นผู้ที่สามารถอดทน หรืออดกลั้นต่อความผิดหวังและภาวะคับข้องใจทางอารมณ์ได้ดี
18.เป็นผู้ที่มีลักษณะนิสัยและเจตคติที่ก่อรูปขึ้นอย่างเป็นระเบียบ
19.เป็นผู้ที่สามารถระดมพลังงานที่มีอยู่ในตัวออกมาใช้ได้อย่างทันทีและพร้อมเพียง
20.เป็นผู้ที่ไม่พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงความจริง ซึ่งชีวิตของเขาจะต้องดิ้นรนต่อสู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด














บทที่ 4
สุขภาพจิตในโรงเรียน
(Mental Health In School)
4.1ความหมายและความสำคัญ
สุขภาพจิตของนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญมากอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เขาเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาบุคลิกภาพ และพัฒนาบุคลิกภาพอย่างเหมาะสม ในช่วงขวบปีแรกของชีวิต เด็กจะเป็นคนอย่างไร หรือมีบุคลิกภาพแบบใดนั้นเป็นเพราะอิทธิพลของพ่อแม่ ประสบการณ์ซึ่งเด็กได้รับจากพ่อแม่หลายอย่างจะยังคงฝังแน่นอยู่ในตัวเด็ก ประสบการณ์เหล่านี้มีทั้งดีและเลว ถ้าเด็กได้รับประสบการณ์ที่ดีจากพ่อแม่ เด็กก็จะมีโอกาสเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพจิตดี ในทางตรงกันข้ามเด็กที่ได้รับประการณ์ที่ไม่ดี เป็นต้นว่า เป็นเด็กที่พ่อแม่โอ๋มากเกินไป จนมีลักษณะของการไม่กล้าคิด กล้าทำ หรือไม่กล้าตัดสินใจเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ลักษณะเช่นนี้จะยังคงอยู่ในตัวเด็กไม่มากก็น้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลของโรงเรียน
หน้าที่สำคัญของโรงเรียน คือ การพัฒนาเด็กให้ถึงขีดสุดของทุกด้าน ได้แก่ พัฒนาการทางร่างกาย พัฒนาการทางสติปัญญา พัฒนาการทางอารมณ์ และพัฒนาการทางสังคม กล่าวสั้นๆก็หมายถึงพัฒนาการของกายกับจิตนั่นเอง แต่บุคลิกของเด็กแต่ละคนที่เข้ามาถึงโรงเรียนใหม่แตกต่างกันบ้างก็ดี บ้างก็เลว บัดนี้ภาระในการแก้ไข ปรับปรุงบุคลิกภาพที่ไม่พึ่งประสงค์ของเด็กได้ตกมาอยู่กับครู ภาระสำคัญอันนี้ครูจะดำเนินไปพร้อมกับการส่งเสริมบุคลิกภาพของเด็กที่ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้นไป
เป้าหมายที่ทุกคนมีความคาดหวังว่าจะได้รับจากทางโรงเรียน คือ การที่ได้พบเห็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาด มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีอารมณ์สดชื่นแจ่มใสร่าเริงตามสมควรแก่วัย มีความสามารถในการตัดสินใจ ความสามารถในการแก้ปัญหา การช่วยเหลือตนเองการอยู่ร่วมกับเพื่อนๆและครูได้ดี การไม่เป็นตัวปัญหาของครูและผู้ปกครอง ลักษณะเช่นนี้ก็คือ ลักษณะของเด็กที่มีสุขภาพจิตดี ความสำเร็จอันนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าขาดความร่วมมือและการทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งของครู สุขภาพจิตของครูก็มีความสำคัญเช่นเดียวกับสุขภาพจิตของเด็กนักเรียน ครูที่มีสุขภาพจิตดีเท่านั้นจึงจะสอนนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นสุขภาพจิตในโรงเรียนจึงหมายถึงสุขภาพจิตของนักเรียนและสุขภาพจิตของครูนั่นเองo
4.2 สุขภาพจิตของนักเรียน
นักเรียนที่มีสุขภาพจิตดีนั้น สามารถสังเกตได้ง่ายๆจากความรู้สึกว่านักเรียนคนนั้นเป็น “เด็กน่ารัก” ซึ่งพอจะขยายความได้ว่า เด็กมีรูปร่างผิวพรรณดี มีดวงตาแจ่มใสเป็นประกาย สะอาดสะอ้าน ยิ้มง่าย กล้าพูดกล้าซักถาม กล้าแสดงออกด้วยความกระตือรือร้นชองเข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่เคอะเขิน ชอบเล่นกับเพื่อนๆอย่างสนุกสนาน ไม่รังแกเพื่อน แสดงออกกับเพื่อนด้วยความมีน้ำใจ รู้จักให้อภัย ไม่เป็นเด็กขี้ฟ้อง ขี้โกหก หรือพูดปด โอ้อวด เวลาทำงานก็ทำด้วยความตั้งใจ ผลการเรียนแสดงความก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ มาโรงเรียนสม่ำเสมอ แต่ถ้าเด็กไม่มีลักษณะดังกล่าวก็แสดงว่าเด็กคนนั้นมีปัญหาทางสุขภาพจิตเกิดขึ้นแล้ว
1.ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต พอจะแบ่งออกได้เป็นข้อๆดังนี้
1.1ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลงกว่าเดิม ทั้งๆที่เคยเป็นเด็กมีความตั้งใจเรียนมาก่อน
1.2ขาดโรงเรียนบ่อย หรือมาสายเป็นประจำ โดยมีข้ออ้างไม่สมเหตุสมผล
1.3แสดงอาการเบื่อหน่ายในการเรียน เช่น ไม่แสดงความสนใจในขณะที่ครูกำลังสอน หรือนั่งเหม่อลอย
1.4ไม่ทำงานตามที่ครูสั่ง หรือทำเสร็จช้า ไม่เรียบร้อย
1.5มีอารมณ์ไม่มั่นคง เช่น บางครั้งขี้แย่ บางครั้งแสดงอาการโกรธจัดออกมาอย่างไม่มีเหตุผล
1.6ชอบก่อกวนความสงบเรียบร้อยในห้องเรียน โดยการทำกิริยาอาการแปลกๆเพื่อเรียกร้องความสนใจ
1.7ปรับตัวเข้ากับเพื่อนไม่ได้ มักก่อเรื่อง หรือไม่ยอมเข้าหาเพื่อนเลย
1.8แสดงความรู้สึกมีปมด้อย และขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
1.9ชอบแสดงพฤติกรรมแปลกๆ เช่น ดูดนิ้ว กัดเล็บ หรือพูดติดอ่าง
1.10ชอบพูดปด หรือชอบคุยโม้โอ้อวด
2.สาเหตุที่ทำให้สุขภาพจิตของเด็กเสื่อม ได้แก่
2.1ฐานะทางเศรษฐกิจสังคมของพ่อแม่ เช่น ความอยากจนหรือความร่ำรวย อาชีพ หรือตำแหน่งการงาน
2.2วิธีการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในบทที่3
2.3อิทธิพลของชุมชนที่เด็กอาศัยอยู่ เด็กที่มาจากแหล่งเสื่อมโทรมจะมีสุขภาพจิตเสื่อมมากกว่าเด็กที่มาจากแหล่งอื่นๆ
2.4อิทธิพลของการแข่งขันมากเกินไปในโรงเรียน หรือระหว่างโรงเรียนต่อโรงเรียน เด็กที่เรียนเก่งได้รับการยกย่องชมเชย ในขณะที่เด็กเรียนอ่อนถูกตำหนิ ถูกวิพากษ์วิจารณ์จนเกิดความละอาย บางคนเลยไม่กล้ามาโรงเรียน
2.5หลักสูตรการเรียนไม่เหมาะสม เนื้อหาที่เรียนมากเกินไปจนเด็กไม่สามารถรับไว้ได้
2.6 อิทธิพลจากบุคลิกภาพของครู ครูบางคนชอบใช้เสียงดัง ข่มขู่ดุว่า จนเด็กไม่มีสมาธิในการเรียน
2.7วิธีการสอนของครูไม่ถูกต้อง ไม่สร้างแรงจูงใจ เช่น เด็กควรใช้วิธีเรียนปนเล่น แต่ครูกลับบังคับในเด็กนั่งนิ่งๆเป็นต้น
2.8บรรยากาศของการทานของครูไม่ดี ครูมีเรื่องขัดแย้งกันบ่อยๆเกิดการทะเลาะวิวาท ทำให้การเรียนการสอนไม่เป็นไปตามปกติ
2.9สถานที่ตั้งโรงเรียนตั้งอยู่ในสถานที่ไม่เหมาะสม ใกล้แหล่งมหรสพ มีเสียงดังรบกวน
2.10โรงเรียนขาดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เป็นต้นว่า ห้องน้ำห้องส้วมสกปรก โรงอาหารคับแคบ ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนการสอน
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ลงทุนมหาศาลในการจัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนเพื่ออนาคตของชาติ อนาคตที่ญี่ปุ่นจะต้องเป็นหนึ่ง และเพื่อบรรลุเจตนารมณ์นี้ระบบการศึกษาและระบบสังคมจึงขับเคี่ยวผลักดันให้ผู้คนต้องแข่งขันกันสูง ยิ่งแข่งขัยกันมากขึ้นเท่าใดความเห็นแก่ตัวก็ยิ่งมากขึ้นทุกที จึงมีความตึงเครียดมาก เป็นสังคมที่มีความกดดันสูง พ่อ แม่ และครูจะผลักดันทุกวิถีทางให้เด็กเป็นคนเก่งเพื่อชื่อเสียงของบ้าน ของโรงเรียน ของมหาวิทยาลัย การกวดขันให้มีการแข่งขัยกันนั้น จะเริมมาตั้งแต่ชั้นอนุบาลทีเดียว พ่อแม่จะยอมเสียเงินให้ลูกไปเข้าโรงเรียนพิเศษ ที่มีเงินมากน้อยก็จ้างครูสอนพิเศษราคาแพงมาสอนเป็นส่วนตัวที่บ้าน กวดให้ลูกเข้าโรงเรียนดีมีชื่อเสียงให้ได้ เป็นการปูทางให้มีโอกาสสอบเข้ามหาลัย ถ้าสอบได้ก็จะเป็นที่ยอมรับของญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ครูบาอาจารย์อย่างสูงยิ่ง ในขณะเด็กที่พ่ายแพ้ก็จะถูกเยาะเย้ย ถากถาง แม้แต่ครูก็เหยียดหยามซ้ำเติม เพราะครูเองก็รักและเอาใจแต่ศิษย์ที่เก่งและแข็งแรงเท่านั้น ซึ่งเด็กพวกนี้จะทำชื่อเสียงให้แก่ครูและโรงเรียน
ปัญหาที่ตามมา คือ เด็กหมดความเคารพเชื่อถือครู ถึงกับเกิดการทะเลาะโต้เถียงชกต้อยกับครู ทำร้ายร่างกายครูก็มี เด็กที่อ่อนแอเหล่านี้ก็หาทางทดแทนโดยไปข่มเหงรังแกเด็กที่อ่อนแอกว่าตนอีกทอดหนึ่ง แทนที่จะเห็นอกเห็นในเด็กที่อ่อนแอกว่าเพราะรู้ซึ้งถึงความเจ็บปวดที่ตนได้รับว่ามีรสชาติข่มคือสาหัสเพียงใด สถิติการฆ่าตัวตายของเด็กญี่ปุ่นจึงสูงมาก เพราะความกดดันบีบคั้นจิตใจจากสังคมบังคับให้หามางออกเช่นนั้น ที่จริงการตัดสินใจอันน่าสยดสยองเช่นนั้น เด็กก็ร้องทุกข์ต่อครูและพ่อแม่แล้วแต่ไม่สามารถช่วยได้
ส่วนที่ไม่ถึงกับฆ่าตัวตายก็ประชดกับชีวิตไปเลย ไม่ยินดียินร้ายกับอนาคต พวกนี้จะหนีโรงเรียนเป็นประจำ เพราะเห็นว่าไม่รู้จะเรียนไปทำไม เรียนไม่ทันก็แต่ความเจ็บช้ำ จึงเที่ยวสนุกไปวันๆ เล่นเกมไฟฟ้า ปาจิงโกะ เข้าดิสโก้เธค บ้างก็สนุกด้วยแต่งตัวประหลาดพิลึกกึกกือ ไว้ผมทรงพิสดาร ย้อมสีต่างๆ ให้แปลกตา โดยใช้เงินที่พ่อแม่ให้มาสำหรับเป็นค่าเรียนพิเศษบ้าง หางานชั่วคราวเป็นครั้งคราว ได้เงินมาก่อนหนึ่งก็เที่ยวสนุกสนานจนเงินหมดก็หาใหม่ บางคนก็เข้าร่วมกับแก๊งอันธพาล
4.3สุขภาพจิตของครู
ครูมีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของเดกนักเรียนมากที่สุด การที่ครูจะช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตของเด็กนักเรียนได้นั้น ต้องคำนึงถึงสุขภาพจิตของครูประกอบกันไปด้วย
1.ลักษณะของครูที่มีสุขภาพจิตที่มด ได้แก่
1.1มีความกระตือรือร้น สนใจนักเรียน และกิจกรรมในโรงเรียน
1.2มีความสามารถี่จะแสดงความร่วมมือ ความเป็นมิตร และความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลอื่น
1.3ยอมรับในความผิดพลาด หรือความบกพร่องของตน
1.4มีความอดทน ความเมตตากรุณา ความเห็นอกเห็นใจ ความจริงใจ และความยุติธรรมกับนักเรียน
1.5ปฏิบัติต่อนักเรียนอย่างสุภาพ และเป็นประชาธิปไตย
1.6รู้จักยกย่องชมเชยนักเรียนที่กระทำความดี
1.7แสดงออกซึ่งกิริยามารยาทอันดีงาม
1.8สามารถช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆของนักเรียน ทั้งปัญหาการเรียนและปัญหาส่วนตัว
1.9มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เพื่อนครู นักเรียนและบุคคลอื่นๆ
1.10แสดงความเห็น ความเชื่อ และเจตคติที่ดี
1.11มีอารมณ์ขันที่ดี สามารถแสดงความรู้สึกสนุกสนานออกมาอย่างเหมาะสม
1.12มีสุขภาพทางกายที่ดี คล่องแคล่วว่องไว และกระฉับกระเฉง
1.13มีความสนใจในกีฬา การแสดงทางศิลปะ และกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมอื่นๆ
สำหรับครูที่มีสุขภาพจิตเสื่อมนั้นจะสังเกตได้จากลักษณะต่อไปนี้ คือ อารมณ์เสียอย่างไม่มีเหตุผล ไม่มีความอดทน อดกลั้น ไม่มีความยุติธรรม เรียกร้องสิ่งตอบแทนอยู่เสมอ ขาดความเป็นมิตร ขาดความมีเสน่ห์ ขาดความน่ารัก ไม่มีความยืดหยุ่น มักพูดถึงเรื่องราวของผู้อื่นมากเกินไปในทำนองดูถูกเหยียดหยาม ขาดอารมณ์ขัน ขาดความเมตตากรุณา มีท่าทางอวดดี ทะนงตน หยิ่ง จุกจิกจู้จี้ เจ้าระเบียบ และเป็นคนประเภทสมบูรณ์ที่สุด (Perfectionist)
2.ครูเป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคม เช่นเดียวกับคนอื่นๆในยุคปัจจุบันที่ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ อันเป็นสาเหตุของสุขภาพจิตเสื่อม สาเหตุที่ทำให้ครูมีสุขภาพจิตเสื่อม ได้แก่
2.1ขาดเจตคติและวิญญาณของความเป็นครู
2.2เกิดความขัดแย้งกับผู้บริหารโรงเรียน หรือกับเพื่อนครูด้วยกัน
2.3ไม่ได้รับสวัสดิการเพียงพอทั้งที่เกี่ยวข้องกับอาชีพและส่วนตัว บ้านพักครูไม่มี การเบิกค่ารักษาพยาบาลช้า ขาดแคลนอุปกรณ์การสอน ฯลฯ
2.4การไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม เช่น จากการที่ครูเคยได้รับการยกย่องว่าเป็น “แม่พิมพ์ของชาติ” มาเป็นการตำหนิว่า “ใครๆก็เป็นครูได้”
2.5งานของครูในโรงเรียนมากเกินไป มีลักษณะจำเจ ซ้ำซากน่าเบื่อหน่าย
2.6รายได้ของครูไม่เพียงพอและไม่เกิดความสมดุลกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับครูที่มีปัญหาเรื่องนี้คือครูในระดับประถมและมัธยม
2.7ความไม่มั่นคงในอาชีพ ครูในสถาบันการศึกษาของเอกชนจะเผชิญกับปัญหาในข้อนี้มากที่สุด
2.8การนันทนาการไม่เพียงพอ ไม่มีเวลาออกกำลังกาย หรือไปกิจกรรมทางสังคมวัฒนธรรมต่างๆ
2.9การเผชิญกับนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพจิตบ่อยๆ พลอยทำให้ครูมีสุขภาพจิตที่เสื่อมตามไปด้วย
2.10ไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าจากผู้บริหาร
2.11ขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน
2.12มีปัญหาทางด้านครอบครัว
ในปี พ.. 2526 โอษฐ วารีรักษ์ และคณะนักจิตวิทยาได้ทำการศึกษาเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะปัญหาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของครู ได้เลือกกลุ่มตัวอย่างจากครู อาจารย์ที่เข้าร่วมรับการอบรมความรู้สุขภาพจิต ระหว่างเดือนเมษายนและเดือนมิถุนายน จากเขตการศึกษา 4 เขต คือเขต 3,4,5 และ 12 ซึ่งประกอบด้วยครูจากจังหวัดต่างๆ รวม 297 คน เป็นชาย 140 คน หญิง 157 คน
ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี (54.88 %) การศึกษาระดับปริญญาตรี 76.43 % สมรสแล้ว 57 % มีบุตร 2-3 คน 58.85 % มีรายได้เฉพาะตัวเฉลี่ยเดือนละ4,210 บาท พบว่า
ความทุกข์ยากในชีวิตของครูเกิดจากปัญหาเพื่อนร่วมงานมากที่สุด โดยมีระบบการบริหารงานเป็นกลไกสำคัญ ทำให้เกิดความขัดแย้งบางครั้งบางคราว บางคนหาทางออกโดยวิธีการดื่มเหล้าและเล่นการพนัน แต่ครูส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่า ความสัมพันธ์ระหว่างคู่ครอง บุตร พ่อ แม่ และญาติพี่น้องอยู่ในเกณฑ์ดี และยอมรับว่าปัญหาของชีวิตจะบรรเทาเบาบางได้ก็ด้วยการเริ่มต้นปรับปรุงแก้ไขที่ตัวเอง และเมื่อเปรียบเทียบฐานะความเป็นอยู่กับคนอื่นแล้ว
56.90% เห็นว่าตนมีความเป็นอยู่สุขสบายกว่าบิดามารดา
54.54% เห็นว่าตนมีความสุขสบายกว่าพี่ๆน้องๆ
51.51% เห็นว่าตนมีความเป็นอยู่สุขสบายกว่าเพื่อนๆในระดับเดียวกัน
3.วิธีปฏิบัติตนของครูที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตมีหลายวิธี ดังนี้
3.1สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างตนกับผู้บริหาร เพื่อนครูและนักเรียน
3.2ต้องระลึกว่างานของครูเป็นงานที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และมีความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์และประเทศชาติ
3.3รู้จักใช้เวลาว่างเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และการออกกำลังกาย
3.4ศึกษาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อที่จะได้ทราบสาเหตุและแนวทางในการป้องกัน แก้ไข และส่งเสริม
3.5รู้จักการยอมรับตนเอง และการยอมรับผู้อื่น
3.6พยายามมองโลกในแง่ดี และรู้จักสร้างอารมณ์ขัน
3.7พยายามทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงทันเวลา
3.8เมื่อมีปัญหาใดๆ ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้นว่า นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์
3.9หาโอกาสแสวงหาความรู้ต่างๆเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพ
3.10เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรต่างๆ เพื่อการพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น เช่น คุรุสภา ชมรมกีฬาที่ตนเองมีความถนัด ฯลฯ
สุขภาพจิตระหว่าครูและครูนั้น คือจิตวิทยาอันหนึ่งของวิชามนุษยสัมพันธ์สุขภาพจิตจะเกิดขึ้นได้ในเมื่อครูและครูรักกัน และเข้าใจซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน โดยเฉพาะในการอยู่ร่วมกัน หรือการที่ต้องปกครองกันในสถาบันต่างๆ มนุษย์ในการปกครองที่อยู่ร่วมกัน นั้นมีความต้องการในลักษณะของความรู้สึกสำคัญๆ อยู่ 4 ประการ คือ
ประการที่ 1 ความรู้สึกอยากเป็นเจ้าของ (Sense of Belonging) คือ การเกิดความรู้สึกว่าโรงเรียนนี้เป็นของเรา เพื่อนร่วมงานทุกคนเป็นเพื่อนของเรา เราควรมีส่วนในการสร้างความเจริญงอกงาม ดังนั้นเมื่อมีการงานใดต้องพยายามให้ทุกคนได้มีส่วนช่วย อย่าพึงกระทำเสียคนเดียว ให้คำนึงว่าทุกคนมีฝีมือ มีความสามารถด้วยกันทั้งนั้นมิใช่เรามีความสามารถเพียงคนเดียว ถ้าทุกคนได้มีส่วนร่วมในการกระทำกิจกรรมต่างๆเขาจะเกิดความรู้สึกในด้านความเป็นเจ้าของขึ้นมาเอง เช่น การช่วยกันตกแต่งสถานที่ห้องทำงาน หรือห้องพักครูให้สวยงาม เมื่อทุกคนได้ช่วยกันคนละไม่คนละมือ ทุกคนก็จะช่วยกันดูแลรักษา เพราะมีความรู้สึกว่าได้มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของต่อสถานที่นั้นๆ จึงเกิดเป็นความรักและความหวงแหนขึ้นมา
ประการที่ 2 ความรู้สึกอยากให้ยกย่อง (Sense of Recognition) ความรู้สึกนี้มีด้วยกันทุกคน ซึ่งเป็นธรรมดาของมนุษย์ว่าเมื่อได้กระทำสิ่งใดลงไปแล้ว ไม่ว่าจะได้รับผลมากน้อยเพียงไรก็อยากให้คนอื่นยอมรับความสามารถของตน การแสดงความรู้สึกยกย่องคนอื่นควรรู้จักใช้คำว่า “ขอบใจ ดีใจ และยินดีด้วย” เป็นสิ่งทำให้เขาภาคภูมิใจ มีขวัญและกำลังใจที่จะมุมานะทำงานอื่นๆต่อไป
ประการที่ 3 ความรู้สึกต้องกรโอกาส (Sense of Opportunity) ครูทุกคนต้องการโอกาสในการก้าวหน้า เมื่อมีโอกาสเท่าใดก็จะก้าวไปให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นค้นว่า ครูน้อยอยากเป็นครูใหญ่ อาจารย์อยากเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์อยากเป็นรองศาสตราจารย์ ดังนั้นถ้าต้องการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและมีสุขภาพจิตที่ดีก็ไม่ควรไปกีดกั้นโอกาสอันดีของบุคคลอื่น นอกจากนี้ครูยังมีความรู้สึกต้องการโอกาสในด้านอื่นๆอีก เช่น โอกาสที่จะมีบ้านเป็นของตนเอง โอกาสที่จะเป็นเจ้าของรถยนต์สักคัน ฯลฯ
ประการที่ 4 ความรู้สึกต้องการความมั่นคง (Sense of Security) งานใดที่มีความสุข มีความมั่นคง มนุษย์ทุกคนย่อมต้องการความมั่นคงนี้รวมความไปถึงสวัสดิภาพในการงานและครอบครัว ตลอดจนหลักประกันของสังคมในอนาคต เช่น เมื่อเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยสามารถรับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล เมื่อเกษียณอายุก็ได้รับเงินบำเหน็จบำนาญ ดังนั้นถ้าให้การรับรองแก่บุคคลว่าเขาจะเกิดความมั่นคงในด้านการงาน ครอบครัว และสังคมแล้ว จะเป็นสิ่งสร้างสุขภาพจิตในการอยู่ด้วยกัน
เมื่อทราบว่าทุกคนต้องการสิ่งใด โดยเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ก็จะเกิดความเห็นใจรักใคร่กันขึ้นมาเอง ความรักกันในหมู่คณะเมื่อเกิดขึ้น ความสุขและความมีสุขภาพจิตที่ดีนั้นๆก็จะถ่ายทอดไปยังเด็กนักเรียน ทำให้นักเรียนมีความสุข ความสบายใจ มีความรักโรงเรียน ทั้งครูและนักเรียนก็มีสุขภาพจิตที่ดี นั่นคือสุขภาพจิตในโรงเรียนก็จะดีไปด้วย
ครูจึงเป็นกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาบุคคลที่มีคุณค่าอันประมาณมิได้คือนักเรียน ดังนั้นครูจึงต้องมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ มีความเข้าใจตนเอง มีคุณธรรม มีสุขภาพจิตที่ดี เมื่อยังขาดการพัฒนาตนเองแล้ว ครูจะไม่สามารถชี้นำนักเรียนให้เป็นพลเมืองดีมีคุณภาพในอนาคตได้
4.4 สุขภาพจิตกับการบริหารโรงเรียน
การริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตของครู นักเรียน และบุคลากรอื่นๆในโรงเรียน ควรกำหนดไว้ในนโยบายในการศึกษา และสามารถในมาปฏิบัติในโรงเรียนได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามรถของผู้บริหารโรงเรียนนั่นเอง
แนวทางปฏิบัติของผู้บริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตให้แก่บุคลากรต่างๆในโรงเรียน มีดังนี้
1.แสดงความเป็นกันเองหรือความเป็นมิตร และปฏิบัติต่อครูทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
2.เปิดโอกาสให้ครูทุกคนได้เข้าพบอย่างสะดวก เพื่อร่วมปรึกษาหารือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ
3.มอบหมายงานให้ครูปฏิบัติ โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ และความถนัด
4.สร้างเสริมขวัญและกำลังใจให้เกิดขึ้นในตัวครู และนักเรียน
5.ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพครู โดยการอนุมัติให้ครูได้ไปศึกษาต่อ จัดการประชุสัมมนา หรือส่งเข้ารับการอบรมหลักสูตรระยะสั้น
6.สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับบ้าน เป็นต้นว่าส่งครูไปเยี่ยมผู้ปกครองนักเรียน จัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียนกับคณะครู
7.ดูแลสถานที่ต่างๆในโรงเรียนให้มีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม
8.จดสวัสดิการต่างๆ เพื่ออำนวยคามสะดวกแก่ครู และนักเรียน เช่น จัดให้มีอุปกรณ์การสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา จัดให้มีค้นคว้าในห้องสมุด เป็นต้น
9.หลีกเลี่ยงการตำหนิติเตียน วิพากษ์วิจารณ์ครู หรือนักเรียนต่อหน้าคนอื่น
10.รู้จักการยกย่อง ชมเชย เมื่อเห็นครูหรือนักเรียนกระทำดี
11.ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมที่เน้นพัฒนาการทางด้านจิตใจ เช่น การไปทำบุญที่วัด การไปร่วมแห่เทียนเข้าพรรษา
4.5 สุขภาพจิตกับวินัยนักเรียน
เมื่อพูดถึงวินัย เรามักพูดคู่กันไปกับระเบียบว่า “ระเบียบวินัย” ระเบียบ หมายถึง ข้อกำหนด กฎเกณฑ์ หรือกติกาของสังคม ที่สังคมบัญญัติขึ้นไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม ส่วนวินัย หมายถึง การอยู่ในระเบียบ ฉะนั้น ระเบียบวินัยจึง หมายถึง การปฏิบัติตนให้อยู่ในกฎเกณฑ์ของสังคม กล่าวสั้นๆ วินัยก็คือการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ในโรเรียนเด็กทุกคนต้องมีวินัย หรือเด็กทุกคนต้องปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ระเบียบวินัยในสมัยก่อนมักจะอยู่ในรูปแบบเผด็จการหรือการบังคับในห้องเรียนจะต้องมีความเรียบร้อย และสงบ นัดเรียนจะต้องนั่งนิ่งๆจะกระดุกกระดิกไม่ได้ คำพูดของครูคือระเบียบ และถ้าใครไม่ปฏิบัติตามจะถูกลงโทษ หรือถ้านักเรียนคนใดไม่สามารถเรียนรู้ตามที่ครูสอนได้ ซึ่งอาจเนื่องมาจากระดับสติปัญญาของนักเรียนต่ำ ครูบางคนถือว่านักเรียนคนนั้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบ แม้กระทั่งเด็กไม่สามารถทำการบ้านส่งครูได้เพราะไม่รู้จะทำอย่างไร ครูก็อาจลงโทษได้
ในปัจจุบันความคิดดังกล่าวถึงว่าไม่เป็นการสร้างวินัยที่ดี ตรงกันข้าม วินัยที่ดีคือการที่เด็กปฏิบัติตามระเบียบวินัยด้วยความสมัครใจและพอใจ และสามารถเลือกเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆได้อย่างเสรีแต่ต้องมีขอบเขต ซึ่งถือว่าเป็นการยอมรับสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีของมนุษย์และวินัยเช่นนี้จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางบุคลิกภาพของเด็กแต่ละคนให้ดีงามได้
ในการสร้างระเบียบวินัยให้แก่เด็กต้องอาศัยองค์ประกอบหลายๆประการ เช่น สภาวะของสิ่งแวดล้อม บุคลิกภาพของครู และเจตคติที่ดีของครูที่มีต่อนักเรียน ธรรมชาติของโปนแกรม การเรียนการสอน และพลังงานของกลุ่มที่เกิดขึ้นในห้องเรียน
เด็กที่มีวินัย คือ เด็กที่ปฏิบัติตามคำแนะนำของครู ไม่ใช่คำสั่งของครู เมื่อเด็กเต็มใจที่ได้ปฏิบัติ เด็กก็จะมีความสุข ความพอใจ เช่นนี้ถือว่าวินัยสามารถส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้แก่เด็กได้ สิ่งที่ครูควรคำนึงในการเสริมสร้างวินัยให้แก่เด็ก ได้แก่
1.ระเบียบที่โรงเรียนกำหนดขึ้น ต้องชี้แจ้งให้นักเรียนทุกคนเข้าใจชัดเจน และต้องคำนึงถึงความสมสมเหตุสมผลด้วย เช่น ทำไมนักเรียนชายต้องตัดผมสั้น นักเรียนหญิงต้องใส่กระโปรงยาวคลุมหัวเข่า เหล่านี้เป็นต้น
2.ฝึกให้เด็กรู้จักสร้างวินัยในตนเองโดยไม่ต้องมีการบังคับ เช่น การเข้าแถวเพื่อรอขึ้นรถประจำทาง การเก็บเศษกระดาษตามพื้นที่พบเห็น
3.ครูต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็ก เช่น เมื่อโรงเรียนมีระเบียบให้นักเรียนแต่งกายเรียบร้อย ครูต้องแต่งกายให้เรียบร้อยด้วย
4.เมื่อนักเรียนทำผิดระเบียบ ครูต้องศึกษาหาสาเหตุ แล้วให้คำแนะนำช่วยเหลือ
5.ไม่ลงโทษเด็กที่ทำผิดวินัยด้วยการทำร้ายร่างกาย การลงโทษควรเน้นการกระทำเพื่อแก้ตัวใหม่
6.ไม่ใช้คำพูดรุนแรงกับเด็กที่ทำผิดระเบียบ หรือไม่มีวินัย
7.ชมเชยเด็กที่มีวินัยต่อหน้าคนอื่นๆ
8.ระเบียบบ้างอย่าง อาจให้เด็กมีส่วนร่วมในการสร้างขึ้นมาได้ เช่น การกำหนดตัวนักเรียนขึ้นเพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำความสะอาดห้องเรียนในแต่ละวัน การกำหนดบทลงโทษนักเรียนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ
ในขณะนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาหลายๆด้าน ซึ่งทำให้สุขภาพจิตของคนไทยส่วนใหญ่เสื่อมโทรมลง ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ในเมืองหลวงเด็กหลายคนหนีเรียนไปเที่ยวตามห้างสรรพสินค้า เด็กแต่งกายไม่ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน เด็กมีกิริยาท่าทางหยาบกระด้าง เด็กไม่มีวินัย สิ่งเหล่านี้ปัญหาที่โรงเรียนจะต้องช่วยกันแก้ไขร่วมกับหน่วยงานอื่นๆทั้งของรัฐและเอกชน
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะลี นายแพทย์รางวัลแมกไซไซ ได้ชี้ความล้มเหลวทางการศึกษาว่า ปัจจุบันการจัดการศึกษาทุกระดับ ได้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ความอ่อนแอทางสติปัญญา” เนื่องจากการสอนทำให้คนเรามองความรู้ให้เป็นวัตถุ จึงเรียนแบบท่องจำ มุ่งแต่จะทำข้อสอบให้ได้ เด็กพร้อมที่จะทุจริตในการสอบ ขาดความมีวินัยในตนเอง กรรมการเผลอไมได้ การเรียนลักษณะดังกล่าวไม่ทำให้มีปัญญา เพราะความรู้มีลักษณะตายตัว ขณะที่ปัญญามีการเคลื่อนไหวอยู่เรื่อยๆ การศึกษาแบบให้ความรู้จึงทำให้คนไทยมีทัศนะมองปัญหาด้านเดียว ไม่เห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆในสังคม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกันทุกปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ สังคมการเมือง วัฒนธรรมทำให้เกิดการขัดแย้งกันในการแก้ปัญหาส่วนรวมและส่วนตนได้ เช่น
ปัญหาความเจ็บป่วย แพทย์ก็มุ่งเฉพาะโรคและให้ยาทั้งที่ความเจ็บป่วยกว่า 75 เปอร์เซ็นเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวและสุขภาพจิต
การแก้ปัญหาในส่วนใดโดยไม่เห็นความเชื่อมโยงของปัญหา จะทำให้หมดเปลืองมากขึ้น ขณะนี้ทางองค์การอนามัยโลกจึงได้เน้นให้แพทย์ทำรายงานการเจ็บป่วยคนไข้ทั้งด้านสังคมและจิตใจเพิ่มจากเฉพาะที่ทำรายงานทางร่างกาย เพื่อลดการให้ยาและสร้างความสุขใจให้แก่ผู้ป่วยมากขึ้นทางด้านอื่นก็เช่นกัน ควรมองการเชื่อมโยงปัญหาจะไดลดความขัดแย้ง แม้แต่เรื่องส่วนตนหากมีทัศนะเดียวก็จะทำให้คนในสังคมไม่มีความสุข เห็นได้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ชอบมองด้านไม่ดีของคนอื่น และพยายามขุดคุ้ยเพื่อทำลายกัน ทั้งที่คนเราก็มดและไม่ดีด้วยกันทุกคน หากพยายามมองคนอื่นในแง่ดี ช่วยส่งเสริม ก็จะทำให้บุคคลนั้นภูมิใจ พยายามสร้างความดี สิ่งไม่ดีก็จะลดลง แต่การเปลี่ยนแปลงเจตคติเหล่านี้ต้องเริ่มที่การศึกษา จึงเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะเน้นเรื่องสุขภาพจิตในโรงเรียนให้มาก แทบทุกคนในสังคมได้ผ่านประสบการณ์ในโรงเรียนเป็นระยะเวลาหลายปี สิ่งที่เขาได้ประสบมานั้นมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อบุคลิกภาพและสุขภาพจิตของเขาทั้งในด้านเจริญและด้านเสื่อม ผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนจึงควรตระหนักถึงเรื่องสุขภาพจิตให้มาก


ผศ.ดร.วีระ ไชยศรีสุข, สุขภาพจิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แสงศิลป์การพิมพ์, 2533






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น